- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 11 June 2015 22:04
- Hits: 1274
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Test 1,520
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ กลับมายืนเหนือ 1,500 จุด หลัง กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ตามที่ตลาดคาด ส่งผลให้กลุ่มธนาคารพื้นฐานเด่น บวกกับกลุ่มพลังงานที่ได้อานิสงค์เชิงบวกกับราคาน้ำมันดิบ NYMEX ที่ยืนเหนือ US$61/barrel ปิดตลาด SET INDEX อยู่ที่ 1,504.04 จุด บวก 11.72 จุด มูลค่าการซื้อขาย 31,910 ล้านบาท
กระแสเงินทุนต่างชาติเป็นกลาง หลังกนง.คงอัตราดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนกลุ่มนี้ปิดสถานะ Short ด้วยการ Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันแรกในรอบ 5 วันทำการ 3,149 สัญญา ซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 2 เล็กน้อย 317 ล้านบาท แม้ว่าขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 2 อีก 1,193 ล้านบาท การเคลื่อนไหวเงินทุนต่างชาติช่วงนี้เป็นสิ่งที่น่าจับตามอง
ปัจจัยสำคัญวันนี้
กนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ย RP1 วันที่ 1.50% ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปจนถึงสิ้นปีนี้
ติดตามการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แนวโน้มแกว่งในกรอบแคบ และไม่น่าหลุดแนว 33.85 บาท/US$
กลุ่มธนาคารและกลุ่มพลังงาน/ปิโตรเคมี นำตลาดช่วงสั้น
สถานการณ์กรีซใกล้ได้ข้อสรุป หลังนายกฯ เยอรมัน เห็นชอบในแผนปฎิรูปเศรษฐกิจของกรีซ บางส่วน
มุมมองต่อตลาด
เราขยับมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยเป็น "กลางถึงบวก" ครั้งแรกในรอบ 52 วันทำการ หลัง กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาด ส่งผลให้ทิศทางค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แกว่งในกรอบแคบ เราประเมินผลดังกล่าวลักษณะนี้
กลุ่มส่งออกที่ขึ้นมาเด่นจากทิศทางค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อาจเผชิญกับแรงขายทำกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ขึ้นมาถึง +26.43% YTD
กลุ่มลิสซิ่งที่ขยับขึ้นเด่น จากปัจจัยบวกของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น เพราะต้นทุนทางการเงินที่ถูกลงจากการลดอัตราดอกเบี้ย อาจเผชิญกับแรงขายทำกำไรช่วงสั้นเช่นกัน
กลุ่มธนาคารมีแนวโน้มฟื้นตัว หลังเผชิญกับแรงกดดันจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากกนง.ถึง 2 ครั้งในเดือนมี.ค.และเม.ย. ซึ่ง YTD กลุ่มนี้ -13.07%
ส่วนกลุ่มพลังงาน / ปิโตรเคมี ช่วงสั้นนี้ เกิดความโดดเด่น จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง หลังกำลังการผลิตน้ำมันจาก Shale Oil ในสหรัฐฯ เริ่มลดลง และ EIA ปรับประมาณการความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ ขึ้น กลายเป็นจิตวิทยาเชิงบวกต่อกลุ่มทั้ง 2 อีกทั้ง Valuation ของ 2 กลุ่มค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับภาพรวมของ SET INDEX
อย่างไรก็ตาม Upside gain ของ SET INDEX ในช่วงสั้น ยังคงเป็นไปอย่างจำกัดในความเห็นของเรา แนวต้าน 1,520 จุด ยังไม่น่าผ่าน เพราะกระแสเงินทุนต่างชาติยังคงไม่กลับมายังตลาดหุ้นไทย / ตลาดหุ้นเอเชียเกิดใหม่ จนกว่าจะเห็นความชัดเจนในการประชุมเฟดวันที่ 15-16 มิ.ย.
เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชีย (7.25 น.) Nikkei - Kospi เปิดบวกเด่น สอดคล้องกับ DJIA กลับมายืนเหนือ 18,000 จุดอีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนที่สะสมหุ้นเป้าหมายในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา ถือพอร์ตระยะสั้น เพื่อรอขายทำกำไรบริเวณ 1,520 จุด +/-"
Top Pick in 2Q15: ITD / TPIPL/ WHA / TASCO
HOLD: ITD / TPIPL/ BJCHI/ ADVANC/ WHA/ THAI/ BCP/ IFEC
Speculative Buy: KBANK / SAMTEL
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" ได้แก่
1. KBANK : ราคาปิด 200.00 บาท ราคาเหมาะสม 240.00 บาท
a) MBKET ประเมินว่าหุ้นกลุ่มธนาคารจะตอบรับเชิงบวก หลัง กนง.คงดอกเบี้ยนโนบายที่ 1.5% ในการประชุมวานนี้
b) ส่งผลให้ตลาดมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร จากก่อนหน้าที่กังวลว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอาจแคบลงอีกหากกนง.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก
c) หุ้นกลุ่มธนาคารที่ลดลง -13.1% YTD เชื่อว่าได้สะท้อนปัจจัยเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงแล้ว และหลังได้ความชัดเจนเรื่องนโยบายดอกเบี้ย คาดว่าจะเห็นแรงซื้อสะสมจากกองทุนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนจากการเกิด Window Dressing สิ้นสุด 2Q58
d) ให้ KBANK เป็น 1 ในหุ้น Top pick สำหรับการลงทุนใน 2H58 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงผลักดันจากโครงการลงทุนภาครัฐฯ จะเพิ่มความเชื่อมั่นให้ธุรกิจภาคเอกชนกลับมามีความมั่นใจมากขึ้น และส่งผลบวกต่อความต้องการใช้สินเชื่อให้เพิ่มขึ้น
2. SAMTEL : ราคาปิด 22.10 บาท ราคาเหมาะสม 26.60 บาท
a) MBKET คงมุมมองเชิงบวก และให้ SAMTEL เป็นหุ้น Top pick ในหุ้นกลุ่มวางระบบโทรคมนาคม (SI) เนื่องจากมีงานรอเซ็นสัญญา และงานประมูลใหม่รออยู่เป็นจำนวนมากในช่วงที่เหลือของปี 2558
b) สวนทางหุ้นที่เหลือในกลุ่ม SI ที่ Backlog เบาบางลง เนื่องจากพึ่งพิงงานจาก TOT-CAT เป็นหลัก ซึ่งอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างองค์กรส่งผลให้งานประมูลหยุดชะงัก ขณะที่ SAMTEL มีการกระจายตัวของธุรกิจที่ดีทั้งงานภาครัฐ - เอกชน และไม่ได้พึ่งพิงงานจาก TOT - CAT เป็นหลัก
c) มี Catalyst ในเดือน มิ.ย.โดยคาดว่าจะชนะงานประมูลขนาดใหญ่ 2-3 โครงการมูลค่ารวมสูงกว่า 4,000 ล้านบาท และเป็นปัจจัยผลักดันราคาหุ้น เนื่องจากเป็นงานรายได้ประจำ (Recurring Income) ต่อเนื่อง 5 ปี
d) ราคาหุ้นปรับตัวลง 20% จากเดือน เม.ย. จึงคาดว่าราคาหุ้นจะฟื้นตัวจากทิศทางผลประกอบการ 2Q58 ที่จะเติบโตสูงถึง 40% qoq เป็น
ปัจจัยบวกที่รออยู่
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียขายสุทธิเป็นวันที่ 6 อีก US$408 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$337 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติเริ่มปิดสถานะ Short ใน SET50 Index Futures
นักลงทุนต่างชาติคงการขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 2 อีก 1,193 ล้านบาท รวม 2 วันทำการ ขายสุทธิ 1,692 ล้านบาท เพื่อกดให้ SET50 Index ฟื้นตัวจำกัด เพราะนักลงทุนกลุ่มนี้ถือสถานะ Short ไว้ค่อนข้างมาก ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิเท่ากับ 11,804 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนต่างชาติกลับมา Long สุทธิเป็นวันแรกในรอบ 5 วันทำการ 3,149 สัญญา เทียบกับ 4 วันทำการก่อนหน้า Short สุทธิ 12,486 สัญญา น่าจะเป็นการปิดสถานะ Short ที่เปิดไว้ก่อนหน้า หลังกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีกทั้ง S50M15 ฟื้นตัวขึ้นมาปิดต่ำกว่า SET50 Index เป็นวันที่ 2 แต่แคบลงเหลือ 4.28 จุด จากวันก่อนหน้า Discount กว้างถึง 10.08 จุด ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Short สุทธิ ลดลงเล็กน้อย เป็น 50,852 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 อีกเล็กน้อย 317 ล้านบาท รวม 2 วันทำการซื้อสุทธิ 2,025 ล้านบาท เทียบกับ 3 วันทำการก่อนหน้าขายสุทธิ 10,117 ล้านบาท อีกทั้งราคาพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลงแรง ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นถึง 4.95bps จากวันก่อนหน้าที่ลดลง 1.27bps ทำให้ผลตอบแทนกลับมาปิดสูงกว่า 3.00% อีกครั้ง มาปิดที่ 3.042%
