- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 17 March 2015 16:27
- Hits: 1246
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +228.11, NASDAQ +57.75, S&P +27.79, FTSE +63.50, CAC +50.70 และ DAX +266.11 ภายใต้ปัจจัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามอยู่ระหว่างผลการประชุมเฟด (เช้าพฤ. ตามเวลาไทย) ว่าเฟดจะส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด ซึ่งหากถ้อยแถลงของเฟดเลิกใช้คำว่า "อดทน" ในการพิจารณากำหนดเวลาสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย งถือเป็นสัญญาณว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิย. นี้ นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจาก (1) ECB ใช้เงินซื้อพันธบัตรของรัฐบาลในยูโรโซน รวม 9.751 พันล้านยูโร ในช่วงสัปดาห์แรกของโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และ (2) จีนพร้อมใช้เครื่องมือด้านนโยบายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ
.....ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรม – กพ. ลดลง 0.2% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และสวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต – กพ. อยู่ที่ 78.9% ลดลงจาก 79.1% เมื่อมค.
…..ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน เมย. -US$0.96 อยู่ที่ US$43.88 ต่อบาร์เรล โดยยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากอุปทานน้ำมันส่วนเกินในตลาดโลก ขณะที่โอเปกส่งสัญญาณคงกำลังการผลิตในการประชุมเดือนมิย. และคาดความต้องการน้ำมันจะไม่เพิ่มขึ้นในปีนี้
......ราคาทองคำส่งมอบเดือน เม.ย. +US$0.8 อยู่ที่ US$1,153.2 ต่อออนซ์ ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามยังอยู่ระหว่างผลการประชุมเฟด 17 – 18/3/58 นี้
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +712 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -7,418 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
ทิศทางตลาด
ทิศทางตลาด : ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสฟื้นตัวตามตลาดต่างประเทศ แม้ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ และอยู่ระหว่างรอผลการประชุมเฟด (เช้าพฤ. ตามเวลาไทย) โดยเฉพาะต่อประเด็นการส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดว่าจะเร็วขึ้นหรือไม่ จากก่อนหน้าคาดหมายว่าจะอยู่ในช่วงเดือนกย.? ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีทั้ง + / - ขณะที่ยังแนะติดตามสถานการณ์ในกรีซต่อเนื่อง ภายใต้ประเด็นต่อรองเพิ่มเติมก่อนหนี้จะครบกำหนดอีกครั้งประมาณมิย.’58 ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดฯ ต่อมาตรการรัดเข็มขัดซึ่งเป็นเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อกรีซ รวมถึงแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ ที่ทาง EU, ECB และ IMF จะพิจารณา
.....ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับปัจจัยบวกบ้างจาก Fund Flow หลังต่างชาติซื้อสุทธิ อีกกว่า 700 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดยังมีความผันผวนแรงซื้อขายสุทธิสลับกัน และแนะติดตามค่าเงินบาท ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ที่ 32.92 บาท ทรงตัวจากวานนี้
.....รวมถึงประเด็นที่กระทรวงการคลังจะนำแผนการกู้เงินเพื่อลงทุนเพิ่มเติมในปีงบประมาณ’58 ต่อครม. ในสัปดาห์นี้ จำนวน 57,000 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) โครงการบริหารจัดการน้ำ ประมาณ 23,000 ล้านบาท และ (2) โครงการซ่อมสร้างถนน ของกระทรวงคมนาคม อีกประมาณ 34,000 ล้านบาท ซึ่งคาดทำให้มีความต้องการยางมะตอย และคาดมีแรงเก็งกำไรในหุ้น TASCO ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายยางมะตอยรายใหญ่ในประเทศ นอกจากนี้ยังแนะเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะ ITD, STEC และ UNIQ ที่ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และกำหนดลงนามในสัญญาก่อสร้างในวันที่ 3 เมษายนนี้
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.01 อยู่ที่ 2.10% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.39 อยู่ที่ 15.61
หุ้นแนะนำ : KTC
ประเด็นที่ต้องติดตาม (17 – 20 มีค.’58)
17/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง - กพ. (2) เฟด เริ่มการประชุมกำหนดนโยบายการเงินวันแรก
18/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) สต็อกน้ำมัน (2) มติการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของเฟด
19/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดุลบัญชีเดินสะพัด – 4Q/57 (2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (3) ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ - กพ. (4) ดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติก - มีค.
20/3/58 : ไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
หุ้นแนะนำ
KTC : ราคาเป้าหมาย (ปี’58) 107.00 บาท
คาดผลการดำเนินงานยังเติบโตต่อเนื่อง คาดกำไรปี 58 เพิ่มขึ้น 14.54% อยู่ที่ 2,010 ล้านบาท ภายใต้ (1) ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่คาดเพิ่มขึ้น 15% และ (2) สินเชื่อบุคคล เพิ่มขึ้น 10% ทำให้คาดสินเชื่อรวมเติบโต ประมาณ 10.56% โดยในปี’58 KTC เน้นการเพิ่มฐานบัตรเครดิตจากกลุ่มลูกที่เพิ่งทำงานซึ่งจะส่งให้เกิด Brand Impressions ส่วนสินเชื่อบุคคลเน้นไปที่ลูกค้าต่างจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
ขณะที่ KTC ตั้งเป้างบการตลาดเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรโดยผ่าน Campaign ต่างๆ ไว้ที่ 1,000 ล้าน หลังจากปีที่ผ่านใช้ไปเพียง 944 ล้าน ส่วน Cost of fund คาดปรับตัวลดลงอยู่ที่ 4.3% จากการรีไฟแนนซ์หนี้ที่ครบกำหนดชำระในปี’58 ประมาณ 7,200 ล้านบาท ดอกเบี้ยระหว่าง 4.5 - 5.5% เราคาดว่าดอกเบี้ยใหม่อยู่ที่ระหว่าง 3.7 - 4.5% นอกจากนี้ KTC มีการตั้งสำรองที่สูงถึง 3.6 เท่าของNPL และยังมีความสามารถในการเก็บหนี้ที่ยอดเยี่ยม (Recovery Rate 38.37%)
ประเมินราคาเป้าหมายที่ 107.00 บาท
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788