- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 12 March 2015 15:24
- Hits: 1464
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ฟื้นตัวอีกรอบ หลัง กนง. ลดดอกเบี้ย กลยุทธ์เลือกหุ้นพื้นฐานที่คาดจะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงเป็น Top picks คือ ASK([email protected]) และ SPALI([email protected]) ปัจจุบันมีค่า PER เพียง 9 เท่า และ 7 เท่า และ ยังมีเงินปันผลสูง 7.9% และ 5.8% ตามลำดับ
กลยุทธ์การลงทุน เลือกหุ้นได้ประโยชน์ภายใต้ดอกเบี้ยขาลง
ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วานนี้ ได้สร้างความประหลาดใจให้ตลาด โดยมีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ลดดอกเบี้ยฯ ลง 0.25% เหลือ 1.75% ตาม ASP คาด ซึ่งสวนทางกับ consensus ส่วนใหญ่ที่คาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯ ที่ระดับ 2% โดยเหตุผลสำหรับการลดดอกเบี้ยฯ ครั้งนี้ มาจาก การฟื้นตัวอย่างล่าช้าและต่ำกว่าที่คาด โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน (50% ของ GDP) และการลงทุนเอกชน (17% ของ GDP) ขณะที่มีเพียงตัวแปรเดียวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง คือ การท่องเที่ยว แต่คาดว่าจะไม่สามารถชดเชยอุปสงค์ในประเทศได้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการลดดอกเบี้ยฯ ในครั้งนี้ จะสร้าง sentiment เชิงบวกให้กับตลาดบ้าง แต่เชื่อว่าการเตรียมปรับลด GDP Growth ของ กนง. จากเดิม 4.8% ให้ต่ำกว่า 4% ไม่น่าจะมีน้ำหนักต่อตลาดมากนัก เป็นเพราะตลาดได้รับรู้ไปบ้างแล้ว ประกอบกับคาดว่าการปรับลดจาก กนง. น่าจะใกล้เคียงกับที่ ASP คาดไว้ 3.5%
กลยุทธ์การลงทุนจึงเลือกหุ้นในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง ได้แก่
กลุ่มลิสซิ่ง อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง 25bp จะทำให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558 ของกลุ่มฯ เพิ่มขึ้น 0.78% จากประมาณการปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ที่มีต้นทุนการกู้ยืม (ภาระหนี้สิน) เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ส่งผลให้ส่วนที่เป็นฐานต้นทุนลดลง เทียบกับสินเชื่อ (รายได้ดอกเบี้ย) ซึ่งมีสัดส่วนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ในปริมาณสูง รายได้จึงไม่ได้ลดตามดอกเบี้ยที่ปรับลดลง โดย ASK ([email protected]) ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งยังมีค่า PER ต่ำเพียง 8.9 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูงถึง 7.9%
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย ได้ประโยชน์จากการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้าตามแผนงานทำได้ง่ายขึ้น อัตราการปฎิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินน่าจะลดลง ขณะเดียวกันยังช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่าย โดยดอกเบี้ยที่ลดลง 0.25% น่าจะทำให้รายการดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนลดลง 139 ล้านบาท คิดเป็น 0.35% ของประมาณการกำไรปี 2558 หุ้น Top pick ของกลุ่มคือ SPALI ([email protected]) มีค่า PER ต่ำเพียง 6.9 เท่า แต่คาดหวัง Div.Yield ได้สูงถึง 5.8%
ต่างชาติสลับมาขายไทยอีกครั้ง แต่การลดดอกเบี้ยน่าจะเป็นประเด็นบวก
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ราว 303 ล้านเหรียญฯ (ยอดขายเพิ่มขึ้น 59% จากวันก่อนหน้า) โดยเป็นการขายสุทธิถึง 4 จาก 5 ประเทศ สูงสุดยังคงเป็นไต้หวันที่ยังคงขายสุทธิเป็นวันที่ 3 ใกล้เคียงกับวันก่อนหน้า ราว 257 ล้านเหรียญฯ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย ที่ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 เช่นกัน ราว 76 ล้านเหรียญฯ (ยอดขายเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่าเท่าตัว) ส่วนไทย สลับมาขายสุทธิอีกครั้ง ราว 55 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วันก่อนหน้า) ในทิศทางเดียวกับฟิลิปปินส์ที่สลับมาขายสุทธิราว 5 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า) สวนทางกับเกาหลีใต้ที่ยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 และเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 34% อยู่ที่ 91 ล้านเหรียญฯ
ในส่วนของประเทศไทย วานนี้ นักลงทุนต่างชาติได้สลับมาขายสุทธิอีกครั้ง เชื่อว่าเป็นการขายสุทธิตามกระแสเงินทุนในภูมิภาคที่ถูกกดดันจากการประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยฯของสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตามวานนี้ กนง. ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยฯลงอีก 0.25% ซึ่งน่าจะเป็นผลบวกต่อตลาดหุ้นของไทยและทำให้แรงขายจากนักลงทุนกลุ่มนี้มีอยู่ไม่มากนัก ขณะที่ในตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิออกมาต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ราว 1.5 พันล้านบาท (รวม 4 วันขายสุทธิ 1.3 หมื่นล้านบาท) มีส่วนกดดันค่าเงินบาทอ่อนค่ารุนแรง โดยเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.90 บาทต่อเหรียญฯ (อ่อนตัว 1.5% ใน 5 วัน)
ความเสี่ยงต่อการปรับลดกำไรตลาด ปี 2558 ไม่เกิน 1-2% (ตอน 2)
หลังจากวานนี้ได้นำเสนอ ผลกระทบของความเสี่ยงของกลุ่มสถาบันการเงินและประกัน ที่อาจจะมีผลต่อการปรับลดประมาณกำไรตลาดในปี 2558 (จากเดิมที่ประเมินว่า ปี 2558 จะอยู่ที่ 9.58 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.5% จากปี 2557 และเมื่อคำนวณกำไรตลาดต่อหุ้น (EPS Growth) จะอยู่ที่ 103.65 บาท วันนี้ขอนำเสนอกลุ่มฯ ที่เหลือ ดังนี้
กลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี คาดว่าประเด็นที่อาจส่งผลต่อการปรับลด/เพิ่ม ประมาณการกำไรของกลุ่มฯ นี้น่าจะมาจากเรื่อง ของราคาน้ำมันดิบโลก ซึ่งภายใต้สมมติฐาน ปัจจุบัน ฝ่ายวิจัยกำหนดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบ เท่ากับ 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล เทียบกับราคาตลาดที่เคลื่อนไหว 55 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล (เฉลี่ยในช่วง 2 เดือนกว่าอยู่ที่ 51.79 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล) หากในช่วงที่เหลือไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้ใกล้เคียงกับสมมติฐาน ทำให้มีโอกาสต้องปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบลง กล่าวคือ หากมีการปรับลดสมติฐานราคาน้ำมันดิบลงทุกๆ 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะส่งผลให้กำไรกลุ่มน้ำมันที่ได้รับผลกระทบต่อรายหุ้นคือ ได้แก่ PTT และ PTTEP รวมราว 1.1 หมื่นล้านบาท
ในอีกมุมหนึ่ง เนื่องจากในประมาณการ ฝ่ายวิจัย ASP ไม่ได้รวมกำไร หรือ ขาดทุน จากสต๊อกน้ำมัน ของกลุ่มโรงกลั่น (TOP, PTTGC, BCP)ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะมีการบันทึกเป็นกำไรจากสต๊อกน้ำมันได้หากราคาน้ำมัน ณ สื้นปี 2558 ปิดในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบ ณ สิ้นปี 2557 ที่ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล กล่าวคือ ทุกๆ 5 เหรียญฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้บันทึกเป็นกำไรจากสต๊อกน้ำมันโดยรวมของกลุ่มฯราว 7.2 พันล้านบาท (ในทางกลับกันหากราคาปิดน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบ ณ สิ้นปี 2558 อยู่ต่ำกว่า 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล ก็จะมีโอกาสสูงที่จะบันทึกกลับเป็นขาดทุนสตีอกน้ำมัน) ซึ่งในส่วนนี้อาจจะช่วยลดแรงกดดันจากประมาณการกำไรที่อาจจะลดลงจาก PTT, PTTEP และ เมื่อรวมผลกระทบต่อประมาณการของทุกบริษัท คาดว่าประมาณการกำไรในปี 2558 น่าจะต่ำกว่าประมาณการปัจจุบันไม่เกิน 4 พันล้านบาท หรือ ไม่เกิน 0.2% ของประมาณกลุ่มพลังงานและ ปิโตรเคมีในปัจจุบัน
กลุ่ม ICT จะเน้นเฉพาะค่ายมือถือเท่านั้น เนื่องจากมีส่วนแบ่งกำไรของกลุ่มสูงราว 80% ของกำไรทั้งกลุ่ม ทั้งนี้ปัจจัยที่คาดว่าจะกดดันให้มีโอกาสปรับลดประมาณการกำไรน่าจะอยู่ที่ การประมูล 4G (ภายใต้การประมูล ใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz) หากประมูลล่าช้ากว่ากำหนดภายในปีนี้ โดย ADVANC น่าจะเป็นผู้ที่น่าจะได้รับผลกระทบมากสุด เพราะเป็นรายเดียว ในบรรดา ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ที่ไม่มีบริการ 4G แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการเลื่อนประมูลจริง คาดว่าไม่น่าจะนานเกิน 1-2 ปี จึงเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อประมาณการไม่มากนัก อันเป็นผลบวกจากการที่ ADVANC มีโครงข่าย 3G ที่แข็งแรงที่สุด สะท้อนจากการที่ ADVANC ยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้นจาก 52% ณ สิ้นงวด 4Q56 และ เพิ่มเป็น 52.6% ในงวด 4Q57 แม้จะไม่มีบริการ 4G เหมือนคู่แข่งขันทั้ง 2 ราย แต่ปรากฏว่าผู้ที่สูญเสียส่วนแบ่งตลาดกลับเป็น DTAC โดยลดลงจาก 31.7% ณ สิ้นงวด 4Q56 และ 29.6% ในงวด 4Q57 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องโครงข่าย 3G-4G มีประสิทธิภาพด้อยกว่าคู่แข่งขัน (ส่วน TRUE เพิ่มจาก 16.3% ณ สิ้นงวด 4Q56 เป็น 17.8% ในงวด 4Q57)
ขณะที่แม้ว่าจะมีการประมูล 4Gตามกำหนดภายในปีนี้ก็ตาม คาดว่าผู้ประกอบการจะต้องมีการบันทึกค่าใช้จ่ายจากการประมูลคลื่น 1800 MHz โดยหากกำหนดให้ต้นทุนใบอนุญาต 4G จะแพงกว่า 3G 1 เท่าตัว (ราว 30,000 ล้านบาทตัดจ่ายเป็นเวลา 15 ปี)คาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย ปีละ 2 พันล้านบาท แต่จะเข้ามาบั่นทอนกำไรปี 2558 เพียง 2-3 เดือน แต่จะเริ่มเห็นผลกระทบเต็มปีในปีถัดไป แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่า คาดว่าจะเห็นประโยชน์ 4G จะช่วยขยายฐานรายได้ในระยะกลาง และ ยาว (เนื่องจากปัจจุบันมีฐานลูกค้าที่มีมือถือรองรับ 4G มีราว 5% ของผู้ใช้ทั้งหมด) ทั้งนี้คาดว่าการให้บริการ 4G น่าจะเป็นช่องทางในการขยาย APRU และ การลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือ การลงทุน 4G ระยะแรกจะเน้นในพื้นที่ที่ผู้ใช้งาน 4G หนาแน่นเป็นหลัก (ไม่ใช่การทุ่มปูพรมลงทุนทั่วประเทศเหมือน 3G) และ ในขณะที่งบลงทุน ADVANC ในส่วน 3G ได้มีการลงทุนเผื่ออุปกรณ์ที่ใช้ 4G ไปด้วยแล้วบางส่วน
ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่ม อาทิ JAS THCOM SIM SAMTEL SAMART AIT ไม่ได้สร้างกำไรเป็นสัดส่วนที่มีนัยฯต่อกลุ่มมากนัก (ราว 25% ของกำไรกลุ่ม) โดย JAS ได้สะท้อนผลของการตั้งกองทุน JASIF ไว้ในประมาณการแล้ว
กลุ่มค้าปลีก ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อประมาณการในปี 2558 คือ กำลังซื้อในประเทศที่ชะลอตัว สะท้อนได้จาก การฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกโดยรวมยังอยู่ในทิศทางที่ไม่ชัดเจน โดยล่าสุดคาดว่า ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ซึ่งถือเป็นปัจจัยชี้นำ ที่สำคัญในธุรกิจค้าปลีก ยังคงชะลอตัว โดยคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 0 ถึง 1% จากที่ติดลบ 1% yoy งวด 3Q57 และ ติดลบ 0.8% yoy ขณะที่สมมติฐานของ ASP ประเมิน SSSG ไว้ที่เฉลี่ย 5% ตลอดปี 2558 ซึ่งเป็นไปได้ที่งวด 1H58 จะต่ำกว่าประมาณ แต่คาดทุกๆ อย่างจะค่อย ๆ ดีขึ้นในงวด 2H58 จึงยังคงประมาณการกำไรในปี 2558 ซึ่งคาดว่า EPS Growth ของกลุ่มจะอยู่ที่ 23% yoy แต่เป็นที่สังเกตว่า กำไรที่เติบโตสูงมากจาก CPALL เป็นหลัก ซึ่งมีสัดส่วนราว 40% ของทั้งกลุ่ม โดยที่ประเมินว่าปี 2558 CPALL น่าจะเติบโตสูงถึง 32% จากปี 2557 จากฐานกำไรที่ต่ำ และต้นทุนดอกเบี้ยปีนี้จะทรงตัว ขณะที่ ผลการดำเนินงานปกติของบริษัทส่วนใหญ่ในกลุ่มฯ จะเติบโตเฉลี่ยราว 14% - 17% yoy
ขณะที่กลุ่มอื่น ๆ คาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อประมาณอย่างมีนัยสำคัญ เช่น กลุ่มเดินเรือ มีแนวโน้มจะปรับลดประมาณการกำไรของกลุ่มเดินเรือเทกอง หากอัตราค่าระวางเรือในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ไม่ฟื้นตัว แต่กำไรกลุ่มฯ นี้ มีสัดส่วนเพียง 0.5% ของกำไรตลาดหรือ กลุ่มบันเทิง พบว่า เม็ดเงินโฆษณาช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้อ่อนแอมาก แม้ทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ มี.ค. นี้เป็นต้นไป และ คาดหวังจะเห็นการฟื้นตัวชัดเจนในครึ่งหลังของปีนี้ แต่หากการฟื้นตัวไม่เป็นไปตามคาดหมาย ก็มีแนวโน้มจะปรับลดประมาณการกำไรลงเช่นกันแต่เนื่องจากกำไรกลุ่มน้อยคิดเป็นเพียง 1% ของกำไรตลาด จึงไม่มีผลกระทบต่อกำไรตลาดโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ
หลังจากได้ความเห็นจากนักวิเคราะห์ ASP เป็นส่วนใหญ่ ก็พอจะสรุปได้ว่าความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อประมาณการกำไรคือ การปรับลดดอกเบี้ย ลง 0.25% จะกระทบต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ราว 1.55 หมื่นล้านบาท หรือลดลงราว 0.67% โดยรวมแล้ว และ กระทบต่อกลุ่มประกันราว 5% แต่ความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันคาดว่าจะกระทบต่อกำไรของกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีไม่มีเกิน 4 พันล้านบาท โดยรวมแล้ว คาดว่าจะกดดันกำไรตลาดไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นราว 2% ของประมาณการเดิม และ จะทำให้ EPS ลดลงจาก 103.65 บาท เหลือ 101.58 บาทต่อหุ้น เท่านั้น ซึ่งจะทำให้ค่า Expected PER จะอยู่ที่ราว 15.12 เท่า ซึ่งถือว่าตลาดหุ้นไทยยังไม่แพงเกินไป อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัย ASP ยังคงประมาณการ และ กำไรสุทธิตลาดที่เดิมไปก่อน โดยจะยังรอผลกระทบให้ชัดเจนกว่านี้จึงจะปรับลดประมาณการดังกล่าวข้างต้น
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล