- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 12 March 2015 15:22
- Hits: 1455
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET เริ่มรีบาวด์ แต่ยังต้องระวังการแกว่งผันผวนอยู่!!
กลยุทธ์ : คาด SET อยู่ในช่วงดีดกลับขึ้น แต่การไหลลงแรงรอบที่ผ่านมา ทำให้มีความเสี่ยงจากแรงขายช่วงบวกกดดันได้ ดังนั้นเทรดดิ้งสั้นควรดูจังหวะขายบ้าง นอกจากเป็นส่วนลงทุนยังถือต่อได้ แต่ไม่ควรซื้อไล่ราคาช่วงบวก
หุ้นเด่นทางเทคนิค : AAV, TTCL, THCOM(short)
แนวโน้ม : SET ปรับตัวลงต่อในช่วงเช้าวานนี้ แต่ก็มีลักษณะทรงตัวได้บ้าง ก่อนที่จะมีแรงซื้อกลับเข้ามาหนุนในภาคบ่าย ทำให้ดัชนีพลิกกลับขึ้นมาบวกได้ดี หลังที่ประชุม กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ขณะที่เช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียก็ยังสดใส เนื่องจากตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกได้ดีจากความคาดหวังที่ว่าการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโรจะช่วยหนุนธุรกิจในกลุ่มส่งออก และส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นได้ จึงน่าจะทำให้ SET ยังมีลุ้นโอกาสขยับบวกขึ้นต่อเนื่องได้อีก อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อคืนนี้ยังค่อนข้างผันผวน จากความวิตกเกี่ยวกับกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมามียอดขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ทำให้ FSS คาดว่าในจังหวะบวกขึ้น SET ก็ยังมีสิทธิแกว่งผันผวนได้ และยังต้องระวังแรงขายกดดันให้ตลาดปรับตัวลงใหม่ไว้ด้วย โดยประเด็นที่ต้องติดตามยังมีเรื่องการเจรจาหนี้ของกรีซในช่วงท้ายสัปดาห์นี้ และการประชุมเฟดในช่วงกลางสัปดาห์หน้า
แนวรับ 1540-1538 , 1535-1530 จุด
แนวต้าน 1548-1552 , 1555-1560 จุด
Fund Flow วานนี้ยังไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ในปริมาณเบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$257.4 ล้าน อินโดนีเซีย US$76 ล้าน ไทย US$55 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$5.5 ล้าน และเวียดนาม US$3.4 ล้าน แต่ซื้อเกาหลีใต้ US$90.9 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อย Flow น่าจะเบาบางต่อเนื่อง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) กนง.ลดดอกเบี้ยเพื่อสร้างบรรยากาศ แม้ตลาดหุ้นวานนี้จะตอบรับในเชิงบวกหลังกนง.เซอร์ไพร้ส์ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ด้วยเสียง 4 ใน 7 (เพิ่มขึ้นจากการประชุม 2 ครั้งก่อนหน้าที่มี 2 เสียงให้ลดดอกเบี้ย) แต่ความเห็นของกนง.ที่มีต่อเศรษฐกิจแย่ลง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอ่อนแรงกว่าที่ประเมิน โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเพราะขาดความเชื่อมั่น ธปท.จะมีปรับลดคาดการณ์ GDP อย่างเป็นทางการ 20 มี.ค. การลดดอกเบี้ย 0.25% อาจกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่มากแต่ช่วยสร้างบรรยากาศให้ดีขึ้น ด้านธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% เช้านี้ เป็นการลดครั้งที่ 2 ในปีนี้ ทิศทางดอกเบี้ยในเอเชียเป็นขาลงชัดเจน ประเทศที่ลดดอกเบี้ยแล้วในปีนี้มีไทย เกาหลีใต้ จีน อินโดนีเซีย และอินเดีย ค่าเงินในเอเชียอ่อนค่าชัดเจน
(+) กลุ่มเช่าซื้อได้ประโยชน์ แต่กลุ่มบ้านยังถูกดดันจากเรื่องภาษีที่ดิน เรายังชอบ ASK (ราคาเป้าหมาย 27 บาท), GL (ราคาเป้าหมาย 15 บาท), MTLS (ราคาเป้าหมาย 25 บาท) ส่วนกลุ่มบ้าน ประโยชน์ที่ได้ถูกลดทอนด้วยเรื่องภาษีที่ดิน แต่เรายังชอบ QH (ราคาเป้าหมาย 4.90 บาท), PS (ราคาเป้าหมาย 42 บาท)
(+) GL จะจ่ายปันผล 0.063-0.048 บาท/หุ้น (Yield 0.4-0.6%) ขึ้นอยู่กับการใช้สิทธิของ GL-W3 วันที่ 31 มี.ค. และ 30 เม.ย. บริษัทจะประกาศอัตราที่แน่นอนภายใน 4 พ.ค. กำหนด XD 7 พ.ค. จ่ายเงิน 26 พ.ค. 2015 เราคาดกำไรปีนี้โตก้าวกระโดด 377% Y-Y จากธุรกิจทั้งในไทยและกัมพูชา ยังคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 15 บาท
(0) KCE เราได้เยี่ยมชมโรงงานแห่งใหม่วานนี้ที่ลาดกระบัง ซึ่งเริ่มผลิตตั้งแต่ปลาย 4Q14 โดยเฟสแรกจะมีกำลังการผลิต 7 แสนตร.ฟุตต่อเดือน (24% ของกำลังการผลิตรวม) โรงงานนี้มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่าโรงงานเดิม เพราะเป็นโรงงานใหม่ เครื่องจักรรุ่นใหม่ ประสิทธิภาพการผลิตดีกว่าและอัตราของเสียต่ำกว่าโรงงานเดิม แต่ปัจจุบันยังผลิตไม่ถึงจุดคุ้มทุน ทำให้กำไรใน 1Q15 น่าจะลดลงเล็กน้อยจาก 4Q14 แต่คาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนที่ 50% ใน 2Q15 เรายังคาดกำไรปกติปี 2015 โต 22% Y-Y และโตต่อเนื่องในปี 2016-17 จากการขยายกำลังการผลิตเฟส 2 และ 3 ยังคงราคาเป้าหมายที่ 57 บาท แต่ราคาหุ้นที่ขึ้นต่อเนื่องทำให้ upside แคบลง จึงลดคำแนะนำเป็นถือ
(0) RML การประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ไม่มีประเด็นใหม่ นอกจากเรื่องเงินปันผลปี 2014 ที่มีแนวโน้มว่าจะจ่ายเป็นหุ้นปันผลหรือวอร์แรนท์ มากกว่าจะเป็นเงินสด เพราะต้องเตรียมงบลงทุนซื้อที่ดินในปีนี้ 3 พันล้านบาท โดยทราบชัดเจนหลังประชุมบอร์ด 16 มี.ค. กำไรปี 2015 เรายังคงคาดว่าจะลดลง 5% Y-Y เป็น 1.3 พันล้านบาท เพราะมี Backlog เพียง 9.7 พันล้านบาททยอยรับรู้เป็นรายได้ในปี 2015-16 และมีเพียง 1 โครงการที่จะเปิดในปีนี้คือ MEWS มูลค่า 700 ล้านบาท ยังคงแนะนำเพียงถือ ราคาเป้าหมาย 2.20 บาท เรายังคงชอบ QH และ PS มากสุดในกลุ่ม
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อยโดยนักลงทุนยังคงกังวลกับทิศทางของค่าเงินดอลลาร์รวมถึงเวลาการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในอนาคต
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนนี้ที่ผ่านมาพุ่งขึ้นแข็งแกร่งนำโดยหุ้นในกลุ่มส่งออกโดยได้รับปัจจัยหนุนจากค่าเงินยูโรที่อ่อนค่า
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เช้านี้กลับมาปรับตัวในแดนบวกได้จากบรรยากาศการลงทุนที่ดีขึ้น นอกจากนี้ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างไม่คาดคิด
ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแรงต่อเนื่อง ล่าสุดแกว่งตัวในกรอบ 32.80-33.00 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 48.17 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 0.12 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA ประกาศตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ออกมาทำจุดสูงสุดใหม่
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 1,150.60 ดอลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 9.50 เหรียญ/ออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ารวมถึงคาดการณ์ที่ว่า FED อาจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนด
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
12 มี.ค. - เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ก.พ.)
16 มี.ค. - สหรัฐ: Industrial Production (ก.พ.)
17 มี.ค. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI) ประชุม
- สหรัฐ: Housing starts, Building permits (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.), อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
17-18 มี.ค. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
20 มี.ค. - ไทย: ยอดขายรถ (ก.พ.), ธปท.รายงานประมาณการเศรษฐกิจใหม่
23 มี.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ก.พ.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มี.ค.)
24 มี.ค. - จีน: HSBC China Manufacturing PMI (มี.ค.)
- สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.), ยอดขายบ้านใหม่ (ก.พ.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (มี.ค.)
25 มี.ค. - เกาหลีใต้: 4Q14 GDP
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research