- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 16 March 2015 17:12
- Hits: 1568
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
"รอผลประชุมเฟด...เลือกซื้อจังหวะอ่อนตัว"
Top Picks-Fund March 2015 : Fundamental : AP, AOT, INTUCH, TOP Dark Horse: SEAFCO, VNG
Top Picks -Fund Today: INTUCH
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, DELTA, DTAC, MK, SPALI, AP, MODERN, TCAP, TISCO, TMT, BTSGIF, CPNRF, TRUEIF
Shot Sell-Prev : BIGC 29%, BAY 22%, LPN 16%, DELTA 16%, PTTEP 15%, AOT 13%, BJC 12%, ROBINS 11%
Technical View ภาพระยะสั้นเป็นลบ แต่อาจมีรีบาวด์ก่อนลงต่ำต่อ
Support Resistance Stop loss
SET ซื้อค่าบวก 1550,1560-70 หลุด 1535
SET50 ซื้อค่าบวก 1020-30,1040 หลุด 1005
Top Picks-Tech Today : SAWAD, DCC, SCN, SVI, KAMART, SIAM, TSR, TH
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์อ่อนตัวลงเล็กน้อย 2.79 จุด มาปิดที่ 1541.55 โดยตลาดรอดูผลประชุมเฟดวันที่ 17-18 มี.ค.58 ว่าจะส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยอย่างไร นักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างชาติซื้อสุทธิกลุ่มละประมาณ 600-700 ล้านบาท พอร์ตบล.นำขายสุทธิ 1.1 พันล้าบาท ส่วนรายย่อยขายสุทธิ 330 กว่าล้านบาท
ระยะสั้นมากตลาดแกว่งรอผลประชุมเฟดวันที่ 17-18 มี.ค.58 โดยติดตามดูว่าเฟดจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอย่างไร เฟดจะยังใช้คำว่า "อดทน" รอพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อหรือไม่ ซึ่งทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐคืนนี้ (16 มี.ค.) อาจบ่งชี้ถึงแนวทางผลประชุมเฟดได้บ้าง แต่ในวันนี้ยังไม่เห็นอะไรมากนัก โดยดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าเช้านี้อ่อนเล็กน้อย (-0.05%) ส่วนหุ้นในภูมิภาคเอเชียเคลื่อนไหวในกรอบแคบมากๆ อย่างไรก็ดี เรามีความเห็นว่าเฟดจะยังไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยเพราะยังมีความเปราะบางหลายด้าน รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อก็ไม่ได้เป็นแรงกดดันด้วย DBS คาดว่าเฟดจะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 4Q58 ด้านยูโรโซนก็ยังไม่มีความคืบหน้าของการเจรจาระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ทรอยก้า ซึ่งก็เป็นประเด็นไม่แน่นอนที่กดตลาดเป็นระยะๆ แต่คาดว่ากรีซจะไม่ออกจากยูโรโซน ส่วนในประเทศ จับตาการปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจไทยของธปท.ในวันที่ 20 มี.ค.นี้, ความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายภาษี (ภาษีที่ดิน & สิ่งปลูกสร้าง, VAT) ว่าจะเป็นอย่างไร หลังรมว.คลังประเมินว่ารายได้รัฐไม่เป็นไปตามเป้าหมาย, ความคืบหน้าของโครงการภาครัฐ กลยุทธ์ : เลือกซื้อเป็นรายบริษัท โดยหุ้นพื้นฐานแนะนำซื้อลงทุนวันนี้เป็น INTUCH
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นลบ แต่อาจมีรีบาวด์ก่อนลงต่ำต่อ แนวต้านระยะสั้นมาก 1550, 1560-1570 จุด แนวฟิวเตอร์ที่ไม่ควรหลุด 1535 เน้นซื้อตามด้วยค่าบวกเป็นหลัก ค่าลบดูไม่ดี หลุดฟิวเตอร์ควรลดพอร์ตตามหรือ Stop Loss
สำหรับการ SCAN หาหุ้นมีสัญญาณบวกทางเทคนิคและมีโอกาสทำ New high พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ใน List เป็น RATCH, TSR, SVI, KAMART ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ TCC, BEAUTY, KTP, CWT หุ้นที่หลุด List เป็น ASK ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้ว และอยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take profit -ไม่มี-
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
- สหรัฐ : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นของเดือนมี.ค.58ลดลงสู่ระดับ 91.2 แย่กว่าคาด (นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีมี.ค.จะอยู่ที่ 95.3) โดยลดจาก 95.4 ในเดือนก่อนหน้าและต่ำกว่าระดับ 98.1 ของเดือนม.ค.ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี
สหรัฐ : ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ร่วงลง 0.5%MoM และลดลง 0.6%YoY ในเดือนก.พ.58 โดยเป็นการลดลงต่อเดือนติดต่อกันแล้ว 4 เดือนและเป็นเดือนแรงที่ลดลงเมื่อเทียบ YoY บ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ระดับต่ำ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (ทั้งนี้นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าดัชนี PPI จะเพิ่มขึ้น 0.3%MoM ในเดือนก.พ.และทรงตัว YoY)
QE ยูโรโซนทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเร็ว สิ่งที่เห็นชัดเจนในระยะสั้น คือ เงินยูโรอ่อนค่าและเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อภาคส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศของสหรัฐ และส่งผลต่อเนื่องไปถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
จับตาผลประชุมเฟด 17-18 มี.ค.58 ว่าเฟดจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยอย่างไร โดยในการประชุมก่อนหน้าเฟดใช้คำว่า "อดทน" ในการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งตลาดกำลังติดตามดูว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำดังกล่าวหรือไม่และอย่างไร แต่การที่ตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนก.พ.58 ออกมาหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (-0.6%MoM ในเดือนก.พ.) และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมาก ทำให้ความวิตกกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยผ่อนคลายลงในระยะสั้น
