- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 02 March 2015 16:57
- Hits: 1470
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-/+) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA -81.72, NASDAQ -24.36, S&P -6.24, FTSE -3.07, CAC +40.86 และ DAX +74.47 ภายใต้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีทั้งบวกและลบ โดย (1) ประมาณการครั้งที่ 2 ตัวเลข GDP – 4Q/57 ขยายตัว 2.2% ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 2.6%
(2) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค – กพ. อยู่ที่ 95.4 ดีขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 93.6 แต่ต่ำกว่า 98.1 เมื่อมค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่มค.’47 และ (3) ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) - มค. เพิ่มขึ้น 1.7%MoM อยู่ที่ 104.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง และเป็นอีกหนึ่งสัญญาณแสดงการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัย
.....ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยหนุนจากผลประกอบการของภาคเอกชนที่ดีเกินคาด รวมถึงแอร์บัส และตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคข้างต้น
…..ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน เมย. +US$1.59 อยู่ที่ US$49.76 ต่อบาร์เรล ส่วนหนึ่งจากการซื้อเก็งกำไร หลังราคาลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ1 เดือน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมพลังงานลดการลงทุนในการผลิตน้ำมัน ซึ่งคาดช่วยลดความกังวลอุปทานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
......ราคาทองคำส่งมอบเดือน เม.ย. +US$3.0 อยู่ที่ US$1,213.1 ต่อออนซ์ ภายใต้การคาดการณ์ว่าเฟดยังไม่ใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน จากตัวเลข GDP – 4Q/57 ของสหรัฐฯ ข้างต้น
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -767 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -11,198 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
ทิศทางตลาด
ทิศทางตลาด : แกว่งตัว? คาดมีโอกาสเคลื่อนไหวทั้ง + / - โดยยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ จากต่างประเทศ ขณะที่ยังแนะติดตามสถานการณ์ในกรีซ โดยเฉพาะประเด็นต่อรองเพิ่มเติมก่อนหนี้จะครบกำหนดอีกครั้งประมาณมิย.’58 ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดฯ โดยเฉพาะต่อมาตรการรัดเข็มขัดซึ่งเป็นเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อกรีซ
.....ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับปัจจัยลบจากประเด็น Fund Flow เป็นลบมากขึ้น หลังต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่อง และทำให้ YTD เป็นขายสุทธิสะสม เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 11,000 ล้านบาท โดยยังแนะประเด็นการเริ่มใช้วงเงิน QE ของ ECB ตั้งแต่เดือนมี.ค. เป็นต้นไป (60,000 ล้านยูโร/เดือน ถึง กย.’59) ที่คาดเป็นปัจจัยหนุน Fund Flow ได้บ้าง ขณะที่ราคาน้ำมันยังมีความผันผวน คาดทำให้มีแรงเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น / ลดลง รวมถึงประเด็นความกังวลทิศทางเศรษฐกิจไทย หลังการเติบโตในเดือนมค. เป็นไปอย่างช้าๆ ทั้งการบริโภค การลงทุน และการส่งออก ทำให้มีความเป็นไปได้ที่หลายๆ หน่วยงานปรับลดประมาณการ GDP ปี’58 ลง จากเดิมที่ประมาณ 4.0 – 4 .5%
....โดยยังแนะติดตาม (1) การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ หลังเงินเฟ้อล่าสุดติดลบ รวมถึงกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) อนุมัติ
จัดสรรและโอนเงินเพิ่มทุนให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3 จำนวน 5,000 กว่ากองทุน กองทุนละ 1 ล้านบาท เริ่มมีค. และ (2) ประเด็นการเก็งกำไรผลประกอบการ 4Q/57 และเงินปันผล ที่อยู่ในช่วงสุดท้ายของการส่งงบการเงิน
.....ขณะที่การประชุม กนง. (11/3/58) หลังเรียกร้องให้มีลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 – 0.50% ซึ่งคาดหากมีการลดดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และหุ้นในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น PS และ QH
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.01 อยู่ที่ 2.00% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.57 อยู่ที่ 13.34
หุ้นแนะนำ : QH
ประเด็นที่ต้องติดตาม (2 - 6 มีค.’58)
2/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) รายได้ส่วนบุคคล - มค. (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย - กพ.(3) ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง - มค. (4) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต - กพ.
3/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์ค - กพ.
4/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน - กพ. (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้าย - กพ.(3) ดัชนี PMI ภาคบริการ - กพ. (4) สต็อกน้ำมัน
5/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วย – 4Q/57 (3) ยอดสั่งซื้อของโรงงาน - มค.
6/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร - กพ. (2) ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ - มค.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788