WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
  Supply น้ำมันส่วนเกินมีแนวโน้มลด หนุนราคาน้ำมันดิบฟื้นตัว น่าจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นปิโตรเลี่ยม (PTT, PTTEP) และ ปิโตรเคมี (PTTGC ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ) วันนี้เลือก PTT(FV@B394) และ PTTEP(FV@B134) เป็น Top picks
  Supply น้ำมันส่วนเกินมีแนวโน้มลด หนุนราคาน้ำมันฟื้น ซื้อ PTTEP/PTT
  คาดว่าปริมาณผลิตน้ำมันดิบและสำเร็จรูปของโลกที่เกินความต้องการมีแนวโน้มที่ลดลง (หลังจากที่สหรัฐ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตน้ำมันในลำดับต้นๆ ของโลก จากเทคโนโลยีชั้นหินดินดาน หรือ Shale Oil ทำให้จากที่เคยเข้าน้ำมันปีละกว่า 11 ล้านบาร์เรล ลดลงเหลือเพียงประมาณ 7 ล้านบาร์เรลในปัจจุบัน) เนื่องจากมีหลายปัจจัยกดดันทางด้านฝั่งผู้ผลิต คือ
  เริ่มจากผู้ผลิต Shale oil 37 ราย จากทั้งหมด 38 รายในสหรัฐ ได้เผชิญกับปัญหาขาดสภาพทางการเงินอย่างหนัก (ส่วนทุนติดลบ) และในจำนวนนี้มี 1 รายคือ บริษัท WBH Energy LP ได้เข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการภายใต้ Chapter 11 (ดังที่เคยนำเสนอใน Market Talk เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา) ทำให้เจ้าหนี้หลักคือ ผู้ถือหุ้นกู้ หยุดการให้กู้ยืม ทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียนและงบลงทุน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมต้องการใช้เงินลงทุนสูงในการขุดเจาะ (capital intensive)
  ตามมาด้วย ผลวิจัยของ Baker Hughes เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า จำนวนของแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐลดลงไปถึง 94 แห่ง หรือกว่า 7% จากสัปดาห์ก่อนหน้า เหลือ 1,223 แห่ง เป็นการลดลงต่อเนื่อง 13 ใน 16 สัปดาห์หลังสุด และเป็นระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2556
      ล่าสุด การประท้วงนัดหยุดงานของคนงานโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีกว่า 9 แห่งในสหรัฐฯ รวมถึงอุตสาหกรรม Supply Chain ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 และมีแนวโน้มยืดเยื้อถึง 1-2 สัปดาห์ หลังจากการเจรจาขอเพิ่มค่าแรง และสวัสดิการเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาไม่เป็นผล ส่งให้บรรดาโรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการผลิตรวมกันกว่า 10% ของประเทศ ต้องหยุดการผลิตชั่วคราว
  ล่าสุด สถาบันการเงินเริ่มเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมนี้มากขึ้นกว่าเดิม หลังราคาน้ำมันตกต่ำกว่า 50% ยิ่งเป็นการบีบคั้นผู้ประกอบการในการระดมทุน
  นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสกุลคู่ค้าหลัก 6 แห่ง (DXYO) เริ่มทรงตัวถึงแกว่งตัวในทิศทางอ่อนตัว หลังจากที่แข็งค่ากว่า 18% นับจากเดือน ก.ค. 2557 จนถึงปัจจุบัน (ตรงกันข้ามกับค่าเงินยูโรอ่อนค่ากว่า 18% ในช่วงเดียวกัน) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัว
  ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด ได้หนุนให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด 44.5 เหรียญ/บาร์เรล ในช่วงปลายเดือน ม.ค. มายืนเหนือ 50 เหรียญฯ อีกครั้ง หรือเพิ่มขึ้น 12.35% ในช่วง 1 สัปดาห์เศษ จึงเชื่อว่าเป็นผลดีต่อหุ้นปิโตรเลี่ยมขั้นต้นทั้ง PTT(FV@B398) PTTEP(FV@B134) ตรงกันข้ามอาจจะไม่ดีต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ Naptha (Liquid base) เป็นวัตถุดิบ เช่น กรณีของ SCC (FV@B530) แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก SCC เป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ (กำไรประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมด) ซึ่งเชื่อว่ายังได้ประโยชน์จากการเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น สะท้อนผ่าน Spread ระหว่างผลิตภัณฑ์ HDPE –ต้นทุน Naptha ยังสูงเกิน 700 เหรียญฯ ต่อ ตัน เทียบกับปี 2557 เฉลี่ยกว่า 600 เหรียญฯ ต่อตัน ขณะที่ PTTGC (FV@B68) เป็นผู้ผลิตรปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ เช่นกัน แต่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ ซึ่งราคาก๊าซฯ จะปรับขึ้นช้ากว่า Naptha ทำให้ PTTGC ยังคงได้รับประโยชน์จาก Spread ขาขึ้นในช่วงนี้เต็มที่จึงแนะนำ PTTGC เป็น Top pick ในกลุ่มปิโตรเคมี

โอกาสลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม หลังเงินเฟ้อไทยติดลบ
  วานนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงาน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. ติดลบ 0.41%yoy ถือว่าผิดจากความคาดหมายของตลาดและ ASP (และเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 64 เดือน) ซึ่งอาจจะทำให้ต้องปรับลดเงินเฟ้อที่คาดไว้ราว 2% ในปี 2558 (เทียบกับปี 2557 ที่ 2.4%) โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง และอาจจะเป็นเหตุผลทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กลับมาให้น้ำหนักต่อการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น โดยในการประชุมครั้งถัดไป วันที่ 11 มี.ค. นี้ มีความเป็นได้ที่อาจจะต้องลดดอกเบี้ยฯ ลงจากระดับ 2% เช่นเดียวกับที่เคยลดดอกเบี้ยฯ ในปีที่เงินเฟ้อติดลบในปี 2542 และ 2552 ดังภาพข้างต้น
  และนับว่าสอดคล้องกับการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายทั่วโลก โดยเฉพาะล่าสุด อินเดีย แม้ล่าสุดได้ได้ปรับลดดอกเบี้ยฯ ลง 0.25% เหลือ 7.75% ไปเมื่อเดือน ม.ค. แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะลดดอกเบี้ยฯ อีก 0.25% ในการประชุมในวันนี้ และเช่นเดียวกับ ออสเตรเลีย ที่จากการสำรวจนักวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก 66% คาดว่า อาจจะมีการลดดอกเบี้ยฯ ราว 0.25% จาก 2.5% เป็นครั้งแรกในการประชุมธนาคารกลาง วันนี้ หรืออย่างช้าสุดในเดือนหน้า ขณะที่ก่อนหน้านี้ ยุโรป ได้ตัดสินใจเพิ่มการอัดฉีดเงินขนาดใหญ่ (QE) 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน เป็นเวลา 19 เดือน วงเงินรวม 1.4 ล้านล้านยูโร (1.3 ล้านล้านเหรียญฯ) ซึ่งวงเงินทั้งหมดคิดเป็นราว 4% ของ GDP โดยรวมนี้ ถือเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นได้ในระยะหนึ่งก่อนจะมีการส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยฯ จากสหรัฐ

ต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค และขายไทยน้อยลง
  วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง ราว 100 ล้านเหรียญฯ หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า โดยยอดซื้อหลักมาจากไต้หวัน ที่สลับมาซื้อสุทธิราว 131 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขายสุทธิใน 3 วันหลังสุด) และ ซื้อสุทธิเบาบางในอินโดนีเซียราว 1 ล้านเหรียญฯ (ลดลงจากวันก่อนหน้าถึง 99%) สวนทางกับฟิลิปปินส์ที่สลับมาขายสุทธิราว 20 ล้านเหรียญฯ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วันก่อนหน้า) ตามมาด้วยไทย ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 11 ล้านเหรียญฯ (350 ล้านบาท, ลดลง 53%) และสุดท้ายคือเกาหลีใต้ ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แต่เบาบางเพียง 4.5 แสนเหรียญฯ (วันก่อนหน้าขายสุทธิ 96 ล้านเหรียญฯ)
  ต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อสุทธิอีกครั้งแต่ยังเป็นการเลือกซื้อรายประเทศ โดยเฉพาะไต้หวัน ที่ถูกซื้อสุทธิอย่างหนักในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (รวมกว่า 3.3 พันล้านเหรียญฯ) ขณะที่ในตลาดหุ้นไทยแม้ต่างชาติยังคงขายสุทธิออกมา แต่ปริมาณการขายกลับเบาบางและมีแนวโน้มแผ่วลง จึงเชื่อว่าในระยะสั้นอาจเห็นแรงซื้อจากนักลงทุนกลุ่มนี้กลับเข้ามาตามตลาดในภูมิภาค
  หุ้นที่คาดจะชนะตลาดใน ก.พ. : SC, SPALI, KTB และ ROBINS
  จากการศึกษาของนักวิเคราะห์เชิงปริมาณของ ASP พบว่า จากสถิติย้อนหลัง 5 ปี คือ ระหว่าง ปี 2553 – 2557 พบว่า ในเดือน ก.พ. ของทุกปี ตลาดหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกเสมอ (100%) ด้วย ผลตอบแทนเฉลี่ย 3.82% และพบว่าหกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่า SET อย่างสม่ำเสมอ คือ กลุ่ม อสังหาริมทรัพย์, ธนาคารพาณิชย์ และค้าปลีก ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.94%, 4.85% และ 4.42% ตามลำดับ รายละเอียดดังนี้คือ
  กลุ่มอสังหาริมทรัพย์: Backlog แน่น พื้นฐานแกร่งพร้อมปันผล กลุ่มอสังหาฯให้ผลตอบแทนที่ดีในเดือน ก.พ. เฉลี่ยถึง 6.94% โดยปีที่ให้ผลตอบสูงสุดคือปี 2556 ซึ่งให้ผลตอบแทนราว 14.14% และ ต่ำสุด 2.39% ในปี 2553 ทั้งนี้ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลจากการเก็งกำไรผลประกอบการรายปี ที่มักโดดเด่นจากการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้าในไตรมาสสุดท้ายของปี หนุนให้ผลประกอบการโดดเด่น ซึ่งมีหุ้นที่ให้ผลตอบสูง และ มีพื้นฐานแข็งแกร่งคือ SPALI และ SC ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 7.95% และ 5.71% ในช่วงเดือน ก.พ. 5 ปีหลังสุด
  กลุ่มธนาคารพาณิชย์: 2558 ปีทองจากการลงทุน ในส่วนของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ในช่วงเดือน ก.พ. 5 ปีหลังสุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.85% เชื่อว่าเป็นผลจากการประกาศผลประกอบการประจำปี และ การเข้าสะสมเพื่อเตรียมรับเงินปันผลซึ่งมักจะขึ้นเครื่องหมาย XD ในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ขณะที่กำไรของกลุ่มในงวด 4Q57 ที่ผ่านมาหดตัวราว 8.7% qoq แต่ในปี 2558 ยังมีปัจจัยบวกจากการลงทุนใหญ่ของประเทศ โดยมีหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในเดือน ก.พ. สูงสุดคือ KTB
กลุ่มค้าปลีก: ราคาน้ำมันต่ำ หนุนกำลังซื้อผู้บริโภค และสุดท้ายคือกลุ่มค้าปลีก ในเดือน ก.พ. มีปัจจัยหนุนจากช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นเทศกาลที่ประชาชนมักจะออกมาจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคึกคัก รวมถึงยังมีปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ลดลงช่วยเพิ่มกำลังการซื้อของผู้บริโภค จากสถิติ 5 ปีหลังสุด กลุ่มค้าปลีกปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 4.42% ในเดือน ก.พ. ช่วง 5 ปีหลังสุด ซึ่งมีหุ้นที่น่าสนใจ 2 บริษัทคือ HMPRO และ ROBINS แต่ HMPRO มี upside น้อย และ PER ที่สูงกว่า จึงเลือก ROBINS เป็น Top pick ของกลุ่ม
  ฝ่ายวิจัยได้คัดเลือกหุ้นที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่น และสม่ำเสมอ ในเดือน ก.พ. รวมถึงมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งรองรับจากแต่ละกลุ่ม ได้หุ้นที่มีความน่าสนใจ 4 บริษัทคือ SC, SPALI, KTB และ ROBINS (อ่านรายละเอียดใน Quatitative Analysis ฉบับวันที่ 2 ก.พ. 2558)

ภรณี ทองเย็น, CISAเลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรมเลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!