- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 11 May 2015 15:00
- Hits: 1137
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Selective Buy
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ เปิดย่อตัวลงทดสอบแนว 1,495 จุด +/- ก่อนเกิด Technical Rebound สอดคล้องกับภาพรวมของตลาดหุ้นในเอเชีย นำโดย HSKI / เซี่ยงไฮ้ อีกทั้งตลาดหุ้นยุโรปเปิดบวก ทำให้ SET INDEX กลับมาแกว่งเหนือ 1,500 จุดอีกครั้ง รวมถึงค่าเงินบาทที่เริ่มทรงตัวดีขึ้น ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX อยู่ที่ 1,510.51 จุด ฟื้นตัว 12.20 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 38,771 ล้านบาท
ด้านเงินทุนต่างชาติ ยังคงขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 7 อีก 472 ล้านบาท คงการ Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3 อีก 2,097 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 ลดลงเหลือ 1,369 ล้านบาท เมื่อค่าเงินบาททรงตัวมากขึ้น เงินทุนไหลออกเริ่มชะลอตัวชัดเจน
ปัจจัยสำคัญวันนี้
การเจรจาระหว่าง กรีซ และ รมว.คลังอียู วันที่ 11 พ.ค. ขณะที่กรีซจะต้องชำระหนี้ให้แก่ IMF อีก 700 ล้านยูโรในวันที่ 12 พ.ค.
ธนาคารกลางจีน ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งเงินฝาก และ เงินกู้ลง 25bps มีผลตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค.
มุมมองต่อตลาด
เราคงมุมมองการลงทุนเป็น "กลาง" วันที่ 30 พร้อมประเมิน SET INDEX ยังมีโมเมนตัมในการฟื้นตัวเป็นวันที่ 2 ด้วยบรรยากาศการลงทุนรอบเอเชียที่เป็นบวก ตามทิศทาง DJIA คืนวันศุกร์ อีกทั้งธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เดือนพ.ย. ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวต่ำกว่า US$60/barrel สำหรับ NYMEX เป็นบวกต่อจิตวิทยาเศรษฐกิจในเอเชียรวมถึงไทย ขณะที่ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นไทยใน 1Q58 ใกล้เคียงคาดเป็นส่วนใหญ่ การปรับประมาณการลงในรอบนี้ เชื่อว่าเป็นไปอย่างจำกัด
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย เพื่อประเมินภาพรวมของกระแสเงินทุนต่างชาติ หากเป็นการแกว่งในกรอบแคบๆ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย น่าจะสะท้อนถึงกระแสเงินทุนที่ไหลเข้า - ออก เบาบาง แต่หากกลับมาอ่อนค่าอย่างโดดเด่น จะกลายเป็นสัญญาณเชิงลบต่อกระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลออก ตลาดหุ้นไทยอาจเผชิญกับแรงขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างหนาแน่นอีกระลอกได้
ขณะที่ภาวะการจ้างงานเดือนเม.ย.ของสหรัฐฯ ออกมาใกล้เคียงกับที่ Bloomberg consensus คาด โดยรวมอัตราการว่างงานปรับตัวลดลงเป็น 5.4% จากเดือนมี.ค.ที่ 5.5% สะท้อนถึงภาวะการจ้างงานที่แข็งแกร่ง น่าจะเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกได้ แต่อาจกลายเป็นแรงกดดันต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดในการประชุมนัดหน้า เดือนมิ.ย.
สำหรับ ปัจจัยสำคัญในวันนี้ คาดว่านักลงทุนทั่วโลกต่างรอดูผลการเจรจาระหว่างกรีซ และ รมว.คลังอียูในวันนี้ ว่าจะมีความคืบหน้ามากน้อยเพียงใด เพราะในวันพรุ่งนี้ กรีซจะต้องชำระหนี้ให้แก่ IMF อีก 745 ล้านยูโร สร้างแรงกดดันต่อสภาพคล่องทางการเงินของกรีซค่อนข้างมาก และหากไม่คืบหน้า อาจทำให้ ECB กดดันกรีซทางอ้อมด้วยการเพิ่มเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือแก่ธนาคารพณิชย์กรีซได้อีกเช่นกัน
เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชีย (7.26 น.) เปิดบวกทั้ง Nikkei และ Kospi หลัง DJIA กลับมายืนเหนือ 18,000 จุด และธนาคารกลางประกาศลดอัตราดอกเบี้ย
กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนยังคงใช้กลยุทธ์ ขึ้นแรงขาย - ลงแรงซื้อ" ด่านที่น่าสนใจในรอบนี้ คือ 1,550 จุด +/- ที่ยังไม่น่าผ่านในช่วงสั้น
Portfolio
Top Pick in 2Q15: ITD / TASCO / TPIPL/ WHA
HOLD: ITD / TPIPL/ BJCHI/ ADVANC/ MONO / TASCO/ WHA/ THAI/ BCP
Accumulative Buy: ITD / TPIPL
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ทยอยสะสม" ได้แก่
1. TPIPL : ราคาปิด 2.70 บาท ราคาเหมาะสม 3.40 บาท
a) TPIPL จะรายงานผลประกอบการ 1Q58 ในวันพุธนี้ และเชื่อว่าตลาดจะตอบรับเชิงบวกหลังรายงานผลประกอบการ เนื่องจากจะเป็นไตรมาสแรกที่เริ่มรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าขยะจำนวน 18MW และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเชิงปัจจัยพื้นฐานจากสัดส่วนรายได้จากธุรกิจพลังงานทางเลือกที่เพิ่มขึ้น
b) MBKET คาดว่ากำไรสุทธิ 1Q58 จะเติบโตโดดเด่นทั้ง yoy และ qoq จากแรงหนุนของกำไรพิเศษจากอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 600 - 700 ล้านบาท เนื่องจากมีหนี้สินสกุลเงินยูโรราว 160 ล้านยูโร จึงได้ประโยชน์โดยตรงจากค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงมากจากสิ้นสุด 4Q57 ที่ 39.76 บาท / ยูโร เหลือ 34.92 บาท / ยูโร สิ้นสุด 1Q58
c) คาดกำไรสุทธิปี 2558 เติบโตถึง +60.8% yoy เป็น 2,143 ล้านบาท และต่อเนื่อง +79.0% เป็น 3,836 ล้านบาท ในปี 2559 ที่รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าทั้ง 73 MW เต็มปี
d) มี Upside Risk ที่ยังไม่รวมในประมาณการ คือ โรงไฟฟ้าจำนวน 90 MW ที่ได้รับการตอบรับจาก EGAT แล้ว และอยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาขายไฟ (PPA) รวมทั้งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทิ้งโรงละ 18MW จำนวน 2 โรงของสายการผลิตปูนซีเมนต์ที่ 2 และ 3 ที่อยู่ระหว่างขอ Adder และ PPA ซึ่งจะส่งผลให้ TPIPL ก้าวขึ้นเป็นผู้นำโรงไฟฟ้าขยะ SPP รายใหญ่สุดของไทยกำลังผลิตรวม 199 MW
e) Valuation ค่อนข้างถูก เนื่องจากซื้อขายระดับ PBV 2558 เพียง 0.9 เท่า เทียบกับ SCCC ที่ 3.7 เท่า และ SCC ที่ 3.3 เท่า
2. ITD : ราคาปิด 7.60 บาท ราคาเหมาะสม 12.00 บาท
a) ITD จะขึ้นเครื่องหมาย XW ใบแสดงสำคัญสิทธิ สัดส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 Warrant ในวันนี้ และคาดว่าราคาหุ้นจะอ่อนตัวลงตามทฤษฎีหลังขึ้นเครื่องหมาย XW ที่ 7.32 บาท เปิดโอกาสให้เข้าสะสมเพื่อคาดหวังการฟื้นตัวของราคาหุ้น
b) เนื่องจากมีปัจจัยบวกรออยู่ ได้แก่ ความคืบหน้าในการเซ็นสัญญาโครงการทวายกับพม่า และประทานบัตรเหมืองแร่โปรแตซ ที่ จ.อุดรธานี ในช่วงเดือน พ.ค. - มิ..ย.
c) หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่ปรับตัวลง -2.9% ในช่วง 1 เดือนทีผ่านมา ได้ตอบรับเชิงลบต่อการเปิดประมูลงานโครงการขนาดใหญ่ที่ล่าช้าไปพอสมควรแล้ว และหุ้น ITD ปรับตัวลงแรงกว่ากลุ่ม โดยลดลงถึง -6.8% เทียบกับ CK -2.4% และ STEC -3.7%
d) ราคา ณ ปัจจุบัน ถือว่าต่ำกว่ามูลค่าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 8.50 บาท สะท้อน Downside risk ที่จำกัดมากยิ่งขึ้นของ ITD ขณะที่ราคาเหมาะสม 12.00 บาท ด้วยวิธี Sum of the part ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 8.50 บาท, นิคมอุตสาหกรรมทวาย 1.50 บาท และเหมืองโปรแตซ 2.00 บาท
Fund Flow Analysis
und Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียกลับมาซื้อสุทธิ US$45 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$99 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติยังคงขายสุทธิทั้ง 3 ตลาดเป็นวันที่ 3
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 7 อีก 472 ล้านบาท รวม 7 วันทำการ ขายสุทธิ 9,631 ล้านบาท
และ YTD ขายสุทธิขยับขึ้นเป็น 8,898 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures วานนี้ นักลงทุนต่างชาติคงการ Short สุทธิเป็นวันที่ 3 อีก 2,097 สัญญา รวม 3 วันทำการ Short สุทธิ 9,087 สัญญา ขณะที่ S50M15 กลับมาปิดสูงกว่า SET50 Index อีกครั้ง 0.06 จุดจากวันก่อนหน้า ปิด Discount เท่ากับ 1.49 จุด น่าจะเป็นการทยอยปิดสถานะ Long ที่เปิดไว้ก่อนหน้านี้ แม้ว่า SET50 Index กลับมายืนเหนือ 1,000 จุด อีกครั้ง ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้มีสถานะเป็น Long สุทธิลดลงเป็น 15,569 สัญญา
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 ลดลงเหลือ 1,369 ล้านบาท รวม 3 วันทำการ ขายสุทธิ 14,704 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรรัฐบาลไทย ลดลงเป็นวันที่ 3 แต่เริ่มชะลอตัว ผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นอีก 3.24bps จากวันก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นถึง 14.61bps ปิดที่ 2.764%
เราคาดว่านักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิทั้ง 3 ตลาดเป็นวันที่ 3 เป็นการนำเงินออก แต่เมื่อค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เงินทุนขายสุทธิเริ่มชะลอตัวเช่นกัน
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ขยับขึ้นเป็น 1,255 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,116 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 20 แต่เป็นการปรับน้ำหนักระหว่างกลุ่ม ICT และ กลุ่มพลังงาน
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิลดลงเหลือ 48 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 82 ล้านบาท รวม 20 วันทำการซื้อสุทธิเท่ากับ 29,334 ล้านบาท โดยเป็นการปรับน้ำหนักการลงทุนระหว่างกลุ่ม ICT และกลุ่มพลังงานอย่างเห็นได้ชัด สรุปภาพการลงทุนผ่าน NVDR ได้ดังนี้
1. กลุ่ม ICT ถูกซื้อสุทธิสูงสุด 223 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 112 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มประกันภัย ซื้อสุทธิ 43 ล้านบาท
2. ขณะที่กลุ่มพลังงานถูกขายสุทธิสูงสุด 106 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคาร ขายสุทธิ 46 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 234 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ภาวะการจ้างงานในสหรัฐฯ ออกมาใกล้เคียงคาด
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาใกล้เคียงคาด
การจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 2.23 แสนตำแหน่ง ใกล้เคียง Bloomberg consensus คาด 2.20 แสนตำแหน่ง แต่ดีกว่าที่เดือนก่อนหน้าที่จ้างเพิ่มขึ้นเพียง 8.5 หมื่นตำแหน่งเท่านั้น เป็นการจ้างงานในภาคการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นถึง 4.5 หมื่นตำแหน่ง
การจ้างงานภาคเอกชน เดือนเม.ย. เท่ากับ 2.13 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 2.23 แสนตำแหน่ง แต่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่จ้างเพิ่มขึ้นเพียง 9.4 หมื่นตำแหน่ง
ยอดค้าส่งเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 0.1% mom ต่ำกว่าที่ Bloomberg consensus คาด 0.3% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 0.2% mom ทั้งนี้สินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้น 0.1% mom ขณะที่ยอดขายลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน โดยลดลง 0.2% mom ส่งให้อัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 1.30x ขึ้นจากเดือนธ.ค.ที่ 1.24x
ยุโรป
ผลผลิตภาคอุตฯ เยอรมันหดตัว: เดือนมี.ค. ผลผลิตลดลง 0.5% mom หลังเดือนก.พ. ผลผลิตทรงตัว ขณะที่ Bloomberg consensus คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% mom ภาคการผลิตลดลง 0.8% mom โดยเป็นการผลิตสินค้าเพื่อการลงทุนลดลง 1.4% mom
ธนาคารกลางนอร์เวย์ ส่งสัญญาณพร้อมลดอัตราดอกเบี้ย: หลังการประชุมล่าสุด คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก overnight ไว้ที่ 1.25% สอดคล้องกับ Bloomberg consensus อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการธนาคารกลาง ส่งสัญญาณพร้อมลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไปเดือนมิ.ย. จากข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน
พัฒนาการของกรีซ
รมว.คลังของเยอรมัน ออกมาประเมินว่ากรีซ อาจผิดนัดชำระหนี้ได้แบบไม่ตั้งใจ ขณะที่การประชุมระหว่างกรีซ และ เจ้าหนี้อียูที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 พ.ค. เป็นที่จับตามองของ ECB
การหารือระหว่าง อียู และ IMF ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีรายงานถึงผลการประชุมดังกล่าว
จีน
ธนาคารกลางจีนลดอัตราดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อ และ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยังออกมาต่ำกว่าคาด
ส่งออกของจีนยังไม่ฟื้นตัว: เดือนเม.ย. หดตัว 6.4% yoy ชะลอตัวจากเดือนมี.ค.ที่หดตัว 15.0% yoy แต่สวนทางกับที่ Bloomberg consensus คาดว่าจะฟื้นตัว 1.6% yoy ขณะที่การนำเข้าลดลงแรง 16.2% yoy จากเดือนมี.ค.ที่ลดลง 12.7% yoy และเป็นตัวเลขที่ลดลงมากกว่า Bloomberg consensus คาด -12.2% yoy ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล US$3.41 หมื่นล้าน ต่ำกว่าคาดที่ US$3.96 หมื่นล้าน
ทางการจีนอนุมัติการเชื่อมโยงการซื้อขายตลาดหุ้นฮ่องกง - เซินเจิน: ทางการได้ลงนามในข้อตกลงเปิดให้มีการซื้อขายระหว่างตลาดหุ้นฮ่องกง และ ตลาดหุ้นเซินเจิน เป็นโครงการที่คล้ายกับการเปิดซื้อขายระหว่างตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ และ ฮ่องกง ในก่อนหน้านี้ ทางนี้ตลาดหุ้นฮ่องกงคาดว่าการเชื่อมโยงดังกล่าวจะเปิดได้ใน 2H58 โดยจะมีการประกาศวันอย่างเป็นทางการในปลายเดือนมิ.ย.
อัตราเงินเฟ้อของจีนออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อย: เดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 1.5% yoy ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 1.6% yoy ทั้งนี้ราคาอาหารเพิ่มขึ้น 2.7% yoy ขณะที่ต้นทุนที่ไม่ใช่อาหารกลับเพิ่มขึ้น 0.9% yoy ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตลดลง 4.6% yoy ในเดือนเม.ย. จากราคาสินแร่ที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตทำระดับต่ำสุดในรอบ 38 เดือน
ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย: อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง 25bps เป็น 5.1% ถือว่าเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายเงินฝาก 1 ปีลดลง 25bps เช่นกัน เป็น 2.25% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค. แม้ว่าการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว แต่ความไม่แน่นอนในตลาดต่างประเทศ กลับกลายเป็นความเสี่ยงที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเผชิญกับแรงกดดันด้านลบมากขึ้น
เอเชียแปซิฟิก
ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ: คาดเติบโต 2.5% ในปีนี้ ลดลงจากประมาณการก่อนหน้าที่ 2.25-3.25% ส่วนปีหน้าปรับลดลงเป็น 2.75-3.75% จากเดิมที่คาด 3.00-4.00% ส่วนอัตราเงินเฟ้อปีนี้คาด 2.50% ใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อนที่ 2.00-3.00% แต่เงินเฟ้อในปีหน้าจะลดลงเป็น 1.75-2.75% จากเดิม 2.00-3.00%
ส่งออกไต้หวันหดตัวแรง: หดตัว 11.7% yoy ในเดือน เม.ย. ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 8.9% yoy และเป็นการหดตัวแรงกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 6.0% yoy เป็นผลจากอุปสงค์ในยุโรปและเอเชียที่ลดลง รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวกดดันภาคส่งออกของไต้หวัน
ไทย
ไม่มี
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530