- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 27 May 2015 16:42
- Hits: 1115
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ซื้อแล้วยังถือไว้ก่อนได้ แต่ถ้าจะซื้อใหม่คงต้องรอซื้อต่ำ...
กลยุทธ์ : แม้ว่าส่วนที่ซื้อไว้แล้ว FSS ยังแนะนำให้เน้นถือไว้เพื่อรอขายทำกำไรและลดพอร์ตในช่วงตลาดรีบาวด์กลับได้ แต่ระยะนี้ SET ยังมีสิทธิแกว่งลงต่อ ดังนั้นถ้าจะเลือกหุ้นเข้าซื้อเพิ่มช่วงนี้ จึงควรรอให้ดัชนีไหลลงต่ำก่อนดีกว่า และเนื่องจาก upside มีจำกัดตามที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว จึงต้องเลือกซื้อเป็นรายตัวโดยพิจารณาจากราคาตลาดที่ต่ำกว่าพื้นฐานมากๆ เป็นเกณฑ์
หุ้นเด่นทางเทคนิค : PTG, TCMC, SPCG(short)
แนวโน้ม : เมื่อวานนี้แม้ว่า SET จะแกว่งทรงตัวได้ดีขึ้นในช่วงเช้า แต่สุดท้ายในภาคบ่ายก็ยังมีแรงขายออกมากดดันให้ดัชนีปรับตัวลงรุนแรงต่อเนื่องอีกครั้ง เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาช่วยหนุน ขณะที่ตัวเลขส่งออกของไทยเดือน เม.ย. ที่หดตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำจนน่าเป็นห่วง และยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวให้เห็น จึงทำให้นักลงทุนยังไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะสามารถฟื้นตัวได้หรือไม่ รวมทั้งความวิตกต่อประเด็นต่างประเทศก็ยังปกคลุมตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาหนี้ของกรีซ หรือแม้กระทั่งโอกาสในการที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปเมื่อคืนนี้ก็ปรับตัวลงกันค่อนข้างรุนแรง หลังข้อมูลเศรษฐกิจบางรายการของสหรัฐออกมาแข็งแกร่งกว่าคาดมาก ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อเนื่องเป็นตัวกดดันตลาดหุ้นด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานเฟดก็ได้ส่งสัญญาณเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ไว้แล้ว ทำให้เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียกลับมาเปิดปรับตัวลงต่อ และน่าจะยังกดดันให้ SET อยู่ในช่วงปรับตัวลงต่อเนื่องด้วย ดังนั้นถ้าจะเลือกหุ้นเข้าซื้อเพิ่มก็ควรรอให้ SET ไหลลงต่ำก่อนดีกว่า
แนวรับ 1496-1494 , 1490-1487 , 1484-1480 จุด
แนวต้าน 1502-1505 , 1508-1513 จุด
Fund Flow วานนี้ไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคในปริมาณที่เบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$155.6 ล้าน ไทย US$33.2 ล้าน เกาหลีใต้ US$25.8 ล้าน และ อินโดนีเซีย US$10.1 ล้าน และเวียดนาม US$8.0 ล้าน แต่ขายฟิลิปปินส์ US$12.9 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้อ่อนค่าตามค่าเงินยูโร Flow น่าจะยังเบาบางต่อเนื่อง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ดาวโจนส์ร่วงเพราะตัวเลขเศรษฐกิจกิจดี ข้อมูลตลาดบ้านออกมาสดใส ความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า และฉุดให้นักลงทุนกลัวว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย สถานการณ์แบบนี้จะอยู่กับเราไปจนกว่า Fed จะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการ ซึ่ง Yellen ส่งสัญญาณอาจปรับขึ้นในปีนี้ (นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดเดือน ก.ย.) หากเทียบกับเหตุการณ์ที่ตลาดกังวลกับการยกเลิก QE3 ในปี 2013 SET ปรับฐาน 22% กินเวลา 3 เดือนก่อนยกเลิก QE3 แต่เชื่อว่าการปรับฐานของ SET ในปีนี้ไม่เลวร้ายเหมือนในอดีตเพราะต่างชาติไม่ได้ Overweight หุ้นไทยเหมือนในอดีต ขณะที่นักลงทุนรับรู้ข่าวร้ายมาตลอดทั้งเรื่องกรีซ การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และเศรษฐกิจในประเทศชะลอ
(-) การนำเข้าที่หดตัวสะท้อนกำลังซื้อที่แผ่วลงอย่างน่ากังวล สำหรับมูลค่าส่งออก เม.ย. ต่ำสุดในรอบ 37 เดือน เพียง US$1.69 หมื่นล้าน มีโอกาสสูงที่ทั้งปีจะติดลบ ซึ่งแย่กว่าที่ทั้งธปท. ก.พาณิชย์ และสภาพัฒน์ฯคาดว่าจะโต 0.2-1.2% เพราะถ้าจะให้ส่งออกปีนี้ทรงตัว ช่วงที่เหลือของปีต้องมียอดส่งออกเฉลี่ยเดือนละ US$1.96 หมื่นล้าน ถือว่าท้ายทาย ที่แย่กว่านั้นคือการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนชะลอต่อเนื่อง สะท้อนกำลังซื้อในประเทศที่แผ่วลงอย่างน่ากังวล การประชุมกนง. 10 มิ.ย. จึงไม่น่าปิดโอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย และหากเป็นเช่นนั้น น่าจะเป็นข่าวร้ายกับตลาดหุ้นและกลุ่มแบงก์อีกครั้ง
(+) TK เราปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2015 ขึ้น 40% เป็น 464 ล้านบาท เติบโต137% Y-Y หลังผลประกอบการ 1Q15 ยืนยันการฟื้นตัวที่มีเสถียรภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการตั้งสำรองหนี้สูญน้อยลงหลังจากผ่านการตั้งอย่างเข้มข้นไปในปีที่แล้ว ขณะที่ NPL เริ่มดีขึ้น แม้ว่าสินเชื่อในปีนี้อาจทำได้เพียงทรงตัว เพราะนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดของบริษัท ราคาหุ้นที่ปรับลงมาทำให้ upside กว้างขึ้นจากราคาเป้าหมาย 11.20 บาท จึงเพิ่มคำแนะนำเป็นซื้อ จากเดิมถือ
(0) AIT การใช้จ่ายด้านไอทีของหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะ TOT และ CAT ที่ซบเซา กระทบผลประกอบการของ AIT ในปีนี้ เราเชื่อว่าเป้ารายได้ที่บริษัทตั้งไว้ 6.8 พันล้านบาทปีนี้ +5% Y-Y สูงเกินไป เพราะเหลือ Backlog 1.8 พันล้านบาทหลังส่งมอบงานไปแล้ว 1.3 พันล้านบาทใน 1Q15 เราคาดรายได้ปีนี้เพียง 5.2 พันล้านบาท (-19% Y-Y) คาดกำไรสุทธิลดลง 19% Y-Y แต่เชื่อว่าจะจ่ายปันผลได้ 2 บาท/หุ้นเท่าปีก่อน คิดเป็น Yield 5.9% แม้จะต่ำกว่าในอดีตที่ 8-11% ต่อปี แต่ดีกว่าหุ้นอีกหลายตัวในตลาด แนะนำทยอยสะสมเมื่ออ่อนตัวเพราะกว่าจะจ่ายปันผลอีกครั้งประมาณ ส.ค.-ก.ย. ราคาเป้าหมายของเราที่ 36 บาทยังมี upside ไม่มากนัก
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงราว 1% โดยตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ประกาศออกมาดีกว่าคาดซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ในช่วงครึ่งปีหลัง
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดในแดนลบต่อเนื่องโดยตลาดยังกังวลต่อสถานการณ์หนี้ของกรีซที่อาจจะผิดนัดชำระ รวมถึงแรงกดดันจากการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนลบเช่นกันตามตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่สดใส
ค่าเงินบาทแกว่งตัวอ่อนค่าลง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 33.68-33.77 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.ค. ปิดที่ 58.03 เหรียญ/บาร์เรล ร่วงลง 1.69 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นรวมถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิต Shale oil ในสหรัฐฯจะเพิ่มการขุดเจาะ
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 1,186.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 17.10 เหรียญ/ออนซ์ หลังตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ออกมาแข็งแกร่งกว่าคาด รวมถึงถ้อยคำแถลงของประธาน FED มีท่าทีดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายน้อยลง
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
28 พ.ค. - ฟิลิปปินส์: 1Q15 GDP
- สหรัฐ: Pending Home Sales (เม.ย.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พ.ค.)
29 พ.ค. - MSCI Index Semi-annual Review การปรับเปลี่ยนหุ้นอิงราคาปิดวันนี้
- ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน เม.ย.,ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เม.ย.)
- สหรัฐ: 1Q15 GDP
- กรีซ:เจ้าหนี้กำหนดให้กรีซยื่นแผนปฎิรูปเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม
1 มิ.ย. - ไทย:อัตราเงินเฟ้อ (พ.ค.)
- จีน:Manufacturing PMI (พ.ค.)
- สหรัฐ:Personal income, Personal spending (เม.ย.)
- ยูโรโซน:Markit Eurozone Manufacturing PMI (พ.ค.)
2 มิ.ย. - อินเดีย:ธนาคารกลาง (RBI) ประชุม
- ออสเตรเลีย: ธนาคารกลาง (RBA) ประชุม,GDP 1Q15
- ยูโรโซน:อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
3 มิ.ย. - จีน:HSBC China Composite PMI (พ.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research