- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 18 May 2015 16:33
- Hits: 1783
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
บริษัทจดทะเบียนรายงานงบ 1Q58 แล้ว 72% ในเบื้องต้นคาดว่า อาจจะต้องปรับลดประมาณการปีนี้และปีหน้าลง ตามภาวะ GDP Growth งวด 1Q58 ที่จะต่ำกว่าคาด กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นรายตัวที่มีผลกำไรโดดเด่น และราคาหุ้นยังมี upside สูง เลือก RCL (FV@B 14.70) และ VNG([email protected]) เป็น Top Picks
SET Index 1,512.19
เปลี่ยนแปลง (จุด) 14.79
มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท) 33,059.93
ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ -721.41
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 5.62
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 1,184.49
นักลงทุนรายย่อย -468.7
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ยังชะลอตัว ตอกย้ำ FED ยืดการขึ้นดอกเบี้ย
ตัวเลขดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐที่รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาออกมา ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว สะท้อนจากดัชนีภาคการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. -0.3% mom (เทียบกับตลาดคาดขยายตัว 0.1%) ถือเป็นการหดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน นอกจากนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน เม.ย. ลดลงจาก 78.4% มาอยู่ที่ระดับ 78.2% (คาดที่ 78.3%) และดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire manufacturing) เดือน พ.ค. อยู่ที่ระดับ 3.09 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 5.0 เช่นเดียวกับทางด้านผู้บริโภค พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน พ.ค. (ประเมินโดย ม.มิชิแกน) คาดว่ามาอยู่ที่ระดับ 88.6 (เทียบกับเดือนเม.ย อยู่ที่ 95.9) ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า Fed จะยังไม่ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาอันใกล้นี้ โดย น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 ทั้งนี้ยังต้องติดตามการรายงายผลการประชุม Fed เมื่อปลายเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา และตัวเลขภาคการจ้างงานในวันพฤหัสฯ ที่จะถึงนี้ และตัวเลขดัชนี้ผู้บริโภค (CPI) ที่จะรายงานในวันศุกร์นี้เช่นกัน
กำไรตลาดงวด 1Q58 ต่ำกว่าคาด อาจจะปรับเบื้องต้น 5%
สิ้นสุด ณ วันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่า บริษัทจดทะเบียนทยอยรายงานงบงวด 1Q58 มาแล้วราว 72% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นการรายงานผลประกอบการในงวด 1Q58 ของภาคการผลิต ซึ่งโดยรวมกลุ่มที่ต่ำกว่าคาด ทำให้มีโอกาสจะปรับลดประมาณการกำไรจากเดิมอย่างน้อย 5 % โดยแยกเป็นรายกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ต่ำกว่าคาด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มที่อิงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ซึ่งนอกจากลุ่มธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้รายงานก่อนหน้าแล้วนี้แล้วว่ามีกำไรต่ำกว่าคาด และทำให้มีการปรับลดกำไรของกลุ่มธนาคารลง 5% จากประมาณการเดิมแล้วยังมีอีกหลายกลุ่มได้แก่ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ PS, SC, SPALI, LH, QH เป็นต้น แต่ที่ปรับลดประมาณการกำไรในปีนี้และปีหน้า ลง ได้แก่ LH, QH, PS เนื่องจากยอดขายต่ำกว่าคาด และ ต้นทุนขายและบริหารกลับเพิ่มขึ้น ส่วน SPALI และ SENA ยังคงประมาณการเดิม ตามมาด้วย หมวดก่อสร้าง ที่ต่ำกว่าคาดคือ SRICHA และ BJCHI ซึ่งมีผลทำให้ต้องปรับลดประมาณการกำไรในปีนี้ลง ยกเว้น SEAFCO และ STEC ที่ผลกำไรใกล้เคียงกับคาด และยังคงประมาณการ วัสดุก่อสร้าง ที่ผลกำไรงวดนี้ต่ำกว่าคาด เห็นจะมีเฉพาะ SCCC จึงทำให้มีการปรับประมาณการลงราว 11% ที่เหลือเป็นไปตามคาด คือ SCC, VNG, DCC, DRT
ตามมาด้วยภาคบริการ ได้แก่ บันเทิง ที่ต่ำกว่าคาด คือ BEC, RS, VGI แต่ที่ปรับลดประมาณมีเฉพาะ VGI ที่ปรับลดลงราว 20% ในปีนี้และปีหน้าเกิดจากการยกเลิกสัญญาการให้บริการ กับ Modern Trade สื่อสาร ที่ต่ำกว่าคาดได้แก่ SAMART(FV@B31), SIM([email protected]) JMART([email protected]) จึงมีการปรับลดประมาณกำไรปีนี้และปีหน้าลง พร้อมกับปรับลด Fair Value ปีนี้ลง ยกเว้น DTAC กำไรยังเป็นไปตามคาด และ คงประมาณการกำไรเดิม และกลุ่มประกัน มีการปรับลดประมาณการของ THREL ราว 14% ทั้งในปีนี้และปีหน้า แต่ปรับเพิ่มประมาณการของ THRE ขึ้น 288% จากประมาณการเดิม
ส่วนกลุ่มอาหาร ที่ต่ำกว่าคาดได้แก่ M(FV@B70) กำไรต่ำกว่าคาด เนื่องจากต้นทุนในการขายและบริหารสูงกว่าคาด แต่ยังคงประมาณการเดิม ยกเว้น CPF(FV@B32) กำไรดีกว่าคาด เพราะต้นทุนลดลงในอัตราที่เร็วกว่ารายได้หนุนให้ gross margin ดีกว่าคาด
ตรงกันข้ามกลุ่มที่มีกำไรดีกว่าคาด ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่อิงเศรษฐกิจจากภายนอก ได้แก่ กลุ่มเดินเรือคอนเทนเนอร์ คือ RCL([email protected]) เพราะสามารถลดภาระต้นทุนน้ำมัน ซึ่งมีสัดส่วนราว 25% ของต้นทุนรวมลดลง ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก(ขณะที่มีการป้องกันความเสี่ยงไว้เพียง 25% ของปริมาณน้ำมันทั้งหมด) ยกเว้นเดินเรือเทกอง ทั้ง PSL และ TTA ที่ยังเผชิญกับภาวะขาดทุน เนื่องจากรายได้ที่ลดลงตามค่าระวางเรือเทกอง (เป็นการเหมาลำไม่รวมต้นทุนน้ำมัน จึงไม่ได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมันที่ลดลงเหมือน RCL) ตามมาด้วยพลังงาน ได้แก่ PTTEP(FV@B140) แต่เกิดจากรายการพิเศษ ขณะที่กำไรปกติยังเป็นไปตามคาด ขณะที่หุ้นอื่น ๆ ในกลุ่ม เป็นไปตามคาดได้แก่ PTTGC, IVL, IRPC ยกเว้น BANPU, BCP แม้กำไรงวดนี้ต่ำกว่าคาด แต่ก็ยังประมาณการเดิม เพราะคาดว่าในช่วงที่เหลือจะมีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง
กลุ่ม ท่องเที่ยว และ โรงแรม ที่ดีกว่าคาดเนื่องจากเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว และ ไม่มีปัญหาการเมืองเหมือนในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แก่ CENTEL(FV@B42), ERW(FV@B6) ยกเว้น MINT(FV@B39) ที่กำไรเป็นไปตามคาด แต่โดยรวมยังคงประมาณการเดิม เพราะคาดว่าแนวโน้มกำไรในงวดถัดไป จะชะลอตัวลงจากงวดนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ทำกำไรสูงสุดของปี
กลุ่ม โรงพยาบาล ที่มีกำไรดีกว่าคาดคือ BDMS(FV@B21) และ BH(FV@B195) แต่ปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้นเฉพาะของ BH ขึ้นจากเดิมราว 8% ในปีนี้ และ ปีหน้า แต่ยังคงประมาณ BDMS เช่นเดิม ยกเว้น CHG([email protected]) เป็นไปตามคาด
กลุ่มสายการบิน ที่มีกำไรดีกว่าคาดได้แก่ BA([email protected]) และ AVV(FV@B6) เพราะต้นทุนน้ำมันลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้น แต่ยังคงประมาณเดิม อย่างไรก็ตามสำหรับ BA นักวิเคราะห์ ASPS กำลังทบทวนจะปรับเพิ่มประมาณกำไรในปีนี้และปีหน้าขึ้น ในอนาคต ส่วน THAI([email protected]) กำไรต่ำกว่าคาด เพราะมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตั้งสำรองด้อยค่าเครื่องบินมากกว่าคาด แต่นักวิเคราะห์ ASPS ยังคงประมาณการเดิมไว้
ส่วนที่เหลือ ผลกำไรใกล้เคียงกับคาด แต่โดยรวมในเบื้องต้นคาดว่าอาจจะต้องปรับลดประมาณการกำไรในปี 2558 ลงอย่างน้อย 5% ติดตามรายละเอียดกลุ่มที่เหลือในวันพรุ่งนี้
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นกลุ่ม TIP อย่างต่อเนื่อง
วันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 470 ล้านเหรียญ โดยซื้อสุทธิอยู่ 2 ประเทศคือ ตลาดหุ้นไต้หวันสลับมาซื้อสุทธิวันแรก 41 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ถูกซื้อสุทธิ 466 ล้านเหรียญ แต่ที่เหลืออีก 3 ประเทศในกลุ่ม TIP ยังคงถูกขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 7) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิ 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) หรือ 469 ล้านบาท (สวนทางสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิกว่า 1,184 ล้านบาท และซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 8) และ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 6) ทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 84 ล้านเหรียญ
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 10,194 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 4,186 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 8) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ล่าสุดค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอยู่ที่ 33.53 บาท/ดอลลาร์
นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล