WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

ช่วงนี้ SET บวกแรงพอควรต้องระวังพักตัวด้วย...น่ารอซื้อลบ!!

  กลยุทธ์ : หลัง SET บวกขึ้นมาค่อนข้างเร็วและแรงพอควรในช่วงนี้ ทำให้ต้องระวังแรงขายระยะสั้นกดดันตลาดให้มีจังหวะปรับพักตัวลงก่อนไว้ด้วย ดังนั้นจังหวะซื้อเรายังแนะนำให้รอช่วงลบดีกว่า และถ้าเทรดดิ้งตามรอบอยู่สามารถดูจังหวะทำกำไรช่วงบวกบ้างเพื่อลดความเสี่ยง นอกจากเป็นส่วนลงทุนจึงจะเน้นถือต่อเนื่อง
  หุ้นเด่นทางเทคนิค : IRCP, JAS, M(short)
  แนวโน้ม : SET ยังดีดบวกต่อเนื่องได้ดีในช่วงครึ่งวันเช้า แต่ก็มีแรงขายทำกำไรออกมากดดันเป็นระยะ ก่อนที่ในภาคบ่ายแรงขายจะหนาตามากขึ้นจึงทำให้ดัชนีเริ่มแกว่งย้อนลงมาพอควร ขณะที่เช้านี้แม้ว่าตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่จะยังเปิดบวก แต่ก็เป็นการบวกต่อเพียงเล็กน้อยและมีบางแห่งเริ่มมีจังหวะย้อนลบให้เห็นด้วย หลังจากเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐกลับมาปิดเป็นลบ ทั้งๆ ที่ในช่วงแรกดัชนีดาวโจนส์ขยับบวกขึ้นไปกว่า 100 จุด เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่าการแข็งค่าของเงินดอลลาร์อาจจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทส่งออก รวมทั้งการรีบาวด์กลับขึ้นมาค่อนข้างเร็วของ SET จึงทำให้ FSS คาดว่ามีโอกาสสูงที่ตลาดหุ้นไทยจะมีจังหวะแกว่งพักตัวลงก่อนได้ แต่กรอบการพักตัวของ SET ช่วงนี้น่าจะยังมีจำกัด เพราะการขยับขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกมีสิทธิช่วยหนุนราคาหุ้นกลุ่มพลังงานไว้ได้ และดัชนียังมีแนวโน้มที่จะกลับไปขยับบวกต่อในช่วงถัดไปได้อีก ดังนั้นเรายังแนะนำให้รอซื้อช่วงตลาดเป็นลบดีกว่า
  แนวรับ 1546-1544 , 1540-1530 จุด
  แนวต้าน 1552-1555 , 1558-1562 จุด
  Fund Flow วานนี้ไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคในปริมาณเบาบาง นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$65.5 ล้าน เกาหลีใต้ US$39.8 ล้าน อินโดนีเซีย US$37 ล้าน ไทย US$20.8 ล้าน และฟิลิปปินส์ US$15 ล้าน แต่ขายเวียดนาม US$2.2 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ค่อนข้างนิ่ง Flow น่าจะยังไหลเข้าแต่เบาบาง

ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
  (-) ปรับประมาณการกลุ่มแบงก์ลง หลังจากเรา visit เกือบครบทุกแบงก์ พบว่าผู้บริหารทุกแบงก์ต่างมีมุมมองต่อเศรษฐกิจแย่ลงจากช่วงต้นปี และต่างหันมาเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเพื่อคุมคุณภาพมากกว่าจะเน้นการขยายสินเชื่อ แม้แต่ละแบงก์จะยังคงเป้าสินเชื่อปีนี้โตเฉลี่ย 8% แต่มีโอกาสปรับลงในระยะถัดไปหากการลงทุนภาครัฐและการบริโภคไม่ฟื้น เราปรับกำไรกลุ่มแบงก์ปี 2015 ลง 2% เหลือโต 5% Y-Y จากเดิมที่คาดโต 7% Y-Y สำหรับกำไรแบงก์ใหญ่ใน 1Q15 ไม่ดีนัก คาด +2% Y-Y ซึ่งต่ำมาก และ 2Q15 ยังถูกกดดันจาก NIM ที่ลดลงตามทิศทางดอกเบี้ย โดยเฉพาะ BBL และ KTB ที่จะกระทบมากสุดเพราะระดมเงินฝากไปมากในช่วงปลายปีก่อน แม้คำแนะนำจะเป็นซื้อเกือบทุกแบงก์ยกเว้น BAY และ LHBANK แต่เชื่อราคาหุ้นมีโอกาสอ่อนตัวในระยะสั้น จึงไม่ควรรีบร้อน
KBANK เราคาดกำไร 1Q15 +30% Q-Q, +8% Y-Y ดีสุดในกลุ่ม แต่ปรับกำไรสุทธิทั้งปี 2015 ลง 3% จากที่คาด +10% Y-Y เหลือ +5% Y-Y ปรับเป้าหมายลงเป็น 260 บาทจาก 271 บาท ยังเป็น Top pick เพราะ NIM น่าจะอยู่ในระดับสูงสุดของกลุ่มจากความสามารถในการเลือกลูกค้าและบริหารต้นทุนเงินฝาก
  KTB เราคาดกำไร 1Q15 +3.8% Q-Q, +1% Y-Y ปรับกำไรสุทธิทั้งปีลง 3.8% จากที่คาดโต 15% Y-Y เหลือ +10.7% Y-Y ปรับเป้าหมายลงเป็น 26.80 บาทจาก 27.60 บาท แต่ยังชอบ KTB รองจาก KBANK เพราะกำไรยังโตสูงกว่าแบงก์อื่น
TMB เราคาดกำไร 1Q15 -16% Q-Q, +56% Y-Y คงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีที่คาดโต 6% คงเป้าหมาย 3.40 บาท
  BBL เราคาดกำไร 1Q15 +4.6% Q-Q, +2.2% Y-Y ปรับกำไรสุทธิทั้งปีลง 2% จากที่คาดโต 2% Y-Y เป็นทรงตัวโดย NIM จะถูกดดันมากที่สุด คาดลดเหลือ 2.2% ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 225 บาทจาก 243 บาท
  SCB เราคาดกำไร 1Q15 -9% Y-Y, -2% Q-Q ด้อยสุดในกลุ่มเพราะมีค่าใช้จ่ายคดี สจล.และไฟไหม้ และปรับกำไรสุทธิทั้งปีลง 2% เหลือโต 1% Y-Y ปรับเป้าหมายลงเป็น 218 บาทจาก 228 บาท
  (+) IPO ใหม่ “TVT” เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ชั้นนำ รายได้หลัก 74% มาจากค่าโฆษณาจากการผลิตรายการโทรทัศน์ และ 25% มาจากการรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์และการจัดอีเว้นท์ ตัวอย่างรายการที่ได้รับความนิยมเช่น Master Key, หลวงตามหาชน, Take Me Out Thailand, Dance Your Fat Off เป็นต้น กำไรปกติปี 2014 ที่ลดลง 13.8% เป็นเพราะการเมืองทำให้ผู้ซื้อสื่อโฆษณาชะลอการซื้อ แต่ปี 2015 เราคาดกำไรปกติโตก้าวกระโดด 193.3% และปี 2016 โตอีก 19.7% เพราะจำนวนช่องฟรีทีวีที่เพิ่มขึ้น 4 เท่าเป็นโอกาสของผู้ผลิตอย่าง TVT ที่มีช่องทางหารายได้มากขึ้นทั้งผลิตรายการเองและรับจ้างผลิต เราประเมินมูลค่าหุ้น 3.00 บาท อิง PE 30 เท่าเท่ากับค่าเฉลี่ยกลุ่ม (FSS เป็นแกนนำจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ของ TVT)

  ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในกรอบแคบๆโดยนักลงทุนจับตาการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์ รวมถึงเข้าสู่ช่วงทะยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
  ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนบวกได้ค่อนข้างดีโดยตอบรับความคาดหวังที่ว่า FED จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่เปิดในแดนบวก โดยนักลงทุนจับตาดูนโยบายการเงินของ BoJ ในวันนี้
  ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างแรง โดยล่าสุดมาแกว่งตัวในกรอบ 32.47-32.60 บาท/ดอลลาร์
  ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. ปิดที่ 53.98 เหรียญ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นอีก 1.84 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่เช้านี้กลับมาปรับตัวลดลงหลังมีรายงานว่าระดับการผลิตน้ำมันดิบซาอุดิอาระเบียพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในเดือน มี.ค.
  ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 1,210.60 ดอลาร์/ออนซ์ ลดลง 8.00 เหรียญ/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า รวมถึงนักลงทุนกลับมาจับตาดูเงื่อนเวลาการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED อีกครั้ง


ปัจจัยที่ต้องติดตาม

8 เม.ย. - ญี่ปุ่น: ธนาคารกลาง (BOJ) ประชุม
9 เม.ย. - ฟิลิปปินส์: ตลาดหุ้นปิดทำการ
- เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
- สหรัฐ: รายงานการประชุม FOMC เมื่อวันที่ 17-18 มี.ค. 2015
10 เม.ย. - จีน: อัตราเงินเฟ้อ (มี.ค.), ยอดสินเชื่อ (มี.ค.)
- สิงคโปร์: 1Q15 GDP
13 เม.ย. - จีน: ดุลการค้า (มี.ค.)
14 เม.ย. - อินเดีย: ตลาดการเงินปิดทำการ
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (มี.ค.
- ยูโรโซน: Industrial Production (ก.พ.)
15 เม.ย. - จีน: 1Q15 GDP, ยอดค้าปลีก (มี.ค.) 
- ยูโรโซน: ดุลการค้า (ก.พ.), ECB ประชุม
16 เม.ย. - สหรัฐ: Beige Book, Housing starts & Building permits (มี.ค.)
17-23 เม.ย. -ไทย: กลุ่มธนาคารทยอยประกาศผลประกอบการ 1Q15
17 เม.ย. - สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (มี.ค.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (มี.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon 
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!