- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 26 February 2015 15:50
- Hits: 1354
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +15.38, NASDAQ -0.99, S&P -1.62, FTSE -14.25, CAC -4.22 และ DAX +4.53 ภายใต้ปัจจัยหนุน (1) ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎร เป็นวันที่ 2 คล้ายคลึงกับที่แถลงเมื่อวานว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับแนวโน้มการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และ (2) ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ - มค. ลดลง 0.2% อยู่ที่ระดับ 481,000 ยูนิต ซึ่งดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 470,000 ยูนิต เป็นสัญญาณที่ดีว่ายอดขายบ้านมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในปีนี้ หลังจากประสบภาวะซบเซาในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวนภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของภาคเอกชนสหรัฐฯ เช่น บริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปี’58 เนื่องจากผลกระทบของเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า
.....ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยกดดันจากหุ้นกลุ่มธนาคารของกรีซ ที่มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินและการคลังภายในประเทศ หลัง IMF ระบุมาตรการปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซได้ยื่นต่อที่ประชุมยูโรโซนและทำให้กรีซได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเงินกู้ออกไปอีก 4 เดือนนั้น ยังไม่ได้ระบุเนื้อหาที่เจาะจงมากพอ และไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกรีซมีความตั้งใจที่จะดำเนินมาตรการปฏิรูปในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
…..ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน เมย. +US$1.71 อยู่ที่ US$50.99 ต่อบาร์เรล แม้สหรัฐฯ เปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบล่าสุด เพิ่มขึ้นถึง 8.4 ล้านบาร์เรล (สูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่ม 4 ล้านบาร์เรล) อยู่ที่ 434.1 ล้านบาร์เรล แต่ถูกชดเชยด้วยประเด็นบวกหลัง รมต.น้ำมัน ของซาอุดิอาระเบียระบุอุปสงค์น้ำมันกำลังขยายตัว ความผันผวนในตลาดเริ่มลดลง และคาดตลาดมีการปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพ
......ราคาทองคำส่งมอบเดือน เม.ย. +US$4.2 อยู่ที่ US$1,201.5 ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง หลังประธานเฟด ส่งสัญญาณในแถลงการณ์วันที่ 2 ว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -5,303 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -7,571 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
(-) กระทรวงพาณิชย์ฯ เปิดเผยตัวเลขส่งออก – มค. ลดลง 3.46% สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.55% และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ตามทิศทางสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ชะลอตัว โดยประมาณกลางมีค.’58 มีแนวโน้มทบทวนเป้าหมายส่งออกปี’58 เดิมกำหนดไว้ที่ 4.0%
ทิศทางตลาด
ทิศทางตลาด : ผันผวน? คาดมีโอกาสปรับลง ภายใต้ที่ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ๆ ถ้อยแถลงประธานเฟดวันที่ 2 ยังคงส่งสัญญาณเดิม โดยยังไม่มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยในการประชุมนโยบายของเฟดช่วง 2 ครั้งหน้า (เมย. และกค.) ขณะที่สถานการณ์ในกรีซ คาดการขยายระยะเวลาออก 4 เดือน เป็นปัจจัยหนุนในระยะสั้น ขณะที่คาดมีประเด็นต่อรองเพิ่มเติมหลังจากหนี้ก่อนที่จะครบกำหนดประมาณมิย.’58 ซึ่งเป็นประเด็นที่แนะให้ติดตามหลังจากนี้ไป
.....ทางด้านประเด็นในประเทศ แม้ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ๆ แต่คาดน้ำหนักจากประเด็น Fund Flow เป็นลบมากขึ้น หลังล่าสุดต่างชาติขายสุทธิกว่า 5,300 ล้านบาท และทำให้ YTD เป็นขายสุทธิสะสม เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 7,500 ล้านบาท โดยยังแนะประเด็นการเริ่มใช้วงเงิน QE ของ ECB ตั้งแต่เดือนมี.ค. เป็นต้นไป ที่คาดเป็นปัจจัยหนุน Fund Flow ได้บ้าง ขณะที่คาดอาจมีแรงเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มพลังงานหลังราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น และยังแนะติดตาม (1) การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ หลังเงินเฟ้อล่าสุดติดลบ และ (2) ประเด็นการเก็งกำไรผลประกอบการ 4Q/57 และเงินปันผล ในช่วงสิ้นเดือนกพ.
.....รวมถึงการประชุม กนง. (11/3/58) หลังเรียกร้องให้มีลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 – 0.50% ซึ่งคาดหากมีการลดดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และหุ้นในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น PS และ QH
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 1.97% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.15 อยู่ที่ 13.84
หุ้นแนะนำ : SEAFCO
ประเด็นที่ต้องติดตาม (26 - 27 ก.พ.’58)
26/2/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) - มค. (3) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน - มค.
27/2/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ประมาณการครั้งที่ 2 ของ GDP – 4Q/57 (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก - กพ. (3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้าย - กพ. (4) ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย(pending home sales) - มค.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788