WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
  ท่ามกลางปัญหาที่มีอยู่รอบด้าน แต่เชื่อว่าผลกำไรรายหุ้น (Real sector) ที่พลิกฟื้นจากขาดทุนมาเป็นกำไรในปีนี้เช่น พลังงานและปิโตรเคมี ตามราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว และที่กำไรโดดเด่นใน 1Q58 จะชนะ SET ได้ (VNG([email protected]) และ RCL([email protected])) วันนี้เลือก PTT(FV@B398) เป็น Top pick

สภาพคล่องโลกยังสูง ทั้งจากยุโรป และสหรัฐ
  แม้ปัญหาในกรีซยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องการเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งอาจจะกลับมากดดันตลาดได้ทุกเมื่อก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในระยะสั้น ตลาดหุ้นโลกยังได้รับแรงหนุนจากสภาพคล่องโลกที่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นต่อเนื่อง จากการใช้มาตรการอัดฉีดเงินของยุโรปซึ่งล่าสุดได้มีการเข้าซื้อสินทรัพย์ตั้งแต่เดือน มี.ค. และ จนถึงวันที่ 17 เม.ย. 2558 ได้ซื้อไปแล้วรวมทั้งสิ้น 7.3 หมื่นล้านยูโร (เทียบกับเป้าหมายกำหนดจะซื้อสินทรัพย์เดือนละ 6 หมื่นล้านเหรียญฯ และจะดำเนินการไปจนถึงเดือน ก.ย. ปี 2559 (รวมเป็นเม็ดเงินราว 1.1 ล้านล้านยูโร หรือ ราว 1.2 ล้านล้านเหรียญฯ) และจากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของบลูมเบิร์ก พบว่ามากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ตอบคาดว่า ECB จะทำตามแผนเดิม คือ สิ้นสุดการทำ QE ในเดือน ก.ย. 2559 และจะไม่มีการถอนเม็ดเงินคืน ขณะที่เหลือของผู้ตอบ คาดว่าหลังจาก ECB ซื้อ QE ครบตามแผนน่าจะ ทยอยถอน QE ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2559 จนถึง ธ.ค. 2560 ซึ่งจะคล้ายกับธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่เริ่มส่งสัญญาณทยอยตัดลด QE ตั้งแต่สิ้นปี 2556 และเริ่มตัดลด QE อย่างค่อยเป็นค่อยไป เดือนละ 1 หมื่นล้านเหรียญ เป็นครั้งแรกในเดือน ม.ค. 2557 และสิ้นสุดการทำ QE ไปเมื่อ เดือน ต.ค. 2557

  นอกจากนี้มีปัจจัยบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐเองก็น่าจะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโดยภาพรวมยังคงเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว และมีความขัดแย้งกัน โดยเฉพาะทางฝั่งของครัวเรือน ได้แก่ ตลาดบ้าน พบว่าแม้ว่ายอดขายบ้านมือสอง เดือน มี.ค. ที่ระดับ 5.19 ล้านหลัง ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ชะลอตัวในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า และทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี แต่สวนทางกับ ยอดขายบ้านใหม่ ในเดือนเดียวกันที่ 4.81 แสนหลัง (ลดลง 11%mom) และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนตามมาด้วย ภาคการผลิต โดยดัชนี PMI การผลิต เดือน เม.ย. ที่ระดับ 54.2 (ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน) และ ตลาดแรงงาน พบว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยสัปดาห์ล่าสุดวันที่ 18 เม.ย. เพิ่มขึ้น 1,000 ราย อยู่ที่ 295,000 ราย (เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 จากที่ก่อนหน้าลดลงต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์) ด้วยเหตุนี้ทำให้ GDP Growth สหรัฐ งวด 1Q58 จะต่ำกว่า 2% (เทียบกับ IMF ประเมินไว้ทั้งปีที่ 3.1%) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ Fed จะใช้ประกอบการพิจารณาในการขึ้นดอกเบี้ย พร้อมกับอัตราการว่างงาน จะต้องลดลงมาที่ระดับเฉลี่ย 5% ซึ่งเป็นระดับก่อนเกิดวิกฤติในปี 2551 (เดือน มี.ค. อยู่ที่ 5.5%) และเงินเฟ้อต้องเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% (เดือน มี.ค. ติดลบ 0.1%) ซึ่งต้องติดตามการประชุมครั้งถัดไป วันที่ 28-29 เม.ย. นี้

ระยะสั้นราคาน้ำมันดิบต่ำกว่าเป้า..แต่จะปรับเพิ่มสมมติฐานระยะยาวขึ้น
  ราคาน้ำมันดิบโลกยังอยู่ในช่วงแกว่งตัวขาขึ้น และสามารถขึ้นทำระดับสูงสุดได้ในรอบปี โดยเฉพาะน้ำมันดิบดูไบล่าสุดอยู่ที่ 61.77 เหรียญ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดเมื่อ 13 ม.ค. ที่ 43.23 เหรียญบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นกว่า 42% ทั้งนี้ มาจากความคาดหมายที่ว่าปัญหา oversupply ของน้ำมันโลก ผ่อนคลายลง อันเป็นผลจากปัญหาสู้รบในตะวันออกกลาง ระหว่างซาอุดิอาระเบียและเยเมน จะทำให้ supply น้ำมันหายไปจากตลาดบางส่วนหนึ่ง และอีกประการคือ supply ที่มาจากสหรัฐน่าจะค่อยๆ ลดลง เนื่องจากผู้ผลิตปิโตรเลียมหลายรายต่างลดกำลังการผลิต หรือปลดคนงานออกเพื่อลดต้นทุน (ล่าสุดคือ Schlumberger บริษัทขุดเจาะน้ำมันยักษ์ใหญ่ปลดพนักงานเพิ่มกว่า 11,000 คน หลังปลดไปแล้ว 9,000 คนเมื่อเดือน ม.ค.) ทำให้จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดลดลงอีก 31 หลุม เหลือเพียง 703 หลุม ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2553 ขณะที่ฝั่ง demand เอง แม้จะยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนนักในระยะสั้น แต่มีแนวโน้มว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว ตามเศรษฐกิจโลก (ล่าสุด IMF ได้ปรับเพิ่ม GDP Growth โลกบางแห่ง ได้แก่ ยุโรป ญี่ปุ่น และ อินเดีย เป็นต้น ) และยังเข้าใกล้ช่วงฤดูกาลขับขี่ (โดย IEA คาดว่า demand อยู่ที่ราว 93.6ล้านบาร์เรลต่อวันใกล้เคียงกับ supply ราว 94 ล้านบาร์เรลต่อวัน) จึงน่าจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการน้ำมัน ซึ่งฝ่ายวิจัยเตรียมปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาวขึ้น จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขยับขึ้นไปที่ 80 เหรียญ/บาร์เรล และ 85 เหรียญ/บาร์เรลในปี 2560 เป็นต้นไป ส่วนในปี 2558 จะปรับลดสมมติฐานจาก 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล เหลือ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล เนื่องจากราคาเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 53.34 เหรียญ/บาร์เรล (ถ้าจะให้เป็นไปตามสมมติฐาน 75 เหรียญฯต่อบาร์เรลในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปีนี้ต้องเฉลี่ยอยู่ที่ 85.83 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ แต่หากใช้ 70 เหรียญฯ ในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปีนี้ต้องเฉลี่ยอยู่ที่ 78.33 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งน่าจะมีความเป็นได้มากกว่า)
  ปัจจัยทางด้าน oversupply ที่ลดลงดังกล่าว น่าจะหนุนให้นักลงทุนในตลาดกลับมาเข้ามาซื้อขายเก็งกำไรน้ำมันกันอีกครั้งหนึ่งสะท้อนได้จากบรรดา hedge fund และกองทุนเก็งกำไรน้ำมันต่างประเทศพากันปิดสถานะ short และกลับมาเปิด long กันมากขึ้นและ หลังจากเชื่อว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ค. เป็นต้นไป

ตลาดหุ้นไทยยังได้แรงหนุนจากต่างชาติ
  วันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 มูลค่ารวมถึง 2,078 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิในเกือบทุกประเทศ ยกเว้นอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียวที่ขายสุทธิออกมาเป็นวันที่ 3 ส่วนประเทศที่ถูกซื้อสุทธิอย่างหนักคือ ไต้หวัน มูลค่าสูงสุดในรอบปีถึง 1,504 ล้านเหรียญ (ซื้อต่อเนื่องวันที่ 4) ทางด้านตลาดหุ้นเกาหลีใต้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 14 ขณะที่ตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต่างชาติสลับกลับมาซื้อสุทธิ 35.75 ล้านเหรียญ (1,163 ล้านบาท)
  ด้านตลาดตราสารหนี้ พบว่า นักลงทุนต่างชาติสลับกลับมาขายสุทธิอีกครั้งที่ราว 853 ล้านบาท ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปัจจุบัน ซื้อสุทธิสะสมในตราสารหนี้อยู่ที่ราว 9,131 ล้านบาท ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อย อยู่ที่ 32.55 บาทต่อดอลลาร์

กลยุทธ์เลือกหุ้นที่มีผลกำไรดีงวด 1Q58 และฟื้นตัวในปี 2558
  ท่ามกลางปัจจัยกดดันรอบด้าน ทั้งแรงกดดันในประเทศ จากปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และต่างประเทศ หลังจากพบว่า หน่วยงานกำกับการดูแลการบิน (กรมการบินพลเรือน) ของไทยไม่ได้มาตรฐานตาม ICAO (หน่วยงานควบคุมการบินระหว่างประเทศ) และล่าสุด การส่งออกอาหารทะเลอาจเผชิญกับการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ ๆ จากคู่ค้าหลักของไทย โดยเฉพาะยุโรป และ สหรัฐ (รายละเอียดดังที่ได้นำเสนอไปใน Market Talk วันที่ 22-23 เม.ย. ที่ผ่านมา) กลยุทธ์การลงทุนในระยะสั้น ๆ และในอีก 1 เดือนข้างหน้า ยังเน้นเลือกรายหุ้นภาคการผลิต ที่คาดว่าจะมีผลประกอบการที่สดใสในงวด 1Q58 และ ยังมีความต่อเนื่องในงวด 2Q58 ได้แก่ TASCO, VNG, RCL เป็นต้น และ หุ้นที่มีแนวโน้มผลกำไรที่พลิกฟื้น มาเป็นกำไรในปี 2558 ได้แก่ หุ้นพลังงานและปิโตรเคมี ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มพลิกจากที่ขาดทุนในงวด 4Q57 มามีกำไรในงวด 1Q58 (TOP, BCP, IRPC) เนื่องจากมีปัจจัยบ่งชี้ว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว โดยเฉพาะทางด้านราคาน้ำมันดิบดูไบ ขณะนี้ได้ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในเดือน ม.ค. 2558 และน่าจะมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง ดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งถือว่าดีต่อ PTT, PTTEP ขณะที่ราคาน้ำมันที่ต่ำในปัจจุบันยังส่งผลดีต่อหุ้นโรงกลั่น (TOP, BCP) เพราะหมายถึงต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจะลดลงต่ำกว่าสมมติฐาน ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีของ ASP เตรียมปรับเพิ่มประมาณการกำไรและ Fair Value ของ TOP ขึ้นด้วย (ติดตามอ่านรายละเอียด Equity Talk วันนี้)
  อย่างไรก็ตามพบว่าตลอดเดือน เม.ย. ราคาหุ้นของกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะให้ผลตอบแทนชนะตลาดเป็นส่วนใหญ่กล่าวคือ ดัชนีกลุ่มปิโตรเคมีให้ผลตอบแทน 13.3% เทียบกับ SET ให้ผลตอบแทน 4% โดย PTTGC ให้ผลตอบแทน สูงที่สุดถึง 20% ในเดือนเม.ย. ส่วนหุ้นพลังงาน ให้ผลตอบแทน 8.4% ในช่วงเดียวกัน โดยหุ้นรายตัวที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าได้แก่ IRPC 11.2%, PTT 9.5%, PTTEP 10.98%, TOP 7.6%, BCP 8.3% เป็นต้น แต่พบว่าหุ้นบางบริษัทก็ยังมี upside ได้แก่ PTT(FV@B398) PTTEP(FV@B134), IRPC([email protected]) ยกเว้น TOP(FV@B48 และอาจจะปรับเพิ่มเกิน 50 บาทต่อหุ้น ) และ BCP([email protected]) ที่ราคาตลาดเต็มมูลค่า แต่เลือก PTT เป็น Top pick แม้จะมี upside เหลือ 12% แต่มีโอกาสจะปรับเพิ่มกำไรและประมาณการตามบริษัทลูกที่มีแนวโน้มกำไรที่ดีกว่าคาดได้แก่ TOP เป็นต้น

ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!