- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 02 March 2015 16:56
- Hits: 1190
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ภายใต้ความคาดหว้งเชิงบวกจากเรื่องของ Fund Flow ที่อาจไหลเข้า หลังจากที่ EU เริ่มใส่เม็ดเงิน QE, ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ย และยังคาดหมายว่า กนง. น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยยังเน้นการแนะนำตัวเลือกที่ปลอดภัย ซึ่งจ่ายเงินปันผลต่อเนื่อง อย่าง SPALI (FV@B 31.96) และ PTTGC (FV@B 67.50)
จีนลดดอกเบี้ยสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อ Fund Flow ไหลเข้า
ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยฯ เป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ ลงอีก 0.25% เหลือ 5.35% โดยมีผลตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 มี.ค. หลังจากที่ก่อนหน้า PBOC ได้เริ่มส่งสัญญาณใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ปี ผ่านการลดดอกเบี้ยฯ ครั้งแรก ในเดือน พ.ย. 2557 ลง 0.4% เหลือ 5.6% และตามมาด้วย วันที่ 5 ก.พ. 2558 ปรับลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย ลง 0.5% เหลือ 19.5% เนื่องจากมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนจากเศรษฐกิจในปี 2557 ขยายตัวเพียง 7.4% (ต่ำสุดในรอบ 24 ปี) และเช่นเดียวกับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจอื่นๆ ที่อ่อนแออย่างมาก กล่าวคือ เงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน ม.ค. อยู่ที่ 0.8% ต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 2552 และดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 49.9 (หดตัวต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 2)
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า PBOC น่าจะยังใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ผ่านการลดดอกเบี้ยฯ และลด RRR เพิ่มเติมอีกในอนาคต ดังนั้นจึงถือเป็นปัจจัยหนุนต่อสภาพคล่องของโลก หากพิจารณาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2557 จนถึงเดือน ม.ค. 2558 พบว่าปริมาณเงินในระบบของจีนเพิ่มขึ้นราว 3.4 ล้านล้านหยวน หรือราว 0.93% ต่อเดือน ซึ่งน่าจะดีตลาดหุ้นเอเซียและตลาดหุ้นไทย รวมถึงตลาดตราสารหนี้
ต่างชาติยังขายหุ้นไทย แต่กลับซื้อตราสารหนี้
ศุกร์ที่ผ่านมา แม้ว่ากระแสเงินทุนจากต่างชาติชะลอตัวลงบ้าง แต่นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ราว 118 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 76%) ซื้อสุทธิสูงสุดคือเกาหลีใต้ ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 แต่ลดลง 41% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 117 ล้านเหรียญฯ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย ที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 แต่ลดลงถึง 83% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 16 ล้านเหรียญฯ และ ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 12 ราว 9 ล้านเหรียญฯ (วันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 5 แสนเหรียญฯ) สวนทางกับไทยที่ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 แต่ลดลง 73% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 24 ล้านเหรียญฯ หรือ 767 ล้านบาท ขณะที่ตลาดในไต้หวันปิดทำการ
ในส่วนของประเทศไทย ปัจจัยกดดันในประเทศต่างๆทำให้นักลงทุนต่างชาติยังคงทยอยขายสุทธิหุ้นไทยออกมาต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 รวม 1.5 หมื่นล้านบาท แต่นักลงทุนกลุ่มนี้กลับซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้อย่างหนักถึง 9.6 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 7 วัน รวมกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท) เชื่อว่าแรงขายจากต่างชาติในตลาดหุ้นไทยยังคงเหลืออยู่ แต่ไม่มากแล้ว และยังมีปัจจัยหนุนจากการที่จีนลดดอกเบี้ย แต่อย่างไรก็ตามในระยะสั้นให้ระวังแรงขายจากพอร์ตโบรกเกอร์ที่มีสถานะตั้งแต่ต้นปีเป็นซื้อสุทธิรวมกว่า 6.6 พันล้านบาทและ อาจมีการขายสุทธิออกมาเพื่อลดพอร์ตการลงทุนในยามที่ตลาดมีความผันผวนสูง
ให้ความสนใจต่อ EPS Growth ปี 2558 ที่สูงกว่า 34%
ฝ่ายวิจัยรวบรวมข้อมูลผลประกอบการงวด 4Q57 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ จนถึงสิ้นเดือน ก.พ. พบว่า มีบริษัทรายงานงบฯ แล้วราวกว่า 440 บริษัท หรือคิดเป็น 75% ของจำนวนบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งจากตัวเลขที่ปรากฎออกมาพบว่าต่ำกว่าความคาดหมายค่อนข้างมา และเมื่อประเมินโดยภาพรวมคาดว่าเมื่อประกาศตัวเลขครบทั้งหมดกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในงวด 4Q57 น่าจะอยู่ที่ราว 8.5 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง 47% YoY ส่วนผลประกอบการงวดปี 2557 คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 7 แสนล้านบาท ลดลง 16.3% ซึ่งถือเป็นฐานกำไรที่ต่ำกว่าความคาดหมายเมื่อเทียบกับประมาณการเดิมทั้งปี 2557 ของฝ่ายวิจัยที่คาดว่ากำไรจะลดลงเพียง 2.9% YoY โดยหากพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำไรสุทธิลดลงมากที่สุดได้แก่ พลังงาน และปิโตรเคมี อย่างไรก็ตามช่วงที่ผ่านมานักวิเคระห์ ASP ก็ได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 2557 ลงไปรองรับแล้ว โดย พลังงาน -49% ตามมาด้วย ปิโตรเคมี -39%, ท่องเที่ยว-โรงแรม -24%, เกษตร -18%, ยานยนต์ -17%, ขนส่ง -15%, สื่อ-บันเทิง -11%, ส่งออกอาหาร -6%, ธนาคารพาณิชย์ -3% และ เหล็ก -2.5% ส่วนกลุ่มที่ถูกปรับเพิ่มประมาณการ ได้แก่กลุ่มประกันฯ 18%, ไอซีที +13%, ชิ้นส่วนฯ 6%, โรงพยาบาล 2.4% อสังหาริมทรัพย์ +1.8% และกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย คือ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง, ค้าปลีก-ค้าส่ง
สำหรับ ประมาณการงวดปี 2558 ฝ่ายวิจัยได้ทำการปรับปรุงประมาณการเช่นกัน โดยปรับเพิ่มจากประมาณการเดิม 3.5% หรือ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นทำให้ฐานกำไรใหม่อยู่ที่ 9.55 แสนล้านบาท แต่เมื่อคำนวนออกมาเป็นกำไรต่อหุ้น (EPS) พบว่าอยู่ที่ 101.92 บาท/หุ้น ลดลงจากประมาณการเดิมซึ่งอยู่ที่ 103.65 บาท แต่ก็เติบโต 33.6% YoY โดยกลุ่มที่มี EPS Growth ปี 2558 สูงสุด ได้แก่ กลุ่มขนส่ง 175% ตามมาด้วยพลังงาน 118% ปิโตรเคมี 95% สื่อ-บันเทิง 35%, ประกันฯ 34%, ชิ้นส่วนฯ 30%, ไอซีที 25%, ค้าปลีก 23% อาหาร 22% และยานยนต์ 22% เป็นต้น
ทั้งนี้ หากใช้ประมาณการกำไรใหม่ของปี 2558 คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะมี Expected PER ราว 15.6 เท่า ซึ่งยังเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศในกลุ่ม TIP กล่าวคือ อินโดนีเซีย Expected PER ราว 15.9 เท่า และ ฟิลิปปินส์ Expected PER สูงถึง 19.7 เท่า กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นไปที่หุ้นพื้นฐาน PER ต่ำ เงินปันผลสูง เช่น SPALI([email protected]), STPI([email protected]), PTTGC([email protected])
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล