- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 11 June 2015 22:11
- Hits: 1258
บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ กนง. คง ดอกเบี้ยฯ แต่ยังมีโอกาสลดได้อีกในการประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้งในปีนี้ ในสถานการณ์นี้ดีต่อหุ้น ธ.พ. ซึ่งได้สะท้อนการปรับกำไรก่อนหน้าไปมากแล้ว จึงเลือก KBANK(FV@B270) เป็น Top pick และยังชื่นชอบหุ้น TUF, VNG, HANA และ IRPC([email protected])
กนง. ยืนดอกเบี้ยที่เดิม.. บวกต่อธนาคาร และประกันชีวิต
วานนี้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง . มีมติคงอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ไว้ที่ 1.5% ตามเดิม ซึ่งตลาดก็ไม่น่าแปลกใจอะไรนัก เนื่องจากได้ปรับลดลงดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 2 ครั้งในการประชุมก่อนหน้านี้ 2 รวม 0.5% เหลือ 1.5% ขณะที่การประชุมของ กนง. ที่เหลืออีก 4 ครั้งจนถึงสิ้นปี กนง. ยังมีเวลาให้ กนง. ปรับดอกเบี้ยได้อีก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยง ซึ่งตามประมาณการเดิม ทาง ASPS ยังมองว่า กนง. มีโอกาสลดอกเบี้ยได้อีก 1-2 ครั้งหรือราว 0.25-0.5% อย่างไรก็ตามการคงดอกเบี้ยฯ น่าจะดีต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในระยะสั้น เพราะในภาวะดอกเบี้ยขาลงจะกดดัน spread หรือ NIM ประกอบกับนักวิเคราะห์ ASPS ได้กำหนดสมมติฐานเรื่องการลดดอกเบี้ยที่ระมัดระวังมาก กล่าวคือ กำหนดให้ กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ซึ่งหมายถึง ธนาคารพาณิชย์จะต้องลดดอกเบี้ยเงินกู้/ฝาก อีกราว 0.125% (ราวครึ่งหนึ่งของการประกาศลดทุกครั้ง) แม้ใช้สมมติฐานที่ระมัดระวัง พบว่ากำไรสุทธิกลุ่ม ธ.พ. โดยรวมจะอยู่ที่ 2.13 ล้านบาท เติบโตจากปี 2557 ราว 3.9%
และหากพิจารณาราคาหุ้นในกลุ่ม พบว่าดัชนีกลุ่มปรับตัวลดลงต่ำสุด 18% จากปลายปี 2557 จนถึงจุดต่ำสุด (ดังภาพข้างต้น) เทียบกับที่นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับมีการลดประมาณกำไรลง 5.5% ถือว่าราคาหุ้นได้ปรับลดลงสะท้อนปัจจัยลบดังกล่าวไประดับหนึ่งแล้วแม้ว่าความเสี่ยงของหุ้นธนาคารพาณิชย์ยังมีอยู่ เศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้ากว่าคาด และ GDP Growth ลดลงต่ำกว่า 3% ตามที่ตลาดคาด แต่ราคาปัจจุบันปัจจุบันพบว่ามี Expected P/E 9.7 เท่า ในปี 2558 และ 8.54 เท่าในปี 2559 จึงน่าจะยอมรับความเสียงได้ และวานนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น เท่ากับตลาด โดยเลือก KBANK )FV@ 270บาท (เป็น Top Pick เนื่องจากมีโครงสร้างสินเชื่อและรายได้ที่กระจายตัวดี มีสัดส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่สูงถึง %40 ของรายได้รวม ทำให้สามารถทนแรงเสียดทานของเศรษฐกิจได้ดีมาก
และแนะนำทยอยสะสมหุ้นที่มี Ex.P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มมากคือ TISCO, BBL ตามด้วย KTB แม้นักวิเคราะห์ ASPS แนะนำถือ แต่ราคาปัจจุบันเริ่มน่าสนใจ และยังให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงสุดราว 4.7% ในปีนี้ และ 5.6% ปีหน้า ตามลำดับ เทียบกับ TISCO และ BBL ที่ให้เงินปันผลเฉลี่ย 6.3% และ 4.1% ในปีนี้ และในปีหน้า 7.1% และ 4.7% ตามลำดับ
อีกกลุ่มที่ได้ประโยชน์คือ กลุ่มประกันชีวิต (BKI, BLA) ซึ่งน่าจะได้รับผลดีมากกว่ากลุ่มประกันวินาศภัย ทั้งนี้เพราะกลุ่มประกันชีวิตจะมีเบี้ยรับรวมที่มีอายุยาวนานกว่า (Duration) กว่าประกันวินาศภัย (เป็นปีต่อปี) ในช่วงดอกเบี้ยขาลง บริษัทฯ ประกันชีวิตจึงต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยดังนี้คือ ด้านหนี้สินที่เกิดจากเบี้ยประกันชีวิตรับ ซึ่งจะต้องคำนวณเปรียบเทียบมูลค่าของหนี้สินของเบี้ยประกันชีวิตตาม GPV (Gross premium valuation) ซึ่งใช้ดอกเบี้ยตามราคาตลาดในปัจจุบันหรือ spot rate (benchmark อ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาว 10 ปี) เปรียบเทียบกับ NPV (Net premium valuation) ซึ่งคำนวณโดยใช้อัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ทำสัญญา ในภาวะดอกเบี้ยขาลงจะพบว่า GPV สูงกว่า NPV ซึ่งทำให้บริษัทประกันชีวิตต้องกันสำรองเบี้ยประกันชีวิตเพิ่มขึ้นให้กลับไปเท่ากับ GPV ส่วนฝั่งสินทรัพย์ ที่เกิดจากการนำเงินที่ได้จากเบี้ยประกันรับไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ สินทรัพย์ระยะสั้น ได้แก่ เงินลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ในกลุ่มเพื่อค้า (ผ่าน P/L) และเผื่อขาย ซึ่งจะต้องรับรู้ผลกำไร-ขาดทุน ตามราคาตลาด (mark-to-market) โดยกรณีที่ดอกเบี้ยขาลง จะส่งผลให้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสามารถรับรู้กำไรจากส่วนต่างผ่านงบกำไรขาดทุน (ผ่านงบการเงินแบบเบ็ดเสร็จหรือ comprehensive income ที่แสดงไว้ต่อจากงบกำไรขาดทุน และสุดท้ายผ่านงบดุล) แต่บริษัทประกันชีวิตได้รับประโยชน์ตรงนี้น้อย เพราะเงินลงทุนระยะสั้นมีสัดส่วนไม่เกิน 10% ของเงินลงทุน เพราะสินทรัพย์เงินลงทุนส่วนใหญ่ กว่า 90% เป็นประเภทที่จะถือจนครบกำหนด (Held to maturity) ซึ่งจะต้องแสดงไว้ที่ราคาทุนเสมอ ดังนั้นจึงไม่ได้รับผลบวก/ผลกระทบจากการ mark-to-market ทั้งในช่วงดอกเบี้ยขาลงหรือกลับเป็นขาขึ้น
ส่วนด้าน Reinvestment risk โดยทั้งบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย จะได้รับผลกระทบเท่าเทียมกันจากการที่เงินลงทุนที่ครบกำหนดในแต่ละปี ซึ่งต้องนำไปลงทุนด้วยอัตราผลตอบแทนที่ลดลงในกรณีที่ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง ดังนั้น จึงเห็น ROI จากพอร์ตพันธบัตรและตราสารหนี้ที่ลดลงมาโดยต่อเนื่อง
ตรงกันข้ามกลุ่มที่เคยได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง ในสถานการณ์นี้ถือว่าไม่มีได้มีเสีย ได้แก่ ลิสซิ่ง แต่อาจได้รับกระทบต่อ Sentiment ลงทุนในช่วงสั้นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมีต้นทุนการกู้ยืม) ภาระหนี้สิน (เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว หากลดดอกเบี้ยจะช่วยให้ส่วนที่เป็นฐานต้นทุนลดลงเร็วกว่าดอกเบี้ยรับจากการปล่อยสินเชื่อ) เพราะมีสัดส่วนที่เป็นดอกเบี้ยคงที่สูงกว่า ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว (แต่ราคาหุ้นส่วนใหญ่ที่ฝ่ายวิจัยแนะนำซื้อต่างก็ปรับฐานลงไปมากแล้วช่วงที่ผ่านมา โดย ASK ([email protected]) ยังเป็นหุ้นเด่นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยทรงตัวระดับต่ำ เนื่องจากมีความโดดเด่นทั้งอัตราเงินปันผลและราคาหุ้นที่มี PBV และ PER ต่ำมาก
และเช่นเดียวกับ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าอาจจะได้รับผลกระทบทางด้าน sentiment บ้าง แต่หากพิจารณาราคาหุ้นในกลุ่มฯ ก็ปรับลดลงไปมากแล้วเช่นกัน โดยหุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่ฝ่ายวิจัยชื่นชอบ จะเน้นที่มีฐานลูกค้าระดับกลางและล่าง คือ SPALI (FV@B (31.96มีค่า PER ต่ำเพียง 5.8 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูง ถึง %7 ตามมาด้วย PS (FV@B (40.45มีค่า PER ต่ำเพียง 8.7 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูงถึง ,%4 QH (FV@B (3.75มีค่า PER ต่ำเพียง 8.3 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูง ถึง %5.4 และ AP ([email protected]) มีค่า PER ต่ำเพียง 8.2 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูง ถึง%4.2
หุ้นน้ำมันฟื้นตัวช่วงสั้น หลังสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐลดมากกว่าตลาดคาด
แม้ข้อมูลล่าสุด พบว่า OPEC ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก ได้รายงานการผลิตน้ำมันที่สูงถึงวันละ 30.98 ล้านบาร์เรล เทียบกับ เพดานที่กำหนดไว้ 30 ล้านบาร์เรล(40% ของกำลังการผลิตโลก) โดย OPEC ให้เหตุผลว่า ความต้องการใช้น้ำมันจะเพิ่มมากขึ้นในช่วง 2H58 ขณะที่ประเมินว่า ความต้องการน้ำมันโลกในปี 2558 จะอยู่ที่ 92.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และทางฝั่งการผลิตของกลุ่ม Non-OPEC (ประกอบด้วย สหรัฐ และรัสเซีย) น่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจาก 2.17 ล้านบาร์เรลในปี 2557 เป็น 0.68 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับการปิดแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สต็อกน้ำมันของสหรัฐลดลง โดยจากการรายงานสต๊อกน้ำมันของ EIA สัปดาห์ล่าสุด ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 กล่าวคือ ลดลงมากถึง 6.8 ล้านบาร์เรล มาสู่ระดับ 470.6 ล้านบาร์เรล สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าลดลงเพียง 1.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งจะทำให้การผลิตกลุ่ม Non-OPEC โดยรวมในปี 2558 จะอยู่ที่ 57.8 ล้านบาร์เรล และทำให้คาดการณ์การผลิตน้ำมันโลกอยู่ที่ 94.5 ใกล้เคียงกับความต้องการของโลก ซึ่งช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลก อยู่ในภาวะทรงตัว ถึงแกว่งตัวขึ้นได้ และเป็นการสะท้อนว่าราคาน้ำมันดิบโลกน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
ทั้งนี้ หากพิจารณาราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุด อยู่ที่ 63.3 เหรียญฯ ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 55 เหรียญฯ เมื่อเทียบกับสมมติฐานของ ASPS กำหนดราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้ที่ 63 เหรียญฯ นั่นหมายความว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ราคาน้ำมันดิบดูไปเฉลี่ยต้องอยู่ที่ 70 เหรียญฯ ซึ่งเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูง หรือจะต้องปรับตัวขึ้นราว 10% จากปัจจุบันจนถึงสิ้นปีนี้ ในภาวะที่ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มน้ำมัน โดยเฉพาะ PTT (FV@B394) และ PTTEP (FV@B125) ที่วานนี้ปรับตัวขึ้นแรงโดย PTT ยังมี upside เหลืออีกราว14 % จึงแนะนำทยอยสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
ต่างชาติขายหุ้นทั้ง 5 ตลาดในภูมิภาคเป็นวันที่ 2
วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 403 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการขายสุทธิสูงสุดในรอบ 56 วัน และเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศต่อเนื่องวันที่ 2 นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 221 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิตอ่ เนื่องวันที่ 3) ตามมาด้วยตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิราว 89 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 9) และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 8) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 38 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 9) สุดท้ายตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 35 ล้านเหรียญ หรือ 1,193 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1,571 ล้านบาท
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 14,857 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 317 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากวันก่อนหน้า ล่าสุดอยู่ที่ 33.62 บาท/ดอลลาร์