- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 06 June 2014 16:07
- Hits: 3096
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ECB ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ 0.15% จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว น่าจะช่วยกระตุ้นตลาดโลกได้บ้าง และอาจจะบวกต่อตลาดหุ้นไทยเล็กน้อย ยังคงกลยุทธ์เดิมคือ เน้นหุ้น Laggards PTT(FV@B360) และ SEAFCO([email protected]) วันนี้เลือก SCB([email protected]) Top pick เป็นหุ้น Laggard ในกลุ่มธ.พ. และนักวิเคราะห์ ASP ได้ปรับ Fair Value ขึ้นจากเดิม คาดความเชื่อมั่นสินเชื่อรายย่อยจะดีขึ้น
ECB ลดดอกเบี้ยตามคาด แม้ไม่มีมาตรการอัดฉีดเงิน แต่น่าจะบวกต่อตลาดหุ้นโลก
วานนี้ที่ประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) สรุปให้ลดดอกเบี้ยนโยบายตามคาด โดยลด 0.1% เหลือ 0.15% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากติดลบ -0.1% ซึ่งถือเป็นธนาคารกลางแห่งแรกในกลุ่ม EU โดยคาดหวังจะให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้แก่ภาคการผลิตเพิ่มมากขึ้น (สินเชื่อรวมในปีนี้หดตัว 2% จากปี 2556 โดยเฉพาะภาคการผลิตที่แท้จริง) และจะช่วยผลักดันให้ดอกเบี้ยปรับขึ้นในระยะยาว ภายใต้โครงการ “Targeted Long-term refinancing operation (TLTRO)” แม้จะยังไม่มีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเหมือนอดีต แต่คาดหวังจะเห็นเม็ดเงินหมุนเวียนราว 400 พันล้านยูโร (หรือ 542 พันล้านเหรียญฯ) ผ่านการปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน ซึ่ง กำหนดให้สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารกลาง ได้ไม่เกิน 7% ของยอดสินเชื่อสุทธิ (ไม่รวมสินเชื่อบ้าน) โดยคิดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย + 0.1% ระยะเวลา 4 ปี แต่หากสถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยกู้จะถูกเรียกคืนภายใน 2 ปี ทั้งนี้คาดหวังเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป จะหลุดพ้นจากภาระเงินเฟ้อต่ำ โดย ECB ได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับปี 2557 และ 2558 เหลือ 0.7% และ 1.1% จากเดิม 1.0% และ 1.3% พร้อมปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2557 เหลือ 1% แต่จะเพิ่มเป็น 1.7% ในปี 2558 และ 1.8% ในปี 2559 (เทียบกับ IMF คาดการณ์ที่ 1.2%, 1.5% และ 1.5% ตามลำดับ )
การออกมาตรการครั้งนี้ ถือไม่สร้างความแปลกใหม่ให้กับตลาดมากนัก ซึ่งมีความแตกต่างจากในอดีตอย่างมาก โดยเฉพาะในปี 2554-2555 ที่อยู่ในช่วงวิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่มยุโรป ทำให้ ECB ได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ 2 รอบคือ 1) เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (LTRO) 4.89 แสนล้านยูโร เมื่อ 21 ธ.ค. 2554 และ 2) LTRO ขนาด 5.3 แสนล้านยูโร ผ่านโครงการรับซื้อพันธบัตรไม่จำกัดจำนวน โดยรวมมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบกว่า 1.019 ล้านล้านยูโร (หรือ 1.38 ล้านล้านเหรียญฯ) เมื่อ 29 ก.พ. 2555 ตามหลังสหรัฐที่ได้ทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่าน QE ตั้งแต่ปี 2552 โดยรวม FED มีการอัดฉีดเงินผ่าน QE 3 รอบ ระหว่างปี 2553–2556 รวมราว 1.55 ล้านล้านเหรียญฯ จากการอัดฉีดเงินทั้งกลุ่ม EU และ สหรัฐ ได้หนุนให้ปริมาณเงินท่วมโลก และมีผลทำให้ตลาดหุ้นโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องยาวนาน 3 ปี แต่เหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะช่วยหนุนความเชื่อมั่นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปได้ระดับหนึ่ง และตลาดหุ้นน่าจะได้รับผลบวกเล็กน้อย
ต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยเป็นวันที่ 4 หลังขายหนัก
กระแสเงินทุนยังคงไหลเข้าภูมิภาค โดยที่วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 150 ล้านเหรียญฯ ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน (ยอดซื้อเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่า 2 เท่าตัว) แต่ยังคงเป็นการเข้าซื้อเบาบาง และ สลับขายออกมาในบางประเทศ เริ่มจาก เกาหลีใต้ที่กลับมาเปิดทำการอีกครั้งและซื้อสุทธิเป็นวันที่ 17 ราว 66 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 69% จากวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยไต้หวัน สลับมาซื้อสุทธิราว 44 ล้านเหรียญฯ ใกล้เคียงกับ ไทย ที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 ราว 42 ล้านเหรียญฯ (1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่าเท่าตัว) และ ฟิลิปปินส์ สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญฯ สวนทางกับอินโดนีเซียที่สลับมาขายสุทธิราว 5 ล้านเหรียญฯ (สลับซื้อขายใน 6 วันหลังสุด)
คาดว่า หลังจากที่ ECB มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.1% ทำให้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคจะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวต่อไป หรืออาจมีการขายสุทธิออกมา เพื่อนำเงินกลับไปลงทุนในฝั่งยุโรป ในขณะที่ประเทศไทย แม้ว่าต่างชาติจะเข้าเริ่มเข้าซื้อต่อเนื่องอีกครั้ง แต่เชื่อว่าเกิดจากการที่นักลงทุนกลุ่มนี้เทขายออกมาอย่างหนักในช่วงก่อนหน้า (กว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ใน 9 วัน) ในระยะสั้นต่างชาติน่าจะเป็นการเข้าซื้อสลับขายเบาบางในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ขณะที่กลุ่มนักลงทุนสถาบันกลับเป็นผู้ขายสุทธิวานนี้ถึง 2.1 พันล้านบาท หลังจากที่ช่วงก่อนหน้าเป็นผู้พยุงตลาดมาโดยตลอด
ฟ้าเปิด...หุ้น Top picks ชุดใหม่เลือก SCB, KBANK และ KKP
ดังที่กล่าวแล้วในช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่ คสช. ได้เดินหน้ามาตรการเศรษฐกิจต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยเฉพาะการจ่ายเงินจำนำข้าวให้แก่ชาวนากว่า 9.20 หมื่นล้านบาท มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME และ ขยายระยะเวลาในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% ออกไปอีก 1 ปี ซึ่งล้วนส่งผลบวกต่อกลุ่มสินเชื่อ SME และรายย่อย รวมถึงมาตรการเร่งด่วนที่สำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 และเร่งจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2558 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะตามมา โดยฝ่ายวิจัยเชื่อว่าจะส่งผลบวกต่อการลงทุนภาคเอกชนทั้งรายใหญ่และ SME ที่จะเกิดขึ้นก่อนเพื่อเตรียมพร้อมรับโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าว น่าจะบวกมากขึ้นต่อแนวโน้มธุรกิจและสินเชื่อของกลุ่ม ธ.พ. ในช่วง 2H57 ซึ่งจะช่วยผลักดันให้สินเชื่อสุทธิปี 2557-58 สูงกว่าเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ 6.26% yoy และ 7.45% yoy เช่นเดียวกับแนวโน้มการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2557-58 ที่ประเมินไว้ภายใต้สมมติฐานที่ระมัดระวังมากคือเพียง 2.4% yoy และ 8.9% yoy
ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิเคราะห์กลุ่มสถาบันการเงินของ ASP ได้ปรับเพิ่ม Fair value ปี 2557 ของหุ้น ธ.พ. 6 แห่ง ได้แก่ BBL, KBANK KTB, KKP, TCAP และ LHBANK พร้อมกับปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น KBANK, SCB, KKP เป็นซื้อ (จากเดิมถือ) และปรับเพิ่มคำแนะนำ TCAP เป็นถือ จากเดิมขาย หุ้น Top picks ชุดใหม่เลือก SCB, KBANK และ KKP ที่เหมาะสมสำหรับลงทุนในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว จากโครงสร้างสินเชื่อที่เน้น SME และรายย่อยเป็นหลัก
กลยุทธ์เน้น Laggard Play เชื่อดัชนียังอยู่ในช่วงปรับฐาน
เชื่อว่าดัชนียังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน จึงยังคงยืนยันกลยุทธ์เดิมคือ หุ้นที่ยัง laggard ในอุตสาหกรรม 3 กลุ่มหลักดังนี้
หุ้นกลุ่ม Big Cap มี Upside สูง, Dividend Yield ระดับน่าพอใจ และ Expected P/E ต่ำ ได้แก่ PTT (FV@B360) upside 20% yield 4.6% P/E 8.2 เท่า, PTTEP (FV@B195) upside 23% yield 4.4% P/E 9.2 เท่า, PTTGC (FV@B87) upside 26% yield 5% P/E 9.2 เท่า, SCC (FV@B520) upside 20% yield 3.7% P/E 13.2 เท่า
หุ้นขนาดกลางปันผลสูง Upside สูง ได้แก่ BTS ([email protected]) แต่เนื่องจากวันนี้จะขึ้นเครื่องหมาย XD ในอัตราหุ้นละ 0.21 บาท(รายไตรมาส) จึงรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยราคาตลาดวานนี้มี upside 29% yield 6.9% และ TISCO ([email protected]) upside 14% yield 6.8%
หุ้น Sentiment บวก ได้แก่ AOT (FV@B230) upside 18% และ SEAFCO ([email protected]) upside 18%
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล