WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     แม้ผลประกอบการงวด 4Q57 ต่ำกว่าคาด แต่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่น่าดีและเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคครัวเรือน เช่น MK, BEAUTY และคาดว่าตลาดน่าจะให้น้ำหนักต่อ EPS growth ตลาดปี 2558 จะสูงถึง 30% กลยุทธ์ยังเลือกเป็นรายหุ้นโดยเลือก M(FV@B70) และ SALEE([email protected]) เป็น Top picks

เงินเฟ้อและตลาดแรงงานสหรัฐอ่อนตัว...ตอกย้ำจำเป็นต้องใช้ดอกเบี้ยต่ำ
      แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวมากสุดแห่งหนึ่งของโลก แต่ล่าสุด ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเริ่มผันผวนบ้าง เช่น ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ สิ้นสุด 21 ก.พ. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 31,000 ราย อยู่ที่ 313,000 ราย (เป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์) และเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 11,500 ราย อยู่ที่ระดับ 294,500 ราย เช่นเดียวกับเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. ติดลบ 0.1% (จาก 0.8% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการติดลบอีกครั้งในรอบ 63 เดือน) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ Fed ที่ระดับ 2% อยู่มาก ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าสหรัฐยังจำเป็นต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยการเงินผ่อนคลายอีกระยะหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับการแถลงนโยบายของประธาน FED ในช่วงที่ผ่านมา และสอดคล้องกับผลการสำรวจ แนวโน้ม Fed Fund Futures ของ CME Group ต่อ ซึ่งมีผลสรุปว่าส่วนใหญ่ 69% ของผู้ตอบประเมินว่าการขึ้นดอกเบี้ยฯ ของ FED น่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกราวเดือน ต.ค. และมีส่วนน้อยคือ 48% องผู้ตอบที่คาดว่าจะสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ย เดือน ก.ย.
ทั้งนี้แม้ว่ายังมีนักเศรษฐศาสตร์บางคนยังมีความเห็นขัดแย้งจากข้างบนก็ตาม เช่น วานนี้ นายเจมส์ บูลลาร์ด (Fed สาขา เซนต์หลุยส์) แสดงความเห็นว่า Fed ควรเลิกใช้คำว่า patience ในการประชุมครั้งถัดไปเดือน มี.ค. พร้อมแนะให้ขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 2H58 เพราะเห็นว่าตลาดแรงงานมีการฟื้นตัวที่ชัดเจน และเชื่อว่าอัตราการว่างงานจะสามารถลดลงต่ำกว่า 5% ได้ในช่วง 2H58 (จาก 5.7% ในเดือน ม.ค.) แต่เชื่อว่าน่าจะมีน้ำหนักน้อยลง


   ขณะที่ปัญหาประนอมหนี้ของกรีซ เป็นประเด็นที่ยังไม่สามารถตัดทิ้ง แม้ว่าจะมีการยืดอายุออกไปอีก 4 เดือน จากที่จะครบกำหนดในสิ้นเดือน ก.พ. แต่ภายในเดือน เม.ย. กรีซจะต้องเสนอร่างมาตรการปฎิรูปเศรษฐกิจ รวมทั้งแผนการคลัง (แสดงรายรับและรายจ่ายอย่างชัดเจน) เพื่อให้เจ้าหนี้มั่นใจต่อความสามารถในการชำระหนี้คืน ขณะที่แผนที่กรีซเสนอล่าสุดค่อนข้างจะหย่อนยานและจับต้องได้ยาก ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดพบว่า ภายในปี 2558 กรีซจะต้องชำระหนี้คิดเป็นมูลค่าราว 2.25 หมื่นล้านยูโร (2.54 หมื่นล้านเหรียญฯ) หรือ 12% ของ GDP โดยแบ่งเป็นหนี้ที่ต้องชำระให้ IMF 8.7 พันล้านยูโร สหภาพยุโรป 6.7 พันล้านยูโร ส่วนที่เหลือเป็นของเจ้าหนี้รายอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยที่กลับมากดดันตลาดอีกครั้ง

