WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

คาด SET ยังขยับขึ้นต่อได้ แต่ต้องระวังการแกว่งผันผวนด้วย!

  กลยุทธ์ : คาด SET ยังมีลุ้นแกว่งบวกต่อได้อีก แต่ก็ต้องระวังจังหวะผันผวนไว้ด้วย ดังนั้นเทรดดิ้งสั้นควรแบ่งขายทำกำไรช่วงบวกเพื่อลดความเสี่ยงจากการแกว่ง แต่ถ้าเป็นส่วนลงทุนยังแนะนำถือต่อเนื่องไว้ก่อนได้
  หุ้นเด่นทางเทคนิค : CENTEL, LIT, STPI(buy back)
  แนวโน้ม : เมื่อวานนี้แม้ว่า SET จะแกว่งตัวผันผวนค่อนข้างมาก แต่ก็ยังทรงตัวได้หลังการบวกกลับดีวันก่อน และสุดท้ายยังมีแรงซื้อผลักดันให้ดัชนีขึ้นมาปิดเป็นบวกต่อเนื่องได้อีกเล็กน้อย ขณะที่เช้านี้ยังพอมีปัจจัยบวกจากการดีดตัวขึ้นแรงของตลาดหุ้นสหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนมองว่าการปรับตัวลงของยอดค้าปลีกอาจจะช่วยทำให้เฟดไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วนักได้ ซึ่งส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้บ้าง โดยตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ยังสามารถเปิดเป็นบวกอยู่ ทำให้ FSS คาดว่า SET ยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงรีบาวด์ขึ้นต่อ หลัง SET ปรับตัวลงมาเกือบ 100 จุดแล้วในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการร่วงลงของยอดค้าปลีกสหรัฐก็ทำให้ความกังวลต่อการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกยังกดดันอยู่ รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติยังคงมียอดขายสุทธิในตลาดหุ้นบ้านเราต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มากขึ้น แต่ก็น่าจะทำให้ SET ยังมีสิทธิแกว่งตัวผันผวนในจังหวะบวกได้อยู่ โดยยังต้องติดตามการเจรจาปัญหาหนี้ของกรีซต่อ รวมทั้งการประชุมเฟดในช่วงกลางสัปดาห์หน้าด้วย
  แนวรับ 1540-1538 , 1535-1530 จุด
  แนวต้าน 1548-1552 , 1555-1560 จุด
  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคแต่ในปริมาณน้อยลงจากวันก่อนหน้าเหลือเพียง US$10ล้าน โดยเป็นการไหลออกมากจากเกาหลีใต้ US$70.7ล้าน ส่วนตลาด TIP ขายออกประเทศไทย US$12.6ล้าน และอินโดนีเซีย US$10.5ล้าน ขณะที่ไหลเข้าฟิลิปปินส์ US$9.3ล้าน แนวโน้มในวันนี้กระแสเงินทุนภูมิภาคน่าจะคึกคักหลังจากตลาดคลายกังวลการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed

ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
  (0) นายกฯสั่งชะลอภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง เกรงกระทบคนรายได้น้อย ข่าวนี้ออกมาตามสื่อประมาณ 4 โมงเย็นแต่หุ้นในกลุ่มที่อยู่อาศัยไม่ตอบสนอง ยังคงปรับตัวลงเกือบทั้งกลุ่ม เพราะยังไม่มีความชัดเจน เพียงแต่นายกฯให้ไปศึกษาแนวทางที่เป็นภาระกับประชาชนน้อยที่สุด ประเด็นนี้อาจยังกดดันราคาหุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยอีกระยะหนึ่ง ทำให้ได้ประโยชน์ไม่เต็มที่อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ประกอบกับกำไรในปีนี้เติบโตชะลอจากปีก่อน เราคาดกำไรสุทธิทั้งกลุ่มโต 3% Y-Y เทียบกับปีก่อนที่โต 26% Y-Y ความน่าสนใจของกลุ่มนี้จึงน้อยลง Top pick ของเรามีเพียง QH (ราคาเป้าหมาย 4.90 บาท) และ PS (ราคาเป้าหมาย 42 บาท)
  (0) ไฮไลท์สัปดาห์หน้าอยู่ที่การประชุม Fed 17-18 มี.ค. ซึ่งจะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยตามที่ Yellen ประธาน FOMC เคยกล่าวว่าจะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้และครั้งหน้าคือ 28-29 เม.ย. ประเด็นสำคัญอยู่ที่ถ้อยแถลงของ Fed ว่าจะนำคำว่า “อดทนในการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย” ออกจากคำแถลงการณ์หรือไม่ เราเชื่อว่า Flow จากต่างชาติจะยังเบาบางในช่วง 1H15 จนกว่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ชัดเจน
  (0) FSTE Index ปรับหุ้นที่คำนวณ มีผล 20 มี.ค. BAY ถูกนำออกจากการคำนวณใน Large cap. stock ทั้งนี้ ราคาหุ้น BAY ที่เคลื่อนไหวทุกๆ 1 บาทมีผลต่อ SET 0.79 จุด
  (+) SVI แม้ KCE จะโดดเด่นที่สุดในกลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ในแง่ความสามารถในการทำกำไรซึ่งเติบโตสูงจากการขยายกำลังการผลิต 24% (เริ่มผลิตปลาย 4Q14) แต่ราคาหุ้นปรับขึ้นมา 63% YTD outperform ที่สุดในกลุ่มและใกล้เต็มมูลค่าที่ 57 บาท เราคิดว่า SVI เป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่สุดในกลุ่มขณะนี้ เพราะราคาหุ้น laggard กว่ามาก (+19% YTD) และยังต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนก่อนไฟไหม้อยู่ 6% ขณะที่การฟื้นฟูเป็นไปอย่างรวดเร็ว เครื่องจักรจะทยอยเข้ามาจนเท่ากับช่วงก่อนไฟไหม้ภายในสิ้น 1Q15 และจะทยอยเพิ่มการใช้กำลังการผลิตจนเท่าระดับปกติใน 3Q15 ลูกค้าทุกรายยังอยู่ครบและมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าที่แข็งแกร่ง ปัจจุบันมี Core PE 12.9 เท่า ถูกกว่า KCE ที่ 14.7 เท่า และ PBV ถูกกว่ามาก ส่วน Dividend yield ใกล้เคียงกันที่ 2% เศษ บริษัทจะจัด Plant visit ให้นักลงทุนในวันจันทร์หน้านี้ เชื่อว่าน่าจะเรียกความเชื่อมั่นได้ ยังคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 5.20 บาท
  (0) TISCO สินเชื่อเดือน ก.พ. ยังลดลงต่ออีก 1.1% M-M เพราะยอดชำระคืนเงินกู้ มีมากกว่ายอดปล่อยใหม่เนื่องจากยอดขายรถยนต์ยังชะลอตัว รวมงวด 2 เดือนแรกสินเชื่อลดลง 2.6% YTD เราคาดว่าสินเชื่อทั้งปีจะติดลบเล็กน้อย ยังคงราคาเป้าหมาย 56 บาท และยังแนะนำซื้อ แม้ว่าสินเชื่อทั้งปีจะไม่ขยายตัว แต่มี PE ต่ำเพียง 8.2 เท่า และให้เงินปันผลตอบแทนปีละ 4% (จ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท XD 30 เม.ย. 2015) ระยะสั้นมีปัจจัยบวกจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะต้นทุนทางการเงินปรับลดลงขณะที่รายได้รับไม่ถูกกระทบ

  ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาพุ่งขึ้นแข็งแกร่งหลังตัวเลขยอดค้าปลีกปรับตัวลดลงซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดว่า FED จะยังไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ค่าเงินดอลลาร์ชะลอการแข็งค่าด้วย
  ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนนี้ที่ผ่านมาปิดแคบค่อนไปในแดนลบรับผลประกอบการและข่าวของกลุ่มธนาคารรวมถึงพิจารณานัยยะของ ECB ในการออก QE
  ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เช้านี้ส่วนใหญ่ปรับตัวในแดนบวกได้ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯจากกระแสเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่ผ่อนคลายลง
  ค่าเงินบาทเริ่มขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยหลังอ่อนค่าแรงในวันก่อนหน้า ล่าสุดแกว่งตัวในกรอบ 32.75-32.92 บาท/ดอลลาร์
  ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 47.05 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 1.12 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยตลาดยังกังวลกับปัจจัยอุปทานหลังสต๊อกน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น
  ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 1,151.90 ดอลาร์/ออนซ์ ขยับขึ้น 1.30 เหรียญ/ออนซ์ หลังดอลลาร์สหรัฐฯเริ่มมีจังหวะอ่อนค่าลง
ปัจจัยที่ต้องติดตาม

16 มี.ค. - สหรัฐ: Industrial Production (ก.พ.)
17 มี.ค. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI) ประชุม
- สหรัฐ: Housing starts, Building permits (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.), อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.) 
16-20 มี.ค. - ไทย: ธนาคารพาณิชย์ประกาศยอดสินเชื่อเดือน ก.พ.
17-18 มี.ค. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
20 มี.ค. - ไทย: ยอดขายรถ (ก.พ.), ธปท.รายงานประมาณการเศรษฐกิจใหม่
23 มี.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ก.พ.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มี.ค.)
24 มี.ค. - จีน: HSBC China Manufacturing PMI (มี.ค.)
- สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.), ยอดขายบ้านใหม่ (ก.พ.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (มี.ค.)
25 มี.ค. - เกาหลีใต้: 4Q14 GDP
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ก.พ.)

Contact person : Somchai Anektaweepon  Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!