WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังผันผวน แม้หลัง กนง. ลดดอกเบี้ย จะช่วยลดต้นทุนการเงินให้กับบริษัทจดทะเบียน แต่ระยะสั้นบริษัทที่ได้รับประโยชน์อาจจะมีจำกัด เช่น เช่าซื้อ/อสังหาฯ จึงแนะนำหุ้นที่ได้ประโยชน์ใน สถานการณ์นี้ ASK([email protected]), SPALI([email protected]) และยังเลือกเป็น Top picks

การเมืองเริ่มมีน้ำหนักต่อ SET มากขึ้นตามลำดับ
การเมืองน่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะกลับมามีน้ำหนักต่อบรรยากาศการซื้อขายของตลาดมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์พอจะสรุปได้ 2 ส่วนหลัก คือ ขั้นตอนกระบวนการที่จะนำไปสู่การจัดการเลือกตั้ง และสถานการณ์ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน
กระบวนการที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง : ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการร่างรัฐธรรมนูญฯ ตามกรอบเวลาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วง 17 เม.ย.2558 จากการติดตามความคืบหน้าเชื่อว่า คณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ น่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จทันตามกำหนด ซึ่งก็จะทำให้ความเสี่ยงลดลงไประดับหนึ่ง กระบวนการต่อไปจะเป็นเรื่องของการส่งให้ 3 องค์กร พิจารณาได้แก่ สปช. คณะรัฐมนตรี และ คสช. พิจารณาในรอบแรกพร้อมเสนอแนวทางการปรับปรุง เพื่อให้ คณะกรรมาธิการมาดำเนินการต่อ หลังจากนั้นเมื่อ ปรับปรุงร่างฯ เสร็จ ก็จะถึงขั้นตอนสำคัญคือการ ส่งร่างให้ สปช. ลงมติ เห็นชอบ ซึ่งหากเห็นชอบก็จะเป็นการนำร่างรัฐธรรมนูญฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยน่าจะเกิดขึ้นภายใน 4 ก.ย.2558 แต่หากไม่เห็นชอบก็จะเป็นความเสี่ยง เพราะจะทำให้ทั้ง สปช. และคณะกรรมาธิการยกร่างหมดสภาพ ต้องไปเริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่ การสรรหา สปช. และคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ชุดใหม่มาทำงาน ซึ่งอาจเสียเวลามากกว่า 1 ปี จากกำหนดเดิม
สถานการณ์ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล : ถือเป็นเหตุการณ์ปกติที่เมื่อรัฐบาลทำงานมาระยะเวลาหนึ่ง ก็จะเริ่มปรากฎปัญหาในการบริหารงานหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลากร, ปัญหาในการขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญบางประการ, การดูแลความสงบเรียบร้อย ซึ่งในช่วงหลังๆ ดูจะมีเหตุการณ์ที่ส่อไปถึงความรุนแรงเกิดบ่อยขึ้นในเมืองหลวง และที่สำคัญที่สุดได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะฟื้นตัว กลับล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น จะกลายเป็นปัจจัยที่เพิ่มน้ำหนักในการสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลมากขึ้นตามลำดับ ถือเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิด

