- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Saturday, 23 May 2015 00:10
- Hits: 1593
บล.กรุงศรี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
บทวิจัยตลาดทุนกรุงศรี (Morning Brief Package)
ภาวะตลาดหุ้นวานนี้:
หลังจากพันฐาน SET วานนี้แกว่งตัวในกรอบแคบลงเพียง 7.35 จุด โดยขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1530 จุดอีกครั้ง และช่วงบ่ายอ่อนตัวปิดตลาดที่ 1526.25 จุด (+6.14 จุด, +0.40%) ซึ่งถือว่า Outperformed เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่มูลค่าซื้อขายยังถือว่าอยู่ในระดับสูง กลุ่มธนาคารปรับตัวลงต่อเนื่อง (-0.52%) ส่วนทางดัชนีกลุ่มหลักและรองที่ปรับตัวขึ้นส่วนใหญ่เช่น สื่อสาร อสังหาฯ พลังงาน วัสดุฯ ปิโตรเคมี พาณิชย์ เนื่องจากยังมีแรงกดดันต่อทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และ NIM (ส่วนต่างกำไรดอกเบี้ย) ที่จะแคบลงในครึ่งปีหลังของกลุ่มธนาคาร มูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับ 40,152 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติยังซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 อีก 943 ล้านบาท กองทุนในประเทศขายสุทธิ 262 ล้านบาท
แนวโน้มวันนี้:
ด้าน Fund Flows – มีโอกาสสูงว่าในทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะไม่เกิดขึ้นในเดือนมิ.ย. หรือจะเกิดขึ้นช่วงปลายไตรมาส 3/58 สาเหตุจากตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งอาจมีผลเชิงบวกต่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายเข้าสู่ตลาดทุนโลกในระยะสั้น (ค่าเงิน US$ Index ปัจจุบันทรงตัวที่ 95 มีแนวโน้มอ่อนค่าได้ในระยะสั้น) ในวันนี้ให้จับตาดูประธานเฟดจะมีการแถลงการณ์เรื่องนโยบายดอกเบี้ย วันนี้เราประเมินทิศทาง SET มีแนวโน้ม Positive แนะนำซื้อ มองกรอบแนวรับ/ต้าน 1520/1540 จุด (หลีกเลี่ยงหากดัชนีหลุด 1525 จุด) กลุ่มธนาคารได้รับรู้ปัจจัยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปในระดับที่มาก หรือกว่า 12% ในรอบ 1 เดือน การปรับตัวลง KBANK, SCB ยังเป็นโอกาสซื้อเล่นสั้นและยาว และ KTB ซื้อเพื่อเทคนิคเคิลรีบาวด์สั้นที่แนวรับ ที่เหลือ BMDS, SPALI, และ BANPU
ราคาหุ้น MAKRO ดีดตัวขึ้น 11.6% ในช่วง 2 วันทำการ และ CPALL ดีดตัวขึ้น 9.3% ในช่วง 8 วันทำการ สาเหตุจาก CPALL ได้ยื่นไฟล์ลิ่งแจ้งความจำนงขายหุ้นเพื่อลดสัดส่วนการถือครองหุ้น MAKRO ให้มี Freefloat เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 2.12% ราคาขายยังไม่ได้กำหนด (ต้นทุนซื้อหุ้น MAKRO ที่ 39.35 บาท) แนะนำให้หลีกเลี่ยง หรือขายทำกำไร (Sell on strenght) MAKRO ในระยะสั้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบ
รายงานการประชุมเฟดชี้ว่าหลังจากพิจารณาถึงความไม่แน่นอนที่มีเพิ่มขึ้นและสัญญาณของเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง กรรมการเฟดสรุปที่จะเลื่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปเป็นช่วงหลังของปีนี้ แต่ก็ยังมีกรรมการเฟดหลายคนที่ไม่คิดว่าตัวเลขข้อมูลที่จะออกมาในเดือนมิ.ย. จะมีชัดพอที่จะยืนยันว่าควรจะขึ้นดอกเบี้ยได้ รอยเตอร์โพลจากจำนวนนักเศรษฐศาสตร์ 50 ใน 62 คน มองว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนในเดือนพ.ค.ขยับขึ้นแตะ 49.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 48.9 ในเดือนเม.ย. อย่างไรก็ตามตัวเลขเดือนพ.ค.ต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ 49.3 และต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้นที่ 52.3 สูงสุดในรอบ 13 เดือนจาก 52.0 ในเดือนเม.ย. ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นเดือนพ.ค.ปรับตัวลงเหลือ 53.3 ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน เมื่อเทียบ 54.1 ในเดือนเม.ย. การขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในเดือนพ.ค.ชะลอความแรงลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แต่อัตราการขยายตัวยังถือว่าอยู่ในระดับที่กระตุ้นให้บริษัทต่างๆมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี
กระทรวงพลังงานยืนยันนโยบายการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ในภาคขนส่งที่ปัจจุบันเก็บเพียง 1 บาทต่อลิตรให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมเพื่อความเป็นธรรมเนื่องจากปัจจุบันผู้ที่ใช้น้ำมันในภาคขนส่งเองต้องจ่ายภาษีสรรพสามิต 4-5 บาทต่อลิตร ส่วนจะมีผลเมื่อใดนั้นขณะนี้กำลังรอกระทรวงการคลังแก้กฏหมายภาษีสรรพสามิตรวม 7 ฉบับที่ล่าสุดอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. คาดว่าจะมีการประกาศใช้ได้ในเร็วๆนี้
รายงานประจำวันนี้
CPN | NR/ Fair Value NR
Company Update: Still churning out the growth