- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 21 January 2015 15:42
- Hits: 1913
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET เริ่มผันผวนมีลุ้นปรับพัก ดังนั้นรอทยอยซื้อช่วงลบดีกว่า!!!
กลยุทธ์ : FSS คาดว่า SET ยังมีสิทธิแกว่งผันผวนในกรอบกว้าง ดังนั้นหลังจากรีบาวด์ขึ้นมาบ้างแล้วก็ต้องระวังแรงขายกดกลับ ดังนั้นถ้าจะซื้อเพิ่มเรายังแนะนำให้รอทยอยซื้อช่วง SET ลบน่าจะปลอดภัยกว่า
หุ้นเด่นทางเทคนิค : MC, BLAND, KTIS(short)
แนวโน้ม : เมื่อวานนี้ SET เริ่มแกว่งผันผวนและปรับตัวย้อนลงด้านลบอีกครั้ง หลังจากช่วง 2 วันก่อนหน้าดัชนีหุ้นไทยรีบาวด์กลับขึ้นมาพอควร โดยคาดว่าแรงซื้อส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรโอกาสที่ ECB จะออกมาตรการ QE เพิ่มเติมในการประชุมวันพรุ่งนี้ (22 ม.ค.) อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจน จึงทำให้มีแรงขายทำกำไรระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยง หลัง SET ขึ้นมาตอบรับข่าวไปบ้างแล้ว ขณะที่ช่วงนี้นักลงทุนต่างประเทศยังคงมียอดขายสุทธิต่อเนื่องในตลาดหุ้นไทย ซึ่งแม้ว่าจะไม่รุนแรงนักแต่คาดว่าน่าจะสร้างความกังวลอยู่บ้าง โดยค่าเงินบาทก็เริ่มกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงนี้ด้วย ส่วนเช้านี้ตลาดหุ้นในเอเชียเปิดมามีลักษณะค่อนข้างผันผวนโดยมีทั้งบวกและลบแคบๆ ไร้ทิศทางชัดเจน หลังจากเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกเพียงเล็กน้อยโดยมีการแกว่งตัวรุนแรงพอควรในระหว่างวัน เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกหลัง IMF ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลง ทำให้ FSS คาดว่า SET ยังอยู่ในช่วงแกว่งตัวผันผวนต่อเนื่องได้
แนวรับ 1532-1530 , 1527-1520 จุด
แนวต้าน 1538-1542 , 1545-1550 จุด
Fund Flow วานนี้ไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ในปริมาณที่เบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$291.4 ล้าน เกาหลีใต้ US$43.1 ล้าน แต่ขายอินโดนีเซีย US$26.7 ล้าน ไทย US$25.1 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$6.1 ล้าน และเวียดนาม US$0.1 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้นิ่ง Flow น่าจะยังไหลเข้าแต่เบาบางเพื่อรอผลประชุม ECB 22 ม.ค. นี้ที่คาดว่าจะออก QE เพิ่ม
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกลงทั้งที่ราคาน้ำมันถูกลง โดยปรับปี 2015-16 ลง 0.3% เหลือ 3.5% และ 3.7% ตามลำดับ เพราะไม่สามารถชดเชยเศรษฐกิจที่แย่ลงในจีน รัสเซีย ยูโรโซน ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศผู้ส่งออกน้ำมันได้ มีเพียงสหรัฐที่ถูกปรับ GDP ขึ้น (จาก 3.1% เป็น 3.6% ในปีนี้) สำหรับรัสเซียถูกปรับลงมากสุดจาก +0.5% เหลือ -3% ในปีนี้และ -1% ปีหน้า ส่วนเอเชีย จีนถูกปรับลงมากที่สุดเหลือ 6.8% ในปีนี้จากเดิม 7.1% และมองปีหน้าชะลอเหลือ 6.3% สำหรับ ASEAN5 (รวมถึงไทย) คาดทรงตัวที่ 5.2% ปีนี้และ 5.3% ปีหน้า
(+) ธนาคารส่วนใหญ่กำไรดีกว่าคาด ล่าสุดธนาคาร 8 ใน 9 แห่งที่เราศึกษา (ยังไม่รวม KTB) รายงานกำไรสุทธิ 4Q14 -8% Q-Q, +10% Y-Y ดีกว่าคาดเล็กน้อย ธนาคารที่กำไรดีกว่าคาดได้แก่ TISCO, TMB, SCB, BAY ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นและ NIM ที่สูงกว่าคาด Top pick ของเรายังคงเป็น KBANK (เป้าหมาย 271 บาท) แม้กำไรใน 4Q14 จะต่ำกว่าคาดเพราะค่าใช้จ่าย แต่ผลการดำเนินงานยังดีมากทั้ง NIM และคุณภาพสินเชื่อ และ KTB (เป้าหมาย 27.60 บาท)
(+) ครม.ไฟเขียวตั้ง “นาโนไฟแนนซ์” ปล่อยกู้รายย่อยวงเงินรายละไม่เกิน 1 แสนบาท ดอกเบี้ยไม่เกิน 36% ต่อปี มีทุนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และมี D/E ไม่เกิน 7 เท่า ผู้ที่ได้ประโยชน์คือผู้ที่ทำธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่แล้วและปล่อยกู้ในอัตราต่ำกว่า 36% มีสาขาครอบคลุมพื้นที่กว้างเช่น MTLS, SAWAD, ML, ECL, AEONTS, AMANAH, KTC รวมถึงธนาคารทุกแห่งโดยเฉพาะ BAY เรามองว่า MTLS อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดในการขยายธุรกิจนี้เพราะ D/E ต่ำสุดในกลุ่มและมีสาขากระจายเกือบทั่วประเทศ รองลงมาคือ ML, ECL แต่ KTC, AEONTS มี D/E สูง เป็นข้อจำกัดในการขยายธุรกิจ ส่วน AMANAH มีสาขาน้อยเกินไป
(-) CPF แนวโน้มผลประกอบการปี 2015 มีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะรายได้ 58% ที่มาจากธุรกิจต่างประเทศกำลังเผชิญกับเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนมาก ราคาเนื้อสัตว์มีแนวโน้มลดลงตามราคาวัตถุดิบ และธุรกิจกุ้งฟื้นช้ากว่าคาด เรามีแนวโน้มปรับประมาณการและราคาเป้าหมายปี 2015 ลงจากที่ให้ไว้ 37.50 บาท (มาจาก CPF 21 บาท + CPALL 16.50 บาท) แต่ราคาหุ้นที่ปรับลงเหลือ 26 บาท เท่ากับตลาดประเมิน PE ของธุรกิจ CPF เพียง 6.8 เท่าหรือคาดกำไรปีนี้หดตัว 30% Y-Y ซึ่งมองร้ายเกินไป เราจึงยังคงคำแนะนำซื้อ ส่วนกำไรสุทธิ 4Q14 เราคาด -72% Q-Q, -33% Y-Y
(+) IPO ใหม่ ‘S11’ บมจ.เอส 11 กรุ๊ป เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล สัดส่วนสินเชื่อที่ปล่อยกว่า 90% เป็นยี่ห้อฮอนด้า รองลงมาเป็นยามาฮ่า คาวาซากิ และซูซูกิ บริษัทมีกำไรโตก้าวกระโดดจาก 11 ล้านบาทในปี 2011 ซึ่งเริ่มกิจการ เป็น 116 ล้านบาทในปี 2013 และในงวด 9M14 กำไรโต 38% Y-Y ตามการขยายสาขาของ Dealer เราคาดกำไรปี 2014-15 จะเติบโต 63% และ 40% ประเมินราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 6.65 บาท อิง PBV 2.5 เท่าและคิดเป็น PE 15 เท่า (FSS เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ของ S11)
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดทรงตัวท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน โดยนักลงทุนจับตาดูราคาน้ำมันรวมถึงผลประกอบการ 4Q14 ของบริษัทจดทะเบียน
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมายังขยับขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยมีแรงซื้อเก็งกำไรจากคาดการณ์ที่ว่า ECB จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มเติมในการประชุมวันพรุ่งนี้
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในกรอบแคบๆหลังราคาน้ำมันดิ่งลงแรงอีกครั้งและนักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอผลการประชุม ECB
ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อย ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 32.65-32.80 บาท/ดอลลาร์
น้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 46.39 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 2.30 ดอลลาร์/บาร์เรล จากการที่ IMF ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลต่ออุปสงค์ของน้ำมัน
ทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 1,294.20 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 17.30 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนหลัง IMF ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่นักลงทุนคาดหวังว่า ECB จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19-23 ม.ค. - ไทย: กลุ่มธนาคารทยอยประกาศผลประกอบการปี 2014
21 ม.ค. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- สหรัฐ: Housing starts, Building permit (ธ.ค.)
22 ม.ค. - ยูโรโซน: ECB ประชุม, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.)
23 ม.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ธ.ค.), ลงมติคดีถอดถอน “นิคม-สมศักดิ์-ยิ่งลักษณ์”
- จีน: HSBC China Manufacturing PMI (ม.ค.)
- เกาหลีใต้: 4Q14 GDP
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ม.ค.)
27 ม.ค. - ไทย: ดัชนีผลิลตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต (ธ.ค.)
- สหรัฐ: S&P/CaseShiller Index (พ.ย.), คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ธ.ค.), ยอดขายบ้านใหม่ (ธ.ค.)
28 ม.ค. - ไทย: กนง. ประชุม
29 ม.ค. - ฟิลิปปินส์: 4Q14 GDP
- สหรัฐ: FOMC ประชุม, Pending home sales (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept. Tel: 02-646-9967, 02-646-9852