ตลาดแรงงานขัดแย้งกับยอดค้าปลีก Fed จะยืดการขึ้นดอกเบี้ยนานแค่ใด
สหรัฐรายงาน ยอดค้าปลีก ล่าสุด เดือน ก.พ. หดตัว 0.6%mom เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (เดือน ม.ค. -0.8%mom และ ธ.ค. 2557 -0.9%mom) แต่หากเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า พบว่าขยายตัวแต่ในอัตราลดลง คือ 2%yoy เท่านั้น เทียบกับ 4%yoy ใน ม.ค. คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น แต่ไม่เลวร้ายมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ ตลาดแรงงานยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้อาจจะมีขึ้น-ลง สลับในแต่ละเดือน โดยพบว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 7 มี.ค. ลดลง 36,000 ราย อยู่ที่ระดับ 289,000 ราย (ขณะที่เฉลี่ย 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ลดลง 3,750 ราย) โดย อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 5.5% ความขัดแย้งของ ดัชนีชี้นำทั้ง 2 ประกาศอาจจะทำ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐในงวด 1Q58 อาจจะไม่สดใส เมื่อเทียบกับงวด 4Q57 ที่เติบโต 2.5%
  จากประเด็นดังกล่าว ทำให้เชื่อว่าการประชุม Fed ในครั้งถัดไปวันที่ 18-19 มี.ค. (จากการประชุมครั้งล่าสุด Fed จะยังคงดอกเบี้ย ในอีกการประชุม 2 ครั้งหน้า เดือน มี.ค. และ เม.ย.) น่าจะกลับมาให้น้ำหนักต่อประเด็นดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากขณะนี้มีความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ และบุคคลสำคัญใน Fed หลายท่าน เริ่มมีความเห็นแตกแยกเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มแรก สนับสนุนต่อการขึ้นดอกเบี้ยฯ ในช่วงกลางปี 2558 หรือราวเดือน มิ.ย. – ก.ย. (นำโดย นาย John Williams (Fed ซานฟรานซิสโก) ประธาน Fed หลายสาขา) ขณะกลุ่มสอง สนับสนุนให้ยืดดอกเบี้ยฯ ออกไปเป็นปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 ได้แก่ นาย Charles Evans (Fed ชิคาโก) ประเด็นจึงอาจจะเป็นทั้งปัจจัยบวก และ ลบ ในเวลาเดียวกัน

ตราสารหนี้ขายหนัก เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทอ่อนค่า
กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคชะลอตัวลงอย่างมากวานนี้ แม้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 4 แต่กลับเบาบางเหลือเพียง 9 ล้านเหรียญฯ (วันก่อนหน้าขายสุทธิ 303 ล้านเหรียญฯ) เริ่มจากเกาหลีใต้ที่สลับมาขายสุทธิราว 71 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า) ส่วนไทยยังคงขายสุทธิเป็นวันที่ 2 แต่ลดลง 77% เหลือราว 13 ล้านเหรียญฯ (414 ล้านบาท) และอินโดนีเซีย ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 แต่ลดลง 86% เช่นกัน เหลือราว 10 ล้านเหรียญฯ สวนทางกับไต้หวันที่สลับมาซื้อสุทธิราว 75 ล้านเหรียญฯ และ ฟิลิปปินส์สลับมาซื้อสุทธิราว 9 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขายสุทธิใน 3 วันหลังสุด)
แม้จะเห็นแรงขายของนักลงทุนต่างชาติในไทยแต่คาดว่าน่าจะเบาบาง และมีโอกาสกลับมาซื้อได้ดังที่เคยนำเสนอถึงการซื้อขายของต่างชาติในตลาดหุ้นไทย ตามสถิติในช่วง 5 ปี พบว่าทุกๆ ปีในเดือน มีนาคมจะมียอดซื้อสุทธิตลาด และ ภายใต้สภาพคล่องทางการเงินที่มีอยู่ในระดับสูง และ นโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศ จะทำให้แรงซื้อจากต่างชาติกลับเข้ามาหนุนตลาดหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง
  ตรงกันข้ามกับตลาดตราสารหนี้ของไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยฯ โดยวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิออกมาอย่างหนักถึง 9.5 พันล้านบาท (สูงสุดในรอบ 1 ปี) โดยเป็นการขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 5 รวมกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าในภาวะดอกเบี้ยขาลง คงหนีไม่พ้นการขายของต่างชาติ ซึ่งปัจจัยนี้น่าจะกดดันให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าได้

การลดดอกเบี้ย มีแรงขับเคลื่อนตลาดน้อย
แม้คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะสร้างความแปลกใจให้กับตลาดฯ ด้วยการประกาศปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ลง 0.25% เหลือ 1.75% จากที่ก่อนหน้านี้ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เกือบทุกค่ายต่างมองว่าการประชุม กนง. ในรอบนี้น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่เดิม แต่อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ก็ไม่ได้หนุนตลาดหุ้นได้มากนัก โดยตลาดสามารถขยับบวก 12 จุดในวันแรกที่ปรับลด และ ทรงตัวในวันถัดมา ซึ่งแม้การลดดอกเบี้ยจะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินก็ตาม แต่ในระยะสั้น ๆ คาดว่า จะเกิดผลดีกับผู้ประกอบการในตลาดหลัก เพียงไม่กี่ราย ดังที่ได้เคยนำเสนอตลอดช่วงที่ผ่านมานั่นก็ตาม คือ กลุ่มลิสซิ่ง ซึ่งจากการศึกษาของนักวิเคราะห์ ASP คาดว่าการลดดอกเบี้ยลง 25bp จะทำให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558 ของกลุ่มฯ เพิ่มขึ้น 0.78% เนื่องจากโครงสร้าง ต้นทุนการกู้ยืม (ภาระหนี้สิน) เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ส่งผลให้ส่วนที่เป็นฐานต้นทุนลดลง ขณะที่โครงสร้างสินเชื่อ (รายได้ดอกเบี้ย) มักมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ รายได้จึงไม่ได้ลดตามดอกเบี้ยที่ปรับลดลง โดยผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดในสถานการณ์นี้ 4 ลำดับแรกคือ ASK ([email protected]) MTLS(FV@BN/A), GL([email protected]). AOENTS(FV@B138). กล่าวคือ ทุกๆ 0.25% ของการลดดอกเบี้ยฯ จะหนุนให้กำไรสุทธิของแต่ละบริษัทเพิ่มขึ้น 2.43%,1.5%, 0.89%, และ 0.5%, ตามลำดับ ผู้ได้ ประโยชน์รองลงมา คือ SAWAD([email protected]). SINGER(FV@B15), LIT(FV@B 4.9) TK([email protected]) และ GCAP([email protected]) ราว 0.4% 0.35% 0.32% 0.25% และ 0.21% ตามลำดับ ตรงข้ามกับบางบริษัทที่กลับเสียประโยชน์ในสถานการณ์นี้คือ IFS([email protected])
โดยหากพิจารณาค่า PER, Dividend yield และ upside ประกอบ พบว่าหุ้นที่น่าสนใจมากสุดคือ ASK (FV@B 30.1) เพราะมีค่า PER ต่ำเพียง 9.6 เท่า ขณะที่ให้ Div.Yield สูงถึง 7.3% และมี upside สูง 30% รองลงมาคือ GCAP (FV@B 6.5) มีค่า PER ราว 13.5 เท่า ส่วน Div.Yield ประมาณ 4.5% แต่มี upside สูงถึง 40% ตามมาด้วย AEONTS (FV@B 138) แม้ Div.Yield จะไม่สูงมากนักที่ 3.8% ก็ตาม แต่มีความน่าสนใจที่ PER ต่ำเพียง 9.6 เท่า และ upside ราว 24%


ขณะที่มีหุ้นหลายแห่งทีมีค่า PER สูงและ upside จำกัด ได้แก่ GL([email protected]) มีค่า PER สูงถึง 20.9 เท่า, Div.Yield ต่ำเพียง 3.1% และ upside จำกัดเพียง 3.9% จึงมีความน่าสนใจลดลง, TK (FV@B 10.8) ราคาปัจจุบันเต็มมูลค่าแล้ว ขณะที่ PER ค่อนข้างสูง 18.7 เท่า และ Div. Yield ต่าเพียง 2.9% และ MTLS(FV@N/A) คาดว่าค่า Expected PER น่าจะขยับขึ้นไปเกินกว่า 50 เท่า ซึ่งอาจจะเป็นระดับที่สูง จึงแนะนำให้ switch จาก GL, TK และ MTLS มายัง ASK และให้หลีกเลี่ยงหุ้น IFS
อีกกลุ่มคือ พัฒนาบ้านขาย แม้การลดดอกเบี้ยไม่ได้มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจมากนัก แต่กลับสร้าง Sentiment เชิงบวก โดยเฉพาะ ในเรื่องการโอนฯ ที่ทำได้ง่ายขึ้น ( ทำให้การบันทุกรายได้เป็นไปตามเป้าหมาย) เพราะเชื่อว่าการปฎิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินจะลดน้อยลง ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2557 บริษัทจดทะเบียน 15 แห่งที่ ฝ่ายวิจัยศึกษาอยู่ มียอดรวมสูงถึง 2.53 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ราว 1.17 แสนล้านบาท มีกำหนดก่อสร้าง แล้วเสร็จและเริ่มโอนฯ – บันทึกรายได้ในปี 2558 โดยสรุปผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะทำให้ประมาณการกำไรจากการดำเนินงานปี 2558 ที่คาดว่าจะเติบโต 13.6% มีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดลงน้อย Top pick ของกลุ่มคือ SPALI ([email protected]) มีค่า PER ต่ำเพียง 6.9 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูงถึง 5.8% ตามมาด้วย SC ([email protected]) มีค่า PER ต่ำเพียง 9.2 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูงถึง 4.3% แต่ upside เริ่มจำกัด 8% นักลงทุนที่มีหุ้น SC แนะนำถือรับเงินปันผล


ตรงข้ามกลุ่มที่เสียประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงคือ กลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ เพราะ กระทบต่อประสิทธิภาพในการทำกำไร คือในส่วนของ NIM และกำไรสุทธิปี 2558 โดยพบว่าทุกๆ 25bp ที่อัตราดอกเบี้ยลดลงจะทำให้คาดการณ์ NIM ลดลง 1.11bp จากคาดการณ์ปัจจุบันที่ 3.137% มาที่ 3.126% และทำให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558 ของกลุ่มฯ ปรับตัวลดลง 0.67% จากคาดการณ์ปัจจุบันที่ 2.25 แสนล้านบาท หรือน่าจะหายไปราว 1.55 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้คาดว่า ธ.พ. ที่จะได้รับผลกระทบสูงสุดกรณีอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงคือ KTB, BBL และ TCAP เนื่องจากมีโครงสินเชื่อที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในสัดส่วนที่สูงกว่าโครงสร้างแหล่งเงินทุนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว หรือ ในอีกมุมหนึ่ง ธนาคารที่ไม่ได้มีสัดส่วนโครงสร้างสินเชื่อ โครงสร้างเงินฝากและเงินกู้ยืมเป็นดังกล่าวข้างต้น หรือ มีสถานภาพในตลาดเงินเป็นผู้ให้กู้ยืมสุทธิเป็นจำนวนมาก จะได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง เรียงลำดับจากมากไปน้อย BAY, KKP และ TISCO เป็นต้น


และเช่นเดียวกับ กลุ่มประกันน่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจประกันชีวิต น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจประกันวินาศภัย ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจประกันชีวิตจะมีเบี้ยรับรวมที่มีอายุยาวนานกว่า (Duration) กว่า ธุรกิจประกันวินาศภัย (เบี้ยประกันภัยรับเป็นปีต่อปี) ทำให้เบี้ยประกันภัยรับจะมีความผันผวนต่อการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยอย่างมาก โดยเฉพาะดอกเบี้ยขาลง จะกดดันให้บริษัทฯ ประกันชีวิตจะต้องเผชิญกับภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น อันเกิดจาก การคำนวณหนี้สินของเบี้ยประกันชีวิตในปัจจุบัน หรือ GPV (Gross premium valuation) ซึ่งใช้อัตราดอกเบี้ยตามราคาตลาดหรือ spot rate (benchmark อ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาว 10 ปี) เปรียบเทียบกับ NPV (Net premium valuation) ซึ่งคำนวณโดยใช้อัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ทำสัญญา ในภาวะดอกเบี้ยขาลง GPV จะสูงกว่า NPV ทำให้บริษัทประกันชีวิตต้องกันสำรองเบี้ยประกันชีวิตเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ทุก 0.25% ที่ดอกเบี้ยลดน่าจะทำให้การตั้งสำรองฯ ของบริษัทประกันน่าจะเพิ่มขึ้นใกล้ 1 พันล้านบาท ซึ่งอ้างอิงจากที่ BLA ได้มีการบันทึกค่าใช้จ่ายสำรองเบี้ยฯ เพิ่มขึ้นกว่า 5 พันล้านบาทในปี 2557 เนื่องจาก yield curve ที่ shift ลงมาถึง 1% ในปีที่ผ่านมา


ขณะที่ทางด้านสินทรัพย์ เนื่องจากมีการนำเงินที่ได้จากเบี้ยประกันรับไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีระยะเวลาลงทุนทั้ง สั้น และระยะยาว สำหรับเงินลงทุนระยะสั้น ลงทุนผ่านพันธบัตรและตราสารหนี้ในกลุ่มเผิ่อค้า (ผ่าน P/L)และเผื่อขาย ซึ่งมูลค่าเงินลงทุนจะผันผวนตามดอกเบี้ยในตลาด และ จะต้องรับรู้ผลกำไร-ขาดทุน ตามราคาตลาด (mark-to-market) เช่นในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงนั้น จะส่งผลให้เงินลงทุน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หรือ ตรงกันข้ามเงินลงทุนจะลดลงหากดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนต่างหรือกำไร/ขาดทุน ต้องบันทึกผ่านงบกำไรขาดทุนแบบเบ็ดเสร็จ (comprehensive income) ที่แสดงไว้ต่อจากงบกำไรขาดทุน และต้องรับรู้ผ่านส่วนของผู้ถือหุ้น) แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ บริษัทประกันชีวิต จะลงทุนในตราสารระยะสั้นน้อยคือไม่เกิน 10% ของเงินลงทุน ที่เหลือส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นประเภทที่จะถือจนครบกำหนด (Held to maturity) ซึ่งจะต้องแสดงไว้ที่ราคาทุนเสมอ ดังนั้นจึงไม่ได้รับผลบวก/ผลกระทบจากการ mark-to-market ทั้งในช่วงดอกเบี้ยขาลงหรือกลับเป็นขาขึ้น


และทางด้านสินทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ยังมีความเสี่ยงด้าน Reinvestment risk ใกล้เคียงกัน ตามโครงสร้าเงินลงทุนที่กล่าวข้างต้น (โดยจะต้องนำไปลงทุนที่ครบกำหนดไปหาผลตอบแทนที่คาดว่าจะลดลงในกรณีที่ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง หรือ ทางตรงกันข้าม) ดังนั้น ในกรณีที่ดอกเบี้ยลด ผลตอบแทนจากเงินลงทุน หรือ ROI จะลดลง ซึ่งเป็นแหตุผลทำให้ บริษัทประกันที่มีพอร์ตเงินลงทุนในตราสารทุนขนาดใหญ่มากๆ และยังมิได้รับรู้กำไรจำนวนมหาศาล เช่น BKI และ BLA มักจะทำการขายหุ้น เพื่อรับรู้กำไร (realize) เพื่อมาชดเชย ผลการดำเนินงานของธุรกิจประกันที่ ตกต่ำลงมากๆ เช่น กรณี BKI เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ทำให้บริษัทฯ ต้องจ่ายเคลมมาก จึงขายหุ้นทำกำไรออกมามาก และ เช่นเดียวกับ BLA ในปี 2557 ได้รับผลกระทบจากการตั้งสำรองเบี้ยฯ ดังกล่าวตอนต้น จึงมีการขายหุ้นทำกำไรออกมากว่า 1 พันล้านบาทในงวด 4Q57


ขณะที่ THRE และ THREL อาจจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยขาลง จำกัด โดยเฉพาะ THRE จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า THREL เพราะ THRE เน้นการรับประกันต่อด้านวินาศภัย (แต่ก็ต้องจัดทำงบการเงินรวมกับ THREL เข้ามาอยู่ดี) ขณะที่ THREL แม้เน้นรับงานประกันภัยต่อด้านชีวิต แต่เนื่องจากระยะหลังเน้นการออกผลิตภัณฑ์ด้านการประกันสุขภาพ (มากกว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท whole life) โดยร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์กับบริษัทประกันชีวิตอื่นๆ (Non-conventional products) จึงทำให้ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย แต่ในส่วนของธุรกิจการลงทุนทั้ง THRE, THREL จะได้รับผลกระทบในด้าน Reinvestment risk เช่นเดียวกับ BLA และ BKI โดยสรุป ระยะสั้น BLA จึงได้รับผลกระทบมากกว่า BKI

ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!