- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 03 March 2015 18:17
- Hits: 1170
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET ยังลุ้นรีบาวด์ได้ แต่ต้องระวังแกว่งก่อนขึ้นต่อไว้ด้วย...
กลยุทธ์ : SET ยังผันผวน ดังนั้นหลังจากลบมา 2 วัน คาดว่าจะมีลุ้นโอกาสรีบาวด์กลับได้ แต่เทรดดิ้งสั้นยังต้องระวังการแกว่ง นอกจากซื้อเพื่อถือลงทุนเราถึงแนะนำให้เน้นถือไว้ก่อนได้ เพราะคาดว่า SET แกว่งสร้างฐานเพื่อขึ้นต่อ
หุ้นเด่นทางเทคนิค : BH, BRR, SAMART(buy back)
แนวโน้ม : แม้ว่าวานนี้ SET จะยังปรับตัวลงอีก แต่ในจังหวะปรับลงก็ยังมีแรงซื้อกลับเข้ามาช่วยหนุนพอควร โดยแรงขายของนักลงทุนต่างชาติก็เริ่มบางตาลงด้วย ขณะที่เช้านี้ตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่เปิดบวก หลังจากเมื่อคืนนี้ดัชนีดาวโจนส์พลิกกลับมาปิดเป็นบวกเกือบ 1% และเป็นการปิดแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง ซึ่งเป็นการขานรับธนาคารกลางจีนที่ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา รวมทั้งยังได้แรงหนุนจากดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน ก.พ. ของสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งด้วย ทำให้ FSS คาดว่า SET ยังมีโอกาสรีบาวด์กลับไปแกว่งบวกได้อีก หลังจากปรับตัวเป็นลบมา 2 วันติดต่อกันแล้ว แต่ในจังหวะบวกก็ยังต้องตามระวังแรงขายกดดันให้ SET ผันผวนอยู่ เพราะบ้านเราจะติดวันหยุดพรุ่งนี้เนื่องในวันมาฆบูชา แต่ตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ยังเปิดทำการปกติ นอกจากนี้ยังมีรายงานตัวเลข PMI ของยูโรโซนที่ออกมาชะลอตัวน่าจะสร้างความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของยูโรโซน ดังนั้นคาดว่า SET จะยังมีจังหวะแกว่งผันผวนอยู่
แนวรับ 1580-1576 , 1573-1567 จุด
แนวต้าน 1585-1595 , 1597-1603 จุด
Fund Flow วานนี้ยังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ในปริมาณที่เบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ US$113.2 ล้าน อินโดนีเซีย US$48.3 ล้าน ไต้หวัน US$47.5 ล้าน และเวียดนาม US$3.0 ล้าน แต่ขายฟิลิปปินส์ US$2.9 ล้าน และไทย US$0.04 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้แข็งค่าเล็กน้อย Flow น่าจะยังไหลเข้าต่อ
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) เงินเฟ้อของไทยติดลบเป็นเดือนที่ 2 โดยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. -0.52% Y-Y ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนและติดลบมากสุดในรอบ 65 เดือน จากราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับลดลงเป็นหลัก แต่เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 1.45% Y-Y แสดงว่าราคาสินค้าประเภทอื่นนอกเหนือจากราคาพลังงานยังสูงขึ้น เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบต่อเนื่องไปอีกหลายเดือน แต่ไม่ได้หมายถึงภาวะเงินฝืดเพราะการบริโภคของครัวเรือนยังดีขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้คาดว่าการประชุมกนง. 11 มี.ค.นี้ น่าจะคงดอกเบี้ยที่ 2% ตามเดิม
(+) SIRI กำไรสุทธิ 4Q14 +75% Q-Q, +27% Y-Y ดีกว่าคาดจากค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่ำกว่าคาด ทำให้กำไรปกติทั้งปีเพิ่ม 38% ส่วนกำไรสุทธิ +76% เพราะมีกำไรจากการขายอาคารสิริภิญโญและขายที่ดิน เรายังคาดกำไรปกติปี 2015 โต 16% Y-Y โดยมี Backlog รองรับคาดการณ์รายได้ 69% ที่เหลือมาจากการขายและโอนโครงการเดิมที่อยู่ระหว่างขายอีก 6.98 หมื่นล้านบาท และโครงการแนวราบที่จะเปิดในปีนี้ 9 โครงการ มูลค่า 1.54 หมื่นล้านบาท) เราคงราคาเป้าหมาย 2.15 บาท ลดคำแนะนำจากซื้อ เป็นซื้อเก็งกำไรปันผลที่จ่าย 0.12 บาท/หุ้น (Yield 5.8%)
(+) MONO พลิกเป็นขาดทุนสุทธิ 26 ล้านบาทใน 4Q14 ผิดคาด จากต้นทุนของธุรกิจทีวีดิจิตอล (ช่อง MONO 29) และค่าใช้จ่ายในการทำโปรโมชั่นและโบนัสพนักงานที่มากกว่าคาด ทำให้กำไรสุทธิทั้งปีลดลง 92% Y-Y เรายังคาดว่าปีนี้จะ Turnaround จากการฟื้นตัวของธุรกิจเดิม (ให้บริการเสริมบนมือถือ) และทีวีดิจิตอล (เรทติ้งดีขึ้นเรื่อยๆ) ที่คาดเริ่มทำกำไรตั้งแต่ 2H15 อย่างไรก็ตาม เราปรับกำไรปีนี้ลง 10% แต่ยังโต 545% Y-Y ปรับลดราคาเป้าหมายลงเล็กน้อยเป็น 5.25 บาทจาก 5.50 บาท ยังแนะนำซื้อ
