- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 09 March 2015 17:03
- Hits: 1199
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET ยังผันผวน...แต่ก็ลุ้นปรับลงในกรอบจำกัดก่อนขึ้นต่อ
กลยุทธ์ : คาดว่า SET อยู่ในช่วงรีบาวด์กลับไปแกว่งบวกหลังลงแรงช่วงก่อน แม้ว่าจะยังต้องระวังการแกว่งผันผวนอยู่ แต่ก็ลุ้นขึ้นต่อเนื่องได้ ดังนั้นช่วงนี้พอจะเทรดดิ้งสั้นได้ ส่วนถ้าซื้อเพื่อลงทุนเรายังแนะนำเลือกหุ้นซื้อช่วงลบ แล้วเน้นถือเพื่อรอการแกว่งบวกรอบใหญ่เช่นเดิม
หุ้นเด่นทางเทคนิค : BTS, SPCG, LOXLEY(buy back)
แนวโน้ม : เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐออกมาดีเกินคาด แต่กลับกดดันให้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงค่อนข้างแรง เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่ดี อาจจะกระตุ้นให้เฟดเร่งการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ได้ ซึ่งกดดันมาถึงการเปิดทำการของตลาดหุ้นเอเชียในเช้าวันนี้ด้วย ทำให้ FSS คาดว่า SET มีโอกาสที่จะยังอยู่ในช่วงแกว่งตัวผันผวนต่อเนื่องได้ ดังนั้นหลังจากท้ายสัปดาห์ก่อน SET มีแรงซื้อกลับเข้ามาผลักดันให้กลับมาแกว่งด้านบวกได้บ้างแล้ว วันนี้จึงมีโอกาสที่จะแกว่งตัวด้านลบให้เห็นอีกครั้ง อย่างไรก็ตามการที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดีก็น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกได้ด้วย ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมามียอดซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องมากขึ้น ก็น่าจะทำให้การปรับตัวลงของ SET ช่วงนี้ไม่น่าจะรุนแรงมากนัก และยังมีสิทธิแกว่งตัวกลับไปบวกต่อได้ ดังนั้นยังน่าถือหุ้นลุ้นรอบรีบาวด์อยู่
แนวรับ 1565-1562 , 1558-1554 จุด
แนวต้าน 1570-1573 , 1580-1583 จุด
Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมาไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเป็นสัปดาห์ที่ 7 จำนวน US$1,588 ล้าน ลดลงเล็กน้อยจาก US$1,868 ล้านในสัปดาห์ก่อน ส่วนวันศุกร์ไหลเข้าในปริมาณหนาแน่น โดยซื้อตลาดเกาหลีใต้ US$269 ล้าน ไต้หวัน US$132 ล้าน ไทย US$15.7 ล้าน อินโดนีเซีย US$12.7 ล้าน แต่ขายฟิลิปปินส์ US$5.8 ล้าน และเวียดนาม US$4.9 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อยตามยูโร วันนี้ ECB จะเริ่มเข้าซื้อพันธบัตร 6 หมื่นล้านยูโร/เดือนเป็นวันแรก หนุน Flow ไหลเข้าต่อเนื่อง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) QE ของ ECB เริ่มเป็นทางการวันนี้ ส่งผลดีทางอ้อมต่อตลาดหุ้นไทย เราเชื่อว่าการทำ QE จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของยูโรโซนได้ผ่านการส่งออกและการท่องเที่ยว (จากการอ่อนค่าของยูโร) และภาคธนาคารให้แข็งแกร่งขึ้น (งบดุลดีขึ้นจากการ Mark to market ราคาพันธบัตรที่สูงขึ้นและมีกำไรเมื่อขาย และกดดันให้ธนาคารเร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อชดเชย Yield ของพันธบัตรที่ลดลง) แต่เงื่อนไขการซื้อพันธบัตรที่ซับซ้อนทำให้เม็ดเงินของ QE ไม่ได้ส่งออกมานอกกลุ่มยูโรโซนมากนัก แต่จะส่งผลทางอ้อมต่อการปรับพอร์ตของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ในยูโรโซน และการเกิด Euro carry trade ซึ่งเป็นบวกต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมถึงไทย อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยวันนี้อาจถูกกระทบจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐเดือน ก.พ. ที่ดีเกินคาด (ตลาดกังวลว่า Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด) แต่เชื่อว่าในระยะถัดไป Fund flow จากต่างชาติน่าจะไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย
(0) ติดตามการประชุมกนง.พุธนี้ จากตัวเลขเงินเฟ้อที่ติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในเดือน ก.พ. และมีแนวโน้มจะติดลบต่อเนื่องไปตลอดครึ่งแรกของปีนี้ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า แรงกดดันจากการเมือง และเม็ดเงินที่อาจไหลเข้ามาจากการทำ QE ของ ECB จึงมีโอกาสมากขึ้นที่กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุม 11 มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม เราคาดกนง.จะคงดอกเบี้ยที่ 2% เพราะเงินเฟ้อที่ติดลบเป็นผลจากราคาน้ำมันในประเทศที่ลดลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ราคาสินค้าประเภทอื่นยังคงปรับตัวขึ้นเห็นได้จากเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น
(+) กลุ่มไฟแนนซ์น่าสนใจในภาวะดอกเบี้ยถูก ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและจะต่ำต่อไปอีกระยะใหญ่ ถือเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจไฟแนนซ์ที่สามารถหาต้นทุนทางการเงินได้ถูก มีหุ้นในกลุ่มไฟแนนซ์หลายตัวที่เราชอบและราคาหุ้นยัง undervalued เช่น ASK (ราคาเป้าหมาย 27 บาท) LIT (ราคาเป้าหมาย 5.22 บาท) และ MTLS (ราคาเป้าหมาย 24 บาท) ที่สินเชื่อมีโอกาสเติบโตสูงตามการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่กำลังจะมา และความต้องการสินเชื่อของรากหญ้าที่มีอยู่ตลอดเวลา ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ดีมาก NPL ต่ำและ Coverage ratio สูง หากกนง.ปรับลดดอกเบี้ยในวันพุธนี้ จะยิ่งเป็นข่าวดีกับกลุ่มไฟแนนซ์
(+) SYMC แม้กำไรใน 2 ช่วงปีที่ผ่านมาจะถูกกดดันจากค่าเสื่อมและดอกเบี้ยจ่ายจากการลงทุนสร้างโครงข่าย (กำไรปี 2013 +3% Y-Y, ปี 2014 -26% Y-Y) ส่วนปี 2015-16 ยังมีการสร้างเคเบิ้ลใยแก้วใต้น้ำร่วมกับมาเลเซียและกัมพูชารวมกว่า 3 พันล้านบาท ทำให้คาดกำไรปี 2015 เพิ่มขึ้น 15% Y-Y จากฐานต่ำปีก่อนและปี 2016 เพิ่มเพียง 5% Y-Y เราไม่ได้กังวลกับการลงทุนที่เป็นตัวกดดันกำไรมากนัก เพราะเป็นผลกระทบชั่วคราว เมื่อลูกค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเมื่อนโยบาย Digital Economy เป็นรูปธรรม กำไรของบริษัทจะเพิ่มในอัตราเร่ง เราประเมินราคาเป้าหมาย 21.70 บาท แนะนำซื้อลงทุนระยะยาว
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวลงค่อนข้างแรงจากความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่อาจเร็วกว่าคาดหลังตัวเลขการจ้างงานออกมาดี
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนนี้วันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวผสมโดยตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯที่แข็งแกร่งถูกหักล้างไปกับความกังวลเรื่องกาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนลบตามตลาดหุ้นสหรัฐฯจากประเด็นดังกล่าวซึ่งส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนให้เป็นลบ
ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างแรง ล่าสุดแกว่งตัวในกรอบ 32.48-32.60 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 49.61 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 1.15 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าซึ่งบดบังปัจจัยจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางตะวันออกกลางซึ่งส่งผลต่ออุปทาน
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 1,164.30 ดอลาร์/ออนซ์ ร่วงแรง 31.90 เหรียญ/ออนซ์ จากความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่อาจเร็วกว่าคาดจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่ง
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
10 มี.ค. -จีน: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
11 มี.ค. - ไทย: ประชุม กนง.
12 มี.ค. - เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ก.พ.)
16 มี.ค. - สหรัฐ: Industrial Production (ก.พ.)
17 มี.ค. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI) ประชุม
- สหรัฐ: Housing starts, Building permits (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.), อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
17-18 มี.ค. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
20 มี.ค. - ไทย: ยอดขายรถ (ก.พ.)
23 มี.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ก.พ.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มี.ค.)
24 มี.ค. - จีน: HSBC China Manufacturing PMI (มี.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (มี.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research