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ลดลงเหลือ 463 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,574 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 แต่กลับมาเน้นการลดน้ำหนักในกลุ่มธนาคารอย่างหนาแน่น
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 เพียง 264 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 823 ล้านบาท รวม 4 วันทำการ ซื้อสุทธิ 2,815 ล้านบาท ทั้งนี้ NVDR กลับมาลดน้ำหนักกลุ่มธนาคารอย่างหนาแน่น แม้ว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยก็ตาม สรุปภาพรวมได้ดังนี้
1. กลุ่มขนส่ง ซื้อสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 2 อีก 365 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 448 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ซื้อสุทธิ 190 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 61 ล้านบาท กลุ่มปิโตรเคมี ซื้อสุทธิ 174 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 297 ล้านบาท และกลุ่มพลังงานซื้อสุทธิ 98 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มธนาคารถูกขายสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 2 อีก 404 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 128 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มอสังหาฯ ขายสุทธิ 108 ล้านบาท และกลุ่ม ICT ขายสุทธิ 59 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ: ที่ AA+ พร้อมแนวโน้ม "คงที่" ด้วยภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งทั้งจากการกระจายตัวและฐานะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ระดับหนี้สาธารณะสูง และการเมือง อาจกลายเป็นจุดเสี่ยง
World bank ขอให้เฟดเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยเป็นปีหน้า เช่นเดียวกับ IMF
World Bank เรียกร้องให้เฟดเลื่อนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นปีหน้า: เพราะความไม่สมดุลย์ระหว่างการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเสี่ยงในประเทศเกิดใหม่ที่จะต้องปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้นในเร็วๆ นี้ อีกทั้งภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นการผสมผสาน
World Bank ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลง: เป็น 2.8% จากการประเมินเดือนม.ค.ที่ 3.0%
อียู ปรับประมาณการขึ้นเป็น 1.5% จากเดิมคาด 1.1%
ญี่ปุ่นคาดเติบโต 1.1% จากประเมินครั้งก่อนที่ 1.2%
กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา คาดเติบโต 4.4% ลดลงจากเดิมที่ 4.8% โดยคงประมาณการของจีนที่ 7.1% ในปีนี้
ยุโรป
ไอซ์แลนด์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย: ธนาคารกลางไอซ์แลนด์ ประกาศขึ้นัตราดอกเบี้ย RP7 วัน เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง เป็น 5.75% จากเดิม 5.25% หลังรัฐบาลเตรียมทยอยยกเลิกมาตรการควบคุมเคลื่อนย้ายเงินทุน
ผลผลิตภาคอุตฯ ของอังกฤษ เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด: เดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 0.4% mom สูงกว่า Bloomberg consensus คาด 0.1% mom โดยการผลิตน้ำมันและก๊าซ เพิ่มขึ้นถึง 8.7% mom เป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงสุดในรอบกว่า 1 ปี ขณะที่ผลผลิตโรงงานลดลง 0.4% mom สวนทางกับที่ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 0.1% mom เนื่องจากการผลิตในผลิตภัณฑ์ยาที่ชะลอตัว
สถานการณ์ในกรีซ คืบหน้า หลังนายกฯ เยอรมัน เริ่มรับในหลักการบางข้อ ส่วน ECB ขยายวงเงิน ELA ให้อีก
สถานการณ์ของกรีซ ณ ปัจจุบัน
S&P ลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงเป็น CCC จากเดิม CCC+ พร้อมประเมินโอกาสที่รัฐบาลจะผิดนัดชำระหนี้ได้ใน 12 เดือนข้างหน้า หากไม่สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้ พร้อมให้แนวโน้มเป็น "ลบ"
ECB เพิ่มวงเงิน ELA ให้แก่ธนาคารพาณิชย์กรีซ อีก 2.3 พันล้านยูโร เป็น 8.3 หมื่นล้านยูโร พร้อมคงระดับการ Discount ตราสารหนี้ที่นำมาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้เงินผ่านโครงการดังกล่าว
นายกฯ เยอรมัน อาจพอใจกับส่วนหนึ่งของแผนปฎิรูปเศรษฐกิจของกรีซ แต่เยอรมัน ยังต้องการให้กรีซ เดินหน้าการปรับขึ้นภาษี, การขายสินทรัพย์ และลดผลประโยชน์กับกองทุนบำเหน็จบำนาญ
จีน
ธนาคารกลางจีนคาดเศรษฐกิจฟื้นตัวใน 2H58: แม้ว่าจะปรับประมาณการเงินเฟ้อในปีนี้ลงเป็น 1.4% จากเดิม 2.2% ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีความระมัดระวัง ภายใต้ตลาดอสังหาฯ ที่เริ่มมีเสถียรภาพ ภาพรวมเศรษฐกิจโลก ส่งสัญญาณฟื้นตัวใน 2-3 เดือนข้างหน้า อีกทั้งการผ่อนคลายนโยบายการเงินตั้งแต่เดือนพ.ย. 2557 คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้เช่นกัน
เอเชียแปซิฟิก
ประธาน BoJ คาดเงินเยนจะอ่อนค่าลงได้อีกยาก: นาย Kuroda ประธาน BoJ ให้ความเห็นถึงค่าเงินเยน ณ ปัจจุบัน อ่อนค่าเกินไป และมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ลดอัตราดอกเบี้ย: เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ด้วยการลด 0.25% ในอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็น 3.25% และส่งสัญญาณพร้อมลดได้อีก หากมีความจำเป็น ขึ้นอยู่กับภาพรวมเศรษฐกิจ
ธนาคารกลางเกาหลีใต้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์: ลดลง 25bps สู่ระดับ 1.50% จากเดิมที่ 1.75% ซึ่งเป็นไปตามที่ Bloomberg Consensus ประเมินไว้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคเมอร์ส ทำให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น
ยอดส่งออกฟิลิปปินส์หดตัวแรงสุดในรอบ 2 ปี: เดือน เม.ย. ส่งออกหดตัว 4.1% yoy จากเดือน มี.ค. ที่ขยายตัว 2.1% yoy และสวนทางกับที่ Bloomberg Consensus คาดเพิ่มขึ้น 8.0% yoy นำโดยการส่งออกไปยังญี่ปุ่น, สหรัฐฯและจีนที่ลดลง yoy จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเด่นชัด
ไทย
สศค.เตรียมปรับลด GDP เหตุส่งออกไม่ตามคาด: สศค.เตรียมปรับลดประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจ หรือ GDP ของประเทศไทยลงในปีนี้หลังจากการประเมินจากตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้นโดยเฉพาะประเทศคู่ค้าขนาดใหญ่ของไทยที่สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงไม่ฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมส่งออก จะได้รับผลกระทบมากที่สุด และเป็นตัวชี้วัดหลักในการคำนวน GDP โดยการปรับเป้าประมาณการณ์ GDP ใหม่ที่จะประกาศออกมาในเดือนกรกฎาคมนี้ คาดว่าจะปรับลดลงหลังจากที่เดือนเมษายนที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.7%
กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาด ด้วยเสียงเอกฉันท์
กนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ย: ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมวันที่ 10 มิ.ย.58 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50% ขณะที่เตรียมปรับลดเป้าส่งออกปีนี้ โดยคาดว่าส่งออกทั้งปีน่าจะติดลบ จากเดิมคาด 0%
กกต.คาดลงประชามติ 10 ม.ค. 2559: ทางกกต.ได้เตรียมความพร้อมไว้รองรับเรียบร้อยแล้ว หากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 ก.ย. ตามโรดแมปที่กำหนดไว้ ภายในวันที่ 16 ก.ย. ทางสปช.จะต้องส่งต้นฉบับของร่างรัฐธรรมนูญมาให้กกต. จากนั้นวันที่ 30 ก.ย. ทางกกต.จะต้องจัดหาโรงพิมพ์ที่มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพเพียงพอในการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 19 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 80 ครัวเรือน ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน หรือภายในวันที่ 15 พ.ย. จากนั้น ทางกกต.ก็ต้องทยอยแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาก่อนที่จะตัดสินใจทำประชามติ ให้ครบทุกครัวเรือนภายในวันที่ 30 พ.ย. จากนั้น ถึงจะมีการลงประชามติได้ในวันที่ 10 ม.ค. 2559
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530