- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 12 May 2015 17:46
- Hits: 1172
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ความกังวลต่อเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวล่าช้า หนุนดอกเบี้ยขาลง และกดดัน เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องยังเลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (HANA/KCE/VNG/TUF) และยังเลือก Top pick TUF(FV@B26) เชื่อราคาหุ้นสะท้อนข่าวลบ ที่สหภาพยุโรป กีดกันการนำเข้าสินค้าประมงจากไทย
SET Index 1,501.30
เปลี่ยนแปลง (จุด) -9.21
มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท) 32,044.53
ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ 1,673.07
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -2,077.24
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 1,849.37
นักลงทุนรายย่อย -1,445.21
เศรษฐกิจยุโรปเริ่มฟื้นหลังใช้ QE แต่ยังถูกรบกวนจากปัญหาในกรีซ
ท่ามกลางความกังวลต่อแผนการปรับโครงสร้างหนี้ในกรีซ และตลาดยังให้ความสำคัญกับผลการประชุมรัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปที่กรุงบรัสเซลส์ แต่หลังสิ้นสุดการประชุมวานนี้ ยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปเร่งให้กรีซ เจรจาเพื่อหาข้อยุติโดยด่วน โดยให้กรีซตัดลดการใช้จ่ายด้านต่างๆ อาทิ กองทุนบำนาญ ประกันสังคม เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่เจ้าหนี้ TROIKA ต้องการ เนื่องจากกรีซอาจจะต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ IMF มูลค่า 750 ล้านยูโร ซึ่งครบกำหนดในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจ Reuters ได้ข้อสรุปว่า โอกาสที่กรีซจะต้องออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป (Grexit) มีเพียง 23% เท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตามมีประเด็นบวกจากฝั่งสหภาพยุโรปอยู่บ้าง โดยจากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดย Bloomberg คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือ GDP Growth ของกลุ่มสหภาพยุโรปในงวด 1Q58 นี้จะปรับตัวสูงขึ้น 1% yoy และ 0.4% qoq) เทียบกับ 4Q57 ที่เติบโต 0.3%) ซึ่งเป็นการขยายตัวเท่ากับงวด 2Q56 และสูงที่สุดนับตั้งแต่ 2Q54 และดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่างอังกฤษ และสหรัฐฯ ที่ล่าสุดมีการคาดการณ์ว่า GDP Growth งวด 1Q58 อาจจะต่ำกว่าที่ตลาดคาด กล่าวคือ อังกฤษที่คาดว่าจะเติบโตเพียง 0.3% qoq และ 2.4% yoy (จากคาดการณ์ที่ 5% และ 2.6% ตามลำดับ) และสหรัฐฯขยายตัวเพียง 0.06% (คาดไว้ 0.25%) ทั้งนี้คาดว่าเหตุผลที่หนุนให้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปฟื้นตัวนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากการอัดฉีดเงินเข้าในระบบ (เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร เป็นเวลา 19 เดือนนับตั้งแต่ 9 มี.ค. 2558 ถึง ก.ย. 2559) โดยขณะนี้มีเงินอัดฉีดเข้าไปในระบบแล้วกว่า 9.5 หมื่นล้านยูโร นอกจากนี้ราคาน้ำมันในตลาดที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ยังส่งผลไปสู่การลงทุนและขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ยังต้องติดตามรายงาน GDP Growth งวด 1Q58 ในวันพรุ่งนี้
ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย หลังขายติดต่อกัน 7 วัน
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 214 ล้านเหรียญ โดยมีทั้งซื้อและขาย ทั้งนี้ 3 ประเทศที่ขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นเกาหลี ขายสุทธิ เป็นวันที่ 3 ราว 31 ล้านเหรียญ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) และ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) ส่วนอีก 2 ประเทศที่ซื้อสุทธิ ประกอบด้วย ตลาดหุ้นไต้หวันซื้อสุทธิ 220 ล้านเหรียญ ซึ่งถ้านับตั้งแต่ต้นปีตลาดหุ้นไต้หวันมีการซื้อสะสมสุทธิสูงสุดในภูมิภาคกว่า 8,301 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นไทยสลับมาซื้อสุทธิวันแรกราว 50 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิตอ่ เนอื่ งมา 7 วัน) หรือ 1,673 ล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิกว่า 1,849 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 11,849 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 7) ซึ่งต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 2,759 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง นอกเหนือจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยนโยบายยังมีอยู่โดยล่าสุดเงินบาทอยู่ที่ 33.77 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งอ่อนค่าสูงสุดนับตั้งแต่วันท1 7 ก.ย .2552 เป็นต้นมา
เงินบาทยังอ่อนค่าต่อ ดีต่อหุ้นส่งออก : KCE, HANA, VNG, TUF
ดังที่นำเสนอไปวานนี้ถึงแนวโน้มค่าเงินของสกุลหลักๆ ของโลกยังมีความผันผวน โดยเฉพาะเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้อยู่ในทิศทางแข็งค่า แต่อย่างไรก็ตามเริ่มทรงตัวหรือแกว่งตัวด้านข้าง เนื่องจากตลาดคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐน่าจะยืดออกไปอย่างน้อย 6 เดือนข้างต้นหรือเป็นต้นปี 2559 เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจบ่งชี้เศรษฐกิจชะลอตัวช่วงสั้น ๆ หลังจากที่ฟื้นตัวต่อเนื่องหลายไตรมาส ซึ่งสวนทางกับเงินยูโรอ่อนค่า ที่เริ่มทรงตัวเช่นกัน หลังจากที่อ่อนค่า (แกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่า) มาอย่างน้อย 2 เดือน จากผลของการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นมาดังที่กล่าวข้างต้น และ เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเซียพบว่าค่าเงินอยู่ในทิศทางอ่อนค่าที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม TIP โดยเฉพาะเงินบาทเช้านี้อ่อนค่าลงไป 33.77 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับสูงสุดที่ 33.76 บาทฯ เมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นการทดสอบจุดสูงสุดเดิม เมื่อ ก.ย. 2552 และเช่นเดียวกับจีน ล่าสุดได้ปรับลดดอกเบี้ยและปรับช่วงการแกว่งตัวค่าเงินหยวนให้กว้างขึ้น สถานการณ์ค่าเงินในเอเซียที่มีแนวโน้มอ่อนค่า แม้เป็นการปรับตัวของผู้ส่งออก เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก แต่ระยะสั้น ๆ ถือว่าส่งผลดีในเรื่องของรายได้จากการส่งออก และยิ่งผู้ประกอบการที่มีต้นทุนเป็นเงินบาทในสัดส่วนที่สูงกว่ารายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ ยิ่งจะเป็นผลดีต่อประสิทธิภาพการทำกำไร จึงยังคงชื่นชอบหุ้นส่งออก คือ
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (พบว่า ทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า จะส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มฯ ในปี 2558 ปรับเพิ่มขึ้น 5.4% จากเดิม รายบริษัทคือ HANA (FV@B48) คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 6.2% รองลงมาคือ DELTA (FV@B78) บาทที่อ่อนค่าจะทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5.7% และ KCE (FV@B60) คาดจะทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5.5%) โดยคาดว่า Fair Value ของทั้ง 3 บริษัทมีโอกาสเพิ่มขึ้น 3.168 บาท 5.38 บาท และ 4.41 บาท หากเงินบาทอ่อนค่าลง 1 บาทต่อดอลลาร์
ส่งออก Particle board ได้แก่ VNG (FV@B 10.25) วานนี้รายงานผลกำไรงวด 1Q58 ดีตามคาด โดยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือ เติบโตถึง 40%qoq และ 296%yoy จากการยอดส่งออก (แผ่น MDF และ Particle Board) ในหลายประเทศ ขณะที่ต้นทุนการผลิต (ส่วนใหญ่คือ เศษไม้ยางพาราและกาว) ล้วนเป็นเงินบาท และบางรายการยังมีแนวโน้มลดลงได้แก่ เศษไม้ยางพาราตามภาวะอุตสาหกรรมยางที่ซบเซา หนุนให้ gross margin เพิ่มขึ้น สูงสุดในรอบ 5 ปีที่ 27.3% และ Net Profit Margin สูงถึง 10.63% และยังคาดว่าผลประกอบการ 2Q58 และ 3Q58 จะเติบโตอย่างมาก เนื่องจากเข้าสู่ช่วง High Season และ ราคาปัจจุบันมีค่า Expected PER เพียง 9.6 เท่า มี dividend yield 4.18% และยังมี upside กว่า 30% ยังเลือกเป็นหุ้น Top pick
ส่งออกอาหาร ที่คาดว่าสดใสในงวด 1Q58 คือ TUF (FV@B 26) โดยนักวิเคราะห์ ASP ประเมินว่ากำไรสุทธิงวด 1Q58 จะเติบโตถึง 61.5% qoq และ 18.7% yoy จากการรับรู้รายได้ของ 2 แห่งที่ซื้อกิจการทั้ง 100% ตั้งแต่ปลายปี 2557 (MerAlliance และ King Oscar) ขณะที่ต้นทุนราคาวัตถุดิบทูน่ายังอยู่ในระดับต่ำ ช่วยเพิ่ม gross margin สูงขึ้นมาอยู่ที่ 15% แต่อย่างไรก็ตามตลอดปี 2558 คาดการณ์กำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นเพียง 16.7% จากปี 2557 เพราะต้องบันทึกรับรู้ค่าใช้จ่ายในการเข้าซื้อกิจการ Bumble Bee ในปีนี้ และผลกระทบจากการเพิ่มทุนในการซื้อกิจการครั้งนี้ (Dilution Effect 14.7%) ทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 1.9% แต่ปี 2559 คาดว่าจะกลับมาเติบโตอย่างมีนัยฯ ถึง 65.8% yoy เพราะคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้Bumble Bee เข้ามาได้เต็มที่ และคาดว่าราคาปัจจุบันสะท้อนข่าวร้ายจากการที่ EU ให้ใบเหลืองสินค้าประมงของไทย จึงเลือก เป็น Top pick
นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล