- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 27 April 2015 16:01
- Hits: 944
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET ยังมีโอกาสปรับตัวลงให้เป็นจังหวะทยอยเข้าซื้อได้...
กลยุทธ์ : เรายังคาดว่า SET อยู่ในช่วงปรับพักฐานก่อนกลับไปแกว่งบวกจริงจังอีกครั้งในช่วงถัดไป ดังนั้น FSS จึงยังแนะนำให้รอเลือกหุ้นเพื่อทยอยค่อยๆ เข้าซื้อเฉพาะช่วงตลาดเป็นลบดีกว่า
หุ้นเด่นทางเทคนิค : BDMS, TSE, ANAN(buy back)
แนวโน้ม : เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา SET รีบาวด์กลับขึ้นมาแกว่งตัวด้านบวกได้ หลังจากตลาดปรับตัวลงมาพอควรในช่วง 2 วันก่อนหน้า แต่แรงซื้อที่มีเข้ามายังไม่สามารถผลักดันให้ดัชนีขยับออกจากกรอบแกว่งของวันก่อนหน้าได้ ทำให้ยังมีลักษณะแกว่งตัวภายในกรอบ 1540-1560 จุดโดยประมาณอยู่ ขณะที่เช้านี้แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ยังเปิดเป็นบวกได้ แต่กรอบการขึ้นก็ยังค่อนข้างแคบ โดยคาดว่าที่เป็นบวกเพราะได้รับแรงหนุนจากการปิดบวกของตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรป หลังข้อมูลความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีออกมาดีกว่าคาด และผลประกอบการของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ในสหรัฐออกมาในเชิงบวก อย่างไรก็ตามการปรับพักตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกน่าจะกดดันความมั่นใจของนักลงทุนลงบ้าง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงานในบ้านเราที่ขยับขึ้นมาพอควรแล้วในช่วงนี้ โดยคาดว่านักลงทุนบางส่วนยังต้องการรอดูผลประชุม กนง.ในบ้านเรา และถ้อยแถลงของประธานเฟดหลังการประชุมในวันพุธที่ 29 เม.ย.นี้อีกครั้ง รวมทั้งตั้งแต่ปลายสัปดาห์นี้ต่อเนื่องต้นสัปดาห์หน้า SET จะติดช่วงวันหยุดยาวด้วย ทำให้ FSS คาดว่า SET ยังมีกรอบขึ้นจำกัด และยังมีโอกาสปรับพักตัวลงได้อีกเช่นเดิม
แนวรับ 1553-1550 , 1545-1535 จุด
แนวต้าน 1556-1558 , 1560-1570 จุด
Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมาไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกันในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเป็น US$5,759 ล้าน จาก US$871 ล้านในสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนศุกร์ที่ผ่านมาไหลเข้าต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 โดยซื้อตลาดหุ้นไต้หวัน US$1,556 ล้าน เกาหลีใต้ US$506 ล้าน ไทย US$36 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$16.2 ล้าน แต่ขายอินโดนีเซีย US$20 ล้าน และเวียดนาม US$2 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ทรงตัว Flow น่าจะยังไหลเข้าแต่เบาบางรอผลประชุมเฟด 29-30 เม.ย. นี้
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) จับตาการประชุม FOMC และกนง. เราคาดว่าทั้ง FOMC และกนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการทางเงินตามเดิม โดยเฉพาะกนง.ที่น่าจะปล่อยให้การลดดอกเบี้ยครั้งก่อน (11 มี.ค.) ทำงานระยะหนึ่งก่อน ประกอบกับการลดดอกเบี้ยครั้งที่แล้วไม่ได้ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างที่ควรจะเป็น แต่หากมีการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ติดต่อกัน ตลาดหุ้นอาจตีความในทางลบว่าเศรษฐกิจที่แท้จริงแย่กว่าที่เห็น ค่าเงินบาทอ่อนค่าตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากการจ่ายเงินปันผลของบมจ. (เงินไหลออก) อีกส่วนเกิดจากการเก็งกำไรผลประชุม FOMC ว่าจะออกมาเป็นบวกกับค่าเงินดอลลาร์
(+) DTAC กำไร 1Q15 ส่งสัญญาณ Bottom Out เพิ่มคำแนะนำเป็นถือ แม้กำไรปกติใน 1Q15 (+19% Q-Q, -36% Y-Y) จะดีกว่าคาดแต่ยังต่ำกว่าที่เคยทำได้ แต่สัญญาณที่ดีขึ้นคือ Net Add ที่เพิ่มกว่า 4 แสนราย ขณะที่ Regulatory Cost ปรับลงเร็วจากคุณภาพโครงข่ายดีขึ้น แนวโน้มกำไรจะค่อยๆฟื้นแต่ทั้งปียังหดตัว 4% Y-Y เพิ่มคำแนะนำเป็นถือ จากขาย ราคาเป้าหมาย 84 บาท ทั้งนี้ DTAC ประกาศจ่ายปันผลงวด 1Q15 ที่ 0.89 บาท/หุ้น Yield 1.1% XD 6 พ.ค.
(+) MTLS เราคาดกำไรสุทธิ 1Q15 ที่ 171 ล้านบาท +17% Q-Q, +22% Y-Y จากการเปิดสาขากว่า 170 สาขา เท่ากับที่เปิดใหม่ทั้งปีของปีก่อน และคาดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นจาก 15.7% ใน 4Q14 เป็น 16.6% แต่รายจ่ายในการเปิดสาขาจำนวนมากทำให้กำไรยังโตไม่เต็มที่ แต่จะส่งผลดีในช่วงที่เหลือของปีที่จะได้ประโยชน์จากต้นทุนทางการเงินที่จะลดลงชัดเจนด้วย สำหรับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เราคาดว่าบริษัทจะเริ่มทำได้ใน 3Q15 ยังคงแนะนำซื้อ เป้าหมาย 25 บาท
(-) MAJOR แนวโน้มกำไรปกติ 1Q15 ยังไม่น่าตื่นเต้น เราคาด -11% Q-Q แต่เพิ่ม 9% Y-Y แนวโน้มกำไรในไตรมาสที่เหลือของปีจะโดดเด่นมากขึ้นตามหนังฟอร์มยักษ์ที่จะเข้ามาฉายหลายเรื่อง โดยเฉพาะ 2Q15 ที่คาดว่ากำไรจะสูงสุดของปีนี้ แต่ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นมาต่อเนื่องสะท้อนผลประกอบการที่แข็งแกร่งใน 2Q15 แล้ว ปัจจุบัน PE แพงถึง 23 เท่า และเกินเป้าหมายที่ 31 บาท จึงปรับคำแนะนำลงเป็นขาย จากเดิมเก็งกำไร
(-) PS แนวโน้มกำไรปกติ 1Q15 จะลดลงมาก เราคาด -51% Q-Q, -14% Y-Y เหลือ 916 ล้านบาทและน่าจะเป็นไตรมาสต่ำสุดของปี เพราะรายได้โอนลดลง แต่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากการทำโปรโมชั่นและโรงงานพรีคาสท์โรงที่ 6 ที่ยังใช้กำลังการผลิตต่ำ เราปรับกำไรปกติปี 2015-16 ลง 5.5% และ 6.3% เหลือโตเพียง 1.6% Y-Y ในปีนี้ และโต 16% Y-Y ในปีหน้า ปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 36 บาทจากเดิม 42 บาท แต่ราคาหุ้นปรับฐานลงมาแล้ว จึงคงคำแนะนำซื้อ แต่ถอด PS ออกจาก Top pick ของกลุ่ม คงเหลือแต่ QH และ SPALI ที่เป็นหุ้นที่เราชอบสุดในกลุ่มนี้
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นขานรับผลประกอบการของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่ออกมาในเชิงบวก
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ปิดในแดนบวกได้เช่นกันโดยนักลงทุนตอบรับต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจะทะเบียนที่ประกาศออกมาในทางบวก รวมถึงตัวเลขความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวผสมโดยนักลงทุนจับตาดูผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน แต่อย่างไรก็ตามยังได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นภูมิภาคอื่น
ค่าเงินบาทอ่อนค่าค่อนข้างแรง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-32.60 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 57.15 เหรียญ/บาร์เรล ปรับลง 0.59 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยมีแรงขายทำกำไรออกมาบ้างส่วนหลังราคาปรับตัวพุ่งขึ้นในวันก่อนหน้า แต่การปรับลงนั้นจำกัดเนื่องจากมีข้อมูลว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐฯปรับที่ดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 20 สัปดาห์
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 1,175.00 ดอลาร์/ออนซ์ ลดลง 19.30 เหรียญ/ออนซ์ หลังตลาดหุ้นในภูมิภาคต่างๆส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องจับตาดูเงื่อนเวลาในการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางราคาทองคำ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
27 เม.ย. - ไทย: ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มี.ค.), ดุลการค้า (มี.ค.)
28 เม.ย. - สหรัฐ: S&P/CaseShiller Index (ก.พ.), ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)
29-30 เม.ย. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
29 เม.ย. - ไทย: กนง.ประชุม
- สหรัฐ: 1Q15 GDP (คาดครั้งแรก), Pending home sales (มี.ค.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)
30 เม.ย. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน มี.ค.
- ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- ไต้หวัน: 1Q15 GDP
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
- สหรัฐ: Personal Income, Personal Spending (มี.ค.)
1 พ.ค. - ตลาดหุ้นหลายแห่งปิดทำการเนื่องในวันแรงงาน มีไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง จีน ไต้หวัน สิงคโปร์
- ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
- จีน: Manufacturing PMI (เม.ย.)
4 ต.ค. - ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดทำการ
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research