- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 19 May 2015 16:41
- Hits: 1620
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาดโอกาส SET แกว่งบวกต่อยังเป็นไปได้ เน้นถือรอขาย!!!
กลยุทธ์ : FSS คาดว่า SET ยังอยู่ในช่วงแกว่งบวกต่อเนื่องได้อีกสักพัก ดังนั้นยังแนะนำให้เน้นถือเพื่อรอจังหวะขายทำกำไรช่วงบวกต่อไป แต่คาดว่ากรอบขยับขึ้นเริ่มจำกัด ดังนั้นควรหาจังหวะขายลดพอร์ตช่วงบวกด้วย ส่วนถ้าจะเลือกหุ้นเข้าซื้อ น่ารอช่วง SET อ่อนตัว และต้องเลือกซื้อเป็นรายตัว โดยเน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐานแกร่ง กระแสเงินสดดี และปันผลสม่ำเสมอเป็นหลัก
หุ้นเด่นทางเทคนิค : BA, CKP, MAJOR(buy back)
แนวโน้ม : ถึงแม้ว่าเมื่อวานนี้ SET จะปรับพักตัวลงอีกครั้ง หลังจากปลายสัปดาห์ก่อนรีบาวด์กลับขึ้นมาพอควร แต่ก็ถือว่ายังมีแรงซื้อกลับเข้ามาหนุนให้ดัชนียังแกว่งทรงตัวได้ค่อนข้างดี โดยตัวเลข GDP ไตรมาส 1/58 ของบ้านเราตามที่สภาพัฒน์ฯ ประกาศก็ต่ำกว่าคาดเพียงเล็กน้อย จึงไม่ได้กดดันตลาดหุ้นไทยมากนัก ขณะที่เช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศสดใสมากขึ้น โดยตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้นทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐทำให้นักลงทุนเชื่อว่าเฟดอาจจะเลื่อนเวลาในการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ว่าประธาน EC ได้เสนอให้มีการเจรจาประนีประนอมระหว่างกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ด้วย ทำให้ FSS ยังคาดว่า SET มีลุ้นแกว่งบวกขึ้นอีกครั้งได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่ไม่ชัดเจน เราจึงปรับเป้าหมายของระดับดัชนีปี 58 ลงมาอยู่ที่ 1560 จุด(ดูรายละเอียดในรายงาน ‘Special Report: ปรับ SET Target’ ฉบับวานนี้) ซึ่งถือว่า upside ของตลาดเริ่มจำกัด ดังนั้นถ้าจะเข้าซื้อควรรอช่วงตลาดอ่อนตัวและเน้นเลือกซื้อเป็นรายตัวมากกว่า
แนวรับ 1508-1506 , 1504-1500 จุด
แนวต้าน 1512-1516 , 1520-1523 จุด
Fund Flow วานนี้ยังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาค โดยส่วนใหญ่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$306.8 ล้าน เกาหลีใต้ US$142.7 ล้าน และเวียดนาม US$1.6 ล้าน แต่ขายอินโดนีเชีย US$34.4 ล้าน ไทย US$11.9 ล้าน และฟิลิปปินส์ US$7.1 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ค่อนข้างนิ่ง Flow น่าจะยังเบาบางต่อเนื่อง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) แม้จะเปลี่ยนฐานปีในการคำนวณและทำให้ GDP 1Q15 เป็นบวก Q-Q แต่ก็ทำให้บรรยากาศการลงทุนระยะสั้นไม่แย่เกินไป GDP 1Q15 +3% Y-Y, +0.3% Q-Q และมีการปรับตัวเลขใน 4Q14 ลงจากเดิม +2.3% Y-Y, +1.7% Q-Q เป็น +2.1% Y-Y, +1.1% Q-Q และมีการปรับฐานปีในการคำนวณทำให้ตัวเลข 1Q15 เป็นบวก Q-Q ซึ่งทำให้เงินบาทแข็งค่า 0.4% และมีโอกาสแข็งค่าต่อซึ่งถือเป็นข่าวดีเพียงข่าวเดียวในระยะสั้นนี้ แต่ GDP 1Q15 สะท้อนแรงส่งของภาคเอกชนชะลอมากทั้งการการลงทุนและบริโภค สภาพัฒน์ฯลดเป้า GDP ปีนี้เหลือ 3-4% จาก 3.5-4.5% และเชื่อว่าธปท.จะลดเป้า GDP อย่างเป็นทางการ 19 มิ.ย. นี้ ตลาดหุ้นในระยะ 1-2 เดือนยังไม่พ้นความเสี่ยงเพราะ มิ.ย. จะมีการประชุมทั้ง Fed และ กนง. นอกจากการปรับลด GDP ไทยแล้วยังมีโอกาสในการลดดอกเบี้ย
(+) ITD ผลขาดทุนสุทธิที่รายงาน 510 ล้านบาทใน 1Q15 เกิดจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของบริษัทย่อยในต่างประเทศ หากตัดรายการพิเศษออก ยังมีกำไรปกติ 172 ล้านบาท +74% Y-Y และดีขึ้นจากขาดทุน 47 ล้านบาทใน 4Q14 เรายังคงราคาเป้าหมาย 8.10 บาท แนะนำเก็งกำไรประเด็นการลงนามสัญญาระหว่างรัฐบาลพม่ากับกลุ่ม ITD-ROJNA ในสัมปทานทำนิคมฯในทวายเฟสแรกที่ข่าวล่าสุดคาดเกิดขึ้น ก.ค. นี้
(0) SIRI กำไรปกติ 1Q15 เป็นไปตามคาดคือ -69% Q-Q ตามรายได้โอนที่ลดลงมาก แต่ฟื้นจาก 1Q14 ที่ขาดทุน 42 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิ 1Q15 ที่รายงาน 541 ล้านบาท เพราะมีกำไรจากการขายที่ดิน แนวโน้มกำไรปกติใน 2Q15 จะดีขึ้น Q-Q เพราะมี Backlog รอโอนประมาณ 7.78 พันล้านบาท เรายังคาดกำไรปกติปีนี้โต 16% Y-Y โดยมี Backlog รองรับคาดการณ์รายได้ของเรา 87% คงราคาเป้าหมาย 2.15 บาท แนะนำซื้อ
(0) CPF หากไม่รวมกำไรพิเศษ ผลประกอบการ 1Q15 ยังเป็นกำไรได้ 72 ล้านบาทโดยมีธุรกิจในต่างประเทศที่ชดเชยผลขาดทุนของธุรกิจในประเทศได้ แนวโน้มผลประกอบการน่าจะค่อยๆฟื้นตัวในไตรมาสถัดไป ยกเว้นธุรกิจกุ้งที่น่าจะขาดทุนต่อในปีนี้ เรายังคงคาดกำไรปกติทั้งปี -14% Y-Y คงราคาเป้าหมาย 31 บาท แนะนำซื้อ
(0) RS เศรษฐกิจที่ชะลอและการแข่งขันในธุรกิจทีวีดิจิตอลที่รุนแรง ทำให้การปรับขึ้นค่าโฆษณาของ RS ทำไม่ได้ตามเป้า เราปรับกำไรสุทธิปีนี้ลง 16% เหลือโตเพียง 9% Y-Y จากเดิมที่คาดโต 29% Y-Y ปรับเป้าหมายลงเป็น 16.80 บาทจาก 18 ยาท ยังแนะนำซื้อ
(-) SINGER แม้กำไรสุทธิ 1Q15 จะฟื้นตัว 93% Q-Q แต่ต่ำกว่าคาดเนื่องจากบัญชีเช่าซื้อที่ชะลอตัวและรายได้ดอกเบี้ยรับหดตัว 4% Q-Q ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร +21% Q-Q คาดว่าเกิดจากการการยึดคืนสินค้าที่สูงขึ้น และมีการตั้งสำรองสินค้าคงเหลือ 16 ล้านบาท เราปรับกำไรในปีนี้ลง 26% กลายเป็นกำไรหดตัว 4% Y-Y และปรับลดเป้าหมายลงเหลือ 12 บาทจาก 16.80 บาท ลดคำแนะนำเป็นขาย จากเดิมซื้อ
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมายังปิดในแดนบวกได้อีกเล็กน้อยและปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง โดยนักลงทุนเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นต่อสถานการณ์ของกรีซและการพุ่งขึ้นของ Bond Yield
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดในแดนบวกได้เช่นกันหลังมีข่าวว่าประธานกรรมาธิการยุโรปเสนอให้มีการเจรจาประนีประนอมระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ต่างประเทศ
ซึ่งจากบรรยากาศการลงทุนที่ค่อนไปในทางบวกส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
ค่าเงินบาทเริ่มมีจังหวะแข็งค่าขึ้น ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 33.28-33.43 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 59.43 เหรียญ/บาร์เรล ขยับลง 0.26 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นรวมถึงแนวโน้มที่เกิดอุปทานส่วนเกินต่อ
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 1,227.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ขยับขึ้น 2.30 เหรียญ/ออนซ์ หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงหลังออกมาไม่ค่อยดี ซึ่งทำให้ตลาดคาดว่า FED จะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19 พ.ค. - ไทย:ศาลฏีกานัดพิจารณาคดีจำนำข้าวครั้งแรก
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI)ประชุม
- สหรัฐ: Housing starts, Building permits (เม.ย.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
20 พ.ค. - ไทย:ยอดขายรถ (เม.ย.)
- ญี่ปุ่น: 1Q15 GDP (ตลาดคาด +1.6% annualized Q-Q)
- สิงคโปร์: 1Q15 GDP (ตลาดคาด +1.6% Q-Q)
21 พ.ค. - จีน:HSBC China Manufacturing PMI (พ.ค.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (เม.ย.), รายงานการประชุม Fedเดือน เม.ย.
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (พ.ค.),ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พ.ค.), รายงานการประชุม ECBเดือน เม.ย.
22 พ.ค. - ญี่ปุ่น BOJประชุม
- สหรัฐ:อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
25 พ.ค. - ไทย:ดุลการค้า (เม.ย.)
- ตลาดหุ้นสหรัฐ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ปิดทำการ
26 พ.ค. - สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (เม.ย.), S&P/CaseShiller Index (มี.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research