(-) GFPT แนวโน้มกำไรสุทธิใน 1Q15 น่าจะชะลอต่อเนื่องจาก 4Q14 เบื้องต้นเราคาด 250 ล้านบาท -32% Q-Q, -41% Y-Y นอกจากจะเป็น Low season แล้ว ยังถูกกระทบจากราคาขายไก่ในประเทศที่ลดลงต่อจาก 4Q14 เนื่องจากปัญหา Oversupply เราปรับกำไรสุทธิปี 2015 ลง 11% เป็น 1,707 ล้านบาท -4% Y-Y ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 16 บาทจาก 18 บาท สิ่งที่อาจเป็น upside ต่อประมาณการคือการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศที่ Supply พันธุ์ไก่ให้กับไทยเช่นสหรัฐและยุโรป ทำให้ไทยหยุดนำเข้าพันธุ์ไก่มาตั้งแต่ต้นปี 2015 หากสถานการณ์ยืดเยื้อ จะเป็นบวกกับราคาไก่ในช่วง 2H15 สำหรับคำแนะนำ ยังคงเหมือน CPF คือชะลอการลงทุนจนกว่าจะเข้า High season ใน 2Q15
(-) ITD ผลดำเนินงาน 4Q14 มีขาดทุนจากการดำเนินงานปกติ 47 ล้านบาท ลดลงจาก 3Q14 และ 4Q13 ที่มีกำไรปกติ และแย่กว่าที่เราคาดอย่างมาก จากรายได้อื่นต่ำกว่าคาด ขณะค่าใช้จ่ายขายและบริหาร ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีจ่ายสูงกว่าที่คาดมาก ทำให้กำไรปกติทั้งปี -70% Y-Y เป็น 253 ล้านบาท ยังคงราคาเป้าหมาย 8.10 บาท แนะนำถือ และสามารถเก็งกำไรประเด็นการลงนามสัญญาระหว่างรัฐบาลพม่ากับกลุ่ม ITD-ROJNA ในสัมปทานนิคมฯทวายเฟสแรกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มี.ค. นี้
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ที่ผ่านมาพุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งโดยนักลงทุนตอบรับเชิงบวกต่อตัวเลขเศรษฐกิจรวมถึงได้รับปัจจัยหนุนจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปิดในแดนลบโดยได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลง รวมถึงตัวเลข PMI ภาคการผลิตของหลายๆประเทศที่ปรับตัวลดลง
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนบวกได้ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ แตอ่ย่างไรก็ตามตลาดจับตาดูผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย
ค่าเงินบาทแกว่งตัวออกด้านข้าง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 32.27-32.40 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 49.59 เหรียญ/บาร์เรล ขยับลง 0.17 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากสหรัฐฯและกลุ่มโอเปกปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งขึ้น
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 1208.20 ดอลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 4.90 เหรียญ/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งขึ้นแม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะออกมาอ่อนแอ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
3 มี.ค. - ไทย: BIG (เดิมชื่อ SUN) กลับมาเทรดในกลุ่มพาณชย์ ไม่มี Ceiling & Floor
- ออสเตรเลีย: ธนาคารกลางประชุม
4 มี.ค. - จีน: HSBC China Composite PMI (ก.พ.)
- ยูโรโซน: Markit Manufacturing Composite PMI (ก.พ.)
- สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (ก.พ.)
5 มี.ค. - ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ก.พ.)
- สหรัฐ: รายงาน Beige Book
- ยูโรโซน: ECB ประชุม
6 มี.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตร (ก.พ.) (ตลาดคาดเพิ่ม 2.45 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนที่เพิ่ม 2.57 แสนราย)
- ยูโรโซน: 4Q14 GDP
8 มี.ค. - จีน: ดุลการค้า (ก.พ.)
10 มี.ค. -จีน: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
11 มี.ค. - ไทย: ประชุม กนง.
12 มี.ค. - เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ก.พ.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept. Tel: 02-646-9967, 02-646-9852