WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล. เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
       ส่งออก 1Q58 ตกต่ำกว่าคาด กดดันเศรษฐกิจโดยรวม กลยุทธ์ยังเน้นรายหุ้นที่คาดว่าจะมีผลกำไรโดดเด่นในปีนี้ ยังชื่นชอบ RCL([email protected]) และ VNG ([email protected]) วันนี้เลือก PTTEP(FV@B140) เป็น Top Pick ASP ได้ปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น 4.5% หลังปรับเพิ่มราคาน้ำมันดิบระยะยาวขึ้น 5 เหรียญฯ เพราะของเดิมต่ำไป

เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ ส่งออกใน มี.ค. ติดลบเป็นเดือนที่ 3


สัญญานการชะลอตัวเศรษฐกิจไทยชัดเจนมากขึ้น สะท้อนจากยอดส่งออก เดือน มี.ค. - 4.45%yoy ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (ม.ค. - 3.5% และ ก.พ. -6.1%) ทำให้ งวด 1Q58 -4.69%yoy และหากพิจารณาเป็นรายสินค้าในเดือนมี.ค. พบว่าเป็นการลดลงของ หมวด อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ -5%yoy, แผงวงจรไฟฟ้า -10%yoy จากที่ขยายตัวได้สูงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า) ตามมาด้วยสินค้าเกษตร (โดยในงวด 1Q58 ข้าว -5.1%yoy และยางพารา -36.1%yoy) และอาหารทะเลแช่แข็ง และแปรรูป ในงวด 1Q58 -13.8%yoy (หมดสิทธิ GSP จากยุโรป) และพลาสติก (-9.8%yoy) แต่อย่างไรก็ตามมีสินค้าบางกลุ่มที่ยอดส่งออกดีขึ้นคือ รถยนต์ และน้ำตาล โดยรถยนต์เพิ่มขึ้น 5%yoy จากการฟื้นตัวของตลาดยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในงวด 1Q58 สอดคล้องกับการส่งออกรถกระบะ และรถบรรทุกไปออสเตรเลีย ขยายตัวสูงถึง 24.6%yoy ทำให้โดยรวมงวด 1Q58 การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้น 5.5%yoy ขณะที่การส่งออกน้ำตาล ในเดือน มี.ค. เพิ่มมากถึง 21%yoy (ขยายตัวเป็นครั้งแรกของปี) จากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 34%yoy

หากพิจารณาตลาดส่งออก ชะลอตัวในหลายตลาด โดยในเดือน มี.ค. พบว่า ตลาด ฮ่องกง ลบ มากสุด 27%yoy ตามมาด้วย จีน ญี่ปุ่น และ ยุโรป (คิดรวมเป็น 30% ของการส่งออกรวม) -8.3%yoy, -8.4%yoy และ -2.1%yoy ตามลำดับ สวนทางกับตลาดสหรัฐ และตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ยังขยายตัว 5.6%yoy (ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7) และ 17.4%yoy ตามลำดับ

 

เช่นเดียวกับการนำเข้าลดลง ในอัตราน้อยกว่าการส่งออกคือ เดือน มี.ค. -5.89%yoy และในงวด 1Q58 -6.43%yoy (ม.ค. -13.3% และเดือนก.พ. +1.5%) โดยสินค้านำเข้าที่ลดลงมาจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน และเครื่องจักร -39%yoy, สินค้าทุน -9.1%yoy , เครื่องใช้ไฟฟ้า -5%yoy และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ -11.7%yoy แต่กลับพบว่า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ขยายตัวได้ต่อเนื่อง คือเดือน มี.ค. +4%yoy และใน 1Q58 +9.9%yoy และ โดยรวมเดือน มี.ค. ไทยเกินดุลการค้าประมาณ 1.5 พันล้าน ดอลลาร์ และในงวด 1Q58 เกินดุลการค้า 1.43 พันล้านดอลลาร์

 

โดยสรุป การหดตัวของการส่งออก-นำเข้า ในเดือน มี.ค. ได้สร้างความกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2558 ซึ่งสอดคล้องกับทาง ASP ที่ได้ปรับลด การส่งออกสินค้าลงเหลือ 0.5% (จากเดิม 3.5%) ซึ่งต่ำกว่ากระทรวงฯ ได้ปรับลดเป้าการส่งออกปี 2558 เหลือ 1.2% (จากเดิม 4%) และASP ปรับลดการนำเข้าสินค้า เหลือ 1.7% (จากเดิม 4.5%) และ ทำให้โดยรวม ASP คาดว่า GDP Growth ไทยในปี 2558 จะขยายตัวได้ 2.5% (จากเดิม 3.5%) (อ่านรายละเอียด ใน Economic Update วานนี้) บนสมมติฐานเงินเฟ้อที่ไม่เกิน 1% และยังคงให้น้ำหนักต่อการประชุม กนง. วันนี้ โดยคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. ยืนดอกเบี้ยนโยบายหรือ ลดดอกเบี้ย ฯ โดยมีความน่าจะเป็นเท่าๆ กัน คือ 50/50 แต่ในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าน่าจะมีการลดดอกเบี้ยฯ อีก 2 ครั้งๆ ละ 0.25% โดยสิ้นปี 2558 จะอยู่ที่ 1.25% หรือลดลง 0.5% จากปัจจุบัน

ปรับสมมติฐานน้ำมันระยะยาวขึ้น 5 เหรียญฯ บวกต่อ PTTEP, PTT
ดังที่นำเสนอไปใน Market Talk วานนี้แล้วว่า นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASP เตรียมปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาวขึ้น จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขยับขึ้นไปที่ 80 เหรียญ/บาร์เรล ในปี 2559 เป็นต้นไป แต่อย่างไรก็ตามในปี 2558 การฟื้นตัวของราคาน้ำมันเป็นไปอย่างล่าช้าและต่ำกว่าสมมติฐานมาก กล่าวคือ ราคาเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 53.36 เหรียญ/บาร์เรล (ถ้าจะให้เป็นไปตามสมมติฐาน 75 เหรียญฯต่อบาร์เรลในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปีนี้ต้องเฉลี่ยอยู่ที่ 85.83 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ยาก) จึงปรับลดสมมติฐานลงเหลือ 70 เหรียญฯ (ในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปีนี้ต้องเฉลี่ยอยู่ที่ 78.33 เหรียญฯต่อบาร์เรล) จากสมมติฐานเดิม 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยวันนี้นักวิเคราะห์ ASP ได้ทำการปรับประมาณการตามสมมติฐานดังกล่าว ซึ่งมีผลทำให้ประมาณการกำไร ของ PTT, PTTEP ในปี 2558 ลดลง 5.2% และ 13.3% แต่จะเพิ่มขึ้น 12.2% และ 4.8% ตามลำดับ ภายใต้ประมาณการใหม่ พบว่ากำไรสุทธิในปี 2558 ยังเติบโตจากปี 2557 70% สำหรับ PTTEP และ 81.5% สำหรับ PTT

ขณะที่ทำให้ Fair Value ของ PTTEP เพิ่มขึ้นจากเดิม 4.5% เป็น 140 บาท และ ของ PTT เพิ่มขึ้น 6.7% เป็น 402 บาท ซึ่งทำให้ราคาหุ้นมี upside 17% และ 11% จึงเลือก PTTEP เป็น Top Pick ติดตามอ่านใน Industry Update วันนี้

งวด 1Q58 หุ้น Global ฟื้นตัวโดดเด่นกว่าหุ้น Domestic
วันนี้ยังขอนำเสนองบการเงินที่รายงานงวด 1Q58 และ ที่นักวิเคราะห์ ASP ทำการประเมินในเบื้องต้นก่อนการรายงานงบ ดังนี้

รายงานงบงวด 1Q58


HMPRO ([email protected]) ผลกำไรงวด 1Q58 ลดลง 29%qoq แต่ทรงตัว yoy จากยอดขายสาขาเดิมที่ลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบจาก ฐานลูกค้าที่ทับซ้อน จากการเปิดสาขาใกล้เคียง หรือ ซ้ำซ้อนในหลายพื้นที่/หลายจังหวัด แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าผลกระทบจะค่อย ๆ ลดน้อยลง หลังจากใช้เวลา 6-12 เดือน ขณะที่ Gross Margin ลดลงซึ่งเป็นผลจาก Mega Home ที่มี Margin ต่ำและยังมีผลขาดทุน โดยกำไรงวด 1Q58 คิดเป็น 19% ของประมาณการทั้งปี แต่คาดว่าน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และจะฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะงวด 2H58 ด้วยความหวังว่ายอดขายสาขาเดิมจะกลับมาฟื้นตัวดังกล่าวข้างต้น โดยยังคงประมาณการเดิม
DELTA (FV@B78) ผลกำไรงวด 1Q58 สูงกว่าคาด 9% เติบโต ถึง 37.9% qoq และ 11.8% yoy จากการปรับกลยุทธ์เข้าสู่ผลิตภัณฑ์ Data Center และ Automotive ที่มีความต้องการรองรับสูงมาก และการปรับส่วนผสมของโครงสร้างรายได้ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ให้ margin สูงขึ้น ขณะที่แนวโน้มงวด 2Q58 คาดว่าจะอ่อนตัวลงจากงวด 1Q58 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ซึ่งจะทำให้ยอดขายรวมอ่อนตัวลง แต่คาดว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วง 2H58 ซึ่งจะย่างเข้าสู่ช่วงฤดูกาลส่งออก โดยฝ่ายวิจัยคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2558-59 โดยคาดกำไรสุทธิเติบโต 21.2% yoy และ 8.3% yoyตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาที่ปรับขึ้นมามากจนเกิน Fair Value จึงแนะนำให้ทยอยขายทำกำไรไปก่อน หรือให้ switch ไปลงทุนใน HANA (ซื้อ:FV@48B) ที่เห็นทั้งแนวโน้มการเติบโตของพื้นฐานและราคาหุ้น

 

ส่วนหุ้นที่ทำ Earnings Preview
KCE (FV@B60) คาดการณ์กำไรสุทธิงวด 1Q58 ลดลง 13.3% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 9.4%yoy) เนื่องจากรายได้พิเศษลดลงจากงวด 4Q57 ซึ่งหากไม่รวมรายการดังกล่าว กำไรจากการดำเนินงานลดลง 4.5% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 9.4% yoy) จาก gross margin หดตัวลงมาที่ 29.1% เนื่องจากค่าใช้จ่ายของโรงงานใหม่ที่เพิ่มขึ้น และ ยังผลิตไม่ถึงจุดคุ้มทุน (มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในงวด 1Q58 เพียง 30%) รวมถึง ค่าเงินยูโรเฉลี่ยงวด 1Q58 อ่อนค่าลง 10% qoq อย่างไรก็ตามเชื่อว่างวด 1Q58 จะเป็นจุดต่ำสุดของปี และผลการดำเนินงานงวด 2Q58 จะฟื้นตัวตามฤดูกาลส่งออก โดยภาพรวมกำไรทั้งปี 2558 คาดว่าจะเติบโตถึง 27.4% yoy ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นตามการขยายโรงงานใหม่ และยังคงประมาณการกำไรเดิม

 

IRPC ([email protected]) คาดการณ์งวด 1Q58 พลิกกลับมาเป็นกำไรสุทธิกว่า 3.7 พันล้านบาท จากขาดทุนในงวดก่อนหน้าที่ 5.8 พันล้านบาท หลักๆ มาจาก ขาดทุนสต็อกน้ำมันและ LCM ลดลงเหลือเพียง 0.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จาก 16.04 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขณะที่ Market GIM งวด 1Q58 ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยรวมกำไรสุทธิงวด 1Q58 คิดเป็น 45.8% ของประมาณการทั้งปี 2558 และคาดว่ากำไรสุทธิทั้งปีจะอยู่ที่ราว 8.04 พันล้านบาท ขณะที่กำไรปกติในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่า จะทรงตัวหรืออ่อนตัวจากงวด 1Q58 และน่าจะโดดเด่นงวด 4Q58 เมื่อ โครงการ UHV (ปรับปรุงการผลิต โดยการปรับปรุงน้ำมันเตา เป็นปิโตรเคมี เพื่อลดต้นทุน) ที่จะแล้วเสร็จ จะช่วยหนุนให้ Margin เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันได้กว่า 2 เหรียญฯต่อบาร์เรล และมีโอกาสได้เงินชดเชยจากการเคลมประกัน.เหตุไฟไหม้หน่วย VGOHT ซึ่งยังไม่รวมไว้ในประมาณการ ฝ่ายวิจัยจึงยังคงประมาณการตามเดิม

ต่างชาติยังขายหุ้น TIP ต่อเนื่อง แต่ยังคงซื้อ-สลับขายหุ้นไทย


วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 9 แต่ยอดสุทธิลดลงเหลือเพียง 77.4 ล้านเหรียญ (ลดลงเกือบ 10 เท่าจากวันก่อนหน้า) โดยซื้อสุทธิเพียงประเทศเดียวเท่านั้นคือ ตลาดหุ้นไต้หวัน (ซื้อต่อเนื่องวันที่ 6) ที่เหลือเป็นการขายสุทธิทั้งสิ้น โดยขายสุทธิในตลาดหุ้นเกาหลีใต้เป็นวันแรกราว 49 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันถึง 15 วันทำการ รวมมูลค่ากว่า 4,168 ล้านเหรียญ) เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศ TIP ยังคงถูกขายออกมาเช่นเดิม โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังถูกขายหนักต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 กว่า 140 ล้านเหรียญ, ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิเป็นวันที่ 2 ถึง 81 ล้านเหรียญ หรือ 2,653 ล้านบาท (ซึ่งนับเป็นยอดขายสุทธิที่สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ. เป็นต้นมา) ส่งผลให้ยอดซื้อสะสมนับตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. อยู่ที่ 7,554 ล้านบาท แต่จากต้นปี 2558 จนถึงวานนี้ ยังขายสุทธิ 900 ล้านบาท) ทางด้านสถาบันในประเทศวานนี้ขายสุทธิออกมาวันที่ 5 ด้วยมูลค่ากว่า 2,842 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ กระแสเงินที่ไหลออกจากตลาดหุ้นกลุ่มประเทศ TIP พบว่าเป็นการขายหนักใน 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั้ง 2 ประเทศ นับตั้งแต่กลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ลดลง 4.5% และ ลดลง 3% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งคาดว่าน่าเป็นผลมาจาก PER ที่อยู่ในระดับที่สูงมาก กล่าวคือ ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย มี current PER สูงเกินกว่า 17.5 เท่า และฟิลิปปินส์พุ่งสูงถึง 20 เท่า สวนทางกับมุมมองเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัว (คาด GDP Growth อินโดนีเซียงวด 1Q58 เติบโตต่ำกว่า 5% ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 ส่วนฟิลิปปินส์เติบโตช้าลง) เทียบกับ ตลาดไทยมี current P/E 17.9 เท่า และ GDP Growth คาดว่าจะต่ำสุดคือไม่เกิน 3% ในปี 2558
ตรงกันข้ามและกระแสเงินไหลเข้ายังภูมิภาคเอเซียตะวันออก โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน เนื่องจากยังมี current PER อยู่ในระดับต่ำกว่าในกลุ่ม TIP มาก (ฮ่องกง 13.4 เท่า ไต้หวัน 13.8 เท่า เกาหลีใต้ 11.5 เท่า)

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!