- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 02 April 2015 11:53
- Hits: 1097
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เงินเฟ้อเดือน มี.ค. ติดลบเป็นเดือนที่ 3 น่าจะหนุนให้ดอกเบี้ยฯ ลดลงต่อในการประชุมรอบถัดไป ถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อผู้พัฒนาบ้านขาย (SPALI, PS) แม้ภาพใหญ่ยังถูกกดดันจากประเด็น การเมืองและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้า วันนี้เลือก RCL(FV@B12) เป็น Top Pick ดัชนีขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ เพิ่มขึ้นสูงถึง 4%wow และยังได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ต่ำในระดับปัจจุบัน
ดอกเบี้ยฯ มีแนวโน้มลงต่อ ตราบเงินเฟ้อติดลบ ดีต่ออสังหาฯ
วานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ลดลง 0.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (yoy) ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 (-0.52% ในเดือน ก.พ. และ -0.41% ในเดือน มี.ค.) นับว่าติดลบสูงสุดในรอบ 66 เดือน ทำให้งวด 1Q58 เงินเฟ้อติดลบ 0.5% ทั้งนี้เป็นผลจากการลดลงของสินค้าที่มิใช่หมวดอาหาร โดยลดลง 1.53% ซึ่งสาเหตุหลัก มาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยลดลง 19.49% ยกเว้นค่าเช่าหอพัก ค่าโดยสารสาธารณะ และบุหรี่ กลับเพิ่มขึ้น 1.34%, 1.53%, และ 1.52% ตามลำดับ ขณะที่สินค้าหมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ยังเพิ่มขึ้น 1.25% yoy โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหาร และอาหารสำเร็จ เป็นต้น และ แนวโน้มเงินเฟ้อในงวด 2Q57 น่าจะมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบ ยังคงอยู่ที่ 54.84 เหรียญฯต่อบาร์เรล กระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากค่าเฉลี่ย 52.18 เหรียญฯต่อบาร์เรลในงวด 1Q58 (ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 104.36 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในงวด 1Q57) ด้วยเหตุนี้ทำให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยนโยบายสุทธิยังมีแนวโน้มบวกเพิ่มขึ้นเป็น 2.32% ซึ่งทำให้มีโอกาสสูงที่ กนง. อาจจะลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในการประชุมอีก 6 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยการประชุมครั้งถัดไปคือ 29 เม.ย. 2558 เชื่อว่าประเด็นนี้จะถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งน่าจะเป็น sentiment เชิงบวก เนื่องจากภาวะดอกเบี้ยทำให้ผู้กู้ถูกการปฏิเสธการได้รับสินเชื่อลดน้อยลง ขณะเดียวกันยังกระตุ้นมีการเร่งโอนกรรมสิทธิ์บ้าน ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาสามารถบันทึกรายได้และกำไรตามเป้าหมาย โดยยังคงชื่นชอบ SPALI([email protected]) มากสุด จากประเด็นเรื่องเงินปันผลสูง 6% Expected PER ต่ำเพียง 7 เท่า ราคาหุ้นมี upside 46% รองลงมาคือ PS([email protected]) PER 9 เท่า เงินปันผล 4% และ upside 39%
มาตรา 44 อ่อนกว่ากฏอัยการศึก แต่ผลทางปฏิบัติไม่น่าแตกต่าง
ค่ำวานนี้ได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้ กฎอัยการศึกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ขณะที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 จำนวน 14 ข้อ ใจความหลักเป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นความผิด 4 ประการให้เกิดผลโดยเร็วคือ
1) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินิ รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร
3)ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปีน วัตถุระเบิด ดอกไม่เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม
4) ความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศ หรือคำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. หน้า 1 เล้ม 132 ตอนพิเศษ 73 ง ราชกิจจานุเบกษาวันที่ 1 เม.ย.2558
โดยภาพรวมของคำสั่งดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูแลรักษาความสงบของประเทศ ซึ่งยังอยู่ในภาวะที่ไม่เป็นปกติ ทำให้ต้องมีสภาพการบังคับที่มากกว่ากฎหมายปกติที่ใช้ ซึ่งหากเทียบเคียงกับ สภาพบังคับภายใต้กฎอัยการศึกแล้ว เห็นว่ามีสภาวะที่ผ่อนคลายลงเล็กน้อยในบางประการ ประเด็นที่น่าสนใจได้แก่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ Sentiment การลงทุน เห็นว่าราคาหุ้นได้ตอบสนองกับปัจจัยดังกล่าวไปแล้ว ส่วนการที่จะดึงให้เม็ดเงินลงทุจากต่างชาติกลับเข้ามาได้มากหรือไม่ ฝ่ายวิจัยเห็นว่ายังไม่ปรากฎสัญญาณการไหลเข้าในทางตรงข้ามยังเห็นแรงขายสุทธิออกมาวานนี้กว่า 2.2 พันล้านบาท ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจุดสนใจหลักของนักลงทุนมองข้ามไปดูที่กำหนดการเลือกตั้ง และสถานการณ์ที่จะนำไปสู่จุดดังกล่าว
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ...ยังหนุนชะลอการดอกเบี้ย
ล่าสุดพบว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือน มี.ค. 2558 ยัง มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง กล่าวคือ ดัชนีภาคการผลิต ซึ่งนำโดย ดัชนี ISM ลดลง 2.7% จากเดือน ก.พ. ลงมาที่ 51.5 นับว่าเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้เป็นผลจากการชะลอคำสั่งซื้อใหม่ลดลงราว 1%mom และดัชนีการจ้างงานลดลง 2.4%mom ซึ่งดัชนีย่อยทั้ง 2 นี้ได้ ส่วนลดลงต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ตามมาด้วย ตลาดแรงงาน ซึ่งการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 189,000 ราย (ลดลงจากระดับ 214,000 ราย ใน เดือน ก.พ. และเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557) ทั้งนี้นับว่าสอดคล้องกับดัชนีภาคการผลิตเดือน ก.พ. ที่ได้รายงานก่อนหน้านี้ กล่าวคือ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และการใช้จ่ายภาคธุรกิจ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 (แต่อัตราการว่างงานยังคงลดลงมาอยู่ที่ 5.5% ในเดือน ก.พ.) และ เช่นเดียวกับภาคครัวเรือน พบว่าชะลอตัวในเดือน ก.พ. ได้แก่ ยอดค้าปลีก (สัดส่วนใหญ่ที่สุดราว 70% ของ GDP) ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 1 ปี และตามมาด้วยยอดสั่งสร้างบ้านใหม่ ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน
แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐใน 1Q58 มีแนวโน้มชะลอตัว หรือทรงตัวเมื่อเทียบกับงวด 4Q57 หากยึดตามดัชนีชี้นำเศรษฐกิจข้างต้น ทั้งนี้จากการสำรวจของบลูมเบิร์ก คาดว่าจะเติบโตราว 2.4%yoy (ใกล้เคียงกับงวด 4Q57 ที่ 2.4%) ซึ่งเป็นเหตุผลสนับสนุนให้ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งแรก ออกไปในช่วงปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 หรือ เมื่อดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ ๆ เข้าสู่เป้าหมาย คือ เงินเฟ้อเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% มากขึ้น และเศรษฐกิจเข้าสู่การจ้างงานเต็มที่ หรือที่ราว 5.2-5.3% (เดือน ก.พ. 5.5%) ซึ่งสอดคล้องกับ Fed funds futures เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่คาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งแรกจะอยู่ในช่วงเดือน ต.ค. 2558 ทั้งนี้ให้ติดตามรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน มี.ค. ในวันศุกร์นี้ โดยผลการสำรวจนักวิเคราะห์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่ง จากระดับ 295,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. ขณะที่คาดว่าอัตราการว่างงานเดือน มี.ค.จะทรงตัวที่ระดับ 5.5%
ปัญหากรีซเป็นประเด็นที่ยังไม่ควรตัดทิ้ง
ระยะสั้นเชื่อว่าปัญหาประนอมหนี้ของกรีซ น่าจะกลับมากดดันตลาดอีกครั้ง เนื่องจากแผนปฏิรูปกรีซที่จะต้องส่งให้กับ TROIKA ยังไม่แนวทางที่ชัดเจน ทำให้กรีซถูกระงับเงินกู้ภายใต้โครงการความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องฉุกเฉิน (ELA) ซึ่งกระทบต่อภาคธนาคาร ซึ่งกำลังเผชิญกับ วิกฤตสภาพคล่อง โดยในวันที่ 9 เม.ย. กรีซมีหนี้ที่ครบกำหนดต้องชำระ 460 ล้านยูโร แต่อย่างไรก็ตาม ล่าสุดในการประชุมที่แฟรงค์เฟิร์ตเมื่อวันพุธที่ผ่าน ECB ได้อนุมัติเพิ่มเพดานเงินกู้ฉุกเฉิน เพิ่มขึ้น 700 ล้านยูโร (754 ล้านเหรียญฯ) แก่กรีซเพื่อช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องให้แก่ภาคธนาคารของกรีซ ซึ่งกำลังเผชิญกับเงินทุนไหลออกจากการแห่มาถอนเงินของประชาช (เดือน มี.ค. มีประชาชนแห่มาถอนเงินแล้วกว่า 3 พันล้านยูโร หากนับตั้งแต่ 28 ต.ค. ปีที่แล้ว มีเงินไหลออกไปกว่า 2.8 หมื่นล้านยูโร) แต่เป็นที่สังเกตว่าวงเงินครั้งน้อยลงเมื่อเทียบกับก่อนหน้าที่เคยได้กว่า 1 พันล้านยูโร
แม้กรีซจะได้ต่อลมหายใจออกไป แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น และ ขั้นตอนนี้เป็นเพียงการอนุมัติขั้นต้นเท่านั้น ส่วนการอนุมัติเบิกถอน จะมีขั้นตอนสำคัญ อยู่ในวาระการประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรป ซึ่งจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า ขณะที่นายกฯ กรีซ อเล็กซิส ซิปราส ยังคงยืนยันที่จะต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ก็อาจจะเป็นประเด็นที่กลับมากดดันต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้น ในช่วงสั้น
ต่างชาติกลับมาขายภูมิภาคในปริมาณที่สูงขึ้น
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติสลับกลับมาขายสุทธิหุ้นภูมิภาคอีกครั้งที่ 294 ล้านเหรียญฯ ซึ่งใกล้เคียงกับยอดซื้อสุทธิรวมกัน 2 วันทำการก่อนหน้ารวม 293 ล้านเหรียญฯ แต่หากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า เป็นการซื้อสลับขายรายประเทศ (ดังแสดงในภาพด้านล่าง) โดย ตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิมากถึง 68 ล้านเหรียญฯ หรือ 2,203 ล้านบาท เป็นยอดขายสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ. เป็นต้นมา ขณะที่นักลงทุนสถาบัน กับ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือนเช่นกัน ที่ 2,391 และ 1,860 ล้านบาท ตามลำดับ ทางด้านตลาดตราสารหนี้วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับกลับมาขายสุทธิเล็กน้อย (แต่ตั้งแต่ต้นปียังซื้อสุทธิรวม 6,440 ล้านบาท) ส่งผลให้เงินบาท เช้านี้ทรงตัวที่ 32.47 บาท/เหรียญฯ
RCL โดดเด่น จาก Robinson Index สูงสุดต่อเนื่อง และต้นทุนน้ำมันที่ต่ำในปัจจุบัน
ล่าสุดพบว่า ดัชนีค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ HOWE ROBINSON INDEX (HRCI) ปรับขึ้นแรงจากสัปดาห์ก่อนหน้าถึง 4.0% มาอยู่ที่ 653.4 จุด และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 13 พร้อมทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องในรอบ 3 ปี 6 เดือน และหากพิจารณา ค่าเฉลี่ยดัชนี HRCI ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) ที่ 590.2 จุด เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยทั้งปี 2557 ที่ 527.5 จุด แล้วถึง 11.9% ขณะที่ต้นทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนหลัก ของบริษัท (สัดส่วนราว 20% ของต้นทุนรวม) ยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ระยะสั้นจะกระเตื้องขึ้นจากจุดต่ำสุด แต่พบว่ายังเอื้อประโยชน์ให้กับ RCL) (ราคาน้ำมันตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) จะเพิ่มขึ้นเพียงราว 3.4% มาอยู่ที่ 54 เหรียญฯต่อบาร์เรล) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาราคาน้ำมันเฉลี่ยในงวด 1Q58 ที่ 52.2 เหรียญฯต่อบาร์เรล ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในงวด 1Q57 ที่ 104.4 เหรียญฯต่อบาร์เรล ถึง 50% นอกจากนี้ RCL ได้ซื้อสัญญาน้ำมันล่วงหน้าไว้เพียง 25% ของปริมาณขนส่ง จึงคาดว่าบริษัทจะได้รับประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญในงวด 1Q58 เป็นตั้นไป ทั้งนี้ หากเทียบราคาหุ้นเรือคอนเทนเนอร์ชั้นนำทั่วโลก กับ RCL พบว่า RCL มี Expected PBV ปี 2558 เกือบต่ำสุดที่ 0.77 เท่า ขณะที่ ROE ปี 58 อยู่ที่ 6.5% ระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มฯ RCL จึงจัดเป็นหุ้นที่ถูกมากในกลุ่มเดินเรือคอนเทนเนอร์ โดยมูลค่าพื้นฐานปี 2558 (อิง PBV ที่ 1.1 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV หุ้นเรือคอนเทนเนอร์ทั่วโลกที่ 1.34 เท่า) ได้ Fair Value ที่ 13.10 บาท มี Upside 42.4% แนะนำ “ซื้อ” RCL([email protected]) และเลือกเป็น Top Pick
และดังที่เคยนำเสนอแล้วว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นวันหยุดยาว ตลาดหุ้นไทยน่าจะเงียบเหงา แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาสถิติในอดีต ย้อนหลัง 10 ปี พบว่าในในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน เม.ย. ดัชนีตลาดหุ้นไทย มักให้ผลตอบแทน 1.1% ด้วยความน่าจะเป็น 70% โดยหุ้นที่คาดว่าจะเกิดซ้ำรอยประวัติศาสตร์ อย่างน้อย 2 บริษัท RCL (FV@B 13.1) จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.1% ด้วยความน่าจะเป็นสูงเกิน 80% คือ GUNKUL ([email protected]) จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.9% ด้วยความน่าจะเป็นสูงเกิน 75% (รายละเอียดดังปรากฏใน Market Talk 26 มี.ค. 2558)
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล