WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      SET แกว่งตัวลง เชื่อว่าประเด็นการเมืองในประเทศ และเศรษฐกิจไทยชะลอตัว ยังเป็นปัจจัยที่บั่นทอนความเชื่อมั่น กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นพื้นฐานที่มี PER ต่ำ พร้อมเงินปันผลสูง AIT(FV@B 53, XD 21 เม.ย.) ตามมาด้วย SALEE([email protected] ขึ้น XD 7 พ.ค.) เป็น Top picks

การลดดอกเบี้ย vs การใช้ QE ยังมีน้ำหนักเชิงบวกต่อตลาด
      ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และปัญหาเงินเฟ้อตกต่ำทั่วโลก ทำให้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินยังมีความจำเป็น อาทิ การตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในหลายๆ ภูมิภาค เช่น จีน ปรับลดดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้อีก 0.25% เหลือ 5.35% และลดอัตราเงินสดสำรองตามฎหมาย (RRR) ลง 0.5% เหลือ 19.5% ตามด้วยอินเดีย ลดดอกเบี้ยฯ ลง 0.25% เหลือ 7.5% เป็นการลดครั้งที่ 2 ของปีนี้เช่นกัน ล่าสุดธนาคารกลางเกาหลีใต้ ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% เหลือ 1.75% ส่งผลให้นับตั้งแต่ต้นปีมีธนาคารกลางใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินผ่านการลดดอกเบี้ยแล้วกว่า 24 แห่งทั่วโลก และคาดว่ายังมีโอกาสเพิ่มขึ้นมากกว่านี้
ขณะที่ฝั่งสหภาพยุโรป ได้เริ่มอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ (QE) ผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและเอกชน 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน จนถึงเดือน ก.ย.ปีหน้า โดยเริ่มต้นซื้อแล้ว 9 มี.ค. แต่เป็นการเลือกซื้อบางประเทศ น่าจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจของยูโรโซนกลับมาฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเจรจาประนอมหนี้ในกรีซ รวมถึงการยื่นแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจให้กับเจ้าหนี้ TROIKA ยังต้องหาข้อสรุปที่จะไม่ทำให้ปัญหาบานปลาย
     ขณะที่สหรัฐ คาดว่า แม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่ปัจจุบันยังมีสัญญาณขัดแย้งในบางดัชนี เช่น ยอดขายบ้านมือสองในเดือน ก.พ.ปรับขึ้นเพียง 1.2% อยู่ที่ 4.88 ล้านหลัง น้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 4.9 ล้านหลัง รวมถึงยอดขายบ้านใหม่เดือนก.พ.ที่ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์เช่นกัน ขณะที่ Fed สาขาชิคาโก รายงานดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศ ประจำเดือน ก.พ. ลดลงสู่ระดับ -0.11 ต่อเนื่องจาก -0.10 ในเดือน ม.ค. แสดงถึงการลดลงของการผลิต, การบริโภค และการสร้างบ้าน เมื่อรวมกับถ้อยแถลงล่าสุดของประธาน Fed ซานฟรานซิสโก นายจอห์น วิลเลี่ยม และ รองประธาน Fed นายสแตนลีย์ ฟิสเชอร์ ที่ออกมาตอกย้ำถึงไม่เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ยฯ จนกว่าจะถึงปลายปี ประเด็นนี้ก็น่าจะทำให้ความกังวลเรื่อง Fed ขึ้นดอกเบี้ยผ่อนคลายลง แต่เป็นที่สังเกตว่า dollar index มีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ตลาดน่าจะซึมซับประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐไปพอสมควรแล้ว

การเมือง กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น
      เชื่อว่า ประเด็นหลักที่ตลาดให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้คงเป็นเรื่องประเด็นการเมืองซึ่งถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยจุดสนใจหลักอยู่ที่กระบวนการที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง ทั้งนี้ปัจจุบันถืออยู่ในขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 17 เม.ย.2558 และหลังจากนี้คงเป็นขั้นตอนที่จะส่งเรื่องไปยัง 3 องค์กร ได้แก่ สปช. คณะรัฐมนตรี และ คสช. เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะ และส่งกลับมาให้ คณะกรรมาธิการดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ และหลังจากนี้ เป็นขั้นตอนที่ สปช. จะลงมติเห็นชอบร่างฯ ซึ่งกรอบเวลาต้องแล้วเสร็จภายใน 6 ส.ค.2558 และหากเห็นชอบก็จะเป็นการนำร่างรัฐธรรมนูญฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นภายใน 4 ก.ย.2558 แต่หากไม่เห็นชอบ ก็จะเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ทั้ง สปช. และคณะกรรมาธิการยกร่าง หมดสภาพ ต้องไปเริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่ต้น
      อย่างไรก็ตาม คณะกรรมร่างรัฐธรรมนูญฯ ยังมีเวลาอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะถึงกำหนด 17 เม.ย. แต่เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น ทั้งในเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มาของ สว. การเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบสัดส่วนผสมแบบเยอรมันเพราะถือว่าไม่ได้ให้อำนาจประชาชน หรือการไม่บังคับให้ ส.ส. สังกัดพรรค ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เป็นต้น
     ขณะเดียวกัน การบริหารงานของรัฐบาลเมื่อดำเนินมาระยะหนึ่ง ก็จะเริ่มปรากฎปัญหาในการบริหารงานหลายประเภท ซึ่งบางส่วนเป็นเรื่องปกติที่มักจะเกิดขึ้นกับทุกรัฐบาลเช่น ปัญหาเกี่ยวกับบุคลากร, ปัญหาในการขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญบางประการ, การเบิกจ่ายงบประมาณ แต่ดูที่ต้องระวังมากที่สุดได้แก่การดูแลความสงบเรียบร้อย ซึ่งในช่วงหลังๆ ดูจะมีเหตุการณ์ที่ส่อไปถึงความรุนแรงเกิดบ่อยขึ้นในเมืองหลวง และที่สำคัญที่อีกประการหนึ่งได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะฟื้นตัว กลับล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น และจะกลายเป็นปัจจัยที่เพิ่มน้ำหนักในการสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลมากขึ้นตามลำดับ ทำให้การเมืองถือเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิดมากขึ้น

ธปท. ปรับลด GDP ยอมรับกังวล ต่อ G, X,
     วานนี้ นักวิเคราะห์จาก ASP เข้าร่วมประชุมใน งาน “Quarterly Economic Assessment and Outlook” มีประเด็นที่สำคัญคือ ปรับลด GDP Growth ในปี 2558 ลงเหลือ 3.8% (จากเดิม 4%) เหตุผลหลัก มาจาก ฐาน GDP (nominal term) ที่ต่ำมาก จากอัตราการขยายตัวที่ต่ำเพียง 0.7% ในปี 2557 และมีความกังวลต่อภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐที่ล่าช้า ซึ่งอาจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญตัวอื่นๆ เช่น การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ผ่านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และสุดท้ายเป็นผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ยังคงได้รับผลกระทบมาจาก การชะลอตัวของประเทศคู่ค้า และมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอีกครั้งได้ แม้ IMF ได้ปรับลด GDP Growth โลก ในปี 2558 เหลือ 3.5% จาก 3.8% ในช่วงม.ค. ที่ผ่านมาแล้วก็ตาม )
     เชื่อว่าการปรับลด GDP Growth ของไทยกำลังอยู่ในกระแส และ เชื่อว่าจะทำให้นักเศรษฐสาตร์จะต้องออกมาปรับลดประมาณการ ในปีนี้เพิ่มเติม ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึง ASP ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับลดประมาณการ GDP Growth ในปี 2558 โดยมีแนวโน้มจะปรับลดการลงทุนภาครัฐ หลังจากที่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนล่าช้ากว่าแผน การส่งออกสินค้าที่ยังหดตัวต่อเนื่อง กล่าวคือเดือน ม.ค. ติดลบ 3.5%yoy และมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องใน ก.พ. ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ในเบื่องต้นคาดว่า GDP growth ไทยน่าจะมีแนวโน้มลดลงมาที่ระดับ 2-3% (จากเดิม 3.5%) โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ในเร็วๆนี้

ต่างชาติยังซื้อสลับขายเบาบาง
      วานนี้ กระแสเงินทุนจากต่างชาติยังคงไหลเข้าภูมิภาคต่อเนื่อง เป็นวันที่ 6 แต่ลดลง 19% เหลือราว 179 ล้านเหรียญฯ โดยที่เป็นการซื้อสุทธิถึง 4 จาก 5 ประเทศ แต่ยอดซื้อกลับเบาบางลง ประเทศที่มียอดซื้อสุทธิสูงสุดคือเกาหลีใต้ ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 ราว 119 ล้านเหรียญฯ แต่ลดลง 54% ตามมาด้วยไต้หวันที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 เช่นกัน ราว 74 ล้านเหรียญฯ (กระเตื้องขึ้นมากเนื่องจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 8 ล้านเหรียญฯ) ส่วนไทยสลับมาซื้อสุทธิราว 14 ล้านเหรียญฯ (442 ล้านบาท, ซื้อสลับขายสุทธิ 5 วันหลังสุด) และฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิเบาบางเป็นวันที่ 4 ลดลงถึง 83% เหลือราว 2 ล้านเหรียญฯ กลับกันอินโดนีเซียยังคงขายสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 30 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 38% จากวันก่อนหน้า)
การที่ต่างชาติสลับมาซื้อ-ขาย สลับ และ บางบาง ในตลาดหุ้นไทย เชื่อว่าน่าจะเกิดจากขาดปัจจัยชื้นำ แต่ก็สอดคล้องกับ การที่ต่างชาติ ชะลอการซื้อตลาดภูมิภาคช่วง 2 สัปดาห์หลังสุด จึงเชื่อว่ายังเห็นต่างชาติ ซื้อ และ สลับขายตลาดหุ้นไทย ต่อไป

หลัง M&A ทำให้มูลค่าหุ้น IVL เพิ่ม 5% เป็น 32 บาท
     ล่าสุด IVL รายงานความคืบหน้าในการเข้าซื้อกิจการ ในประเทศ และ ต่างประเทศ ผ่านการทำ M&A ใน 2 โครงการ
1) Project Boston : ซื้อกิจการบริษัท บางกอกโพลีเอสเตอร์ จำกัด (มหาชน) (BPC) ในประเทศไทย กำลังการผลิต PET 1.05 แสนตันต่อปี ส่งผลให้กำลังการผลิต PET ในไทยเพิ่มขึ้น 63.7% โดยเข้าถือหุ้น 94.91% ของทุกเรียกชำระทั้งหมด
2) Project Lion : ซื้อกิจการบริษัท CEPSA Chimie Montreal s.e.c. ประเทศแคนาดากำลังการผลิต PTA 6 แสนตันต่อปี ซึ่งถือเป็นบริษัทที่ผลิต PTA รายใหญ่สุดในแคนาดา ซึ่งช่วยให้การผลิตครบวงจร ของธุรกิจ PET ในทวีปอมริกาเหนือ โดยเข้าถือหุ้น 100% ของทุกเรียกชำระทั้งหมด
     ทั้งนี้ แม้บริษัทมิได้เปิดเผยวงเงินที่เข้าไปซื้อทั้ง 2 กิจการ แต่จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าน่าจะใช้เงินราว 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากพิจารณากระแสเงินสดภายในกิจการ หรือ CFO (ราวปีละ 2.2 หมื่นล้านบาท ไม่รวมเงินสดในมืออีกฃกว่า 5 พันล้านบาท) ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการทำ M&A ขณะที่สามารถจัดทำงานการเงินรวมหลังการซื้อกิจการ โดยนักวิเคราะห์ ASP ได้ทำการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2558 และ 2559 ขึ้น 7.4% และ 10.3% จากเดิม ซึ่งส่งผลให้คาดการณ์กำไรปี 2558 จะเติบโตต่อเนื่องและมีนัยฯเกินเท่าตัวจากปี 2557 มาอยู่ที่ระดับ 4.5 พันล้านบาท และต่อเนื่องในปี 2559 อีก 46.7%yoy ภายใต้ประมาณการใหม่ ฝ่ายวิจัยประเมินมูลค่าพื้นฐานสิ้นปี 2558 อิง DCF (WACC 11%) เท่ากับ 32 บาทต่อหุ้น (เดิม 30.50 บาท) แม้ปันผลอาจไม่จูงใจนัก แต่คาดแนวโน้มกำไรที่จะขึ้นทำ New high ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า แนะนำซื้อลงทุน

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!