WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

 

กลยุทธ์การลงทุน
     หลังรายงานงบ 1Q58 ต่ำกว่าคาด ในเบื้องต้นคาดว่ามีการปรับลดประมาณการปีนี้ลงราว 5% และเชื่อว่ายังมีความเสี่ยงจะปรับลดได้อีก กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นรายตัวที่มีผลกำไรโดดเด่น และราคาหุ้นยังมี upside สูง เลือก RCL (FV@B 14.70) และ VNG([email protected]) เป็น Top Picks    
                     
GDP Growth ใน 1Q58 ดีกว่า ASPS คาด แต่ยังคงประมาณการทั้งปีที่ 2.5%  
     วานนี้สภาพัฒน์ฯ ได้มีการประกาศตัวเลข GDP 1Q58 อยู่ที่  3%yoy (0.3%qoq) สอดคล้องกับตลาดคาด แต่ดีกว่าที่ ASPS คาดไว้เพียง 1.6% (-2%qoq) ทั้งนี้ส่วนแตกต่างเกิดจากวิธีการคำนวณที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งใช้ราคาฐานปี 1988 (ราคาคงที่ โดยคำนวณถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณเป็นหลัก หรือ Fixed-Weight volume measure) ขณะที่วิธีการคำนวณใหม่ เป็นแบบวิธีดัชนีลูกโซ่ (Chain Volume Measures หรือ CVM) ที่จะช่วยสะท้อนการเติบโตทางเศรฐกิจได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น นอกจากนี้การปรับการคำนวณใหม่มีผลทำให้ตัวเลข GDP ของข้อมูล GDP เดิมและ GDP จากการคำนวณใหม่เปลี่ยนไปดังตารางด้านล่างนี้
     แต่เป็นที่สังเกตว่า แม้ GDP Growth ในงวด 1Q58 จะออกมาดีกว่า ASPS คาด แต่ทางสภาพัฒน์ฯ ก็มีการปรับลด GDP Growth ในปี 2558 จากเดิมอยู่ในกรอบ 3.5-4.5% เป็น 3-4% โดยการปรับภาคส่งออกปี 2558 เหลือเพียง 0.2% จากเดิม 3.5% โดยคาดหวัง ปัจจัยหนุนจากการเร่งใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ ภาคท่องเที่ยว และราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ และสภาพัฒน์ฯ ยังประเมินอัตราเงินเฟ้อ ปี 2558 จะอยู่ในช่วง (-0.3) ถึง 0.7 % จากเดิมที่ประมาณไว้ที่ 0.1 ถึง 1%  
    ขณะที่ ASPS ยังคงประมาณการ GDP Growth  ปี 2558  ไว้ที่เดิมคือ  2.5%  แม้การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณด้งกล่าวข้าง  อาจมีผลทำให้ ASPS อาจจะต้องทบทวนประมาณการ ให้สอดคล้องกับวิธีการที่เปลี่ยนแปลงคำนวณที่เปลี่ยนแปลงไปข้างต้นก็ตาม ซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติม หลังจากมีความเข้าใจวิธีการคำนวณแบบใหม่ที่ชัดเจนมากขึ้น และแม้ GDP Growth จะออกมาดีกว่าคาด แต่เชื่อว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ยนโยบายเชื่อว่าในปีนี้ยังมีโอกาสลดลงอย่างน้อย 0.25-0.5% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง

 

เชื่อว่าความเสี่ยงปรับลดกำไรตลาดยังมี หลังปรับลด 5%  
    ขณะนี้คาดว่าบริษัทจดทะเบียนน่าจะทยอยรายงานงบงวด 1Q58 มาแล้วกว่า 90% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด แต่คาดว่าน่าจะคิดเป็น market cap เกือบ 100% จึงพอสรุปได้ว่า กำไรสุทธิของตลาดจะอยู่ที่ 2.24 แสนล้านบาท  เทียบกับประมาณการกำไรตลาดทั้งปี 2558 ที่ ASPS ประเมินไว้ที่ 9.59 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 23.3% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประมาณการ จึงได้ปรับลดประมาณการกำไรตลาดลงราว 5% เหลือ 9 แสนล้าบาท โดยนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยปรับลดประมาณการปีนี้ และปีหน้า ไปก่อนหน้านี้แล้วบางกลุ่ม เช่น ธนาคารฯ  ปรับลดเฉลี่ย  5% ในช่วง 2 ปี หลังการรายงานงบในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา และกลุ่มพลังงานปรับลด 3.8% ในปี 2558 แต่ปรับเพิ่ม 5.3% ในปี 2559 เป็นเพราะได้ปรับลดสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบในปี 2558 จากเดิม 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล เหลือ 70  เหรียญฯ แต่ในปี 2559 ปรับเพิ่มจากเดิม 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล  เป็น 80 เหรียญฯ  และกลุ่มน้ำตาล (KSL, KBS) ปรับลด 12.8% ในปี 2558 และปรับลด 15% ในปี 2559 และได้ปรับลดประมาณการกำไรของกลุ่ม Real sector บางกลุ่มฯ เพิ่มเติม หลังรายงานงบงวด 1Q58  ต่ำกว่าคาด (และหักล้างการปรับเพิ่มกำไรบางกลุ่ม)  โดยสรุปได้ดังนี้

 

กลุ่มที่ต่ำกว่าคาด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Play) ได้แก่
      พัฒนาอสังหาริมทรัพย์  ผลประกอบการส่วนใหญ่ต่ำกว่าคาด (PS, SC, SPALI, LH, QH, ANAN, SIRI) และทำให้มีการปรับลดประมาณลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากยอดขายต่ำกว่าคาด และต้นทุนขายและบริหารกลับเพิ่มขึ้น ได้แก่ PS ปรับลดกำไรปีนี้และปีหน้าลง 15%  เท่ากัน  LH ปรับลดลงปีละ 12% และ 7%, QH)ปรับลดกำไรปีนี้ลง 10% และ ลดลงอีก 13% ปีหน้า  ANAN ปรับลดกำไรปีนี้ลง 11% ปีนี้ และลดลงอีก 14% ปีหน้า  ยกเว้น  SPALI  ยังประมาณการเดิม ทั้งนี้มีส่วนน้อยที่กำไรดีกว่าคาดคือ AP และ SENA   แต่ปรับเพิ่มประมาณกำไรขึ้นเฉพาะ AP จากเดิมเล็กน้อยคือราว 6.5% ในปี 2558  ส่วน  SENA  ยังคงประมาณการเดิม
     หมวดก่อสร้าง ที่ต่ำกว่าคาดคือ SRICHA,  STEC, ITD ซึ่งมีผลทำให้ต้องปรับลดประมาณการกำไรของ SRICHA ลงจากเดิม  32% ในปีนี้ และปรับลดลงอีก 14% ในปีหน้า และ STEC ปรับลดกำไรปีนี้ลง 12% และปรับลดลงอีก 15% ในปีหน้า ยกเว้น BJCHI, STPI, SYNTEC และ SEAFCO แม้กำไรงวดนี้ต่ำกว่าคาดแต่ยังคงประมาณการเนื่องจากยังมีประเด็นบวกรออยู่
    วัสดุก่อสร้าง ที่กำไรต่ำกว่าคาด มีเฉพาะ  SCCC  จึงทำให้มีการปรับประมาณการลงราว 11% เพื่อสะท้อนยอดขายที่ลดลงตามการชะลอตัวของภาคก่อสร้างในประเทศ ที่เหลือเป็นไปตามคาด คือ SCC, VNG, DCC, DRT
   บันเทิง ที่ต่ำกว่าคาดคือ MCOT, RS, VGI แต่ที่ปรับลดประมาณการมีเฉพาะ MCOT ปรับลดลงเฉลี่ย 44% ในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากรายได้ค่าโฆษณาอ่อนตัว และรายได้สัมปทานยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง และ VGI ที่ปรับลดลงราว 20% ในปีนี้และปีหน้าเกิดจากการยกเลิกสัญญาการให้บริการ กับ Modern Trade  เช่นเดียวกับ BEC กำไรต่ำกว่าคาด จึงปรับลดประมาณการกำไรปีนี้และปีหน้าลงเฉลี่ย 26.5% และปรับ Fair Value ลงเช่นกัน ยกเว้น WORK กำไรเป็นไปตามคาด จึงยังประมาณการกำไรเช่นเดิม  
   สื่อสาร ที่ต่ำกว่าคาดได้แก่ SAMART และ SIM จากการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ จึงมีการปรับลดประมาณกำไรปีนี้และปีหน้าลง พร้อมกับปรับลด Fair Value ปีนี้ลง ตามมาด้วย JAS กำไรต่ำกว่าคาดมาก จากการตั้งสำรองรายจ่ายค่าเช่าทรัพย์สิน จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปีนี้และปีหน้าลง 39% และ 28% ตามลำดับ เช่นเดียวกับ TRUE กำไรน้อยกว่าคาด และมีโอกาสปรับลดประมาณการกำไรเพราะค่าใช้จ่ายในการขายบริหารยังอยู่ในระดับสูง ส่วน  DTAC มีแนวโน้มต้องปรับลดลงเพราะมีแผนการลงทุนเพิ่ม ซึ่งจะรายงานในภายหลัง   ส่วน ADVANC และ THCOM ยัง  คงประมาณการกำไรเดิม  
    ประกัน มีการปรับลดประมาณการของ THREL ราว 14% ทั้งในปีนี้และปีหน้า แต่ปรับเพิ่มประมาณการของ THRE ขึ้น 288% จากประมาณการเดิม ยกเว้น BLA, BKI ยังคงประมาณการเดิม
   อาหาร ที่ต่ำกว่าคาดได้แก่ M กำไรต่ำกว่าคาด เนื่องจากต้นทุนในการขายและบริหารสูงกว่าคาด แต่ยังคงประมาณการเดิม ตรงข้ามกับ CPF กำไรดีกว่าคาด แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เกิดขึ้นในงวดนี้สูงกว่าคาด จึงปรับลดประมาณการกำไรปกติปีนี้ลง 21.4% และ ปีหน้าลง 17% เพราะค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารงวด 1Q58 สูงกว่าประมาณการไว้มาก โดย Fair Value  ใหม่ปีนี้ปรับลงจากเดิม 32 บาท เป็น 28 บาท แต่ยังแนะนำซื้อ เพราะคาดว่าปี 2558 ผลกำไรปกติจะเติบโต 35%YoY ยกเว้น MINT กำไรเป็นไปตามคาด แต่โดยรวมยังคงประมาณการเดิม เพราะคาดว่าแนวโน้มกำไรในงวดถัดไป จะชะลอตัวลงจากงวดนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ทำกำไรสูงสุดของปี
    เกษตร GFPT ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2558-59 ลงเฉลี่ย 32% จากเดิม เนื่องจากราคาไก่ในประเทศและส่งออกปรับตัวลดลง
    กลุ่มที่มีกำไรดีกว่าคาด ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่อิงเศรษฐกิจจากภายนอก  (Global Play) ได้แก่
    เดินเรือคอนเทนเนอร์ คือ RCL เพราะสามารถลดภาระต้นทุนน้ำมัน ซึ่งมีสัดส่วนราว 25% ของต้นทุนรวมลดลง ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (ขณะที่มีการป้องกันความเสี่ยงไว้เพียง 25% ของปริมาณน้ำมันทั้งหมด) โดยปรับเพิ่มประมาณการขึ้น 39%  ในปี 2558   และ 25% ในปี 2559 ยกเว้นเดินเรือเทกอง ทั้ง PSL และ TTA ที่ยังเผชิญกับภาวะขาดทุน เนื่องจากรายได้ที่ลดลงตามค่าระวางเรือเทกอง และเนื่องจากเป็นการเหมาลำ จึงไม่ได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมันที่ลดลงเหมือน RCL จึงทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ปรับลดประมาณการจากเดิมที่คาดว่าจะมีกำไรทั้ง 2 ปี เป็นขาดทุนในปี 2558 แต่จะเริ่มฟื้นตัวในปี 2559   
    โรงพยาบาล ที่มีกำไรดีกว่าคาด คือ BDMS และ BH แต่ปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้น เฉพาะของ BH โดยปรับขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 8.4% ในปีนี้และปีหน้า แต่ยังคงประมาณ BDMS เช่นเดิม เพราะแรงหนุนจาก BH (BDMS ถือหุ้น 24%) เริ่มชะลอหลังจากนี้ เนื่องจากฐานกำไรที่สูงขึ้น  ส่วน CHG กำไรงวดนี้เป็นไปตามคาด จึงยังคงประมาณการเดิม  ยกเว้น BCH กำไรต่ำกว่าคาด จึงปรับลดประมาณการปีนี้และปีหน้าเฉลี่ย 12%
  พลังงาน ส่วนใหญ่เป็นไปตามคาด (PTTGC, IVL, IRPC) ยกเว้น PTTEP กำไรสุทธิดีกว่าคาด เกิดจากรายการพิเศษ ขณะที่กำไรปกติยังเป็นไปตามคาด ส่วน  BANPU, BCP กำไรต่ำกว่าคาด แต่ก็ยังประมาณการเดิม เพราะคาดว่าในช่วงที่เหลือจะมีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง
             สายการบิน ที่มีกำไรดีกว่าคาดได้แก่ BA และ AAV เพราะต้นทุนน้ำมันลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้น แต่ยังคงประมาณเดิม อย่างไรก็ตามสำหรับ BA แม้กำไรดีกว่าคาด แต่นักวิเคราะห์ยังไม่รีบร้อนปรับเพิ่มประมาณกำไรขึ้นในขณะนี้ แต่รอดูผลกระทบในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวคืองวด 2Q58 และ 3Q58 ให้แน่ใจว่ายังเป็นไปตามคาดก่อน ทั้งนี้ยกเว้น THAI กำไรต่ำกว่าคาด เพราะมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตั้งสำรองด้อยค่าเครื่องบินมากกว่าคาด แต่นักวิเคราะห์ ASPS ยังคงประมาณการเดิมไว้
     ท่องเที่ยวและโรงแรม  ส่วนใหญ่ผลกำไรออกมาดีกว่าคาดเนื่องจากเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว และไม่มีปัญหาการเมืองเหมือนในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แก่ CENTEL, ERW แต่เนื่องจากผลกำไรจะชะลอตัวในอีก 2 ไตรมาสถัดไปเนื่องจากอยู่นอกฤดูกาลท่องเที่ยว จึงยังคงประมาณการเดิม

      โดยสรุป หากอิงประมาณการกำไรปี 2558 ใหม่ที่  9 แสนล้านบาท แสดงว่าที่เหลือในงวด 9 เดือนของปีนี้ ต้องทำกำไรให้ได้ 7.3 แสนล้านบาท หรือตกไตรมาสละ  2.4 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างลำบาก เพราะปกติแล้วไตรมาสแรกของทุกปีมักจะเป็นไตรมาสที่ทำกำไรได้สูงสุด ดังนั้นเชื่อว่าโอกาสการปรับลดประมาณการลงได้อีก โดยเฉพาะหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ ดังที่กล่าวข้างต้น หรือ หากราคาน้ำมันดิบในช่วงที่เหลือของปีนี้ไม่สามารถทยานขึ้นแตะ 70 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลได้ก็มีความเสี่ยงที่จะปรับลดลงได้อีกเช่นกัน

ต่างชาติยังคงขายหุ้นไทยต่อเนื่องวันที่ 3
   วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 396 ล้านเหรียญ โดยซื้อสุทธิอยู่ 2 ประเทศคือ ตลาดหุ้นไต้หวัน และ ซื้อต่อเนื่องเป็นวันที่สองราว 307 ล้านเหรียญ  และนับเป็นยอดซื้อสุทธิสูงสุดใน 13 วันที่ผ่านมา  เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ถูกซื้อสุทธิ 143 ล้านเหรียญ (ซื้อต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) แต่ที่เหลืออีก 3 ประเทศคือ กลุ่ม TIP ยังคงถูกขายออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 7) และตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 8) ส่วนตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 3) หรือ 398 ล้านบาท ซึ่งต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิกว่า 519 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2)
   ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1,674 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 906 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 8) ล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.37 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งแข็งค่าขึ้นจากวันก่อนหน้า

กลยุทธ์การลงทุนเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรฟื้นตัวต่อเนื่องใน 9M58  
    กลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัยแนะนำเลือกหุ้นเป็นรายตัวที่มีแนวโน้มของผลประกอบการเติบโตในช่วงที่เหลือของปี และมีปัจจัยบวกรองรับ ทั้งยังเป็นหุ้นที่มี P/E หรือ P/BV อยู่ในระดับต่ำ เงินปันผลสูง ได้แก่
    RCL ([email protected]) ได้รับผลบวกจากต้นทุนน้ำมันที่ยังงอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งการเข้าสู่ช่วงฤดูกาลในงวด 2Q58 คาดจะหนุนให้ปริมาณการขนส่งเป็นจุดสูงสุดของปี แม้งวด 3Q58 ปริมาณขนส่งอาจลดลงจากงวด 2Q58 เพราะอิทธิพลของพายุและลมมรสุม และเข้าสู่ช่วงนอกฤดูกาลอีกครั้งในงวด 4Q58 แต่โดยรวมทั้งปีคาดว่าผจะเติบโตได้ถึง 36% จากปีก่อน ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี P/BV ต่ำมากเพียง 0.88 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 1.4 เท่า)
    VNG (FV@B 10.25) งวด 2Q58 และ 3Q58 ถือเป็น High Season ของธุรกิจแผ่น MDF และ Particle Board จากDemand ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตสินค้า Laminate Flooring เชิงพาณิชย์ตั้งแต่งวด 2Q58 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นสินค้า High Value Added ช่วยเพิ่ม margin นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตทั้งเศษไม้ยางพาราและกาวยังทรงตัวในระดับต่ำ และยังได้รับผลบวกจากการอ่อนค่าลงของเงิน คาดปีนี้เติบโตถึง 42% ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี Expected P/E ต่ำมากเพียง 9.9 เท่า และ Div. Yield สูงถึง 4.5%
   TUF (FV@B 26) ในการเข้าซื้อกิจการ Bumble Bee และจะรวมงบการเงินเข้ามาในงวดสุดท้าย ทำให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2559 จะพลิกกลับมาเติบโตอย่างมีนัยฯ ถึง 65.8% yoy แม้ว่าปี 2558 จะได้รับผลกระทบบ้างจากการเพิ่มทุน แต่ก็ยังทรงตัวได้ 1.9%yoy แต่ยังสามารถควบคุมสัดส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสุทธิต่อทุน (Interest bearingdebt/Equity) ในปี 2558 อยู่ที่ 1.34 เท่า และลดลงเหลือ 1.29 เท่า ในปี 2559 ตามลำดับ ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside สูงถึง 25% Expected P/E ปีนี้ราว 19 เท่า และจะลดลงเหลือ 11.5 เท่าในปีหน้า
 
ภรณี ทองเย็น, CISA  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์      เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!