- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 17 February 2015 16:42
- Hits: 1363
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เข้าสู่ฤดูจ่ายปันผล บวกภาวะดอกเบี้ยขาลง แนะนำหุ้นปันผลเด่น AIT(FV@B53) และ SPALI(FV@B 31.96) วันนี้ Top picks เลือก SALEE([email protected]) มี EPS Growth สูง 23% โดยยังไม่รวมกำไรพิเศษจากการขายหุ้น IPO ของ SLP และผู้ถือหุ้น SALEE มีสิทธิจอง 3 SALEE : 1 SLP และ SC([email protected]) ปรับเพิ่ม Fair Value ใหม่ปี 2558 ขึ้น 9% จากเดิม
GDP Growth งวด 4Q57 2.3% ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย
วานนี้สภาพัฒน์ รายงาน GDP Growth งวด 4Q57 ขยายตัว 2.3% และ ทั้งปี 2557 ขยายตัวเพียง 0.7% (ใกล้เคียงกับ ASP คาดไว้ที่ 0.8%) โดยองค์ประกอบหลักที่ช่วยหนุนการขยายตัวในงวด 4Q57 มาจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดถึง 5.5% ซึ่งนับว่าสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส (และดีกว่าที่ ASP คาด 4.7%) ตามมาคือ การลงทุนโดยรวม ขยายตัว 3.2% ซึ่งสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส (แต่ต่ำกว่ากว่าที่ ASP คาด 5.3%) ทั้งนี้เป็นการขยายตัวของการลงทุนเอกชน 4.1% (ต่ำกว่าที่ASP คาด 5.7%)
ขณะที่การลงทุนภาครัฐยังติดลบ 0.3% (แม้จะติดลบต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 แต่ในอัตราที่ลดลง) และ ด้านการค้าระหว่างประเทศเริ่มดีขึ้น กล่าวคือ ยอดส่งออกโดยรวม ขยายตัวอีกครั้ง 4.9% (หลังจากติดลบต่อเนื่องกัน 3 ไตรมาส vs ASP คาด 1.7% โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้า 2.8% เทียบกับ ASP คาด 2.3% และส่งออกบริการ ขยายตัว 11.4% สูงสุดในรอบ 8 ไตรมาส เทียบกับที่ ASP คาด ติดลบ 0.2%) แต่การนำเข้าโดยรวมยังชะลอตัวโดยติดลบ 0.3% และติดลบต่อเนื่อง 5 ไตรมาส แต่ในอัตราที่ลดลง (ใกล้เคียงกับ ASP คาด 3.6%) ขณะที่การบริโภคครัวเรือน (50% ของ GDP) ขยายตัวเพียง 1.9% (ASP คาด 5.7%) ส่วนในปี 2558 สภาพัฒน์ ยังคงเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 ไว้ที่ 3.5-4.5% โดยปัจจัยหนุนหลักมาจาก การบริโภคโดยรวม และการลงทุนโดยรวม (3.4% และ 6% ตามลำดับ) ทั้งนี้ได้ให้น้ำหนักไปที่ภาครัฐมากขึ้น ทั้งการบริโภค และการลงทุนภาครัฐ(5.6% และ 9.8% ตามลำดับ) ตามมาด้วย การส่งออกโดยรวม และการนำเข้าโดยรวม คาดว่าจะขยายตัว 4% และ 4.9% ตามลำดับ
การประเมินดังกล่าว อาจจะเป็นตัวเลขที่สูง เมื่อเทียบกับ ASP ที่ระดับ 3.5% และยังมีแนวโน้มจะปรับลดลง เนื่องจาก ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งอาจจะทำให้การส่งออกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย กล่าวคือ หากกำหนดให้ยอดส่งออกต่ำกว่าคาดการเดิมระหว่าง 0.5%-2% (จากเดิม 3.4%) และกำหนดให้ยอดนำเข้าลดลงเล็กน้อยเหลือ 4.1% จากเดิม 4.3% จากต้นทุนการนำเข้าน้ำมันที่ลดลง (รายละเอียดจาก Economic Update วันที่ 12 ก.พ. 2558) จะทำให้ GDP Growth ลดลงเหลือระหว่าง 3.3.%-2.2% (จากเดิม 3.5%) แต่อย่างไรก็ตามยังมิได้คำนึงถึงผลบวกที่อาจจะเกิดขึ้น หาก ธปท. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายฯ ลง 0.25-0.5%
การประนอมหนี้กรีซยังไม่มีทางออก
การเจรจาประนอมหนี้ของกรีซยังไม่มีความคืบหน้า หลังจากคืนวานนี้ รัฐมนตรีคลังของกรีซได้เจรากับผู้นำของกลุ่มสหภาพยุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์ โดยยังคงไม่มีข้อสรุปว่าจะจัดการต่อหนี้สินของกรีซอย่างไร ถึงแม้ว่าระยะเวลาของสัญญาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซฉบับปัจจุบัน ใกล้จะหมดอายุมากขึ้นทุกทีในวันที่ 28 ก.พ.นี้ อีกทั้งความช่วยเหลือจะยังคงมีต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้ทางกรีซต้องการได้รับเงินช่วยเหลืออย่างน้อยอีก 6 เดือน เพื่อให้มีเวลาจัดการกับฐานะทางการเงินของประเทศ แต่ทางด้านเจ้าหนี้กลับเห็นว่ากรีซควรทำตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้ในช่วงก่อนหน้า ดังนั้นจึงเชื่อว่าประเด็นปัญหาหนี้สินของกรีซ ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปตามความพอใจของหลายๆ ฝ่าย ยังคงเป็นประเด็นและกดดันต่อตลาดหุ้นโลกในช่วงเวลานี้
ทางด้านญี่ปุ่น รายงาน GDP Growth งวด 4Q57 ติดลบ 0.5%yoy (ติดลบต่อเนื่องกัน 3 ไตรมาส) ทำให้ตลอดปี 2557 ขยายตัว 0.1%yoy (ต่ำสุดในรอบ 3 ปี และสอดคล้องกับ IMF คาด) ส่วนปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัว มาจากการขึ้นภาษีขายอีก 3% เป็น 8% ในเดือน เม.ย. 2557 ที่ผ่านมา จนทำให้ในเดือน ต.ค. 2557 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เพิ่มการอัดฉีดเงิน (QE) อีก 15- 20 ล้านล้านเยนต่อปี เป็น 80 ล้านล้านเยนต่อปี (7 แสนล้านเหรียญฯ) โดยทำให้ money supply เพิ่มขึ้น 1% นับจากปี 2553 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จากการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในงวด 4Q57 กลับพบว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคล (60% ของ GDP) ขยายตัวเพียง 0.3%qoq และการใช้จ่ายด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง 0.1%qoq ซึ่งสะท้อนว่ามาตรการ QE ที่ได้เริ่มใช้ยังไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงเริ่มมีความเห็นที่แตกต่างจากนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ คาดว่า BOJ น่าจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีกในเดือน เม.ย. 2558 แต่บางกลุ่มมองว่า BOJ จะยังคงมาตรการทางการเงินเช่นเดิมเพื่อดูความคืบหน้า
ไทยยังคงถูกขายต่อเนื่อง แต่เบาบาง
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 5 ลดลงถึง 78% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 158 ล้านเหรียญฯ โดยยังคงเป็นการเลือกซื้อสุทธิรายประเทศ สูงสุดคือเกาหลีใต้ ที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 146 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 13% จากวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 ราว 49 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 49%) ส่วน ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 เบาบางราว 10 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 73%) สวนทางกับไทยที่ยังคงขายสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 46 ล้านเหรียญฯ (1.5 พันล้านบาท, วันก่อนหน้าขายสุทธิเพียง 132 ล้านบาท) ขณะที่ตลาดในไต้หวันไม่มีการซื้อขายเนื่องจากเทศกาลตรุษจีน
วานนี้ ต่างชาติยังคงชายสุทธิหุ้นไทยออกมาต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 แต่ภาพรวมในช่วง 2 สัปดาห์หลังสุดยังคงเป็นการซื้อสลับขายรายวัน โดยเป็นการซื้อสุทธิ 5 จาก 12 วันหลังสุด รวมยอดซื้อสะสมเท่ากับ 5.4 พันล้านบาท (ซื้อ 8.8 พันล้านบาท และ ขายสุทธิเพียง 2.6 พันล้านบาท) ทำให้เชื่อว่า จากสภาพคล่องโลกที่ยังมีสูง บวกกับประเด็นการลดดอกเบี้ย น่าจะยังมีน้ำหนักหนุนให้เงินทุนต่างชาติยังคงไหลเข้าตลาดหุ้นไทยได้ต่อไป
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง SPALI เด่นสุด
กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย (property developer) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง ที่ได้รับประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาลงมากที่สุดใกล้เคียงกับหุ้นในกลุ่มเช่าซื้อ/ลิสซิ่ง ทั้งนี้ปัจจัยหนุนที่ทำให้เชื่อว่าดอกเบี้ยไทยยังมีแนวโน้มลดลงก็คือ เศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวล่าช้า และ อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวจนถึงขั้นติดลบ น่าจะเปิดโอกาสให้ธนาคารแห่งประเทศไทยยสามารถใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย การปรับลดดอกเบี้ยฯนโยบายลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2% ทั้งนี้แม้การลดดอกเบี้ยจะมิได้ส่งผลต่อการกระตุ้นกำลังซื้อโดยตรง แต่เป็นการหนุนให้สถาบันการเงินผ่อนคลายการพิจารณาสินเชื่อแก่ผู้ซื้อลง ทำให้ อัตราส่วนการถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อ (Rejection rate ) ลดลง ขณะเดียวกันกันก็หนุนให้ผู้ซื้อยินยอมให้การโอนบ้านเร็วขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ หรือ
ผู้พัฒนาบ้านขายสามารถบันทึกรับรู้รายได้จากการขายเป็นไปตามเป้าหมาย (บริษัทที่มี Backlog สูงน่าจะมีความคล่องตัวในรับรู้รายได้มากขึ้น)
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประเมินว่า หุ้นที่ได้รับประโยชน์ในสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด คือบริษัทที่มีพอร์ตลูกค้าระดับกลาง-ล่างเป็นหลัก ซึ่งต้งอาศัยแหล่งสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ PS, SPALI, LPN, หรือ SENA แต่อย่างไรก็ตามในช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบันพบว่า หุ้นในกลุ่มนี้จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8.6% แต่พบว่า ทำให้ค่า PER เฉลี่ยสูง 10.3 เท่า จึงยังให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มนี้ “เท่ากับตลาด” โดยเน้นเลือกลงทุนเป็นรายหุ้น ที่คาดว่ากำไรจะเติบโตโดดเด่นช่วง 4Q57-ปี2558 และมีเงินปันผลจูงใจ โดยฝ่ายวิจัยชอบ SPALI ([email protected]) มากที่สุด เพราะนอกจากปี 2557-58 คาดกำไรสุทธิจะเติบโตต่อเนื่อง 63% และ 17% YoY ตามลำดับ แต่กลับพบว่า มีค่า expected PER ต่ำเพียง 7.4 เท่า พร้อมกับ มี Div Yield 5.4% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 3.9%
ส่วนหุ้นที่ชอบรองลงมาส่วนใหญ่มีค่า Expected PER ใกล้เคียงกัน แต่มี upside ที่น้อยกว่า ได้แก่ PS ([email protected]) มีค่า PER 9.3 เท่าปี 2558 และ upside 32.8%, AP (FV @8.10B) มีค่า expected PER 8 เท่าปี 2558 และ upside 16%, ส่วน SENA ([email protected]) ที่ฝ่ายวิจัยแนะนำซื้อในช่วงที่ผ่านมาพบว่าราคาหุ้นปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเข้าใกล้ Fair value ซึ่งกำหนดไว้ที่ PER 8 เท่า นักลงทุนจึงอาจสลับเข้ามาในหุ้นอย่าง SC ([email protected]) ซึ่งล่าสุดนักวิเคราะห์ ได้มีการปรับประมาณการกำไรปี 2558 และ Fair Value ขึ้น มาอยู่ที่ 4.57 บาท มี Upside 17.73% และ SPALI ([email protected]) ซึ่งมีปัจจัยหนุนทั้งเรื่องเงินปันผลจ่าย และกำหนดการโอนฯ โครงการที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง
ยังเน้นกลยุทธ์หุ้นปันผลเด่น : ASK, SPALI, AIT, PTT
ในสถานเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และ โอกาสการลดดอกเบี้ยยังมีความเป็นไปได้สูง ทำให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยสุทธิยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2% ดังนั้นกลยุทธ์ภายใต้ดอกเบี้ยต่ำ หุ้นปันผลจึงเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งในขณะนี้ โดยเฉพาะในเวลานี้ ซึ่งบริษัทจดทะเบียนได้ทยอยประกาศงบงวด 4Q57 และ งบปี 2557 หลังจากนี้จะเป็นการประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล (ไตรมาส รายครึ่งปี) หรือรายปี ซึ่งวานนี้ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอบทวิเคราะห์ Quantitative Analysis ภายใต้กลยุทธ์ Dividend Play ซึ่งได้ทำการศึกษาหุ้นปันผลจ่าย (ช่วงเดือน พ.ค. – มิ.ย. 2558) ย้อนหลัง 10 ปี พบว่าหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปพร้อมกับให้ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูงเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5% ขึ้นไป โดยที่ราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside สูง (ฝ่ายวิจัยแนะนำซื้อ หรือ ถือรับเงินปันผล) มีทั้งสิ้น 36 บริษัท และในจำนวนนี้พบว่าสามารถจัดแบ่งกลยุทธ์การลงทุนได้ 2 ทางเลือกคือ
ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรหลังวันขึ้น XD ราว 2 เดือน ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 10.8% ด้วยความน่าจะเป็นราว 64% ได้แก่ PTT, SPALI, AIT, THANI
ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรหลังวันขึ้น XD ราว 1 สัปดาห์ ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตราว 6.9% ด้วยความน่าจะเป็นสูงถึง 70% ได้แก่ AIT, ASK, SPALI, KTB
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล