- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 02 June 2015 17:15
- Hits: 1457
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“เล่นรอบ-ถือต่อเมื่อยืนเหนือ 1500, ลงทุนยาว-ทยอยสะสม”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ปิดขยับขึ้นเล็กน้อยมาปิดที่ 1496.05 (+0.16%) โดยการซื้อขายเป็นไปอย่างซบเซา เพราะนักลงทุนรอดูข่าวใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจประเทศชั้นนำ, แนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟดล ความคืบหน้าเรื่องกรีซ, อัตราเงินเฟ้อของไทย เป็นต้น
ในระยะสั้นมากประเด็นกรีซมีน้ำหนักต่อตลาดมากขึ้น โดยขณะนี้กลุ่มเจ้าหนี้กำลังกดดันกรีซหนักขึ้น ล่าสุดผู้อำนวยการ IMF กล่าวว่ามีความเสี่ยงที่กรีซต้องออกจากยูโรโซนมีมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงการล่มสลายของ EU ด้านภาคธนาคารกรีซก็ย่ำแย่จากการถูกประชาชนถอนเงินออกอย่างรวดเร็วเพราะสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ปัจจัยนี้กดดันตลาดมากขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐ 1Q58 ที่หดตัว 0.7%QoQ แย่ลงจากประมาณการครั้งแรกที่ +0.2%QoQ ก็มีผลกระทบด้วย แต่ประเด็นนี้ยังไม่มากเพราะนำไปสู่ความคาดหวังว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วสำหรับหุ้นพื้นฐานที่แนะนำซื้อ โดยเฉพาะเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัววันนี้เป็น CENTEL เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งต่อใน2Q58 เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ยังเติบโตกว่า 20%YoY
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นลบมากกว่าบวก แต่ดัชนีมีโอกาสรีบาวด์ก่อนลงต่ำต่อ กรอบแนวต้านระยะสั้นอยู่ที่1500-1510, 1520 จุด แนะนำซื้อเก็งกำไรตามด้วยค่าบวก ค่าลบดูไม่ดี แนะนำให้ Wait & See หรือลดพอร์ตตามในกรณีที่มีหุ้นจำนวนมากและเงินสดเหลืออยู่น้อย
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
- สหรัฐ : GDP ไตรมาส 1/58 รายงานครั้งที่สอง -0.7%QoQจากที่ประเมินครั้งแรกไว้ที่ +0.2%QoQ ทั้งนี้เพราะการแข็งค่าของเงินUS$ กระทบภาคส่งออก การลงทุนถาวรที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย และการใช้จ่ายภาครัฐที่อ่อนแอ ซึ่งบดบังการใช้จ่ายผู้บริโภค การลงทุนในสินค้าคงคลังภาคเอกชน และการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวดีขึ้น
- สหรัฐ : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกหดตัวลงในเดือนพ.ค.สู่ 46.2 จาก 52.3 ในเดือนเม.ย. ดัชนีต่ำกว่าระดับ 50บ่งชี้ถึงภาวะหดตัวของภาคการผลิต ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐใน 2Q58
- สหรัฐ : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐขั้นสุดท้ายของเดือนพ.ค.ดีกว่าตัวเลขเบื้องต้นแต่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนๆ โดยดัชนีเดือนพ.ค.อยู่ที่ 90.7 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 88.6 แต่ต่ำกว่ามากจากระดับ 95.9 ในเดือนเม.ย. หลังจากพุ่งแตะระดับ 98.1 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี
+ สหรัฐ : ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.เพิ่มเป็น 52.8 จาก51.5 ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และตัวเลขภาคก่อสร้างเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 2.2% ดีกว่าประมาณการที่ 0.7%
- กรีซ : ธนาคารรายใหญ่ 2 แห่งของกรีซต้องพึ่งพาการระดมทุนจาก ECB มากขึ้น จากการถูกประชาชนถอนเงินออกไปไว้ในต่างแดน โดยสองธนาคารรายใหญ่ คือ เนชันแนล แบงก์ ออฟ กรีซ ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของกรีซเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์ และธนาคารอัลฟา แบงก์ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยในวันศุกร์ว่าปริมาณเงินฝากในธนาคารของกรีซได้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า10 ปี โดยเฉพาะเดือนเม.ย.58 ทาง ECB ระบุว่ามีการถอนเงินออกจากธนาคารสูงถึง 5 พันล้านยูโร ส่งผลให้ปริมาณเงินฝากของภาคครัวเรือน ณ สิ้นเดือนเม.ย.อยู่ที่ระดับ 1.394 แสนล้านยูโร ลดลงจากระดับ 1.45 แสนล้านยูโรในเดือนมี.ค.58 และต่ำสุดนับตั้งแต่พ.ย.47
-/• ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงแรงวันศุกร์แล้วบวกกลับเล็กน้อยวันจันทร์ เนื่องจากเศรษฐกิจ1Q58 ซบเซาเกินคาด และดัชนี PMI เชตชิคาโกที่ต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือนพ.ค.ทำให้กังวลว่าเศรษฐกิจ 2Q58อาจจะไม่สดใสนัก แต่ตัวเลข PMI ภาคผลิตที่เพิ่มขึ้นช่วยพยุงไว้
+ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 ปี เบเกอร์ ฮิวจส์ อิงค์ ระบุว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐลดลง 13 แท่น มาอยู่ที่ 646 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.53 จับตาผลการประชุมของกลุ่มโอเปกวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ที่กรุงเวียนนา ว่ากลุ่มจะลดปริมาณการผลิตเพื่อหนุนราคาน้ำมันหรือไม่ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ
+ สัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นวันศุกร์และแกว่งแคบเมื่อคืนนี้ โดยWTI ส่งมอบเดือนก.ค.อยู่ที่ 60.20 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENTปิดที่ 64.88 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยการลดการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะน้ำมัน ทำให้มีความหวังว่าภาวะอุปทานล้านเกินจะผ่อนคลายลงในระยะกลาง-ยาว
• ราคาทองคำตลาด COMEX ทรงตัวใน 2 วันทำการที่ผ่านมาโดยสัญญาส่งมอบเดือนส.ค. ปิดที่ 1,188.70 ดอลลาร์/ออนซ์ปัจจัยในประเทศและหุ้นเด่น
+ ธุรกิจสายการบิน : กรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น (JCAB) ขยายเวลาผ่อนปรนให้สายการบินของไทยให้ทำการบินได้ภายใต้เงื่อนไขเดิมออกไปโดยไม่มีกำหนด (ซึ่ง MOU เดิมจะสิ้นสุดในวันที่ 31 พ.ค.58) โดยในระหว่างนี้ ทาง JCAB จะมีการสุ่มตรวจสายการบินของไทยตามปกติ พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าในการแก้ไข ICAOต้องการ ดังนั้นสายการบินประจำและสายการบินเช่าเหมาลำของไทยยังทำการบินไปยังญี่ปุ่นได้ตามปกติภายใต้เงื่อนไข MOU เดิม
ความเห็น Retail Research : นับเป็นข่าวบวกกับธุรกิจสายการบินที่ได้รับการผ่อนปรนจาก JCAB ซึ่งทำให้บริการการบินไทย-ญี่ปุ่นยังเป็นไปได้ปกติ ซึ่งเส้นทางนี้มีจำนวนเที่ยวบินมาก เพราะญี่ปุ่นเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าเงินเยนอ่อน สำหรับหุ้นสายการบินที่เราแนะนำซื้อ คือ AAV และ BA
+ MCS…ธุรกิจฟื้นตัว หลังงานในมือและการรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นโดยเห็นได้ใน 1Q58 ที่รายได้จากการขายและบริการเติบโตก้าวกระโดด 212%YoY เป็น 903 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นขยับขึ้นเล็กน้อยเป็น 36.6% จาก 35.8% ใน 1Q57 กำไรสุทธิขยายตัว334%YoY เป็น 191 ล้านบาท หากไม่รวมรายการกำไรจาก FX ซึ่งมี8 ล้านบาทใน 1Q58 และ 3 ล้านบาทใน 1Q57 พบว่า Norm Profitใน 1Q58 ขยายตัว 348%YoY เป็น 183 ล้านบาท (Norm EPS :0.37 บาท/หุ้น) ฐานะการเงินแข็งแกร่งมาก ณ สิ้นมี.ค.58 บริษัทไม่มีหนี้สิน และมีเงินสดในมือ+เงินลงทุนระยะสั้นเท่ากับ 849 ล้านบาทคิดเป็น 1.70 บาท/หุ้น (ที่ราคาปิด 8.60 บาท มี Market Cap 4.3พันล้านบาท) แนวโน้มธุรกิจไปได้ดี เห็นว่า MCS เป็นหุ้นTurnaround Play หนึ่งที่น่าสนใจลงทุน ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคให้แนวต้านระยะไว้ที่ 9.50 บาท และ Stop loss เมื่อหลุด 8.10 บาท
+ ML : มารูเบนนี บริษัทใหญ่ญี่ปุ่น เจรจาซื้อหุ้น ML 46.98% ที่ราคาไม่ต่ำกว่า 2.20 บาท คาดใช้เป็นฐานปล่อยสินเชื่อรายย่อย(ข่าวหุ้น) ทั้งนี้ราคาปิดของ ML ล่าสุดอยู่ที่ 1.98 บาท ต่ำกว่าราคาที่จะซื้อขายขั้นต่ำตามกระแสข่าวอยู่ 10%
• รมว.คลังเคลียร์ประเด็นขายหุ้นที่ก.คลังถือ ว่าจะขายเฉพาะหุ้นที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ฯที่ประเมินว่าแล้วว่าถือไปก็ไม่เกิดประโยชน์มากนัก
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]