ต่างชาติขายหุ้นไทยต่อเนื่อง แต่ซื้อหุ้นกู้ หนุนเงินบาทแข็งค่า
      วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 5 แต่ลดลงจากวันก่อนหน้า 9% เหลือราว 487 ล้านเหรียญฯ โดยที่ยังคงเป็นการซื้อสุทธิใน 4 ประเทศเดิม คือ ไต้หวันซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 13 ราว 281 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 39% จากวันก่อนหน้า) ส่วนเกาหลีใต้ซื้อเป็นวันที่ 4 ราว 197 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 24%) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 5 และเพิ่มขึ้น 57% จากวันก่อนหน้า อยู่ที่ราว 97 ล้านเหรียญฯ และฟิลิปปินส์ ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10 แต่เบาบางเพียงราว 5 แสนเหรียญฯ เท่านั้น กลับกัน ไทยยังคงขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 10 ราว 88 ล้านเหรียญฯ (2.9 พันล้านบาท, ลดลงจากวันก่อนหน้า 46%)
เป็นที่สังเกตว่า แรงขายต่างชาติส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการลดน้ำหนักตลาดหุ้นไทย เป็น underweight ตามคำแนะนำของ เครดิตสวิส (Credit Suisse) แต่สวนทางกับทางฝั่ง อเบอร์ดีน ที่ยังให้น้ำหนักตลาดหุ้นไทย overweight แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยถึง 4.0 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน รวม 8.5 พันล้านบาท) ซึ่งเป็นเหตุหลักที่หนุนให้ เงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 32.38 บาทต่อเหรียญฯ (แข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือน)

SALEE เป็นหุ้น Growth Stock+ปันผลเด่น
        อีกหุ้นที่ยังแนะนำคือ SALEE แม้ล่าสุดรายงานงบงวด 4Q57 มีกำไรงวด 4Q57 ใกล้เคียงคาด อยู่ที่ 22 ลบ. (-52 yoy, -11% qoq) จากเศรษฐกิจที่ยังชะลอ + แผนเพิ่มกำลังการผลิต ช่วงแรกยังมี Occupancy rate ต่ำ แต่คาดว่าแนวโน้มกำไรปีนี้จะ กลับมาเติบโตที่ดีอีกครั้งกว่า 30% จากการเพิ่มกำลังการผลิตธุรกิจชิ้นส่วนพลาสติกราว 30% จากเดิม ซึ่งมาจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากทั้งลูกค้ากลุ่มเดิม และลูกค้าใหม่ภาครัฐซึ่งคาดจะเห็นความชัดเจน 2H58 โดยสถานการณ์ต้นปี - ปัจจุบัน เริ่มเห็นสัญญาณบวกของการสั่งซื้อมากขึ้นจากลูกค้ากลุ่มเดิม โดยมี utilisation rate เพิ่มขึ้นจาก 70% เป็น 75% (เครื่องจักรเดิม) และจาก 30% เป็น 35% (เครื่องจักรใหม่) นอกจากนี้ ในส่วนของกำไรสุทธิจะมีการบันทึกกำไรพิเศษไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาท จากการนำบริษัทลูก สาลี่ พริ้นติ้ง เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และทำให้กำไรสุทธิปีนี้เพิ่มขึ้นกว่า 80%


ล่าสุด บริษัทประกาศที่หนุนราคาหุ้นระยะสั้นคือ 1) จ่ายปันผล 0.35 บ หรือ 4.4% (ขึ้น XD 7 พ.ค.) 2) แตกพาร์จาก 1 บาทเหลือ 0.25 บาท/หุ้น 3) แผนการนำบริษัทลูก SLP เข้าตลาด มีความคืบหน้าโดย กลต นับ 1 แล้ว และจะซื้อขายได้ทันปลายเม.ย. นี้ พร้อมให้สิทธิผู้ถือหุ้น SALEE ซื้อ SLP อัตราส่วน 3 SALEE : 1 SLP ตามที่เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้

การบริโภคครัวเรือนฟื้นตัว สะท้อนเศรษฐกิจกระเตื้องผ่าน M/BEAUTY
      ท่ามกลางการรายงานผลประกอบการงวด 4Q57 ที่น่าผิดหวัง แต่ก็เป็นที่สังเกตว่าผลประกอบการของบริษัทธุรกิจมีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค ซึ่งน่าจะเป็นสะท้อนการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศผ่านการบริโภคภาคครัวเรือนขนาดกลางได้ระดับหนึ่ง แม้ว่าผู้บริโภคในระดับรากหญ้า จะยังประสบปัญหา (เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ) ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะราคาข้าว น้ำตาล และยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ธุรกิจฟื้นตัว และเป็นดัชนีบ่งชี้การบริโภคภาคครัวเรือน (consumption คิดเป็น 50%ของ nominal GDP) ทั้งนี้สะท้อนจากธุรกิจจำหน่ายสุกี้ของ M(FVB@70) ในงวด 4Q57 พบว่า ยอดขายสุกี้ MK สาขาเดิม (SSSG) ขยับเพิ่มขึ้นเป็นบวก 1% หลังจากที่ SSSG ติดลบต่อเนื่อง 8 ไตรมาส (ปี 2556-2557)และ ติดลบมากสุด 9% ในงวด 4Q57 และยอดขายอาหารญี่ปุ่น yayoi พบว่า SSSG สูงถึง 7% หลังจากที่ติดลบ 4 ไตรมาส และติดลบสูงสุด 10%(ปี 2557) และน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่องในปี 2558 จึงทำให้มีการปรับเพิ่มประมาณการ และ Fair Value ขึ้น ดังปรากฏใน Equity Talk 25 ก.พ. 2558


และเช่นเดียวกับ BEAUTY (FV@B50)(ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอาง เน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-ล่างที่ไม่ยึดติด brand name) จากการรายงานงบ 4Q57 พบว่าสามารถทำยอดได้สูงสุด 105 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้าเกือบ 30% โดยการผลักดันของยอดขายสาขาเดิมที่เติบโตกว่า 10% ติดต่อกัน 2 ไตรมาส ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายบริษัทที่เร่งเสริมการตลาด ผ่านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) และ ยังได้รับแรงหนุนจากฤดูกาลท่องเที่ยวทำให้ยอดขายแก่นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ (มีสัดส่วน 10-15% ของยอดขายรวม) และคาดว่ายังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2558 และเป็นผลทำให้นักวิเคราะห์ ASP ปรับประมาณการกำไรปี 2558-2559 ขึ้นจากเดิม 8% พร้อมกับปรับเพิ่ม Fair Value จากเดิม 33 บาท เป็น 50 บาท (โดยเป็นการปรับเพิ่มอัตราการเติบโตในระยะยาวจาก 3.5 % เป็น 5%) แต่เนื่องจากราคาหุ้นปรับขึ้นแรงมากวานนี้ นักลงทุนที่ต้องการลงทุนใน BEAUTY แนะนำให้ทยอยสะสมเมื่อราคาอ่อนอ่อนตัวลง ติดตามอ่านรายละเอียดใน Equity Talk วานนี้


และทางด้านของผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง พบว่า SSSG ส่วนใหญ่มีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นลำดับ เริ่ม BIGC (ถือ : FV@B 240) SSSG เคยลงไปทำจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 5 ปี ที่ติดลบ4.7%yoy ในงวด 4Q56 จากปัญหาการเมือง ก่อนที่จะค่อยๆ ฟื้นตัวติดลบน้อยลง และพลิกกลับขึ้นมาเป็นบวกได้ในงวด 4Q57 ที่ 0.5% สะท้อนยอดขายและกำไรทำจุดสูงสุดของปี ตามมาด้วย ตามมาด้วย CPALL (ซื้อ : FV@B 53) SSSG เริ่มติดลบลงเหลือ -3.6 ในงวด 4Q57 หลังจากที่ติดลบมา -4.5% งวด 3Q57 ซึ่งยังล่าช้ากว่า BIGC เนื่องจากการเปิดสาขาในเชิงรุก ส่งผลกระทบยอดขายสาขาเดิมเนื่องจากมีการแย่งลูกค้ากันเอง แต่ก็เชื่อว่าทิศทางกำไรและการเติบโตจะเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่งวด 2Q58 เป็นต้นไป โดย CPALL วางเป้าหมายยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้น 3-5% yoy
และ MAKRO (ถือ : FV@B 42) เนื่องจากเน้นธุรกิจ โรงแรม และภาคท่องเที่ยว ทำให้ SSSG ยังเป็นบวก แต่ชะลอตัว จากระดับ 7-10% เหลือ 4% ในงวด 4Q57 ฟื้นตัวจากที่ต่ำสุด 3.6% ในงวด 3Q57


ส่วน ROBINS (ซื้อ : FV@B 64) แม้ SSSG จะยังคงหดตัว แต่ถือว่าชะลอตัวลง (จากที่เคยติดลบสูงสุด -7% ในงวด 2Q57 เหลือติดลบ 6% ในงวด 4Q57 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปิดห้างของคู่แข่งตามหัวเมืองใหญ่ กระทบต่อยอดขายสาขาเดิม) ขณะที่ HMPRO (ซื้อ: FV หลัง XD@B 9.2) SSSG ยังเป็นบวก แต่แกว่งตัวสูงระหว่าง 2%-7% แต่ก็ยังถือว่ารักษามาตรฐานการขยายตัวได้ต่อเนื่องทุกไตรมาส

EPS Growth ตลาดปีนี้ จะเติบโต 30% หลังหดตัว 13.9% ปี 2557
       ยังต่อจากวานนี้ การรายงานผลประกอบการงวด 4Q57 ของบริษัทจดทะเบียน สิ้นสุดวานนี้ (26 ก.พ.) มีการรายงานแล้วราว 416 บริษัท หรือคิดเป็น 65% ของทั้งตลาด (SET+MAI) ดังที่กล่าวไปแล้วใน Market Talk เมื่อวานนี้ว่า ในเบื้องต้น กำไรสุทธิของตลาดฯ งวด 4Q57 น่าจะลดลงอยู่ที่ราว 1.1 แสนล้านบาท ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน (ธ.ค. 2557) ว่าจะอยู่ที่ 1.95 แสนล้านบาท หรือลดลงจากประมาณการครั้งก่อนราว 47% และลดลง 37% เมื่อเทียบกับงวด 4Q56 (yoy) ส่งผลให้ประมาณการกำไรทั้งปี 2557 อยู่ที่ 7.2 แสนล้านบาท ลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 8.1 แสนล้านบาท หรือลดลง 13.8% ทั้งนี้ สาเหตุจากผลการดำเนินงานที่ตกต่ำเกิดจาก กลุ่มหลัก ๆ คือ 1) กลุ่มพลังงาน ปรับลดลงจากประมาณครั้งก่อนมากถึง 43% (จาก PTT ปรับลดประมาณการปี 2557 ลงกว่า 44% ตามมาด้วย PTTEP ปรับลดประมาณการปี 2557 ลงถึง 62% BANPU ปรับลดประมาณการปี 2557 ลง 12% ) 2) กลุ่มเหล็ก ปรับลดประมาณการกำไรปี 2557 ลงถึง 37% หลักๆ มาจาก TSTH ผลประกอบการงวด 3Q57/58 (ต.ค.-ธ.ค. 57) ขาดทุนมากกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดมาก BSBM ประกอบการงวด 4Q57 พลิกมาเป็นขาดทุนครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ตกต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาด 3) กลุ่มปิโตรเคมี มีการปรับลดประมาณการกำไรปี 2557 ลงถึง 38% หลักๆ มาจาก PTTGC ปรับลดประมาณการปี 2557 ลงกว่า 30% IVL ปรับลดประมาณการปี 2557 ลงถึง 50% 4) กลุ่มส่งออกอาหาร ประมาณการกำไรปี 2557 คาดว่าจะลดลง 8% หลักๆ มาจาก CPF ปรับลดประมาณการปี 2557 ลงถึง 28% KSL ปรับลดประมาณการปี 2557 ลง 34% 5) กลุ่มเกษตร ประมาณการกำไรปี 2557 คาดว่าจะลดลง 8.6% หลักๆ มาจาก GFPT ผลการดำเนินงานงวด 4Q57 ลดลงมากกว่าคาด 6) กลุ่มยานยนต์ มีการปรับลดประมาณการกำไรปี 2557 ลง 11% มาจาก STANLY เป็นหลัก 7) กลุ่มท่องเที่ยว ลดลง 18% ผลจาก CENTEL ปรับลดประมาณการปี 2557 ลง 16% จากผลกระทบของปัญหาการเมืองในช่วงต้นปีที่ผ่านมา 8) กลุ่มบันเทิง แม้มีการปรับลดผลประกอบการปี 2557 ลงจากประมาณการเดิมไม่มากเพียง 0.4% แต่พบว่าทุกรายประสบภาวะชะลอตัวตามเศรษฐกิจ ขณะที่มีต้นทุน digital TV ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ MCOT นอกจากเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแล้ว ยังสูญเสียรายได้สัมปทานจาก TRUE Vision และ 9) กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ประกาศงบเสร็จสิ้นตั้งแต่ ม.ค. 2558 ซึ่งกำไรกลุ่มปี 2557 ต่ำกว่าคาด 3% โดย KBANK กำไรลดลง 6.1%, BBL ลดลง 9.6%, TCAP ลดลง 5.7% และ KKP ลดลง 10% ส่วน SCB และ TISCO กำไรลดลงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายตามฤดูกาล ส่วนปี 2558 ปรับประมาณการกลุ่มฯ ลง 6.1% หลัก ๆ เป็นการปรับลดกำไรของ KKP ลง 27.3% ตามมาด้วย BAY 7.4%, SCB 7.1%, KBANK 6.8%, BBL 6.4%, TCAP 4.7%, TISCO 3.8%, TMB 3.4% และ KTB 2.6% ส่วนใหญเป็นการปรับลดสมมติฐานการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และการประเมิน Cost to income ratio ที่มองไว้ดีเกินไป

ส่วนอุตสาหกรรมที่เหลือ ผลการดำเนินงานเป็นไปตามคาด หรือ ดีกว่าคาดเล็กน้อย ได้แก่
กลุ่มค้าปลีก โดยพบว่ายอดขายสาขาเดิม (SSSG) ยังคงอ่อนตัว แต่คาดปี 2558 จะกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังต้นทุนน้ำมันลดลง ช่วยลดผลกระทบค่าครองชีพที่สูง โดยเฉพาะ ROBINS
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นไปตามคาด ยกเว้น SENA ที่ปรับเพิ่มประมาณการปี 2557-2558 ขึ้นจากเดิมปีละ 15% เนื่องจากการโอนฯคอนโดฯ และแนวราบได้สูงกว่าคาดการณ์ ส่งผลให้รายได้รวมปี 2557 สูงกว่าเป้าหมาย และในปี 2558 ยังเติบโตต่อเนื่อง จากแผนการเปิดโครงการใหม่มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท
กลุ่มขนส่ง : สายการบิน คาดว่าผลประกอบการกลุ่มอาจจะตกต่ำกว่าคาด ซึ่งเกิดจาก THAI ที่คาดว่าจะต้องมีการตั้งสำรองฯ การด้อยค่าสินทรัพย์เพิ่ม 1 หมื่นล้านบาทในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการ THAI ติดลบในปี 2558 อีกปีหนึ่งจากก่อนหน้าที่คาดว่าจะพลิกมาเป็นบวก
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง แม้โดยรวมกำไรกลุ่มจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่หากพิจารณารายตัวพบว่ามีการปรับลดประมาณการของ DRT ปี 2557-58 ลง ปีละ 10% เนื่องจากยอดขายและอัตรากำไรที่ลดลงมากตามกำลังซื้อของผู้บริโภคในต่างจังหวัดที่ลดลง ตรงข้ามปรับเพิ่ม TASCO ปี 2558 ขึ้น 28% เพราะส่วนต่างของราคายางมะตอยและน้ำมันดิบที่สูงกว่าปกติ รวมทั้งการเร่งสร้างและปรับปรุงถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
ในเบื้องต้นคาดว่ากำไรปี 2557 หลังการปรับปรุงน่าจะอยู่ที่ 7.2 แสนล้านบาท จะหดตัวลง 9% จากปี 2556 (กำไรสุทธิปี 2556 อยู่ที่ 7.88 แสนล้านบาท) ขณะที่ปี 2558 คาดว่า กำไรสุทธิ มีแนวโน้มจะเพิ่มจากประมาณการเดิม 9.45 แสนล้านบาท จะมีอัตราการเติบโตสูงถึง 31% (กำไรสุทธิต่อหุ้นหรือ EPS น่าจะอยู่ที่ 103.68 บาท ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปัจจุบันมี Current PER ที่สูง 19.2 เท่า แต่หากใช้ประมาณการกำไรปี 2558 คาดว่าจะมี Expected PER ราว 15.36 เท่า ซึ่งยังเป็นระดับที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม TIP กล่าวคือ อินโดนีเซีย Expected PER ราว 15.9 เท่า และ ฟิลิปปินส์ Expected PER สูงถึง 19.7 เท่า กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นไปที่หุ้นพื้นฐาน PER ต่ำ เงินปันผลสูง เช่น SPALI([email protected]), STPI([email protected]), PTTGC([email protected])

ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!