- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 18 February 2015 17:06
- Hits: 1550
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
หากปรับฐานตลาดหุ้นไทยยังมีอยู่ คาดว่าน่าจะเป็นการขายหุ้นทำกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เช่นหุ้นกลุ่มลิสซิ่ง, อสังหาฯ, โรงพยาบาล ตรงข้ามแนะให้ถือหุ้นปันผลเด่น AIT(FV@B53) และ SPALI(FV@B 31.96) ราคาหุ้นยัง Laggards
อินโดนำร่องลดดอกเบี้ย ตอกย้ำนโยบายการเงินผ่อนคลายยังจำเป็น
ท่ามกลางเงินเฟ้อโลกที่ฟื้นตัวล่าช้า และ เงินเฟ้อชะลอตัวตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดต่ำลง ทำให้การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายยังจำเป็น และ ถือเป็นปัจจัยบวกหลักที่จะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นตลาดหุ้นโลกได้ โดย ล่าสุดพบว่า อังกฤษ รายงานเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. ลดลงมาเหลือ 0.3% เทียบกับ 0.5%ในเดือนธ.ค. 2557 และชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 (ต่ำสุดในรอบกว่า 50 ปี) ทำให้คาดว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) น่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยฯ ล่าช้าจากเดิมที่คาดไว้ในช่วงกลางปี 2558เป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2558 หรือ ใกล้เคียงกับสหรัฐ
ตามมาด้วย ธนาคารกลางอินโดนีเซีย ได้สร้างความประหลาดใจต่อตลาด โดยวานนี้ได้ประกาศลดดอกเบี้ยฯ 0.25% เหลือ 7.5% หลัง เงินเฟ้อเดือน ม.ค. ลงมาอยู่ที่ 6.96% จาก 8.36% ในเดือน ธ.ค. 2557 ทั้งนี้ในเดือน เดือน พ.ย. 2557 เพิ่งปรับขึ้นดอกเบี้ย ฯ 0.25% ไปที่ 7.75% ก็ตาม เนื่องจากต้องการกำจัดเงินเฟ้อที่เร่งจาก 6.23% ในเดือน พฤศจิกายน เป็น 8.36% ในเดือน ธันวาคม ดังกล่าว อันเป็นผลจากที่รัฐบาลยกเลิกมาตรการอุดหนุนราคาพลังงาน
แต่อย่างไรก็ตามการปรับลดดอกเบี้ยของอินโดนีเซีย ถือว่าสอดคล้องกับหลายประเทศที่ได้ปรับลดดอกเบี้ยฯ ไปก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ต้นปี 2558 ได้แก่ อินเดีย (ลด 0.25% อยู่ที่ 7.75%), แคนาดา (ลด 0.25% อยู่ที่ 0.75%), ตุรกี (ลด 0.5% อยู่ที่ 7.75%), ออสเตรเลีย (ลด 0.25 อยู่ที่ 2.25%) และประเทศที่ใช้ดอกเบี้ยฯ ติดลบ ได้แก่ เดนมาร์ก (ปรับลด 4 ครั้ง 0.7% เป็นติดลบ 0.75%), สวิตเซอร์แลนด์ (ปรับลด 0.5%อยู่ที่ 0.75%), เป็นต้น
ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แม้ยังเชื่อว่าดอกเบี้ยฯ นโยบายที่ 2% (ยืนต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11) เป็นระดับที่เหมาะสมก็ตาม แต่เชื่อว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะยังติดลบ หรือ บวกลบเล็กน้อย ตลอด 6M58 (จากฐานเงินเฟ้อที่สูงในงวด 6M57) และ แนวคิดของ หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มีความเห็นว่า การลดดอกเบี้ยฯ น่าจะยังมีความเป็นไปได้ ซึ่งสอดคล้องกับ ฝ่ายวิจัย ASP ที่คาดว่า กนง. มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยลงได้ถึง 0.25-0.5% เพื่อรองรับสภาพคล่องโลกที่เพิ่มขึ้น
แต่เนื่องตลาดหุ้นโลก ยังให้น้ำหนัก ปัญหาหนี้กรีซมากขึ้น หลังการเจรจาระหว่างรัฐบาลกรีซ ภายใต้นายกคนใหม่ และ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ของ สหภาพยุโรป ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทำให้กรีซอาจมีทางเลือกน้อยลงคือ ต้องออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งแน่นอนผลกระทบคงเกิดขึ้นในวงกว้าง ทั้งต่อเจ้าหนี้ (ได้แก่ สถาบันการเงินในยุโรป และอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่นและจีน) ตามด้วยปัญหาสถาบันการเงินในกรีซเองล้มละลาย เพราะขาดสภาพคล่อง ซึ่งหากปล่อยให้ทุกอย่างมาถึงจุดนี้ น่าจะสร้างความตื่นตระหนกต่อชาวโลกอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเยอรมันในฐานะพี่ใหญ่ของสหภาพยุโรปน่าจะประนีประนอม ไม่ให้เกิดผลที่เลวร้ายต่อภาพรวม ในระยะสั้น ประเด็นนี้จึงยังมีน้ำหนักมากว่าปัจจัยบวกในเรื่องของสภาพคล่องโลกที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ต่างชาติกลับขายหนักไทย แต่ขายในภูมิภาคเบาบาง
วานนี้แม้ว่านักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ปริมาณเบาบางเพียงราว 66 ล้านเหรียญฯ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วันก่อนหน้า) โดยยอดขายส่วนใหญ่มาจากไทย ที่ยังคงขายสุทธิเป็นวันที่ 3 และเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 45% อยู่ที่ 67 ล้านเหรียญฯ (2.2 พันล้านบาท) ขณะที่เกาหลีใต้สลับมาขายสุทธิราว 17 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า) สวนทางกับ อินโดนีเซียที่ยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 13 แต่ลดลงถึง 74% เหลือราว 13 ล้านเหรียญฯ เช่นเดียวกับ ฟิลิปปินส์ที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 แต่ลดลง 41% เหลือราว 6 ล้านเหรียญฯ ส่วนตลาดในไต้หวันยังคงปิดทำการเนื่องจากเทศกาลตรุษจีน และจะปิดต่อเนื่องจนถึงสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ ปริมาณการซื้อขายสุทธิในภูมิภาคเบาบางลงอย่างมากในทุกประเทศเมื่อเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน เว้นเพียงแต่ประเทศไทย ที่ถูกขายสุทธิออกมาอย่างหนักราว 2.2 พันล้านบาท (สูงสุดในรอบกว่า 1 เดือน) ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางชะลอตัว ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยให้รัฐใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน และเชื่อว่าจะหนุนให้เงินทุนจากต่างชาติกลับเข้ามาในไทยอีกครั้ง
ช่วงที่เหลือเดือน ก.พ. ดัชนีอาจอ่อนตัวจากการขายหุ้นกลาง-เล็ก
ขณะเดียวกันในช่วงเทศกาลตรุษจีน และเลยไปถึงช่วงที่เหลือของเดือน กุมภาพันธ์ คาดว่าดัชนีหุ้นไทยน่าจะยังคงแกว่งตัวบวก-ลบ ใกล้เคียงกับ 1,600 จุด และ อาจจะขึ้นไปที่ 1,650 จุด ยากขึ้นจากประเด็นดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้แม้จากศึกษาข้อมูลย้อนอดีตระหว่างปี 2548-2556 พบว่าในเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี ดัชนีตลาดหุ้นมักจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก กล่าวคือ เฉลี่ย 1.86% ในช่วงดังกล่าว (แต่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 7 ปี จากทั้งหมด 9 ปี หรือ ความน่าจะเป็น 78%) และ หากพิจารณาเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่ากลุ่มฯ ที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาด (มากกว่า 2% ขึ้นไป) เรียงลำดับผลตอบแทนสูง พบว่ามีดังนี้ คือ 1) Health 4.4% ด้วยความน่าจะเป็นสูงถึง 89% รองลงมาคือ 2) Trans 3.82% ความน่าจะเป็น 89% 3) Tourism 3.4% ความน่าจะเป็น 89% 4) ICT 3.5% ความน่าจะเป็น 78% 5) Prop 3.2% ความน่าจะเป็น 78% 6) Bank 3.1% ความน่าจะเป็น 78% 7) FIN 3.1% ความน่าจะเป็น 89% 8) Etron 2.8% ความน่าจะเป็น 100% 9) Insure 2.6% ความน่าจะเป็น 89%
แต่อย่างไรก็ตามหากตรวจสอบดัชนีนี้รายกลุ่ม พบว่าได้ปรับขึ้น หรือให้ผลตอบแทนที่สอดคล้องกับข้อมูลในอดีต และในอัตราที่มากกว่า เพียงอาจมีสลับลำดับบ้างกล่าวคือ สูงสุด 3 ลำดับแรก คือ กลุ่ม FIN, HELTH, PROP เป็นต้น กล่าวคือ
1) FIN ให้ผลตอบแทนสูงถึง 5.7% ในเดือน ก.พ. และให้ผลตอบแทนสูงถึง 22.1% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) ซึ่งนับว่าสูงกว่า SET ที่ให้ผลตอบแทน 7.4% หากพิจารณาเป็นรายหุ้นพบว่าที่ให้ผลตอบแทนมากสุด กระจุกตัวในกลุ่มลิสซิ่ง ได้แก่ ML 65.8% ตามมาด้วย IFS 57.8%, MTLS 56.6%, SAWAD 46.6%, AMANAH 37.6%, GL 33.9%, GBX 22.8%, KTC 21.9%, THANI 18%, TNITY 18%, BFIT 15.2%, TK 14.9%, KGI 13.3% และ FSS 12.5% เป็นต้น
2) Health ให้ผลตอบแทนสูง 5% เฉพาะในเดือน ก.พ. และให้ผลตอบแทน 12.51% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) สูงกว่า SET โดยหุ้นที่ให้ผลตอบแทนมากสุด คือ KDH 21% ตามมาด้วย BGH 18%, BH 12.4%, BCH 9.5%, NTV 9.2%, CHG 8.9% และ VIH 8.6% ที่เหลือให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด
3) PROP 2.7% เฉพาะในเดือน ก.พ. และ ให้ผลตอบแทน 8.1% ytd ชนะ SET เล็กน้อย โดยหุ้นที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดมีมากกว่า 30 บริษัท (จากที่มีอยู่กว่า 50 บริษัท) ได้แก่ ได้แก่ KC 274% ตามมาด้วย NCH 62.23%, ROJNA 53.7%, PRINC 48.3%, PRIN 46.4%, SENA 40.1%, MK 38%, AP 16.8%, SC 12.1%, QH 12%, LH 10.5%, PS 10.4%, RML 9.1% ทั้งนี้ยกเว้นหุ้นที่ให้ผลตอบน้อยกว่าตลาดได้แก่ SPALI -1.7%, CPN -1.6%, TICON +1.1% และ HEMRAJ +0.5%
ส่วนกลุ่มอื่น ๆ แม้ให้ผลตอบแทนในเดือน กุมภาพันธ์ น้อย คือ 0% หรือ- ติดลบ แต่เป็นเพราะได้ปรับขึ้นมากในเดือน มกราคมแล้ว ได้แก่ TRANS, BANK, ICT, TOURISM, ETRON, INSURE คือ
4) TRANS ให้ผลตอบแทน 0% ในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 7.7% ytd ใกล้เคียงกับ SET โดยหุ้นที่ให้ผลตอบแทนมากสุด คือ RCL % 24.3% ตามมาด้วย PSL 21.3%, ASIMAR 21.1%, BTC 21%, AAV 14%, NOK 10.7% เป็นต้น
5) Bank 0% แต่ให้ผลตอบแทน 6.9% ใกล้เคียงกับ SET โดยหุ้นที่ให้ผลตอบแทนมากสุด คือ BAY 50.3%, TCAP 14.2%, TISCO 8.8%, TMB 6.8%, CIMBT 4.2%, KKP 3.2%, KTB 3.1% และ LHBANK 2% ที่เหลือ BBL -1%, SCB -1.6%, KBANK -2.2% เป็นต้น
ยังเน้นกลยุทธ์เลือกหุ้นปันผลเด่น : หุ้นเด่น SPALI, SC, AIT
ในสถานเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และ โอกาสการลดดอกเบี้ยยังมีความเป็นไปได้สูง ทำให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยสุทธิยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2% ดังนั้นกลยุทธ์ภายใต้ดอกเบี้ยต่ำ หุ้นปันผลจึงเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งในขณะนี้ โดยเฉพาะหลัง ประกาศงบงวด 4Q57 และ งบปี 2557 บริษัทจดทะเบียนจะทยอยประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล (ไตรมาส รายครึ่งปี) หรือ รายปี โดยหุ้นปันผลเด่นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงชนะตลาด หากซื้อก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD 2 เดือน และ ขายหลังขึ้นเครื่องหมาย XD 1-2 เดือน (ใช้ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี) สรุปได้ดังนี้คือ
ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรหลังวันขึ้น XD ราว 2 เดือน ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 10.8% ด้วยความน่าจะเป็นราว 64% ได้แก่ PTT, SPALI, AIT, THANI
ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรหลังวันขึ้น XD ราว 1 สัปดาห์ ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตราว 6.9% ด้วยความน่าจะเป็นสูงถึง 70% ได้แก่ AIT, ASK, SPALI, KTB
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล