- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 May 2015 16:55
- Hits: 1236
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
แม้ SET แกว่งผันผวนบ้าง แต่ก็ยังลุ้นโอกาสบวกขึ้นค่อยขายได้
กลยุทธ์ : แม้ SET จะปรับย้อนลงบ้างหลังรีบาวด์ขึ้นมาหลายวันแล้ว แต่คาดว่ากรอบลบช่วงนี้ยังจำกัดและมีลุ้นแรงซื้อกลับเข้ามาหนุนให้ตลาดแกว่งบวกได้อีกครั้ง ดังนั้นยังแนะนำให้ถือหุ้นเพื่อรอขายทำกำไรและลดพอร์ตลงบ้างเมื่อตลาดดีดกลับขึ้นก่อนดีกว่า
หุ้นเด่นทางเทคนิค : THANI, RWI, TPIPL(short)
แนวโน้ม : เมื่อวานนี้ SET ดีดขึ้นก่อนในช่วงต้น แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาดัชนีขยับขึ้นมาพอควรแล้ว ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยหนุนใหม่ๆ เข้ามา จึงทำให้เริ่มมีแรงขายทำกำไรออกมากดดันตลาดบ้าง รวมทั้งมีแรงขายในหุ้นกลุ่มแบงก์ หลังจาก KBANK ประกาศนำร่องลดดอกเบี้ยตามแรงกระตุ้นของแบงก์ชาติด้วย ส่วนเช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศไม่ได้สดใสนัก โดยตลาดหุ้นเอเชียยังเปิดเป็นลบ ตามภาวะตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดลบเล็กน้อย จากรายงานการประชุมเฟดรอบล่าสุดที่ระบุว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเปิดเผยในเดือน มิ.ย.นั้นอาจจะไม่แข็งแกร่งนัก อย่างไรก็ตาม FSS คาดว่ากรอบการปรับพักตัวของ SET ช่วงนี้น่าจะยังมีกรอบลบจำกัด และยังมีลุ้นแรงซื้อกลับเข้ามาหนุนให้มีจังหวะแกว่งบวกอีกครั้งได้ เนื่องจากรายงานประชุมของเฟดดังกล่าว ช่วยสร้างความมั่นใจว่าเฟดคงจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไป นอกจากนี้ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนนี้หลายแห่งยังปิดบวกได้ดี เพราะได้รับแรงหนุนจากการขยับขึ้นของหุ้นกลุ่มสื่อสารและแบงก์ รวมทั้งนักลงทุนยังคาดว่า ECB จะเพิ่มวงเงินการซื้อพันธบัตรอีกในช่วงเดือน พ.ค.และ มิ.ย. ดังนั้นเรายังแนะนำให้รอขายทำกำไรในช่วงตลาดบวกได้เช่นเดิม
แนวรับ 1518-1516 , 1513-1506 จุด
แนวต้าน 1526-1532 , 1535-1538 จุด
Fund Flow วานนี้ยังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันในปริมาณเบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ US$195.1 ล้าน ไทย US$59.2 ล้าน และเวียดนาม US$4.4 ล้าน แต่ขายไต้หวัน US$50.4 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$8.0 ล้าน และอินโดนีเซีย US$7.6 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ค่อนข้างนิ่ง Flow น่าจะยังเบาบางต่อเนื่อง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) Fed Minutes ส่งสัญญาณยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยเดือน มิ.ย. นี้ แต่ดาวโจนส์แกว่งแคบเพื่อรอดูการแถลงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐของ Yellen ศุกร์นี้ว่าจะส่งสัญญาณใดๆหรือไม่ ล่าสุดนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาด Fed ขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็ว ก.ย. นี้
(-) กระแสลบกับกลุ่มแบงก์มีมากขึ้น หลัง KBANK ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ และเชื่อว่าธนาคารอื่นๆจะลดดอกเบี้ยตามมา นอกจากจะกระทบ NIM อย่างน้อย 2 ไตรมาสข้างหน้า ซึ่งทำให้ Growth story ของกลุ่มแบงก์ยิ่งหายไป (เหลือแต่ภาพของความแข็งแกร่ง) ยังสะท้อนความอ่อนแออย่างมากของเศรษฐกิจ เพราะการลดดอกเบี้ยไม่ได้ช่วยกระตุ้นสินเชื่อ แต่ช่วยลดต้นทุนของลูกค้าของธนาคารเอง ขณะที่สินเชื่อ เม.ย. ยังไม่มีสัญญาณดีขึ้น ความน่าสนใจในการลงทุนกลุ่มแบงก์เหลือเพียงความ “ถูก” เพราะ PBV ของแบงก์ปัจจุบันต่ำกว่าช่วงปลายยุค Subprime crisis ยกเว้น BAY และ KKP เราคาดว่าราคาหุ้นกลุ่มแบงก์จะ underperform ตลาดต่อไปอีกระยะหนึ่ง
(-) KBANK, SCB นำร่องลดดอกเบี้ย KBANK ลดดอกเบี้ย MLR, MOR 0.13% ลด MRR 0.25% มีผลวันนี้ การลดดอกเบี้ยจะกดดันให้ NIM ลดลงต่ำสุดใน 3Q15 เหลือ 3.55% จาก 3.67% ใน 1Q15 เราปรับกำไรของ KBANK ในปีนี้ลง 3% เป็นเติบโต 3.6% Y-Y ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 245 บาทจาก 260 บาท ส่วน SCB ลด MLR, MOR 0.08-0.10% ลด MRR 0.30% กระทบกำไรปีนี้ประมาณ 2-3% ราคาเป้าหมายอาจลดเหลือ 208 บาทจาก 218 บาท แนะนำชะลอการซื้อทั้ง KBANK และ SCB
(+) กลุ่มไฟแนนซ์ขนาดเล็กได้อานิสงส์ เรายังแนะนำ MTLS (ราคาเป้าหมาย 25 บาท, GL (ราคาเป้าหมาย 15 บาท) และ ASK, THANI
(0) KTC การย้ายธุรกิจตามเก็บหนี้ให้กับ Outsource รายหนึ่งตั้งแต่ปลาย เม.ย. ตามเกณฑ์ของธปท. ทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมจากการเก็บหนี้หายไปประมาณ 20 ล้านบาทต่อเดือน กำไร 2Q15 จึงอาจลดลง 21% Q-Q และ 5% Y-Y อย่างไรก็ตาม บริษัทอยู่ระหว่างขออนุญาตธปท.ในการถือหุ้นใน Outsource รายนี้ แต่ถึงแม้ไม่ได้ถือหุ้น KTC ยังมีศักยภาพในการเติบโตจากธุรกิจใหม่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และลดการตั้งสำรองฯ เรายังคาดกำไรปีนี้โต 13.6% Y-Y ยังแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 116 บาท
(-) CPALL การจะขายหุ้นบางส่วนของ MAKRO ให้นักลงทุนทั่วไป (สถาบันและรายย่อย) เพื่อนำเงินไปลดหนี้เงินกู้ (ไม่ได้ระบุจำนวนและราคาขาย) จะช่วยลดดอกเบี้ยจ่ายได้ปีละประมาณ 1 พันล้านบาท (12-13% ของดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมด) และอาจช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องของหุ้น MAKRO แต่ด้วยต้นทุนของที่ 45 บาท/หุ้น ทำให้หาผู้ซื้อ MAKRO ไม่ง่ายนัก และถ้า CPALL ยังไม่สามารถขายหุ้น MAKRO ได้ปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า แทนที่จะได้เงินปันผลก็อาจต้องแบกภาระจากการที่ MAKRO จะไปลงทุนในพม่า ซึ่งจะฉุดกำไรของ CPALL ไปด้วย ในกรณีนี้การเก็งกำไร MAKRO อาจพอทำได้ แต่ราคาหุ้น CPALL ที่ปรับขึ้นวานนี้ เราคิดว่าตลาดมองบวกเกินไป แม้ว่าเป้าหมายของ CPALL จะเป็น 54 บาทแต่เราเริ่มชอบน้อยลงเพราะความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวลงเล็กน้อยโดยรายงานการประชุม FED ค่อนข้างยืนยันว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดในแดนบวกโดยยังได้รับควันหลงจากข่าวเรื่องการเร่งซื้อพันธบัตรของ ECB อย่างไรก็ตามตลาดจับตาดูรายงานการประชุม FED และสถานการณ์หนี้ของกรีซ
ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ปรับตัวผสมโดยนักลงทุนจับตาดูตัวเลข Flash PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.ของจีนที่จะประกาศเช้านี้
ค่าเงินบาทยังแกว่งตัวออกด้านข้างในกรอบกว้างๆ ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 33.45-33.58 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 58.98 เหรียญ/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.99 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันยังถูกกดดันจากภาวะ Over Supply และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 1,208.70 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 2.00 เหรียญ/ออนซ์ โดยนักลงทุนจับตาดูรายงานการประชุม FED ซึ่งเปิดเผยหลังตลาดทองคำปิดทำการ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ายังจำกัดการปรับขึ้นของราคาทองคำ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
21 พ.ค. - ไทย:ยอดขายรถ (เม.ย.)
- จีน:HSBC China Manufacturing PMI (พ.ค.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (เม.ย.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (พ.ค.),ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พ.ค.), รายงาน ECB Minutesเดือน เม.ย.
22 พ.ค. - ญี่ปุ่น BOJประชุม
- สหรัฐ:อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
25 พ.ค. - ไทย:ครม.ประชุมวาระพิเศษแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ
- ตลาดหุ้นสหรัฐ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ปิดทำการ
26 พ.ค. - ไทย:ดุลการค้า (เม.ย.)
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (เม.ย.), ยอดขายบ้านใหม่ (เม.ย.), S&P/CaseShiller Index (มี.ค.)
28 พ.ค. - ฟิลิปปินส์: 1Q15 GDP
- สหรัฐ: Pending Home Sales (เม.ย.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พ.ค.)
29 พ.ค. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน เม.ย.
Contact person : Somchai Anektaweepon Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research