WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดน่าจะอยู่ในภาวะปรับฐานต่อ จากที่ดัชนีหุ้นไทยมี Expected P/E 15.5 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมของปีนี้ ส่วนโอกาส กนง. ลด/ไม่ลดดอกเบี้ยฯ มีน้ำหนักเท่าๆ กัน ยังชื่นชอบหุ้นที่ได้ประโยชน์เงินบาทอ่อนค่า (TUF, VNG, HANA, RCL) และยังเลือก IRPC([email protected]) เป็น Top Pick จาก Spread เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หนุนกำไรปกติงวด 2Q58 ฟื้นตัวต่อเนื่อง

การเลือกตั้งน่าจะเกิดได้ราว ก.ย. 59 แม้จะต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญ
         ครม. และ คสช. มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 7 ประเด็น โดยมีประเด็นทีเกี่ยวข้องกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดการเลือกตั้ง 4 เรื่อง


1) กำหนดให้ต้องทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2) ให้ยืดระยะเวลาที่คณะกรรมาธิการต้องใช้ในการปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ได้รับข้อเสนอแนะจาก คสช. ครม. และ สปช.แล้ว จากเดิม 60 วัน เป็นไม่เกิน 90 วัน


3) เมื่อ สปช. ลงมติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ให้ยุบ สปช. แล้วตั้งสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ ซึ่ง จะทำให้หน้าที่ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ขึ้นมาแทน ถือว่าเป็นเรื่องใหม่


4) ถ้ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ให้ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เรียกว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 21 คน ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และรับฟังความเห็นจากประชาชนให้เสร็จสิ้นใน 180 วัน จากนั้นให้นำไปออกเสียงทำประชามติ ทั้งนี้กระบวนการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ช่วงปลายเดือน ก.ค. 2558


หากยึดตามกรอบของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ได้ผ่านการแก้ไขดังกล่าวมาข้างต้น กำหนดการที่ คณะกรรมาธิการยกร่าง ต้องดำเนินการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จ ก็จะถูกเลื่อนจากกำหนดเดิม 23 ก.ค.2558 ไปเป็น 22 ส.ค.2558 (ยืดออกไปอีก 30 วันจากเดิม) หลังจากนั้นก็จะนำส่งให้ สปช. เพื่อลงมติรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งน่าจะเป็นช่วงวันที่ 5 ก.ย.2558 กระบวนการต่อไปก็จะนำไปสู่การทำประชามติ ช่วงต้นปี 2559 และจัดการเลือกตั้งทั่วไปช่วง ก.ย.2559 (จากกรอบไตรมาสแรกปี 2559) แต่หากมีสะดุด สปช. ลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฯ รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ได้แก้ไขแล้ว กำหนดให้ สปช. และ กรรมาธิการยกร่างฯสิ้นสุดลง และให้ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน และนำไปทำประชามติ ซึ่งทั้งกระบวนการน่าจะใช้เวลาราว 9-10 เดือน นับจากการลงมติต้นเดือน ก.ย. 2558 ซึ่งหากยึดตามกรอบเวลาดังกล่าวการเลือกตั้งก็น่าจะอยู่ที่ราว ก.ย.2559 ได้เช่นเดิม ถือได้ว่ากำหนดการเลือกตั้งมีความนิ่งมากขึ้น

จีนมีโอกาสลดดอกเบี้ย... ส่วนไทยมีน้ำหนัก 50:50 ลด/ยืน


เนื่องจากทั่วโลกยังเผชิญกับราคาสินค้าตกต่ำ จากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า/ชะลอตัว และ จากราคาน้ำมันที่ลดต่ำลง กดดันให้เงินเฟ้อตกต่ำทั่วโลก ซึ่งหนุนให้ธนาคารกลางโลกส่วนใหญ่ยังเห็นนโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยล่าสุด จีนเปิดเผยเงินเฟ้อ (CPI) เดือน พ.ค. อยู่ที่ 1.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน (yoy) และลดลง 0.2% จากเดือน เม.ย. และถือว่าเป็นการลดลงต่อเนื่อง 3 เดือน และยังสร้างความกังวลต่อตลาด เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลง 4.6%yoy เนื่องจากการลดลงของสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก (เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 39) ทำให้ตลาดมีความกังวลว่า GDP Growth ที่รัฐบาลจีน ประเมินไว้ในปีนี้ที่ 7% อาจจะไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย และเป็นเหตุผลสนับสนุนให้ ธนาคารกลางจีนน่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง แม้ภายหลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 3 ครั้ง รวม 0.5% มาอยู่ที่ 5.1% (ดอกเบี้ยสินเชื่อ) และลดอัตราการดำรงเงินสด (RRR) ลงแล้ว 2 ครั้งรวม 1.5% เหลือ 18.5% (เทียบกับข้อมูลในอดีต พบว่าดอกเบี้ยนโยบาย และ RRR เคยลดลงไปต่ำสุด 5.31% และ 6% ตามลำดับ) ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนให้สภาพคล่องทางการเงินจีนและเอเซีย ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ล่าสุดอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะสั้น ได้ลดลง จากที่เคยอยู่ 5% เมื่อ ธ.ค. 2557 ลงมาเหลือ 2% ในขณะนี้


ขณะที่วันนี้ตลาดหุ้นไทย น่าจะให้ความสนใจต่อการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ซึ่งทาง ASPS คาดว่ามีโอกาส 50/50 ที่น่าจะปรับลดดอกเบี้ย เนื่องจากเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวล่าช้า และ อัตราเงินเฟ้อยังติดลบ ทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย - อัตราเงินเฟ้อ) ยังอยู่ที่ระดับ 2.77% ซึ่งทำให้ยังมีช่องว่างที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกโดย ASPS ประเมินว่า กนง. มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีก 2 ครั้ง รวม 0.5% (ครั้งลดลงครั้งละ 0.25%) เหลือ 1% ในการประชุมที่เหลืออยู่อีก 5 ครั้ง จนถึงสิ้นปีนี้ ทำให้การปรับลดจึงอาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การลดลงดอกเบี้ยฯ เป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ ให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่ามาอยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่ายังเอื้อประโยชน์ต่อหุ้นส่งออก (ติดตามอ่านรายละเอียดหุ้นส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า ได้จาก Market Talk ล่าสุด 3 และ 8 มิ.ย. 2558)


และ ทางด้านฝั่งสหรัฐ แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจล่าสุด บ่งชี้ถึงเศรษฐกิจยังมีการฟื้นตัวต่อเนื่องก็ตาม แต่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังติดลบต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้ FED ไม่รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ล่าสุด พบว่า ตัวเลขสต็อกสินค้าภาคค้าส่ง เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 0.4% สอดคล้องยอดค้าส่งที่เพิ่มขึ้นถึง 1.6% (ดีขึ้นจากก่อนหน้าที่ติดลบมา 8 เดือน) และเช่นเดียวกับตลาดแรงงานที่ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้อาจจะปรับขึ้น/ลงบ้างในระยะสั้น ๆ โดยล่าสุดพบว่า ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครใหม่ในสหรัฐ(เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 5.38 ล้านตำแหน่ง (สูงสุดตั้งแต่ปี 2543 และปรับตัวดีมาต่อเนื่อง) หลังจากที่วันศุกร์ที่ผ่านมา มีการรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน พ.ค. อยู่ที่ 2.8 แสนราย ดีกว่าตลาดคาดไว้ 2.25 แสนราย ซึ่งอาจส่งผลให้ตัวเลขอัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed มีเงื่อนไขอย่างน้อย 2 ประการคือ เงินเฟ้อที่ 2% และอัตราการว่างงานที่ 5% ทั้งนี้แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจมีสัญญาณดีขึ้น และอาจจะทำให้อัตราการว่างงานลดลงจาก 5.5% ในปัจจุบัน แต่การที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในแดนลบ ทำให้ ASPS เชื่อว่า Fed น่าจะ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วในช่วงปลายปีนี้ หรืออย่างช้าในต้นปีหน้า

ต่างชาติขายหุ้นทั้ง 5 ตลาดในภูมิภาค
     วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 337 ล้านเหรียญ โดยเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 106 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) ตามมาด้วยตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิราว 113 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 8) และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 27 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 7) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 77 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) สุดท้ายตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 15 ล้านเหรียญ หรือ 499 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 678 ล้านบาท ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 24,174 ล้านบาท โดยถ้านับตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.จนถึงวานนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสะสมสุทธิราว 1.14 แสนล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 1,708 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากวันก่อนหน้า ล่าสุดอยู่ที่ 33.69 บาท/ดอลลาร์

เพิ่มน้ำหนักกลุ่มอาหาร ท่องเที่ยว แต่ลดปิโตรเคมีลง
      ที่ผ่านมานักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลง ดังที่ได้นำเสนอในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดได้มีการทบทวนน้ำหนักการลงทุนรายกลุ่ม โดยมีการปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่ม อาหารและเกษตร และท่องเที่ยวและโรงแรม แต่ปรับลดน้ำหนักของกลุ่มปิโตรเคมีด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

กลุ่มอาหาร และเกษตร ปรับเป็นมากกว่าตลาด
       คาดว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 2Q58 จะเติบโตต่อเนื่องจากงวด 1Q58 และขึ้นทำระดับสูงสุดของปีในงวด 3Q58 เนื่องจากเข้าสู่ช่วง high season ของอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลก และยังได้รับผลบวกจากการอ่อนค่าของเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ (ที่เฉลี่ยตั้งแต่ต้นงวด 2Q58 อยู่ที่ 33.08 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยหากพิจารณาในรายบริษัท คาดว่าส่วนใหญ่จะมีผลกำไรที่โดดเด่น นำโดย CPF และ GFPT คาดว่าราคาผลิตภัณฑ์สัตว์บกในประเทศจะฟื้นตัวจาก 1Q58 รวมไปถึงแนวโน้มปริมาณการส่งออกไก่ของ CPF และ GFPT ที่จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่นเดียวกับ TUF ที่คาดว่าแนวโน้มราคาวัตถุดิบปลาทูน่าจะพลิกกลับสู่ขาขึ้นอีกครั้ง หนุนปริมาณคำสั่งซื้อจากลูกค้า OEM ให้ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วน STA คาดว่าจะเห็นเติบโตของกำไรสุทธิ 2Q58 เช่นกัน จากราคาขายยางแผ่นเฉลี่ยตั้งแต่ต้นงวด 2Q58 เพิ่มขึ้น 2.8% qoq มาที่ 1.78 พันเหรียญฯ/ตัน ตามด้วย KSL ที่แม้ราคาขายน้ำตาลเฉลี่ยงวด 2Q58 จะลดลง 12.5% qoq มาที่ 13.4 เซ็นต์/ปอนด์ แต่ได้ตัวช่วยจากการบันทึกกำไรจากการปรับมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสัญญาแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร (Commodity Swap) ราว 120 ล้านบาท


       ทั้งนี้ แม้ภาพรวมผลการดำเนินทั้งปี 2558 จะลดลง 12.0% yoy แต่เนื่องจากได้รับแรงกดดัน จากการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษของ TUF ในการเข้าซื้อกิจการ Bumble Bee เท่ากับ 1.4 พันล้านบาท อีกทั้งปี 2557 CPF มีการบันทึกรายได้พิเศษจากการขายเงินลงทุน 4.7 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะแนวโน้มกำไรก่อนรายได้/ค่าใช้จ่ายพิเศษปี 2558-59 คาดว่า จะเพิ่มขึ้นถึง 27.8% yoy และ36.4% yoy นับว่าเติบโตสูงกว่าตลาด ขณะที่คาดว่าจะเห็นโอกาสของการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2558 ของกลุ่มฯตามทิศทางค่าเงินบาทที่อ่อนค่า เพราะทุก ๆ 1 บาท ที่เงินบาทอ่อนค่า เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะหนุนกำไรกลุ่มฯ 4.5% จากประมาณการเดิม โดยเลือก ฝ่ายวิจัยเลือก CPF (FV@B28) และ TUF (FV@B26) เป็น Top picks

ท่องเที่ยวและโรงแรม ปรับเป็นมากกว่าตลาด
        แนวโน้มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยงวด 2Q58 ยังคงสดใสต่อเนื่องจากงวด 1Q58 (ที่เป็น High Season) จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลัก ๆ น่าจะมาสถานการณ์การเมืองในประเทศที่มีเสถียรภาพ บวกกับปริมาณนักท่องเที่ยวโดยรวมที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีน (ช่วยทดแทนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่ลดลง) ซึ่งจะผลักดันให้นักท่องเที่ยวสถิติใหม่ในงวด 2Q58 โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 22% yoy และทั้งปี 2558 คาดการณ์เพิ่มขึ้น 13% yoy โดยทั้ง ERW, CENTEL และ MINT คาดว่าได้รับอานิสงค์นี้ บวกกับกลยุทธ์การทำธุรกิจที่ยังขยายการลงทุนในโรงแรมใหม่ และกระจายไปยังธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจอาหาร และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ล้วนมีส่วนผลักดันให้ผลกำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มโรงแรมฯ ปี 2558 เติบโตถึง 41.5% yoy (มากกว่า EPS Growth ของ SET Index ซึ่งเติบโต 24.8%) โดยเลือก ERW และ MINT เป็นหุ้น Top Pick เนื่องจากมี upside มากสุด 38% และ 32% ตามลำดับ ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันของทั้ง 2 บริษัท ยัง underperform เมื่อเทียบกับกลุ่มฯ

ปิโตรเคมี ปรับเป็นน้อยกว่าตลาด
      คาดแนวโน้มกำไรกลุ่มฯในงวด 2Q58 จะเติบโตจากงวด 1Q58 โดยมีปัจจัยหนุนมาจาก Spread ผลิตภัณฑ์ทุกสายการผลิต ทั้งโอเลฟินส์ อะโรเมติกส์ และ PET ฟื้นตัวจากงวด 1Q58 อย่างมีนัยฯ โดยเฉพาะ PTTGC และ IRPC (รายได้จากธุรกิจปิโตรเคมี 75% และ 65% ตามลำดับ) ที่จะได้รับประโยชน์จาก Spread ผลิตภัณฑ์กลุ่มโอเลฟินส์ที่ปรับขึ้นเหนือ 800 เหรียญฯต่อตัน อีกครั้ง และคาดจะต่อเนื่องในงวด 2H58 ส่วนทางด้านของ Spread ของ IVL คาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวด 1Q58 เช่นกัน ทั้งยังบันทึกกำไรจากสินค้าคงเหลือ ขณะที่ Spread กลุ่มอะโรเมติกส์ คาดจะดีในช่วงสั้นงวด 2Q58 เพราะ Supply ใหม่ที่จะเข้ามาในภูมิภาคลดลงชั่วคราวอย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีมีตัวเลือกในการซื้อลงทุนค่อนข้างจำกัด โดยเหลือเพียง IVL (FV@32B) ตัวเดียวที่มี upside ราว 23% ส่วน PTTGC ([email protected]) แม้จะได้รับประโยชน์จากกลุ่มโอเลฟินส์ที่โดดเด่น แต่มี upside เหลืออยู่เพียง 1% และมีแนวโน้มที่จะปรับลดคำแนะนำเป็นถือ จึงแนะนำให้ switch เข้าลงทุน IRPC ([email protected]) ซึ่งได้รับอานิสงส์จากปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์เช่นกันและเลือกเป็น Top pick

นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!