- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 February 2015 16:26
- Hits: 2002
บล.บัวหลวง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
มุมมองตลาด
ความเสี่ยงตลาดหุ้นทั่วโลกที่สูงขึ้นจากจากกรีซที่ต้องการต่อรองหนี้กับเจ้าหนี้และต้องการลดหย่อนเงื่อนไขเงินกู้ยืม อีกทั้งข้อมูลทางเศรษฐกิจของทั้งยุโรปและเอเชียที่ชะลอตัว ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกมีความผันผวน ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยยังคงเคลื่อนไหวไปตามปัจจัยภายนอกประเทศ สัญญาณทางเทคนิคชี้ว่าดัชนีแกว่งตัวอยู่ในกรอบหรือ Sideway ดังภาพ ปัจจุบันมูลค่าตลาดที่ค่อนข้างสูงทำให้ตลาดมีความผันผวน ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยซื้อขายด้วยประมาณมูลค่า PER ปี 2558 ที่ 15 เท่า อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยขึ้นไปสูงสุดไม่เกินระดับ 15-16 เท่า เว้นแต่กรณีเกิดมีกระแสเงินลงทุนไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยอย่างมาก ก็อาจส่งผลให้ตลาดทะลุแนวต้านสำคัญขึ้นไปได้ ปัจจุบันเรายังไม่พบสัญญาณดังกล่าว ส่วนจุดที่เราพิจารณาว่าตลาดจะเปลี่ยนเป็นลงหรือไม่นั้น เราจะใช้แนวรับหลักหรือเส้นค่าเฉลี่ยเข้ามาช่วย เราให้แนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน 1590 จุด สัปดาห์นี้นักลงทุนนักลงทุนรอดูความคืบหน้าของการเจรจาหนี้ประเทศกรีซ ข้อมูลทางเศรษฐกิจจากทั้งยุโรปและเอเชีย รวมถึงผลประกอบการไตรมาส 4 ของบริษัทจดทะเบียนในไทย
สรุปแนวโน้มตลาด: สรุปแนวโน้มตลาด: เราคาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1590 - 1620 จุด กลยุทธ์ทางเทคนิค " แนะนำเลือกลงทุนหุ้นที่เกิดสัญญาณซื้อได้แก่ CPF STA TH แนะนำ " ขาย " หุ้นที่มีสัญญาณอ่อนกว่าตลาด ได้แก่ " KBANK ROJNA THCOM "
ธนรัตน์ อิศรกุล Tel. (662) 618-1334
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด
หอฯภูธรผวาฟองสบู่ หวั่นซ้ำรอยคอนโดฯล้น/อุดรฯวอนดีเวลอปเปอร์เบรกแผนจัดสรรเร่งสกัด
คอนโดฯล้นตามหลอน อสังหาฯหัวเมืองหลักติดเบรก ชะลอแผนพัฒนาบ้านแนวราบ หอฯอุดรนำร่องจับเข่าทุนท้องถิ่น ขอถอนคำขออนุญาตจัดสรรเดิม ที่ค้างพิจารณา 5-6 พันหน่วย สกัดฟองสบู่ ชี้บ้านค้างขายเหลือ 7-8 พันหน่วย ด้านชลบุรีเอกซเรย์ด่วน เผยบ้านเดี่ยวย่านศรีราชา-พัทยา ยอดคืนอื้อ ขอนแก่นชี้แบงก์ไฟแดงทั้งสินเชื่อโครงการทุนท้องถิ่น ตีกลับคำขอสินเชื่อลูกบ้านเกือบครึ่ง (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ)
ส่งออกเครียดบาทแข็งทุบออร์เดอร์ใหม่
บาทแข็ง-ค่าเงินคู่ค้าอ่อนส่อเค้าป่วนยาวทุบออร์เดอร์ไตรมาส 1 วูบ กลุ่มอาหาร-เกษตร โดนหนักสุด ข้าวชี้แข็งค่าทุก 20 สตางค์ทำราคาแพงขึ้น 2 ดอลล์/ตัน ยิ่งแข่งยาก รับคำสั่งซื้อต้องคิดหลายตลบ "ยาง-มันสำปะหลัง" เจอลูกค้าใช้ราคาคู่แข่งที่ต่ำกว่ามากดรับซื้อ "ไก่-การ์เมนต์" เลิกขายสกุลยูโร หวั่นขาดทุนอ่วม "อัญมณี-รถยนต์" ผวาวืดเป้า สภาหอฯยังมั่นใจแบงก์ชาติเอาอยู่ "พาณิชย์" ขยับปรับลดเป้าส่งออก "สมภพ" จี้ไทยเลิกเป็น "จับกัง อีโคโนมี" แนะเร่งรายได้บริการแทนส่งออก (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ)
แก้จน7หมื่นล. คลังชงเติมเงินกองทุนหมู่บ้าน คสช.ขอถกมาตรการกระตุ้นศก.
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในเร็วๆ นี้ คือ การเติมเงินให้กองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ 7 หมื่นกว่าแห่ง เป็นเงินประมาณ 7 หมื่นล้านบาท การอัดฉีดเงินผ่านกองทุนหมู่บ้านถือเป็นมาตรการสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล เพราะเม็ดเงินจะกระจายไปทั่วประเทศ ถึงมือผู้ที่มีรายได้น้อยได้เงินไปประกอบอาชีพหรือลงทุน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นบรรเทาความเดือดร้อนได้ (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)
เอกชนกระทุ้งกนง.หั่นดอกเบี้ย 0.5% กดค่าเงินบาทอ่อนอุ้มส่งออก
ส่งออกไทยสะดุดถูกต่อรองราคาหนักหลังเงินยูโรอ่อนยวบ เอกชนหวัง กนง.ลดดอกเบี้ย 0.5% นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ผลิตและส่งออกที่พึ่งพิงตลาดสหภาพยุโรปหรืออียู หลายรายเริ่มขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับคำสั่งซื้อเดิมหลังเงินยูโรอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่วนคำสั่งซื้อใหม่ขณะนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถรับได้เพราะถูกต่อรองราคา (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)
'สแตนเลย์' ห่วงยานยนต์ฟื้นช้า แจงกำลังซื้อเดือนแรกทรงตัว
"สแตนเลย์" รับไม่มั่นใจยานยนต์ฟื้น หลังเดือน ม.ค. ยอดขายยังทรงตัว บวกกำลังซื้อยังไม่ฟื้น แต่มั่นใจระยะยาวยังเติบโตต่อเนื่องตามค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา 5-10% ต่อปี ด้านโบรกแนะรอดูสัญญาณช่วงไตรมาส 2 หากกำลังซื้อในประเทศและตัวเลขส่งออกฟื้นตัวตามคาด มั่นใจกำไรโตเกิน 10% (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ Tel. (662) 618-1330-1
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
รายงานวันนี้
หุ้น: IVL คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 28.00
รายงานขาดทุนสุทธิในไตรมาส 4/57 เท่ากับ 953 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น YoY และพลิกกลับจากกำไรสุทธิในไตรมาส 3/57
สาเหตุหลักของการขาดทุนสุทธิมาจากการขาดทุนของสินค้าคงคลัง
คาดกำไรหลักไตรมาส 1/58 ของ IVL จะปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ หนุนโดยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นและส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวดีขึ้น
แนวโน้มการเติบโตของกำไรต่อเนื่องไปในไตรมาส 1/58 น่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นในระยะสั้น
นักวิเคราะห์: สุพพตา ศรีสุข, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: BCP คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 37.00
BCP รายงานขาดทุนสุทธิไตรมาส 4/57 ที่ 2,489 ล้านบาท พลิกจากกำไรสุทธิในไตรมาส 4/56 และ 3/57 ซึ่งขาดทุนน้อยกว่าที่เราและตลาดคาด 14%
ส่วนกำไรหลักอยู่ที่ 1,800 ล้านบาท พลิกฟื้นทำกำไร YoY และเติบโต 26% QoQ โดยมีปัจจัยหนุนจากค่าการกลั่นตลาด ปริมาณน้ำมันดิบเข้ากลั่น ค่าการตลาดค้าปลีก และส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต่างปรับตัวขึ้นทั้งหมด
คาด BCP จะสามารถคงแนวโน้มการเติบโตของกำไรหลักได้ทั้ง YoY และ QoQ ได้ในไตรมาส 1/58 อีกทั้งยังคาดจะพลิกมาทำกำไรสุทธิได้ในไตรมาสดังกล่าว
เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ที่ 5,768 ล้านบาทไม่เปลี่ยนแปลง
เราเชื่อว่าไตรมาสที่ย่ำแย่ที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว และมองว่าแนวโน้มกำไรของ BCP น่าจะแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี
นักวิเคราะห์: สุพพตา ศรีสุข, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: ROBINS คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 58.00
ROBINS รายงานกำไรไตรมาส 4/57 ที่ 595 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% YoY และ 69% QoQ
ยอดขายเติบโต 2% YoY เป็น 6.7 พันล้านบาท ในขณะที่ยอดขายสาขาเดิมหดตัว 6.1% ในไตรมาส 4/57 ตามคาด
ยอดขายสาขาเดิมคาดยังทรงตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 และจะเริ่มขยายตัวในครึ่งหลัง
เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2558 และ 2559 ขึ้น ส่งผลให้ราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2558 พิ่มขึ้นเป็น 58 บาทจาก 55 บาท
เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเข้าซื้อสะสมหุ้น ROBINS และยังคงแนะนำ ซื้อ
นักวิเคราะห์: ไชยธร ศรีเจริญ, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
กลุ่ม: ธนาคาร คำแนะนำ: เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ราคาเป้าหมาย (บาท): -
แนวโน้มในเดือนม.ค.ค่อนข้างอ่อนตัว โดยมีเพียงแค่ BAY และ KBANK ที่รายงานสินเชื่อเติบโตแข็งแกร่ง MoM ที่ 23.9% และ 1.1% ตามลำดับ ส่วนสินเชื่อธนาคารเน้นกลุ่มรายย่อย (TISCO, TCAP และ KKP) อาจหดตัวไตรมาส 1/58
เราคาดสินเชื่อรวมไตรมาส 1/58 จะเติบโตราว 3% QoQ และมองว่าจะเติบโต 6% สำหรับทั้งปี 2558 (ไม่รวมดีลการควบรวม BAY และ BTMU)
เราคาดธนาคารเน้นกลุ่มสินเชื่อ SME จะมีผลประกอบการที่ค่อนข้างดีตลอดปี 2558
ธนาคารขนาดใหญ่ซึ่งเน้นสินเชื่อบรรษัทเช่น BBL, KTB, KBANK และ SCB คาดจะได้ประโยชน์จากการปล่อยสินเชื่อจำนวนมากสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของทางภาครัฐมากที่สุดใน 2H58
เรายังคงคำแนะนำ เพิ่มน้ำหนักการลงทุน กลุ่มธนาคาร และชื่นชอบ KBANK และ KTB มากสุด
นักวิเคราะห์: สุวัฒน์ บำรุงชาติอุดม, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์