- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 06 May 2015 17:56
- Hits: 1273
บล.กรุงศรี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
บทวิจัยตลาดทุนกรุงศรี (Morning Brief Package)
ภาวะตลาดหุ้นวานนี้:
SET รีบาวด์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งสวนทางลงของตลาดหุ้นภูมิภาค และดาวน์โจนส์ แม้ว่าเปิดตลาดภาคเช้าปรับตัวลงทันที -1.9 จุด ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดและเกิดรีบาวด์หลังจากนั้นทำจุดสูงสุดที่ 1531.55 จุด (+9 จุด) และปิดตลาดที่ 1526.74 จุด (+4.27 จุด, +0.28%) มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็น 4.66 หมื่นล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ฝั่งซื้อสุทธิอย่างมีนัยสำคัญมากถึง 15,693 ล้านบาท (เป็น Big-lot หุ้น BCP จำนวน 374.75 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 36 บาท มูลค่า 13,491 ล้านบาท เหลือซื้อสุทธิหลังหัก Big-lot 2,202 ล้านบาท) ด้านต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่อง 4 วันทำการอีก 1,861 ล้านบาท, รายย่อยขายสุทธิ 13,609 ล้านบาท ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ 32.94-32.98 บาท/US$ ดัชนีรายกลุ่มหลัก-รอง-เล็กที่ปรับตัวขึ้นเช่น พลังงาน สื่อสาร วัสดุ อสังหาฯ ขนส่ง ปิโตรฯ รับเหมา อิเล็กทรอนิกส์ และท่องเที่ยว ขณะที่กลุ่มธนาคารยังทรงตัวลง ตามด้วยพาณิชย์ มีเดียส์ โรงพยาบาล
แนวโน้มวันนี้:
แนะนำซื้อเก็งกำไรต่อเนื่อง คาดการณ์ตลาดยังมีแรงรีบาวด์ได้ต่อเนื่อง กรอบแนวรับ/ต้านเดิมที่ 1520-1540 จุด หลีกเลี่ยงหาก SET หลุดแนวรับ 1520 จุด
จากสัญญานส่งออกซึ่งเป็นเฟืองเศรษฐกิจสำคัญของไทยอ่อนแรงถึงไม่เติบโตในปีนี้ ส่งให้ธปท. ใช้ 2 มาตรการเพื่อกระตุ้นคือ 1) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% และ 2 ) มาตรการผ่อนคลายทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ เพิ่มเติม ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่ามีผลให้ค่าเงินบาททำสถิติอ่อนค่ากว่า 5 ปี (เช้านี้ 33.24 บาท/US$) เราเชื่อว่าแนวโน้มเงินบาทอ่อนจะยังมีทิศทางอ่อนค่าในระยะสั้น เราแนะนำซื้อเก็งกำไรหุ้นที่เอื้อต่อเงินบาทอ่อนค่า เช่น ส่งออก (DELTA) ท่องเที่ยว (โรงแรม ERW) และโรงพยาบาล (BDMS) และหุ้นรองในกลุ่มพลังงาน BCP, PTTGC และ ธนาคาร KBANK เริ่มน่าสนใจในด้านราคาหุ้นที่ลดลงมากถึง 10.2% ในช่วง 9 วันทำการที่ผ่านมา
ปัจจัยที่มีผลกระทบ
ธปท. ออกมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศเพิ่มเติมเพื่อเป็นส่งเสริมให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า กระตุ้นภาคส่งออก และพัฒนาตลาดเงินให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ดังนี้
ขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อฝากกับสถาบันการเงินในประเทศได้ โดยมียอดคงค้างไม่เกินUS$5 ล้าน (เดิมไม่เกิน US$500,000)
ขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศโอนเงินออกเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศได้ไม่เกินปีละ US$50 ล้าน (เดิมไม่เกิน US$10 ล้าน)
ด้านการลงทุน-อนุญาตให้บุคคลในประเทศสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านธนาคารพาณิชย์ และอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถเป็นนาย หน้าซื้อขายเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคมให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศได้
เตรียมมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยขยายวงเงินให้ผู้ที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศสามารถกู้ยืมเงินบาทจากสถาบันการเงิน โดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทยได้ไม่เกิน 600 ล้านบาท (จากเดิม 300 ล้านบาท) ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และอนุญาตให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศกู้เงินบาทได้เพื่อลงทุนในประเทศไทย-ยกเว้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์ เพื่อเป็นการรองรับการขยายการลงทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่จะมีเพิ่มขึ้น