- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 22 May 2015 23:24
- Hits: 1300
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ยังขาดแรงหนุน ขณะที่ SET มี Expected P/R 15.5 เท่า และมีความเสี่ยงต่อการปรับลดประมาณการกำไรอีก กลยุทธ์ยังเน้นเป็นรายหุ้นหุ้นที่มีกำไรฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้ (RCL, VNG, IRPC) ซึ่งหลังนักวิเคราะห์ ASPS เข้าพบผู้บริหารยิ่งมั่นใจ VNG ([email protected]) มากขึ้นจึงเลือก เป็น Top Pick นอกจากกำไรจะเพิ่มขึ้นทุกไตรมาสที่เหลือของปีนี้ ยังมี P/E 10 เท่าและเงินปันผล 4%
SET Index 1,526.25
เปลี่ยนแปลง (จุด) 6.14
มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท) 40,151.77
ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ 942.70
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -206.13
นักลงทุนสถาบันในประเทศ -261.72
นักลงทุนรายย่อย -474.86
เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวล่าช้า ขึ้นกับ สหรัฐ ยุโรป และจีน
การฟื้นตัวของหลายประเทศยังไม่เป็นไปในทางเดียวกัน ล่าสุดญี่ปุ่นรายงาน GDP Growth งวด 1Q58 0.6%qoq (-1.4%yoy) ซึ่งดีกว่าตลาดคาด แม้งวด 1Q57 ฐาน GDP จะสูงเนื่องจากผลของการเร่งจ่ายก่อนการขึ้นภาษีขาย (sale tax) ในเดือน เม.ย. แต่น่าจะได้ผลบวกจากการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE ตั้งแต่ ต.ค. 2557 ขณะที่สหรัฐเริ่มกลับมาชะลอตัวหลังจากที่ฟื้นตัวในปี 2557 ซึ่งทำให้สหรัฐยังคงต้องใช้ดอกเบี้ยนโยบายต่ำต่อไปตลอดปี 2558 และเช่นเดียวกับจีนที่พบว่ายังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งทำให้ธนาคารกลางจีนยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง แม้ว่าได้มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย และ RRR มาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ปลายปี 2557 ตรงข้ามกับยุโรปที่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่าน QE ตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา
สหรัฐ ล่าสุด รายงานดัชนีผู้จัดการซื้อ (PMI) เดือน พ.ค. ปรับตัวลดลง อยู่ที่ 53.8 และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 54.5 (เดือนเม.ย. อยู่ ที่ 54.1) สอดคล้องกับการรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตหรือ PPI เดือน เม.ย. หดตัว 0.4% mom และการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง 0.3% ซึ่งสะท้อนถึงการปรับตัวลงของภาคการผลิต และเช่นเดียวกับการบริโภค ที่ชะลอตัวเช่นกัน กล่าวคือ ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. ที่ไม่ขยายตัว และดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI เพิ่มขึ้นเพียง 0.2% (ตลาดคาดที่ 0.3%) ขณะที่ตลาดแรงงานยังมีความเสี่ยง สะท้อนจาก ยอดผู้ตกงานขอรับสวัสดิ์การณ์การว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้น 10,000 ตำแหน่ง (อยู่ที่ 274,000 ราย) สวนทางจาก 3 สัปดาห์ก่อนหน้า รายงานตัวเลขลดลง ซึ่งอาจชี้นำว่าตัวเลขอัตราการว่างงานที่จะออกมาน่าจะอยู่ในระดับคงที่ และน่าจะหนุนให้ Fed ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไปอีก
ยุโรป ล่าสุดดัชนีชี้นำภาคการผลิตปรับตัวดีขึ้นโดย PMI ภาคการผลิตเดือน พ.ค.ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 52.3 (คาด 51.8) สุงสุดในรอบ 12 เดือน แม้ว่าตัวเลข PMI ภาคการผลิตและบริการ ที่ปรับตัวลง จาก 53.9 เป็น 53.4 (ต่ำกว่าคาด ที่ 53.9) ทั้งนี้อาจเกิดจากการชะลอตัวของภาคบริการ นอกจากนี้แล้วในช่วง 2Q58 ที่เหลือ (พ.ค. และ มิ.ย.) ECB มีแผนที่จะเพิ่มวงเงินอัดฉีดเข้าในระบบเพิ่มขึ้น(จากปกติที่ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มอีก ทั้งนี้อาจคาดได้ว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจใน 2Q58 นี้ จะปรับตัวดีขึ้น จากเดิม 1Q58 ที่ขยายตัว 0.4% qoq เช่นเดียวกับการรายงานผลการประชุมของ ECB ในเดือน เม.ย. ที่รายงานเมื่อวาน ว่าการใช้ QE สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของยูโรโซนได้ และจะดำเนินการกระตุ้นต่อจนถึง ก.ย. 2559
จีน ตัวเลข PMI ภาคการผลิต ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ 49.1 (คาดการณ์ 49.3) ซึ่งสะท้อนถึงการผลิตที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ธนาคารกลางจีน จำเป็นที่จะต้องออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ผ่านการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบาย และ RRR ต่อเนื่องตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งน่าจะเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซีย
ราคาน้ำมันดิบโลกน่าจะแกว่งในทิศทางขาขึ้น
คาดว่าแนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มแกว่งตัวขึ้นมากกว่าลง สะท้อนจากที่ได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 10 (นับเป็นการขึ้นติดต่อกันยาวนานที่สุด นับตั้งแต่มีการซื้อขายน้ำมันในปี 2526) เชื่อว่าปัจจัยหนุนหลัก น่าจะมาจากความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้จะค่อนข้างช้าก็ตาม สะท้อนจากเมื่อกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา OPEC ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้ขึ้นอีก 1.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน (จากเดิม 1.17 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 92.50 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ทางด้านฝั่ง supply กลับลดลง 390,000 บาร์เรล ส่งผลให้ supply ทั่วโลกอยู่ที่ 94.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปริมาณผลิตน้ำมันดิบทั้งหมดของสหรัฐที่ลดลง 112,000 บาร์เรล อยู่ที่ 9.262 ล้านบาร์เรลต่อวัน อันเป็นผลมาจากการลด/เลิกการผลิตของกลุ่ม Shale oil เนื่องจากราคาตลาดไม่คุ้มต้นทุนการผลิต (ทำให้จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันยังคงลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8 ล่าสุดลดลงอีก 11 แห่ง สู่ระดับ 660 แห่ง) นอกจากนี้ ปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลางโดยเฉพาะการสู้รบในเยเมนที่กระทบต่อเส้นทางขนส่งน้ำมัน ทำให้ระดับ demand และ supply จะกลับเข้าสู่สมดุลอีกครั้งในระยะต่อไป ประกอบกับระยะสั้นสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ล่าสุดลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 และต่ำสุดในรอบกว่า 1.5 เดือน ล่าสุด น้ำมันดิบดูไบยังยืนอยู่เหนือ 60 เหรียญต่อบาร์เรลได้ ล่าสุดอยู่ที่ 63.42 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 55.12 เหรียญฯ เทียบกับสมมติฐานของ ฝ่ายวิจัยกำหนดราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้ที่ 70 เหรียญฯ ทำให้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ราคาน้ำมันดิบดูไปเฉลี่ยมีโอกาสขึ้นไปถึง 78 เหรียญฯ ซึ่งยังเปน็ ปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงานได้แก่ PTT ([email protected]) และ PTTEP (FV@B140)
ต่างชาติสลับขายภูมิภาค แต่ซื้อสุทธิหุ้นไทยเป็นวันที่ 2
วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาค (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วันทำการ) ราว 242 ล้านเหรียญ โดยขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศคือ ตลาดหุ้นไต้หวันขายสุทธิเป็นวันที่สองกว่า 398 ล้านเหรียญ (ซึ่งถือเป็นการขายสุทธิสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา) และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิ 15 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศถูกซื้อสุทธิ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ซื้อสุทธิกว่า 118 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 5) ตลาดหุ้นอินโดนีเซียสลับมาซื้อสุทธิเป็นวันแรกราว 25 ล้านเหรียญ (หลังจากถูกขายสุทธิต่อเนื่องกว่า 10 วัน) และตลาดหุ้นไทยถูกซื้อสุทธิราว 28 ล้านเหรียญ หรือ 943 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิต่อวันที่สองราว 262 ล้านบาท
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 997 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1,672 ล้านบาท อาจจะเป็นเหตผลหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากวันก่อนหน้า โดยล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.40 บาท/ดอลลาร์
กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นที่มีกำไรเติบโตในช่วงที่เหลือของปีนี้
หลังจากที่นำเสนอ ผลการปรับปรุงกำไรตลาดปี 2558 และ 2559 โดยการปรับลดประมาณการกำไรตลาดลงราว 5.5% เหลือ 9 แสนล้านบาท และปรับลดปี 2559 ลง 2.5% เหลือ 1.04 ล้านล้านบาท คิดเป็นหุ้นละ 97.94 บาท และ 112.43 บาท หรือมีอัตราการเติบโต 30.92% และ 14.80% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามเกิดความผิดพลาดเล็กน้อย ตัวเลข EPS growth ของปี 2558 ที่ถูกต้องควรจะเป็น 27% จึงขอให้ใช้ตัวเลขใหม่นี้แทนนะครับ และภายใต้ EPS ใหม่มีค่า Expected PER 15.5 เท่า ซึ่งเท่ากับดัชนีเป้าหมาย(อิง P/E 15.5 เท่า อยู่ที่ 1,525 จุด) ทำให้มี upside ค่อนข้างจำกัด ขณะที่คาดว่าโอกาสการปรับลดประมาณการกำไรในปี 2558 ยังมีอยู่ด้วยเหตุผลที่ว่ากำไรงวด 1Q58 ทำได้ 2.24 แสนล้านบาท ขณะที่ตลอดปี 2558 คาดว่าจะทำกำไรสุทธิภายใต้ประมาณการใหม่จะอยู่ที่ 9 แสนล้านบาท นั่นหมายความว่างวดที่เหลือ 9M58 ต้องทำได้เฉลี่ย 2.4 แสนล้านบาทต่อไตรมาส ซึ่งเป็นไปได้ยาก เพราะงวดไตรมาสแรกมักจะเป็นไตรมาสสูงสุดของปีและมักอ่อนตัวลงในงวดไตรมาส 2
และอีกประการคือ สมมติฐานที่นักวิเคราะห์ ASPS ใช้ในการประมาณการกำไรตลาดอาจจะยังมีความเสี่ยงอยู่คือ และ 1 ) เศรษฐกิจย่ำแย่กว่า อาจจะมีผลต่อการอุตสาหกรรมที่อิงเศรษฐกิจในประเทศได้แก่ ธนาคารพาณิชย์กระทบต่อ ปล่อยสินเชื่อ และ NPL ซึ่งนำไปสู่การตั้งสำรอง ฯ ตามมาด้วยกลุ่มอสังหาริทรัพย์ และ บันเทิง เป็นต้น และ 2) ราคาน้ำมันดิบดูไบอาจจะเป็นไปตามสมมติฐาน 70 เหรียญฯ/บาร์เรล ในปี 2558 (และเพิ่มเป็น 80 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล 2559) เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน 57 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล ดังนั้นช่วงทีเหลือต้องเฉลี่ย 79 เหรียญฯ เพื่อให้เป็นไปตามอย่างไรกตาม หากราคาน้ำมันดิบไม่เป็นไปตามสมมติฐาน พบว่าทุกๆ 5 เหรียญฯ ที่ต่ำกว่าประมาณการ จะมีผลทำให้กำไรกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีหายไปราว 4 พันล้านบาท (0.2% ของประมาณการเดิม) ขณะที่กำไรของกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี มีสัดส่วนราว 20% ของกำไรตลาดรวม
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของตลาดหุ้นไทยก็ยังมีอยู่ก็คือ ค่า Expected P/E ที่ 15.5 เท่า ซึ่งปัจจุบันถือว่าถูกกว่าทุกตลาดในภูมิภาคเอเซียไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม TIP คือ ฟิลิปปินส์มีค่า Expected P/E 20.1 เท่า และ อินเดีย 15.8 เท่า มาเลเซีย 16.6 เท่า, จีน 18.05 เท่า จึงอาจจะเป็นแรงจูงใจนักลงทุนต่างชาติซึ่งได้ขายหุ้นไทยติดต่อกันเวลานานเกือบ 2 ปี
กลยุทธ์การลงทุนในสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากเน้นหุ้นที่มีกำไรโดดเด่นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ เช่น RCL, VNG, TUF, IRPC, แล้วยังแนะนำหุ้นที่มีคุณสมบัติ 1L1H ดังต่อไปนี้ คือ 1) หุ้นที่มีค่า Expected P/E ต่ำกว่า 12 เท่า และ EPS Growth มากกว่า 27% (มากกว่าตลาด) และ 2) หุ้นที่มีค่า Expected P/E ต่ำกว่า 12 และ มี Dividend Yield สูงเกิน 4% ซึ่งจากการใช้ ASP Smart (เป็น application เรื่องหุ้น และ warrant บนมือถือ) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคัดกรองหุ้น ซึ่งได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้
1L1H ชุดแรก Top pick คือ VNG upside สูงสุด
- VNG ([email protected]) Expected P/E 10 เท่า, EPS Growth 42.4%, Upside 25%
- PTT ([email protected]) Expected P/E 10.3 เท่า, EPS Growth 86.1%, Upside 10.3%
- PTTGC ([email protected]) Expected P/E 10 เท่า, EPS Growth 97.8%, Upside 2%
1L1H ชุดสอง Top pick คือ ASK, THANI มี yield สูงสุด
- SPALI ([email protected]) Expected P/E 5.9 เท่า, Div.Yield 6.8%, Upside 68.2%
- THANI ([email protected]) Expected P/E 7.5 เท่า, Div.Yield 8.1%, Upside 59.4%
- AIT (FV@B53) Expected P/E 9.1 เท่า, Div.Yield 5.9%, Upside 53.6%
- STPI ([email protected]) Expected P/E 7.9 เท่า, Div.Yield 4.8%, Upside 50.6%
- ASK ([email protected]) Expected P/E 8.6 เท่า, Div.Yield 8.1%, Upside 45.4%
- TVO (FV@B30) Expected P/E 10.6 เท่า, Div.Yield 7.9%, Upside 32.2%
- BJCHI ([email protected]) Expected P/E 9.3 เท่า, Div.Yield 6.2%, Upside 28.7%
SET50-SET100 Plays : เลือก BA, RS เป็น Top picks
ฝ่ายวิจัยคาดการณ์หุ้นเข้าคำนวณ SET50 และ SET100 รอบ 2H58 (เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.-31 ธ.ค. 2558) ซึ่งในรอบใหม่นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เพิ่มเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะเป็นองค์ประกอบของดัชนี SET50 และ SET100 ด้วยการพิจารณาปริมาณซื้อขายของหลักทรัพย์ (Turnover) เพิ่มเติม โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะพิจารณาจากสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายเทียบกับจำนวนหุ้นจดทะเบียนเรียกชำระแล้วของบริษัท ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีสภาพคล่องและซื้อขายได้ (Tradable) โดย ตลท. กำหนดตั้งต้นไว้ที่ 5% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนของบริษัท จึงทำให้การทบทวนรายชื่อหลักทรัพย์ รอบ 2H58 นี้ มีการเปลี่ยนแปลงของหุ้นที่เข้า-ออก มากพอสมควร
โดยหุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET50 รอบ 2H58 มีทั้งสิ้น 7 บริษัท คือ BLA, TPIPL, WHA, SUPER, ITD, BA และ SAWAD ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะออกจาก SET50 รอบ 2H58 คือ BAY, BIGC, BJC, KTIS, SPALI, THCOM และ VGI
ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET100 รอบ 2H58 มีทั้งสิ้น 16 บริษัท คือ BLA, WHA, SUPER, BA, MTLS, CBG, EPG, LHBANK, U, CKP, RS, UNIQ, WORK, BEAUTY, VNG และ MONO ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะออกจาก SET100 รอบ 2H58 คือ BAY, BCH, BIGC, BJC, BJCHI, DEMCO, LOXLEY, MC, MEGA, NOK, SF, SGP, SIM, STA, SVI และ THREL
จากการศึกษาข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา พบว่า หุ้นที่คาดการณ์ว่าจะถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี SET50 และ SET100 ราคาหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นตอบรับในเชิงบวกล่วงหน้าก่อนวันมีผลเข้าคำนวณ ตรงข้ามกับหุ้นที่คาดว่าจะถูกคัดออกที่ราคาหุ้นมักจะปรับตัวลดลง
กลยุทธ์การลงทุน สำหรับหุ้นทีคาดว่าจะเข้าคำนวณ SET50 แนะนำให้ซื้อก่อนเข้าคำนวณจริง (1 ก.ค.) ราว 1 เดือน และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่ามีความเป็นไปได้ถึงกว่า 74% ที่ผลตอบแทนเป็นบวก ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 7% เลือก BA (FV@B 25.5) เป็น Top pick
ส่วนหุ้นทีคาดว่าจะเข้าคำนวณ SET100 แนะนำให้ซื้อก่อนเข้าคำนวณจริง (1 ก.ค.) ราว 2 สัปดาห์ และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ ในอดีตพบว่ามีความน่าจะเป็นราว 58% ที่ผลตอบแทนเป็นบวก โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 1.4% เลือก RS (FV@B 21) เป็น Top pick (ติดตามอ่านใน Quantitative Analysis Report ฉบับวานนี้)
นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล