WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

May copyบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์วันนี้ Sideways
ตลาดหุ้นวานนี้:
      ตลาดหุ้นไทยวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา SET INDEX เปิดฟื้นตัวและแกว่งอยู่ในกรอบระหว่าง 1,520-1,530 จุด นำโดยกลุ่มพลังงาน / ปิโตรเคมี ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกไต่ระดับขึ้นใกล้แนวต้านหลัก US$59/barrel และเก็งกำไรต่อผลการดำเนินงาน 1Q58 ที่จะทยอยประกาศมากขึ้นในสัปดาห์นี้ รวมถึงการทำ Big Lot หุ้น BCP ของ PTT ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น แม้ว่าจะเป็นช่วงวันหยุดยาวของตลาดหุ้นไทย 46,573 ล้านบาท SET INDEX ปิดบวก 4.27 จุด มาอยู่ที่ 1,526.74 จุด
       ด้านเงินทุนต่างชาติแม้ว่าขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 4 อีก 1,861 ล้านบาท แต่กลับมา Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 5,944 สัญญา และซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้อีกครั้ง 1,823 ล้านบาท สะท้อนกระแสเงินทุนต่างชาติที่เป็นกลางอีกครั้ง

ปัจจัยสำคัญวันนี้
การรายงานงบ 1Q58 วันนี้ คาดว่าจะมีการประกาศของ IRPC
การเจรจาระหว่างกรีซ และ ECB ยังไม่คืบ
ติดตามรายงานตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปิดทะลุ US$60/barrel จากความกังวลต่อท่อส่งน้ำมันจากลิเบีย สู่ท่าเรือซาอุดิอาระเบีย

มุมมองต่อตลาด
      เราคงมุมมองการลงทุนเป็น "กลาง" วันที่ 27 ประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX ระหว่าง 1,520-1,535 จุด จับตากลุ่มพลังงาน / ปิโตรเคมี ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงแกว่งระหว่าง US$55-60/barrel ตลอดช่วงที่ตลาดหุ้นไทยปิดทำการ รวมถึงกลุ่ม ICT ที่จะเริ่มทยอยประกาศงบ 1Q58 จับตา ADVANC หากออกมาดีกว่าคาด จะทำให้เกิดแรงเก็งกำไรหุ้นหลักใน ICT ต่อเนื่องมาได้อีก
      อย่างไรก็ตาม ด้วยความอ่อนแอของภาพรวมเศรษฐกิจใน 1Q58 จนทำให้ กนง.ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินถึง 2 ครั้งติดต่อกัน สะท้อนถึงความกังวลต่อความเปราะบางของเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่กดดัน Upside ของ SET INDEX ในช่วงนี้ แม้ว่างบ 1Q58 ของบริษัทจดทะเบียนต่อจากนี้ไปจะออกมาใกล้เคียงคาดหรือดีกว่าคาด จะช่วยจำกัด Downside risk ให้แก่ SET INDEX แต่ยังไม่มีน้ำหนักมากเพียงพอที่จะผลักดันให้ SET INDEX ขยับขึ้นทดสอบ 1,580-1,600 จุดได้
ดังนั้นภาวะการลงทุนในช่วงนี้ เราจึงแนะนำให้ นักลงทุนใช้กลยุทธ์ "ขึ้นแรงขาย ลงแรงซื้อ" หรือ ตลาดเทรดดิ้ง ต่อเนื่องจากเดือนเม.ย. แรงกดดันจาก Sell in May and Go Away อาจเป็นไปอย่างจำกัด สำหรับตลาดหุ้นไทยในรอบนี้
      ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความคืบหน้ากรณีกรีซ และ เจ้าหนี้อียู ที่ยังไม่เห็นพัฒนาการเชิงบวก ณ ปัจจุบัน หรือ ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ด้านดัชนี HSBC PMI ภาคการผลิตของจีนที่ยังคงต่ำกว่า 50 จุด และทำระดับต่ำสุดในรอบปี ย่อมสร้างความคาดหวังเชิงบวกที่จะเห็นนโยบายการเงินทั้งตะวันตก และ เอเชีย ยังเป็นการผ่อนคลายต่อเนื่องมากกว่า จะเห็นการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟดในช่วง 2Q58 รวมถึงราคาน้ำมันดิบ NYMEX ที่คืนวานนี้ปิดทะลุ US$60/barrel
เช้านี้ตลาด Kospi (7.46 น.) เปิดลบ 0.95% ขณะที่ตลาดหุ้น Nikkei ยังคงปิดเนื่องในเทศกาล Golden Week

กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนยังคงใช้กลยุทธ์ ขึ้นแรงขาย - ลงแรงซื้อ" ด่านที่น่าสนใจในรอบนี้ คือ 1,550 จุด +/- ที่ยังไม่น่าผ่านในช่วงสั้น

Portfolio
Top Pick in 2Q15: ITD / TASCO / TPIPL/ WHA
HOLD: ITD / TPIPL/ BJCHI/ ADVANC/ MONO / TASCO/ WHA/ THAI
Accumulative Buy: ADVANC/ BCP

 

Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ทยอยสะสม" ได้แก่
1. ADVANC: ราคาปิด 239 บาท ราคาเหมาะสม 320 บาท
a) เราประเมิน ADVANC จะรายงานกำไรสุทธิใน 1Q58 เติบโต 7% qoq และ 3% yoy เป็น 9,735 ล้านบาท จากรายได้ที่เติบโต บวกกับการควบคุมค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่เข้มงวดต่อเนื่อง ทำให้ภาพโดยรวมของ ADVANC ฟื้นตัว สวนทางกับ DTAC ที่ประกาศงบมาก่อนหน้านี้ ซึ่ง ADVANC จะประกาศงบในวันศุกร์ที่ 8 พ.ค.
b) เรามีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานของ ADVANC จะเติบโต qoq และ yoy ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี จากฐานผลการดำเนินงานที่ต่ำในปีที่แล้ว บวกกับ ค่าใช้จ่ายด้าน Regulatory ที่จะทยอยลดลงในไตรมาสที่เหลือ จากการย้ายลูกค้าไปยังคลื่นใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 4Q58 ที่จะหมดอายุสัมปทาน จะทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลดลงต่ำกว่า 10% ของรายได้จากการให้บริการ
c) ADVANC ถือเป็นหุ้นหลักที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง สำหรับงวดปี 2558 เราคาดเงินปันผล 14.11 บาท หรือคิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 5.90% ขณะที่ กนง.ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงวานนี้ ย่อมเป็นบวกต่อหุ้นปันผลเด่น อย่าง ADVANC ในแง่ความน่าสนใจของปันผล
d) และเรายังเชื่อว่า ADVANC มีความพร้อมมากที่สุดในการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ที่จะเปิดการประมูลในช่วงปลายปีนี้ ทั้งคลื่น 1800MHz และ 900MHz
2. BCP: ราคาปิด 35.50 บาท ราคาเหมาะสม 37.00 บาท
a) Overhang ถูกปลดล็อก หลัง PTT ขายหุ้นใน BCP ทั้ง 27% ให้กองทุนวายุภักษ์ และ กองทุนประกันสังคม วันพฤหัสบดีที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาหุ้น YTD ของ BCP ขึ้นมาเพียง 11.81% เทียบกับ IRPC +50.33%, ESSO +41.92% หรือ TOP +39.29%
b) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX คืนวานนี้กลับมาปิดยืนเหนือ US$60/barrel สูงสุดในรอบปี เป็นบวกเชิงจิตวิทยาต่อกลุ่มพลังงาน
c) คาดกำไรสุทธิ 1Q58 เติบโตทั้ง yoy และ qoq เป็น 1,700 ล้านบาท +9% yoy และพลิกกลับจากขาดทุนใน 4Q57 จากค่าการกลั่นเฉลี่ยที่สูงถึง US$8.52/barrel ใน 1Q58 จาก 1Q57 ที่ US$6.26/barrel และ 4Q57 ที่ US$6.27/barrel รวมทั้งไม่มีผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงเล็กน้อย qoq
d) คงมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการปี 2558 ที่คาดว่ากำไรสุทธิจะขยายตัว +572.6% yoy เป็น 4,786 ล้านบาท และจุดเด่นของ BCP คือการกระจายตัวของโครงสร้างธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจโซลาร์ฟาร์มที่มีกระแสเงินสดแน่นอน จึงมีความผันผวนของกำไรที่ต่ำกว่าโรงกลั่นอื่นๆในกลุ่ม
e) ซื้อขายระดับ PER 2558 ที่ 10.2 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นกลุ่มโรงกลั่นที่ 11.3 เท่า อีกทั้งผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 4% ต่อปี

Fund Flow Analysis
und Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียซื้อสุทธิ US$187 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$63ล้าน

Foreign Investors Action วานนี้
เงินทุนต่างชาติเป็นกลางในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 4 อีก 1,861 ล้านบาท รวม 4 วันทำการขายสุทธิ 9,060 ล้านบาท ส่งผลให้เดือนเม.ย. นักลงทุนกลุ่มนี้ ซื้อสุทธิเหลือเพียง 130 ล้านบาทเท่านั้น และทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิ 8,327 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures วานนี้ นักลงทุนต่างชาติกลับมา Long สุทธิวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 5,944 สัญญา เทียบกับ 3 วันทำการก่อนหน้า Short สุทธิ 11,721 สัญญา และหากย้อนไปช่วงก่อนหน้าที่ต่างชาติ Long สุทธิตลอด 11 วันทำการก่อนหน้าที่จะกลับมา Long / Short จนถึงวานนี้ เหลือ Long สุทธิ 47,291 สัญญา และ YTD เป็น Long สุทธิเป็น 24,656 สัญญา เราคาดว่านักลงทุนต่างชาติกลับมาเปิดสถานะ Long อีกครั้ง เมื่อ S50M15 กลับมาปิดต่ำกว่า SET50 Index อีกครั้ง 2.30 จุด จากวันก่อนหน้า Premium เท่ากับ 1.92 จุด
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมาซื้อสุทธิ 1,823 ล้านบาท เมื่อราคาพันธบัตรรัฐบาลไทยขยับขึ้นเด่นต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ลดลงมากถึง 4.82bps ปิดที่ 2.507% จากวันก่อนหน้า ผลตอบแทนพันธบัตรลดลง 0.74bps

Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ลดลงเหลือ 363 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,180 ล้านบาท

NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 17 เน้นการสะสมหุ้น PTT อย่างโดดเด่น
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิมากถึง 2,612 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 609 ล้านบาท รวม 17 วันทำการซื้อสุทธิเท่ากับ 28,491 ล้านบาท โดยเน้นการสะสม PTT หลังขายหุ้น BCP สัดส่วน 27% เป็นบวกต่อสภาพคล่องทางการเงิน และทำให้ PTT บันทึกกำไรจากการขายดังกล่าวใน 2Q58 สรุปภาพ NVDR ได้ดังนี้
1. กลุ่มพลังงานถูกซื้อสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 2 อีก 1,519 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 528 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่ม ICT ซื้อสุทธิ 486 ล้านบาท กลุ่มค้าปลีกซื้อสุทธิ 353 ล้านบาท และกลุ่มโรงพยาบาล ซื้อสุทธิ 253 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 142 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มขนส่งถูกขายสุทธิเป็นวันที่ 2 อีก 393 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 141 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคาร ขายสุทธิ 227 ล้านบาท

 

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด
คำสั่งซื้อโรงงานเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 2.1% mom เท่ากับ Bloomberg consensus คาด และฟื้นตัวจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 0.1% mom เป็นการฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน สะท้อนผลกระทบจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าต่อภาคการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการส่งออก และราคาพลังงานที่ลดลงแรง ขณะที่คำสั่งซื้อเดือนมี.ค.ที่ฟื้นตัว เป็นผลจากคำสั่งซื้อเครื่องบินเป็นสำคัญ
ดุลการค้าเดือนมี.ค.ขาดดุล US$5.14 หมื่นล้าน สูงกว่า Bloomberg consensus คาดขาดดุล US$4.2 หมื่นล้าน และเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล US$3.59 หมื่นล้าน ทั้งนี้การนำเข้าที่เพิ่มขึ้น US$1.71 หมื่นล้าน ส่วนการส่งออก นำโดยการส่งออกเครื่องบิน แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียง US$1.6 พันล้านเท่านั้น ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างการส่งออกและนำเข้าสินค้ากว้างถึง US$7.06 หมื่นล้าน ถือว่ากว้างสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2551

ยุโรป
สถานะการของกรีซ ณ ปัจจุบัน
อียูลดประมาณการเศรษฐกิจกรีซปีนี้ลง เหลือเติบโตเพียง 0.5% ลดงจากประมาณการเดือนก.พ.ที่ 2.5% หลังรัฐบาลกรีซ ไม่สามารถตกลงกับอียู ในเงื่อนไขการรับความช่วยเหลือ
กรีซ ได้อ้างถึงความไม่ลงรอยระหว่าง อียู และ IMF ในเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือกรีซในรอบถัดไป กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเจรจาต่อรองระหว่าง กรีซ และ เจ้าหนี้ Troika ขณะที่สภาพคล่องทางการเงินของกรีซจะหมดลงใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งกรีซจะต้องเร่งเจรจาให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว
EC เพิ่มประมาณการเศรษฐกิจอียูขึ้น: ปรับเป็น 1.5% จากประมาณการเดือนก.พ.ที่ 1.3% หลังค่าเงินยูโรอ่อนค่า จากมาตรการของ ECB ทั้งนี้ EC มีความเห็นต่อแนวโน้มการเติบโตที่อาจยังไม่สามารถรักษาระดับการเติบโต และสร้างความสมดุลย์ได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ค่าเงินยูโรที่อ่อนค่า และเศรษฐกิจโลกที่ทรงตัวจะช่วยภาพรวมเศรษฐกิจของอียู

จีน
ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนดีกว่าคาดเล็กน้อย: เดือน เม.ย.อยู่ที่ 50.1 จุดเท่ากับเดือนก่อนหน้า และดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดอยู่ที่ 50.0 จุด นอกจากนี้ตัวเลขที่มากกว่า 50 จุดสะท้อนภาคการผลิตที่ขยายตัว เป็นผลจากรัฐบาลเร่งการลงทุนสาธารณูปโภคและผ่อนคลายนโยบายการเงิน
ส่วนดัชนี HSBC PMI ภาคการผลิตต่ำกว่าคาด: อยู่ที่ 48.9 จุด ในเดือน เม.ย.ลดลงจากเดือน มี.ค. 49.2 จุดและต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาด 49.4 จุด

เอเชียแปซิฟิก
ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดอัตราดอกเบี้ย: ลดลง 25bps เป็น 2.00% อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และการจ้างงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจอินโดนีเซียชะลอตัวเป็นไตรมาสที่ 2: GDP ใน 1Q58 หดตัว 0.18% qoq สวนทางกับ Bloomberg consensus ที่คาดเติบโต 0.25% qoq แต่หากเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจเติบโต 4.71% yoy แต่ก็ยังต่ำกว่า Bloomberg consensus เช่นกัน ทั้งนี้ การใช้จ่ายของรัฐบาลที่ลดลง 49% การส่งออกหดตัว 6% เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสิงคโปร์ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออก

ไทย
อัตราเงินเฟ้อเม.ย.ต่ำสุดในรอบ 5 ปี: กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (CPI) เดือน เม.ย.58 อยู่ที่ 106.35 ลดลง 1.04% yoy แต่เพิ่มขึ้น 0.02% mom ทั้งนี้ CPI เดือน เม.ย. ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเป็นการติดลบสูงสุดรอบ 5 ปี 7 เดือน สาเหตุที่ CPI ในเดือน เม.ย.ยังคงลดเป็นผลสำคัญมาจากราคาเชื้อเพลิงและราคาสินค้าอาหารสดที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.58) ติดลบ 0.65%
ธปท.รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน มี.ค.การฟื้นตัวยังเป็นไปอย่างเปราะบาง: ภาคครัวเรือนชะลอการบริโภค ด้านภาคธุรกิจลดการผลิตและการลงทุนลง การส่งออกสินค้าลดลงในเกือบทุกหมวด ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยใน 1Q58 ยังอ่อนแอ แม้ว่าการใช้จ่ายด้านลงทุนของภาครัฐมีมากขึ้นและภาคท่องเที่ยวขยายตัวดีก็ตาม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 52.4 จุด จากเดือน ก.พ. ที่ 49.4 จุด เพิ่มขึ้นและยืนเหนือ 50 จุดเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวด้านการผลิตและผลประกอบการที่เร่งขึ้นก่อนวันหยุดเทศกาล ส่วนด้านความเชื่อมั่นภาคธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 52.1 ลดลงจาก 54.8 ในเดือน ก.พ.
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มี.ค. เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ US$2.22 พันล้าน ลดลงจากเดือนก่อนที่ US$3.51 พันล้านและต่ำกว่าตลาดคาด US$3.00 พันล้าน

Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!