- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 27 January 2015 15:33
- Hits: 1869
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สภาพคล่องการเงินเพิ่มขึ้น จากการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายทั่วโลก เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโลกที่สำคัญในขณะนี้ ยังคงแนะนำหุ้นใหญ่ Undervalue คือ SCC(FV@B530) และ KBANK(FV@B300) เป็น Top picks และแนะเก็งกำไร BLAND (BV@ 2.21) ราคาต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี (PBV 0.83 เท่า)
สหรัฐมีโอกาสยืดการใช้ดอกเบี้ยต่ำ
หลังจากเมื่อ วันที่ 22 ม.ค. 2558 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ QE ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ มี.ค. 2558 จนสิ้นสุด ก.ย. 2559 ใช้เม็ดเงินทั้งสิ้น 1.14 ล้านล้านยูโร (1.3 ล้านล้านเหรียญฯ หรือราวเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร) ซึ่งหากพิจารณาจากสถิติของประเทศที่ใช้ QE ส่วนใหญ่จะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ อังกฤษ หรือ ญี่ปุ่นที่ยังคงใช้ในขณะนี้ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วใน Market Talk เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้ตลาดน่าจะให้น้ำหนักไปที่การประชุมธนาคารกลางของสหรัฐ (Fed) และไทย (กนง.) ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางทั้ง 2 แห่ง ยังคงยืนนโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไป โดยการประชุมของ Fed จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ม.ค. นี้ ซึ่งผลจากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สำนักต่าง ๆ ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่กล่าวคือ ผลสำรวจของบลูมเบิร์ก ส่วนใหญ่ราว 85% (45 จาก 53 ราย) คาดว่า Fed จะมองข้ามปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ (เดือน ธ.ค. อยู่ที่ระดับ 0.8% เปลี่ยนแปลงเพียง 0.7% ตั้งแต่ต้นปี 2557) และจะขึ้นดอกเบี้ยฯ ราวเดือน มิ.ย. 2558 ที่เหลือ 30% คาดว่าจะปรับขึ้น ในเดือน ก.ย. และส่วนน้อย 6% จะเกิดขึ้นในเดือน ก.ค. 2558
ตรงข้ามกับผลสำรวจของรอยเตอร์ส คาดว่า Fed อาจเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยออกไปล่าช้าจากเดิมในช่วงกลางปี 2558 โดยนายอีริค เดวิดสัน (หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการลงทุนของเวลส์ ฟาร์โก ไพรเวท แบงก์ ในซานฟรานซิสโก) แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ควรจะคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ด้วย เช่นกรณีที่ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ามากขึ้นจะไปกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างมากเกือบ 60% (ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2557) ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและภาวะเงินฝืดทั่วโลก และเห็นว่า Fed ควรใช้ดอกเบี้ยต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง แต่ขายตราสารหนี้
วานนี้ เงินทุนต่างชาติยังคงไหลเข้าภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 แต่ลดลงจากวันก่อนหน้า 73% เหลือเพียง 279 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นการซื้อสลับขายรายประเทศ ทั้งนี้ซื้อสุทธิสูงสุดคือไต้หวัน โดยซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 แต่ลดลง 58% เหลือราว 284 ล้านเหรียญฯ ตามมาด้วยไทย ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 ราว 71 ล้านเหรียญฯ (2.3 พันล้านบาท, ลดลง 29% จากวันก่อนหน้า) และอินโดนีเซียซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 62 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 52%) สวนทางกับเกาหลีใต้ที่สลับมาขายสุทธิราว 131 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วันก่อนหน้า) และ ฟิลิปปินส์สลับมาขายสุทธิเช่นกันราว 7 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิ 3 วันก่อนหน้า)
ทั้งนี้ เริ่มเห็นการชะลอการซื้อของต่างชาติและสลับขายออกมาในบางประเทศ แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงซื้อสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แม้ว่าปริมาณการซื้อลดลงเล็กน้อย สวนทางกับในตลาดตราสารหนี้ที่สลับมาขายสุทธิ 2 วันติดต่อกันรวมกว่า 8.2 พันล้านบาท ซึ่งน่าจะมีส่วนทำให้เงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นมากนัก (เช้านี้ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 32.55 บาทต่อเหรียญฯ)
ดอกเบี้ยลง ดีต่ออสังหาฯ/รถยนต์/ค้าส่ง-ค้าปลีก/ลิสซิ่ง
ดังที่กล่าวไปแล้ววานนี้ถึงแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่า แม้จะแข็งค่าน้อยกว่าในภูมิภาคก็ตาม แต่ความผันผวนของค่าเงินอาจจะกระทบต่อผู้ส่งออก ซึ่งประเด็นนี้อาจจะนำไปสู่การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายฯ ตามแนวคิดของ ก.คลังฯ (แหล่งข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์วันเสาร์ที่ 24 ม.ค. 2558) ซึ่งการประชุมของคณะกรรมนโยบายการเงินจะมีขึ้นในวันพุธที่ 28 ม.ค.2558 อาจจะสร้างความคาดหวังให้กับตลาด และแม้ทีมเศรษฐศาสตร์ของ ASP จะไม่ค่อยเห็นด้วยนักต่อการลดดอกเบี้ยฯ ดังที่แสดงความเห็นไปแล้วใน Market Talk วานนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการลดดอกเบี้ยฯ คาดว่าผู้ประกอบการที่อิงกับ ผู้บริโภคโดยตรงน่าจะได้ประโยชน์ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย, ยานยนต์, ค้าปลีก-ค้าส่ง, ธุรกิจการเงินรายย่อย (Consumer’s Finance) รายละเอียด ดังนี้
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (++ ) ตอบรับด้านบวกหากลดดอกเบี้ย : SPALI, PS
การโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้าตามแผนงาน ทำได้ง่ายขึ้น อัตราการปฎิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน น่าจะลดลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เป้าหมายการบันทึกรายได้ และกำไรที่ฝ่ายวิจัยคาดการณ์ไว้เป็นไปได้มากขึ้น ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2557 Backlog ของบริษัทจดทะเบียน อยู่ที่ระดับประมาณ 2.4 แสนล้านบาท (90% เป็นโครงการคอนโดมิเนียม)
ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย พิจารณาจากบริษัทจดทะเบียนที่ ASP ศึกษา 15 แห่ง มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม 2.21 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วน Net Gearing 1.10 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามหากอัตราดอกเบี้ยลดลง 0.25% ก็น่าจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง 554 ล้านบาท/ปี แต่เนื่องจากสัดส่วนประมาณ 75% ของดอกเบี้ยจ่ายถูกคำนวนเป็นต้นทุนพัฒนาโครงการ ทำให้เพียง 25% ของดอกเบี้ยเท่านั้นที่ถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในงบกำไรขาดทุน ดังนั้น หากดอกเบี้ยปรับลด 0.25% ก็น่าจะทำให้รายการดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนลดลง 139 ล้านบาท คิดเป็น 0.35% ของประมาณการกำไรปี 2558 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านใหม่เพิ่มขึ้น ดังปรากฏในภาพข้างล่าง
ทั้งนี้ หุ้น Top picks ของกลุ่มคือ SPALI([email protected]) และ PS([email protected]) นอกจากนี้ยังอาจมีแรงซื้อเก็งกำไรในหุ้นที่ราคายังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) โดยในช่วงที่ผ่านมามักจะถูกนำมาเก็งกำไรในฐานะที่เป็นเป้าหมายในการเข้าซื้อกิจการ หรือ ทำ Backdoor Listing ของกลุ่มทุนต่างๆ ทั้งนี้รายการที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วก็เช่น METRO, RASA, KC เป็นต้น สำหรับหุ้นราคาต่ำกว่า Book Value ที่น่าสนใจ ในความเห็นของฝ่ายวิจัย ได้แก่ BLAND (BV@ 2.21), LALIN ([email protected]) , MK (BV@ 6.15) ราคาหุ้น MK ขึ้น 14% ภายใน 2 วันระยะสั้นอาจจะถูก take profit ได้, PF (BV@ 1.55), SAMCO (BV@ 3.74) และ PRIN (BV@ 3.16) หรือมี PBV 0.833 เท่า, 0.78 เท่า, 0.81 เท่า, 0.83 เท่า, 0.85 เท่า และ 0.6 เท่า ตามลำดับ
ผลกระทบต่อราคาหุ้นพบว่าดัชนีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (PROP) ต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบาย พบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงผกผันกัน และส่วนใหญ่ PROP จะปรับตัวขึ้นไปเป็น Leading Indicator ก่อนที่จะเป็นวัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ย โดยในรอบดอกเบี้ยขาลงในปี 2544 ธปท. ลดดอกเบี้ย 1.25% พบว่าหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 491% และ ตรงกันข้ามช่วง ดอกเบี้ยขาขึ้นในปี 2547-2548 พบว่าหุ้นกลุ่มนี้ลดลง 39% หรือ การลดดอกเบี้ยรอบหลังสุดปี 2554 1.5% พบว่าหุ้นกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น 136%
กลุ่มยานยนต์ ได้รับผลบวกในเชิง sentiment เลือก AH เป็น Top pick
คาดดอกเบี้ยที่ลดลง จะเอื้อต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันดอกเบี้ยรถยนต์ใหม่อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ 0-1% (พร้อมเงินดาวน์เฉลี่ย 20-25% ผ่อนชำระ 4-6ปี) แต่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากกว่า คือ ความเข้มงวดในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ทำให้มีลูกค้าจำนวนมากที่ไม่ผ่านเงื่อนไข และไม่สามารถซื้อรถได้ ด้านผลกระทบด้านต้นทุนทางการเงิน บริษัทในกลุ่มยานยนต์ภายใต้ coverage 6 บริษัทส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยระยะยาว มีเพียง SAT และ AH ที่ได้ผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย เนื่องจากมี D/E ณ งวด 3Q57 ค่อนข้างต่ำที่ 0.35 และ 0.20 เท่า ตามลำดับ และประกอบไปด้วยหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นส่วนใหญ่
สำหรับ ยอดผลิตรถยนต์ปี 2557 มียอดรวมอยู่ที่ 1.88 ล้านคัน ต่ำกว่าประมาณการของฝ่ายวิจัยที่กำหนดไว้ที่ 1.9 ล้านคันเล็กน้อยสำหรับแนวโน้มปี 2558 คาดว่าจะมียอดผลิตรถยนต์รวม 2.1 ล้านคัน ซึ่งเกิดจากการฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศซึ่งปี 2557 มีฐานที่ต่ำ โดยคาดว่าจะเติบโต 14% YoY ส่วนตลาดส่งออก น่าจะอยู่ในระดับทรงตัว โดยเบื้องต้นคาดกำไรกลุ่มยานยนต์ปี 2558 ที่ 4.4 พันล้านบาท เติบโต 9%yoy และประเมินยอดผลิตรถยนต์ปี 2558 ที่ 2.1 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 11.7%yoy เลือก AH([email protected]) เป็น Top pick
ค้าส่ง-ค้าปลีก ช่วยลดต้นทุน เพิ่มเติมจากราคาน้ำมันที่ลดลง : ROBINS, CPALL
เชื่อว่า การลดดอกเบี้ยฯ จะส่งผลบวกในเชิงจิตวิทยา และถือเป็นปัจจัยบวกเรื่องที่ 2 ต่อเนื่องจากต้นทุนน้ำมันที่ลดลง ช่วยให้ภาพรวมต้นทุนการดำเนินงานของกลุ่มฯ แม้จะไม่มากนัก แต่ช่วยบรรเทาผลกระทบของด้านรายได้ที่ยังรับผลจากปัญหากำลังซื้อชะลอตัว ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายบริษัท พบว่ามีเพียง CPALL(FV@B53) ที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ย เนื่องจากมีหนี้สินสูงสุดในกลุ่ม คือ มีอัตราส่วน D/E อยู่ที่ 5.3 เท่า โดยมียอดหนี้สูงกว่า 1.8 แสนล้านบาท โดยเป็นส่วนที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวราว 5 หมื่นล้านบาท จากการศึกษาพบว่า หากอัตราดอกเบี้ยลดลง 25 bps จะส่งผลให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นราว 1% ขณะที่ บริษัทอื่นๆในกลุ่มได้รับผลบวกน้อยกว่า เนื่องจากมีเงินกู้น้อย โดยเลือก ROBINS (FV@B64) และ CPALL(FV@B53) เป็น Top pick
กลุ่มลีสซิ่ง ได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาลง ASK เด่นสุด
กลุ่มลิสซิ่ง เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในระดับกลาง และ รากหญ้า จึงน่าจะได้รับผลบวกหากทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาลง กล่าวคือ สินเชื่อที่คิดดอกเบี้ยกับลูกค้ามักเป็นอัตราเบี้ยคงที่ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับปริมาณธุรกรรมทั้งหมด ตรงกันข้าม กับต้นทุนการกู้ยืมของผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่พึ่งพาภาระหนี้สินที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จึงได้ประโยชน์เต็มที่ในภาวะดอกเบี้ยขาลง โดยจากการศึกษาของฝ่ายวิจัยในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง โดยทุกๆ 10bp ของต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปัจจุบัน จะส่งผลบวกต่อคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558 ของกลุ่มฯ ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8% จากคาดการณ์ปัจจุบัน บริษัทที่ได้ประโยชน์ 3 รายแรกได้แก่ ASK([email protected]), GL([email protected]), และ GCAP([email protected]) เลือก ASK([email protected]) เป็น top pick
ส่วนรายอื่น ๆ ได้ประโยชน์น้อย เช่น IFS([email protected]) เพราะแม้จะมีสัดส่วนของหนี้สินที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมาก แต่เนื่องจากมูลค่าหนี้สิน เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของสินเชื่อที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า จึงส่งผลลบต่อคาดการณ์ NIM และกำไรสุทธิปี 2558 ของ IFS
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล