- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 03 April 2015 18:53
- Hits: 1303
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ฟื้นตัวและกลับมา Outperform ตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน โดยแนะนำหุ้นที่ Laggards เช่น BTS, SPALI และ BEC วันนี้ยังเลือก RCL([email protected]) เป็น Top Pick เพราะนอกจากได้ประโยชน์จากน้ำมันที่ทรงตัวในระดับต่ำแล้ว ยังมีสัญญาณบวกจากดัชนีขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ เพิ่มขึ้นสูงถึง 4%wow และจากสถิติในอดีต มักให้ผลตอบแทนชนะตลาดในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์
ภาพใหญ่ยังให้น้ำหนักต่อเศรษฐกิจไทย และปัจจัยภายนอก
ไทยผ่อนคลายคง หลังยกเลิกกฏอัยการศึก แต่มีการนำมาตรา 44 มาใช้ อาจจะช่วยสร้าง Sentiment เชิงบวกในระยะสั้น เพราะเป็นการช่วยปลดล๊อกเรื่องการทำประกันภัยนักท่องเที่ยว แต่อย่างก็ตาม มาตรา 44 จะยังมีผลกระทบเรื่องการทำประกันเหมือนกฏอัยการศึกหรือไม่เป็นประเด็นที่ภาครัฐต้องไปหารือ และประเมินกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกัน 3 สถาบัน (กกร.) ในวันที่ 7 เม.ย. นี้ อย่างไรก็ตามล่าสุดพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (C) ยังคงลดลงต่อเนื่องเป็นเดือน ที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 9 เดือนกล่าวคือ เดือน มี.ค. อยุ่ที่ 77.7 ลดลงจากระดับ 79.1 ในเดือน ก.พ. และเช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยรวม เดือน มี.ค. อยู่ที่ 67.1 ลดลงจากระดับ 68.4 ในเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ซึ่งเป็นการสะท้อนว่า GDP Growth ในงวด 1Q58 อาจจะไม่ดีอย่างที่ตลาดคาด และไตรมาสที่เหลือ ซึ่ง ASP อยู่ในช่วงทบทวน โดยคาดว่า GDP Growth ในปี 2558 จะลดลงต่ำกว่าเดิมที่คาดไว้ 3.5% เหลือ 2.5-3%
สหรัฐ ตลาดแรงงานยังคงสดใส ล่าสุดพบว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 มี.ค. ลดลง 20,000 ราย อยู่ที่ 268,000 ราย (ต่ำกว่าคาด 17,000 ราย) เป็นการลดลงต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 16 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนที่รายงานไปก่อนหน้าต่ำกว่าคาด คือ การจ้างงานภาคเอกชน (ADP) เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 189,000 ราย ลดลงจาก 214,000 ราย ใน เดือน ก.พ. และเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 ทำให้คาดว่าการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน มี.ค. ที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ น่าจะเพิ่มมากขึ้นกว่าภาคเอชน โดยผลการสำรวจนักวิเคราะห์ พบว่าการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่ง จาก 295,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. และโดยรวมน่าจะทำให้อัตราการว่างงานเดือน มี.ค. อาจจะทรงตัว ที่ระดับ 5.5% แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญอีกหลายส่วนยังคงชะลอตัว ได้แก่ ภาคครัวเรือน และ ภาคการผลิต ทำให้คาดว่า GDP Growth งวด 1Q58 อาจจะทรงตัว 2.4%yoy (ใกล้เคียงกับงวด 4Q57 ที่ 2.4%) และมีน้ำหนักให้ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยฯ ออกไปในช่วงปลายปี 2558 ถึงต้นปีหน้า จนกว่าจะเห็นเงินเฟ้อเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% และเศรษฐกิจเข้าสู่การจ้างงานเต็มที่ หรือที่ราว 5.2-5.3% (เดือน ก.พ. 5.5%)
ต่างชาติกลับมาซื้อ แต่ยังเล็กน้อย
วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับกลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้งที่ 215 ล้านเหรียญ โดยมีเพียงเกาหลีใต้ประเทศเดียวที่ถูกขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ที่เหลือเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ นำโดยอินโดนีเซีย (ซื้อต่อเนื่องวันที่ 3) ไต้หวัน (สลับกลับมาซื้อหลังจากถูกขายติดต่อกันมา 7 วันทำการ) และไทย สลับกลับมาซื้อสุทธิ 23.47 ล้านเหรียญฯ (762.45 ล้านบาท) (ดังแสดงในภาพด้านล่าง) ส่วนตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดทำการวันที่ 2-3 เม.ย. จากวัน Maundy Thursday และ Good Friday ด้านตลาดตราสารหนี้วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิสูงถึง 6,400 ล้านบาท ส่วนเงินบาททรงตัวที่ 32.46 บาท/เหรียญฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่ากระแสเงินทุน ไหลเข้าภูมิภาคยังมีภาพไม่ชัดเจน โดยยังมีการซื้อสลับขายรายวันด้วยมูลค่าเบาบาง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเข้าใกล้ช่วงวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์ในหลายๆ ตลาดภูมิภาค เริ่มตั้งแต่วันนี้ ต่อเนื่องถึงวันจันทร์หน้า บวกกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของปัญหาหนี้กรีซ ทำให้นักลงทุนน่าจะยังชะลอการลงทุนเพื่อให้ผ่านช่วงวันหยุด และรอความชัดเจนของปัจจัยต่างๆ
RCL และ GUNKUL มีโอกาสชนะตลาดสูงในช่วงก่อนส่งกรานต์
ดังที่ได้นำเสนอแล้วว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นวันหยุดยาว ตลาดหุ้นไทยน่าจะเงียบเหงา แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาสถิติในอดีต ย้อนหลัง 10 ปี พบว่าในในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน เม.ย. ดัชนีตลาดหุ้นไทย มักให้ผลตอบแทน 1.1% ด้วยความน่าจะเป็น 70% โดยหุ้นที่คาดว่าจะเกิดซ้ำรอยประวัติศาสตร์ อย่างน้อย 2 บริษัท RCL (FV@B 13.1) จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.1% ด้วยความน่าจะเป็นสูงเกิน 80% คือ GUNKUL ([email protected]) จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.9% ด้วยความน่าจะเป็นสูงเกิน 75% (รายละเอียดดังปรากฏในตารางด้านล่าง)
RCL([email protected]) ดังที่ได้นำเสนอไปวานนี้ว่า ดัชนีค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ HOWE ROBINSON INDEX (HRCI) สัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นในอัตราสูง 4.0% เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 13 พร้อมทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องในรอบ 3 ปี 6 เดือน และหากพิจารณา ค่าเฉลี่ยดัชนี HRCI ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) ที่ 590.2 จุด เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยทั้งปี 2557 ที่ 527.5 จุด แล้วถึง 11.9% ขณะที่ยังได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนหลัก ของบริษัท (สัดส่วนราว 20% ของต้นทุนรวม) ที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ RCL ได้ซื้อสัญญาน้ำมันล่วงหน้าไว้เพียง 25% ของปริมาณขนส่ง จึงคาดว่าบริษัทจะได้รับประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญในงวด 1Q58 เป็นตั้นไป ขณะที่ราคาหุ้น RCL มี Expected PBV ปี 2558 เกือบต่ำสุดที่ 0.77 เท่า เมื่อเทียบกับบริษัทเรือคอนเทนเนอร์ชั้นนำทั่วโลก แต่มี ROE ปี 2558 อยู่ที่ 6.5% ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ชอบ RCL เพราะเป็นหุ้น Turnaround และ ราคาตลาดมี upside 40% จากมูลค่าพื้นฐานปี 2558 (อิง PBV ที่ 1.1 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV หุ้นเรือคอนเทนเนอร์ทั่วโลกที่ 1.34 เท่า)
GUNKUL ([email protected]) เข้าสู่ธุรกิจด้านพลังงานทดแทนที่ครบวงจรและขยายธุรกิจไปยังต้นน้ำด้วยการเป็นผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์เพื่อจำหน่าย เริ่มต้นจากโครงการโซลาร์ราชการและสหกรณ์การเกษตร (กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์) คาดอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ราว 25% รวมทั้งแผนขยายการลงทุนในมาเลเซีย ส่งผลให้แนวโน้มกำไรในช่วง 3 ปี ข้างหน้า เติบโตเฉลี่ย 50% บวกกับปัจจัยเร่งในทุกๆ ปี เริ่มจากปี 2558 ปัจจัยหนุนหลักจากงานก่อสร้าง (EPC) โซลาร์ฟาร์มค้างท่อเดิมและโซลาร์รูฟท็อป ปี 2559 จะเริ่มรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม WED (โครงการห้วยบงและวายุ) และโรงไฟฟ้าพลังงานลม GNP กำลังการผลิตแห่งละ 60 เมกะวัตต์ ที่จะทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2560 ที่จะรับรู้รายได้เต็มปีจากการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าพลังงานลมโคราชวินเอ็นเนอร์ยี (KWE) และโรงไฟฟ้า GK Sendai ที่ญี่ปุ่น กำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ และ 31.75 เมกะวัตต์ ตามลำดับ
ตลาดฟื้นตัวแนะนำหุ้น Laggard/BTS, SPALI และ BEC
แม้ตลาดหุ้นไทยจะ under perform ตลาดหุ้นโลก และ ในภูมิภาคเอเซียด้วยกัน แต่ล่าสุด เมื่อย่างเข้าเดือน เม.ย. เพียง 2 วันทำการ พบว่าดัชนีพุ่งขึ้นไปกว่า 1.75% (ฟื้นตัวจากเดือน มี.ค. ที่ร่วงลงกว่า 5.1%) แต่โดยรวมจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าผลตอบแทนของ ตลาดเพิ่มขึ้น 2.3% ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ได้แก่
กลุ่มเกษตร ลดลงถึง 11.4%ytd หลักๆ มาจาก GFPT ลดลงมากถึง 32% จากราคาไก่ในประเทศที่ลดลง และ STA ลดลง 5.8% เนื่องจากราคายางตกต่ำ
ส่งออกอาหาร ลดลง 4.7%ytd เนื่องจากราคาสัตว์บก (ไก่, หมู) ในประเทศอ่อนตัว กดดัน CPF ลดลงถึง 18.2% และ TUF ลดลง 10.5% รวมถึงราคาน้ำตาลที่ลดลงมากตามราคาตลาดโลก ส่งผลให้ KTIS ลดลงไปกว่า 16.4% และ KBS (-8%)
บันเทิง ลดลง 3.6% เนื่องจากผลการดำเนินงานของสื่อทีวีดิจิทัลที่ชะลอตัวลงจากรายได้ค่าโฆษณา ขณะที่ต้นทุนดำเนินงานที่ค่อนข้างสูงจากการตัดจำหน่ายใบอนุญาต การลดลงหลักๆ มาจาก BEC ลดลงถึง 18.1% ตามมาด้วย MCOT (-4.1%) และ RS (-2.6%)
ค้าปลีก-ค้าส่ง ลดลง 1.7% ตามการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว หลักๆ มาจาก BJC (-10.3%) CPALL (-5.9%) GLOBAL (-1.8%) และ HMPRO (-0.6%)
สื่อสาร ลดลง 1.2% โดยเฉพาะผู้ให้บริการมือถือ ซึ่งถูกกดดันจากประเด็นการกลับมาเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต และ ความล่าสุดในการเปิดประมูล 4G ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี กดดันให้ DTAC ลดลงไปมากสุด 11.8% และตามมาด้วยผู้ประกอบการรับเหมางานสื่อสารภาครัฐ เช่น SAMART และ ขายมือถือคือ SIM ลดลงไป 19.9% และ 18% ตามลำดับ
ธนาคารพาณิชย์ ลดลง 1.2% มาจาก BBL (-5.2%) BAY (-4.5%) LHBANK (-3.1%) KKP (-2.5%) SCB (-2.5%) และ CIMBT (-2.1%) เนื่องจากได้รับผลกระทบเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ตรงข้าม กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาด เป็นกลุ่ม Global รวมทั้งกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับโครงการภาครัฐ ได้แก่
ธุรกิจการเงินรายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มลิสซิ่ง มาจาก GL ปรับเพิ่มขึ้นถึง 96.5% SAWAD 60.6% KTC 57.7% MTLS 55.7% IFS 28.9% ML 23.7% THANI 22% และ JMT 18% เป็นต้น
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น 21.6% เกิดจาก KCE เพิ่มขึ้นถึง 59% CCET 47.9% SPPT 33.6% และ DELTA 21.3%
วัสดุก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 15.3% มาจาก TPIPL 72.9% TASCO 64.7% WIIK 60.2% PPP 40.5% EPG 36.8% SUPER 29.4% และ DCON 25.9% เป็นต้น
โรงพยาบาล เพิ่มขึ้น 13.4% มาจาก BDMS 20.5% KDH 14.3% และ CMR 13.6%
ปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 10.1% มาจาก IVL เพิ่มขึ้น 31.2%
รับเหมาก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 7.9% จาก TRC 124.6% TPOLY 61.8% PREB 36% และ SEAFCO 28.2% เป็นต้น
พลังงาน เพิ่มขึ้น 4.6% จาก PTG เพิ่มขึ้นถึง 88.3% ตามาด้วย IRPC 48.2% ESSO 32.1% TOP 30.1% SGP 29.6% GUNKUL 24.6% และ BANPU 22.5% เป็นต้น
ประกันฯ เพิ่มขึ้น 4.3% จาก CHARAN 51.9% TVI 17.6% TIC 16.2% เป็นต้น
ทั้งนี้มีหลายกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาด คือ ท่องเที่ยว-โรงแรม (3.4%) ยานยนต์ (2.2%) ขนส่ง (1.3%) และอสังหาฯ (0.3%) เป็นต้น
โดยรวมแม้ตลาดจะมีปรับฐาน แต่ก็มีหุ้นจำนวนมากปรับขึ้นขึ้นแรง จนมี upside จำกัด หรือ เกินมูลค่าพื้นฐานแล้ว กลยุทธ์การลงทุน จึงแนะนำให้ทยอยขายทำกำไรหุ้นที่ปรับมี upside เหลือน้อย และสลับมาสะสมหุ้นพื้นฐานดี PER ต่ำ เงินปันผลสูง และยังขึ้นน้อยกว่าตลาด (laggard) ตามรายกลุ่ม คือ
ขนส่ง : BTS (FV@B12) upside สูงถึง 30% และมี div. yield สูงถึง 6.3% และมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการประมูลรถไฟฟ้าที่ใกล้เข้ามาและจะมีความคืบหน้าช่วงเดือนนี้
อสังหาฯ โดยเฉพาะผู้พัฒนาบ้านขาย ยังเลือก SPALI ([email protected]) เป็น Top pick มี upside สูงถึง 46% และ Div. Yield สูงกว่า 6% แต่ PER ต่ำเพียง 6.7 เท่า เท่านั้น ขณะที่ผลการดำเนินงานปีนี้มี backlog รองรับแล้วกว่า 80% กำไรปีนี้ทำ new high ต่อเนื่อง
สื่อสาร : ADVANC มี upside 18% div yield สูง 6% บวกกับประโยชน์ที่ได้สูงสุดหากชนะการประมูล 4G ถือเป็นการปิดจุดอ่อนที่ไม่มีบริการ 4G ในปัจจุบัน
อาหาร : CPF (FV@B32) มี upside กว่า 40% คาดการณ์กำไรจากการดำเนินงานปี 2558 จะเติบโตถึง 71.6% yoy จากการขยายตลาดส่งออกไก่สดแช่แข็งไปญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ หนุนธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์บกและธุรกิจอาหารสัตว์เติบโตต่อเนื่อง และ TUF (FV@B26) มี upside เกือบ 30% คาดการณ์กำไรจากการดำเนินงานปี 2558 จะเติบโตถึง 51.1% yoy ผลจากการรวมงบการเงิน King Oscar และ MerAlliance เข้ามาเต็มปี
บันเทิง : BEC (FV@B) มี upside สูงถึง 37% และ div.yield กว่า 5.5% คาดยังเห็นกำไรต่อเนื่องและมีโอกาสพลิกกลับมาเติบโตอีกครั้งตั้งแต่งวด 2Q58 เป็นต้นไป
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล