- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 16 March 2015 16:08
- Hits: 1493
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
แม้ว่า SET ยังแกว่งผันผวน แต่ก็ลุ้นขยับขึ้นต่อได้จึงเน้นถือ!!
กลยุทธ์ : ถึงแม้ว่า SET จะยังแกว่งตัวผันผวนต่อเนื่อง แต่เราคาดว่าตลาดจะอยู่ในลักษณะทรงตัวได้ดีขึ้นกว่าเดิม และมีจังหวะแกว่งบวกได้มากขึ้นด้วย ดังนั้น FSS จึงยังแนะนำให้ซื้อช่วงลบแล้วเน้นถือต่อเนื่องไว้ก่อนได้ แต่ไม่ควรซื้อในลักษณะไล่ราคา เพราะตลาดยังเสี่ยงต่อการผันผวนอยู่
หุ้นเด่นทางเทคนิค : PSTC, BKD, TRUE(short)
แนวโน้ม : หลังจากช่วงกลางสัปดาห์ที่แล้ว SET เริ่มมีจังหวะรีบาวด์กลับขึ้นมาได้ดีพอควร ถึงแม้ว่าในช่วงท้ายสัปดาห์ดัชนีจะกลับไปแกว่งตัวผันผวนและมีจังหวะเป็นลบอีกครั้ง แต่ก็ถือว่ามีลักษณะของการแกว่งทรงตัวได้ดีขึ้น และกรอบการลบเริ่มจำกัด รวมทั้งแรงซื้อยังมีเข้ามาหนุน ขณะที่เช้านี้แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากการปรับตัวลงของตลาดหุ้นสหรัฐถึงเกือบ 1% เมื่อค่ำวันศุกร์ หลังมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ย่ำแย่กว่าที่คาด แต่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ยังสามารถเปิดเป็นบวก ทำให้ SET ยังมีสิทธิแกว่งไต่ระดับขึ้นต่อได้อีก อย่างไรก็ตาม FSS คาดว่าในจังหวะขยับขึ้น SET ก็มีสิทธิที่จะยังแกว่งตัวผันผวนและอ่อนตัวลงเป็นระยะ เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนยังต้องการรอดูท่าทีของเฟดหลังการประชุมในวันที่ 17-18 มี.ค. นี้อีกครั้ง ดังนั้นถ้าเทรดดิ้งสั้นตามรอบจึงต้องระวังการแกว่งตัวผันผวนของตลาดไว้ด้วย นอกจากเป็นส่วนถือลงทุนระยะกลาง-ยาว ถึงจะถือต่อได้ไม่น่าห่วง
แนวรับ 1540-1538 , 1535-1530 จุด
แนวต้าน 1548-1552 , 1555-1560 จุด
Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมาไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาค US$1,037 ล้าน จากที่ไหลเข้า US$1,588 ล้านเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนศุกร์ที่ผ่านมายังไหลออกต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ในปริมาณที่เบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$153.8 ล้าน อินโดนีเซีย US$35 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$8.1 ล้าน และเวียดนาม US$2.2 ล้าน แต่ซื้อเกาหลีใต้ US$93 ล้าน และไทย US$19.4 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้แข็งค่าเล็กน้อย Flow น่าจะยังเบาบาง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) ติดตามสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยจาก Fed ในการประชุม 17-18 มี.ค. แม้ว่าจะยังไม่มีการปรับดอกเบี้ยในครั้งนี้และครั้งหน้า (28-29 เม.ย.) แต่หากจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 16-17 มิ.ย. ตามที่ตลาดคาดการณ์ Fed ควรส่งสัญญาณโดยการนำข้อความ “อดทนต่อการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย” ที่อยู่ในแถลงการณ์ 2 ครั้งก่อนออกไปเพื่อให้นักลงทุนเตรียมตัว แถลงการณ์ครั้งนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ Fed จะแถลงมุมมองต่อเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ให้จับตาดูมุมมองเงินเฟ้อ (เป้าหมายระยะยาวของ Fed คือ 2%) เพราะจะมีผลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed
(+) กสทช.เตรียมชงเรื่องประมูล 4G เข้าบอร์ด DE (Digital Economy) 18 มี.ค. ทั้งในส่วนของคลื่นความถี่ 1800MHz ที่จะนำมาประมูล 4G และ 900MHz หากบอร์ด DE เห็นชอบอย่างเป็นทางการ คาดกสทช.ใช้เวลาในการเตรียมประมูลไม่เกิน 6 เดือน เรายังคงเลือก ADVANC (ราคาเป้าหมาย 300 บาท) เป็น Top pick ในกลุ่มนี้ ทั้งนี้ ADVANC จะจ่ายปันผล 5.96 บาท/หุ้น (Yield 2.5%) XD 26 มี.ค. นี้
(0) สินเชื่อธนาคาร 1Q15 น่าจะซบเซา ธนาคารจะรายงานสินเชื่อเดือน ก.พ. ใน 2 สัปดาห์นี้ TISCO รายงานแล้ว สินเชื่อลดลง 1.1% M-M เราเชื่อว่าสินเชื่อของธนาคารอื่นน่าจะซบเซาเช่นนี้ตลอดไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฤดูกาลชำระคืนหนี้ในช่วงต้นปี ประกอบกับการลงทุนของภาครัฐยังไม่ชัดเจน ทำให้เอกชนชะลอการลงทุน และกำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นเต็มที่ เราคาดว่าการขยายตัวของสินเชื่อจะเร่งตัวในระยะถัดไป แต่ระยะสั้นนอกจากไม่มีปัจจัยหนุน ยังมี sentiment ลบจากการลดดอกเบี้ยของกนง. การซื้อหุ้นกลุ่มแบงก์จึงไม่ต้องรีบร้อน Top pick ยังเป็น KBANK, KTB แต่หากชอบหุ้นปันผล แนะนำ KTB (0.90 บ/หุ้น XD 21 เม.ย.), TISCO (2 บ/หุ้น XD 28 เม.ย.)
(+) HANA เราเพิ่มกำไรปกติปี 2015 ขึ้น 3% เป็นโต 20% Y-Y และโตอีก 23% Y-Y ในปี 2016 หลังบริษัทปรับโครงสร้างธุรกิจสู่สินค้าที่มี Value Added ลดพึ่งพากลุ่ม Computer ขณะที่คำสั่งซื้อของลูกค้า Automotive, Telecom และ Medical แข็งแกร่ง การขยายกำลังการผลิต 3 โรงงานใหม่ที่ลำพูนจะเริ่มรับรู้รายได้กลางปีนี้ ที่จีนและกัมพูชาในปีหน้า เราปรับเป้าหมายขึ้นเป็น 46 บาทจาก 42 บาท ราคาหุ้น laggard ที่สุดในกลุ่ม +2.6% YTD ขณะที่ Core PE ถูกที่สุดในกลุ่มที่ 11.8 เท่า ปรับคำแนะนำเป็นซื้อ จากถือ
(+) SMPC เราเริ่มต้น Coverage ด้วยคำแนะนำซื้อ โดยมีราคาเป้าหมาย 93 บาท โครงสร้างตลาดผลิตถังแก๊สในปัจจุบันเป็นอุปสงค์ส่วนเกิน เอื้อต่อการเติบโตของ SMPC ที่เพิ่งเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 6.2 ล้านใบ เมื่อรวมกับงานซ่อมถังในประเทศที่เพิ่มขึ้น และตลาดส่งออกที่ดีขึ้น ทำให้คาดกำไรสุทธิปีนี้โต 20% Y-Y และโตต่อเนื่อง 12% Y-Y ในปีหน้า ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ Forward PE เพียง 12 เท่า ต่ำกว่าผู้ผลิตทั้งแก๊สทั่วโลกที่ 15 เท่า และการแตกพาร์จาก 10 บาทเป็น 1 บาท (หลังประชุมผู้ถือหุ้น 31 มี.ค.) จะช่วยให้สภาพคล่องในการซื้อขายดีขึ้น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวลงแรงพอสมควรหลังตัวเลขเศรษฐกิจออกมาค่อนข้างอ่อนแอ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ารวมถึงราคาน้ำมันที่ร่วงลงอีกครั้ง
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดในแดนบวกได้ แต่กรอบการบวกถือว่าจำกัดเนื่องจากหุ้นในกลุ่มพลังงานถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เช้านี้ปรับตัวผสมจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่ได้เป็นบวกนักจากราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลง
ค่าเงินบาทขยับตัวออกข้างค่อนไปในทางอ่อนค่า ล่าสุดแกว่งตัวในกรอบ 32.83-32.94 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 44.84 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 2.21 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยตลาดยังคงกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่ยังคงล้นตลาดและกำลังการผลิตของสหรัฐฯยังไม่มีสัญญาณลดลง
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 1,152.40 ดอลาร์/ออนซ์ ขยับขึ้นเพียง 0.50 เหรียญ/ออนซ์ เนื่องจากถูกกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า รวมถึงนักลงทุนจับตาดูผลการประชุม FED ในสัปดาห์นี้ว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
16 มี.ค. - สหรัฐ: Industrial Production (ก.พ.)
17 มี.ค. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI) ประชุม
- สหรัฐ: Housing starts, Building permits (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.), อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
16-20 มี.ค. - ไทย: ธนาคารพาณิชย์ประกาศยอดสินเชื่อเดือน ก.พ.
17-18 มี.ค. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
20 มี.ค. - ไทย: ยอดขายรถ (ก.พ.), ธปท.รายงานประมาณการเศรษฐกิจใหม่
23 มี.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ก.พ.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มี.ค.)
24 มี.ค. - ไทย: PLAT เริ่มเทรด (ราคา IPO 7.40 บาท)
- จีน: HSBC China Manufacturing PMI (มี.ค.)
- สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.), ยอดขายบ้านใหม่ (ก.พ.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (มี.ค.)
25 มี.ค. - เกาหลีใต้: 4Q14 GDP
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research