WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

“ลดพอร์ตถ้าหลุดฟิวเตอร์ 1515”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : x
     ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยผันผวน (ขึ้นไปสูงสุด 1535.55 ต่ำสุด 1521.01 แล้วปิดตลาดทรงตัวที่ 1523.38) ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้นักลงทุนบางกลุ่มชะลอหรือหยุดลงทุนไปก่อน เพราะอ่านทิศทางไม่ออก มูลค่าซื้อขายของตลาดจึงอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับช่วงที่ดีในปีก่อนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3.1 พันล้านบาท ส่วนอีก 3 กลุ่มที่เหลือซื้อสุทธิ

     สำหรับ วันนี้ Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้นค่อนไปทางลบ เนื่องจากผลกระทบหลังธนาคารกลางสวิสยกเลิกการผูกติดค่าเงินฟรังก์กับยูโรที่ 1.2สวิสฟรังก์/ยูโร และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น -0.75% (เดิม -0.25%) ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างแรง และ Bond Yield ในยุโรปร่วงลง (ของเยอรมนีลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าโอกาสที่ ECB จะประกาศใช้ QE เต็มรูปแบบในการประชุม 22 ม.ค.นี้มีมากขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์นี้ ส่วนในประเทศมีประเด็นเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตเลียมรอบ 21 ที่เดินหน้าต่อแม้สปช.มีมติให้ชะลอ ซึ่งทำให้ความกังวลเรื่องนี้ผ่อนคลายลง แต่ราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงต่อก็ยังกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน เรายังคงแนะนำ Fully Valued สำหรับ PTTEP และเห็นว่าคาดการณ์กำไรของPTT ปี 57-58 ของนักวิเคราะห์นั้นมี Downside Risk สำหรับกลุ่มส่งออก คาดว่าอาจได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อยูโร (YTD แข็งค่าราว4.4%) บริษัทที่ส่งออกไปยุโรป เช่น KCE (ประมาณ 50% ของรายได้รวม), TUF (30%), GFPT (10%) และ CPF (2-3%) แต่ก็เป็นบวกกับบริษัทที่มีหนี้ต่างประเทศสกุลยูโรมากๆ เช่น THAI

      การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นลบเล็กๆ แต่ถ้ารักษาค่าบวกได้จะมีแนวต้าน 1530-1540 หรือ 1550 จุด ค่าลบควรลดพอร์ตตามและตัดขาดทุนเมื่อดัชนีหลุด 1515 จุด การซื้อเก็งกำไรใหม่เน้นตามด้วยค่าบวกของดัชนี & ราคาหุ้นเป็นหลัก สำหรับการ Scan หาหุ้นที่ราคามีโอกาสทำNew High ในทางเทคนิค พบว่าหุ้นที่น่าสนใจ คือ PRINC, CWT ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ VIBHA, BMCL, ITD, CSS, M หุ้นที่หลุด List -ไม่มี- และหุ้นแนะนำที่ปรับขึ้นมาแล้วและอยู่ในพื้นที่น่า Take Profit ตามรอบ คือ NPP

 

Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
- สวิตเซอร์แลนด์ : ธนาคารกลางสวิสยกเลิกผูกติดค่าเงินฟรังก์กับยูโร+ลดดอกเบี้ยสู่ระดับ -0.75% จากเดิม -0.25% ทั้งนี้เดิมธนาคารกลางสวิส (SNB) ได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขั้นต่ำไว้ที่ 1.20 สวิสฟรังก์ต่อยูโร ที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 54 ผลก็คือ ค่าเงินฟรังก์ต่อยูโรแข็งค่าราว 30% สู่ระดับ 0.8052 เพียงไม่กี่นาทีหลัง SNB ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเทียบกับยูโรมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2547

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยุโรปร่วงลง โดยของเยอรมนีดิ่งสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และดัชนี FTSEurofirst 300 ร่วงลงกว่า 2% แต่ราคาทองดีดตัวขึ้นจากแรงซื้อของนักลงทุนที่เข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

- สหรัฐ : ตัวเลขภาคแรงงานและภาวะธุรกิจมิด-แอตแลนติกแย่กว่าคาด จำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์สิ้นสุด 10 ม.ค.เพิ่มขึ้น 19,000 ราย สู่ระดับ 316,000 ราย ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติกร่วงแรง สู่ระดับ 6.3 ในเดือนม.ค.58 จาก 24.3 ในเดือนธ.ค.57ย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 19.9

- BP บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของอังกฤษ เตรียมประกาศลดจำนวนพนักงานในแถบทะเลเหนือลงหลายร้อยตำแหน่ง เนื่องจากธุรกิจของบริษัทได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ร่วงลง ทั้งนี้ BP คาดว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 50-60 US$/bbl ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า

- ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงต่อ...การปรับเกณฑ์เพดานเงินฟรังก์สวิส &กำไรแบงค์ใหญ่ต่ำกว่าคาดกดดัน ดัชนี DJIA ร่วง 106.38 จุด หรือ -0.61% ดัชนี NASDAQ ลดลง 68.50 จุด หรือ -1.48% ดัชนี S&P500ลดลง 18.60 จุด หรือ -0.92% ทั้งนี้การยกเลิกเพดานกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินฟรังก์สวิสและลดอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับผลประกอบการของซิตี้กรุ๊ปใน 4Q57 ร่วงแรงถึง 86%YoY เพราะมีค่าใช้จ่ายด้านกฎหมายสูงขึ้น ส่วนแบงค์ ออฟ อเมริกามีกำไร 4Q57 ลดลง11%YoY เพราะรายได้ในธุรกิจสินเชื่อและเทรดดิ้งลดลง ประกอบกับตัวเลขภาคแรงงานอ่อนแอกว่าคาด

- สัญญาน้ำมันดิบกลับมาอ่อนตัว...อุปทานที่สูงมากกดดันต่อ โดยสัญญา WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 2.23 ดอลลาร์ ปิดที่ 46.25 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRETNT ลดลง 1.02 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.67 ดอลลาร์/บาร์เรลปัจจัยกดดัน คือ รายงานล่าสุดของกลุ่มโอเปกที่ว่าอุปทานน้ำมันที่มีอยู่มากเกินไปในปัจจุบันจะถ่วงราคาน้ำมันในปี 2558 และคาดว่าภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันจะซบเซา เนื่องจากขณะนี้ตลาดน้ำมันโลกมีปริมาณน้ำมันส่วนเกิน (Over Supply) อยู่อย่างน้อย 1 ล้านบาร์เรล/วัน จากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มโอเปกที่ 28.8 ล้านบาร์เรล/วัน (เดือนธ.ค.2557 การผลิตของกลุ่มอยู่ที่ 30.20 ล้านบาร์เรล/วัน) ส่วนสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ก่อนพุ่งขึ้น 5.4 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 4.17 แสนบาร์เรล ทั้งนี้สหรัฐผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 60,000บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 9.19 ล้านบาร์เรล/วันในรอบสัปดาห์ที่ก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่ EIA เริ่มทำการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตในปี2526

+ สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบก.พ.พุ่งขึ้น 30.3 ดอลลาร์หรือ +2.45% ปิดที่ระดับ 1,264.80 ดอลลาร์/ออนซ์ ความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสวิสได้เพิ่มน้ำหนักให้กับกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจจะประกาศโครงการซื้อพันธบัตรในระหว่างการประชุมวันที่ 22 ม.ค.นี้ เพื่อสกัดภาวะเงินฝืด อ

ปัจจัยในประเทศ & ข่าวหลักทรัพย์เด่น
    • กลุ่มพลังงาน : กระทรวงพลังงานเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ปลัดกระทรวงพลังงงาน ยืนยันเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 แม้ว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะคัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม โดยขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างเปิดให้ผู้สนใจยื่นคำขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจต่างๆ แล้ว

   ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : ความกังวลเรื่องการเลื่อนเปิดสัมปทานรอบที่ 21 หายไป แต่ความไม่แน่นอนว่า PTT อาจจะได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG & NGV ในประเทศนั้นอาจจะน้อยลง จากการที่ราคาก๊าซทยอยปรับลง ดังนั้นประมาณการกำไรสุทธิปี 58 ของเราที่ 9หมื่นล้านบาท (31.5 บาท/หุ้น) โดยมีราคาเป้าหมาย 380 บาทนั้นมีDownside (ในเบื้องต้นคาดว่าประมาณ 5%+/-) กรณีราคาเป้าหมายต่ำลง5% เป็น 360 บาท เมื่อเทียบกับราคาปิดวานนี้ที่ 319 บาท มี PotentialUpside 13% และคาดการณ์ Dividend Yield ปี 58 ไว้ที่ 4%

     สำหรับ PTTEP ประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายปี 58 ดูว่าจะมีDownside Risk เนื่องจากราคาน้ำมันดิบลงมาอย่างต่อเนื่อง ราคาก๊าซมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงตามในระดับที่มากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ใน BaseCase ที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ 70 US$/bbl และราคาก๊าซ 7.5 US$/mmbtuซึ่งมีราคาเป้าหมายตามวิธี DCF ที่ 109 บาท โดยในทางแย่ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปีนี้ลงมาที่ 55 US$/bbl และราคาก๊าซเฉลี่ยเป็น 7.2US$/mmbtu ราคาเป้าหมายจะลงไปต่ำกว่า 90 บาท

- ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร...อาจเป็นลบต่อการส่งออกไปยุโรป แต่เป็นบวกกับบริษัทที่มีหนี้สกุลยูโรจำนวนมาก ล่าสุดเป็น38.0226 บาท/ยูโร จากระดับปิดสิ้นปี 57 ที่ 39.7706 บาท/ยูโร (แข็งค่าขึ้น4.4%YTD)

      ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : ค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาท อาจเป็นลบกับปริมาณการส่งออกสินค้าของไทยไปสหภาพยุโรปได้ เพราะกำลังซื้อที่แท้จริงของสหภาพยุโรปลดลง หรืออาจถูกต่อรองราคาจากผู้ซื้อในยุโรปมากขึ้น ทั้งนี้บจ.ที่อาจได้รับผลกระทบได้แก่KCE (ส่งออกไปยุโรป 50% ของรายได้รวม), TUF (มีรายได้จากฐานธุรกิจที่ยุโรป 30% ของรายได้รวม), GFPT (ส่งออกโดยตรงไปยุโรปประมาณ 10%ของรายได้รวม) และ CPF (ส่งออกไปยุโรปประมาณ 2-3%) อย่างไรก็ดี เรามองว่าธุรกิจอาหารจะได้รับผลกระทบไม่รุนแรง เพราะเป็นสินค้าจำเป็นขั้นพื้นฐาน ประกอบกับสินค้าส่งออกหรือจำหน่ายหลักๆ เป็นไก่สดแช่แข็ง &ไก่แปรรูป, ทูน่า ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ราคาไม่แพง

   สำหรับ บริษัทที่มีหนี้สินในสกุลยูโรจำนวนมาก คาดว่าจะได้ประโยชน์เรื่องกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในงบการเงิน แต่ในด้านการดำเนินงานอาจถูกกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวยุโรปที่ต่ำลง เช่น THAI เป็นต้น ดังนั้นจะเน้นไปในทางเก็งกำไรเป็นหลัก

นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829
[email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!