เราเชื่อว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว เนื่องจาก 1) อัตราเงินเฟ้อไม่เป็นแรงกดดัน เพราะราคาน้ำมันดิบที่ลดลงมามาก, 2) ชะลอการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และ 3) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้า ปัญหาการเมืองรัสเซียกับยูเครน ราคาน้ำมันที่ตกต่ำทำให้กำลังซื้อประเทศผู้ผลิตน้ำมันหดตัว ผู้ประกอบการหินน้ำมัน (Shale Oil) ของสหรัฐประสบปัญหาสภาพคล่อง และปัญหาการเงินของกรีซ ทำให้การฟื้นตัวและเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐยังคงเปราะบาง
- สัญญาน้ำมันดิบดิ่ง โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเม.ย.ปิดร่วง 2.21 ดอลลาร์ หรือ -4.7% แตะที่ 44.84 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ปรับลง 2.41 ดอลลาร์ ที่ 54.67 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้รายงานของ EIA ยังระบุว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกเดือนก.พ.58 เพิ่มอีก 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันเป็น 94 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ส่วนสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์สิ้นสุด 6 มี.ค.อยู่สูงเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2526 ที่ 448.9 ล้านบาร์เรล)
สัญญาทองคำทรงตัว...รอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐจากการประชุมเฟดสัปดาห์นี้ โดยสัญญาตลาด COMEX ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดขยับขึ้น 50 เซนต์ ที่ 1,152.40 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
- DBS ปรับลด GDP Growth ของไทยปี 58 เป็น +3.6% (เดิม +3.8%) เนื่องจากเศรษฐกิจภายในฟื้นตัวช้ากว่าคาด การลงทุนภาครัฐเข้าสู่ระบบไม่เร็วนัก ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังซบเซาเนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกที่ต่ำต่ำต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงช่วยหนุนตัวเลข GDP โดยคาดว่าการเกินดุลจะยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และทำให้เงินบาทไม่อ่อนค่ามาก สำหรับการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 11 มี.ค.58 ที่ผ่านมา คาดว่าจะมีผลกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่มาก แต่ช่วยให้ Sentiment การลงทุนดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมาก ทำให้มี Room ที่จะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายได้ต่อเนื่อง แต่อาจไม่จำเป็นต้องเร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วนัก โดย DBS คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ไว้ที่ 0.8% ลดลงจาก 1.9% ในปี 57
เชื่อว่าไทยจะไม่ประสบปัญหาเงินฝืด อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมาก (1Q58 ดัชนีราคาผู้บริโภค -0.4%YoY ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 52) เกิดจากราคาพลังงานที่ลดลงแรง ซึ่งภาคขนส่งมีน้ำหนักคิดเป็น 25% ของการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค หากพิจารณาดัชนีราคาสินค้าฟื้นฐาน (Core CPI) ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4% แต่ก็ยังต่ำมากเพราะกำลังซื้อในประเทศอ่อนแอ
ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความไม่แน่นอนและคลื่นใต้น้ำทางการเมือง, การฟื้นตัวและเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้า
ปัจจัยหนุน คือ ภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดี และทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ในปี 57 ต่อเนื่องถึง 1Q58 (รายได้จากท่องเที่ยวคิดเป็น 10% ของ GDP) ซึ่งต้องระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบรุนแรงที่จะกระทบภาคท่องเที่ยวที่กำลังไปได้ดี
DBS ให้น้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็น Neutral (โดยปรับลดจาก Overweight เมื่อ 5 มี.ค.58) เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยล่าช้าและน้อยกว่าคาด กำลังซื้อในประเทศยังคงซบเซา และต้องการแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐอย่างมาก เงินบาทแข็งค่ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐเป็นปัจจัยกดดันภาคส่งออก การที่เศรษฐกิจต้องใช้เวลาในการพลิกฟื้นทำให้คาดการณ์ว่า SET Index ยังคงผ่านระดับ 1600 จุดขึ้นไปค่อนข้างยาก การซื้อขายหลักทรัพย์น่าจะยังอยู่ในกลุ่มหุ้น Mid-Small Cap เป็นหลัก กลยุทธ์ : เลือกซื้อเป็นรายบริษัท (ส่วนหุ้น Big Cap แนะทยอยซื้อจังหวะอ่อนตัวเพื่อลงทุนระยะกลาง-ยาว)
รัฐบาลเตรียมล้างหนี้เกษตรกรราว 1 แสนล้านบาท โดยอาจมีการออกกฎหมายพิเศษเพื่อ Hair Cut หนี้ให้เกษตรกร, ปกป้องการถูกยึดที่ดินทำกินจากธนาคาร ฯลฯ โดยคาดว่าจะเป็นการทยอยทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้อาจเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในราวต้นเดือนเม.ย.58 นี้ (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 15-18 มี.ค.)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]