- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 15 January 2015 16:08
- Hits: 1563
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
เทรดดิ้งช่วงนี้ยังเน้นลงซื้อ-ขึ้นขาย ส่วนซื้อถือยังรอซื้อต่ำอยู่!!
กลยุทธ์ : เนื่องจาก FSS คาดว่า SET จะยังแกว่งผันผวนและมีโอกาสปรับตัวขึ้น-ลงสลับไปมาต่อเนื่องได้ ดังนั้นสำหรับการเข้าเทรดดิ้งตามรอบ FSS จึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นซื้อช่วงลบ เพื่อรอขายทำกำไรในจังหวะบวกกลับได้อยู่ แต่ถ้าเป็นซื้อเพิ่มเพื่อถือลงทุนเรายังแนะนำให้เลือกรับในจังหวะ SET ไหลลงต่ำหน่อย ก็น่าจะปลอดภัยกว่า
หุ้นเด่นทางเทคนิค : UMI, FVC, RATCH(buy back)
แนวโน้ม : SET ยังอยู่ในช่วงแกว่งตัวขึ้น-ลงผันผวนต่อเนื่อง โดยเช้านี้แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากภาวะตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปที่ปิดเป็นลบค่อนข้างมาก หลังนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับผลประกอบการของเจพี มอร์แกนที่ออกมาต่ำกว่าคาด รวมทั้งธนาคารโลกยังปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลง เนื่องจากความเสี่ยงที่ตลาดการเงินทั่วโลกจะผันผวน และยูโรโซนอาจจะเผชิญภาวะเงินฝืด นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเมื่อคืนนี้ยังออกมาอ่อนแอด้วย แต่ตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่ยังสามารถเปิดแกว่งตัวด้านบวก หลังราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกฟื้นตัวขึ้นมาแรงพอควรจากแรงซื้อเก็งกำไรที่มีเข้ามาช่วยหนุน ซึ่งน่าจะทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานบ้านเราช่วยผลักดันให้ SET ยังมีจังหวะแกว่งบวกสลับเป็นระยะๆ ได้ ดังนั้นช่วงนี้ยังเน้นเป็นเทรดดิ้งตามรอบในลักษณะลงซื้อ-ขึ้นขายไว้ก่อน นอกจากส่วนลงทุนถึงจะยังถือต่อเนื่อง
แนวรับ 1522-1520 , 1515-1510 จุด
แนวต้าน 1528-1532 , 1535-1540 จุด
Fund Flow วานนี้ยังไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันในปริมาณที่เบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไต้หวัน US$193.9 ล้าน เกาหลีใต้ US$66.6 ล้าน อินโดนีเซีย US$49.6 ล้าน และไทย US$1.1 ล้าน แต่ซื้อฟิลิปปินส์ US$47.2 ล้าน และเวียดนาม US$2.4 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ทรงตัว Flow น่าจะเบาบางต่อเนื่อง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) World Bank ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2015 ลงเหลือ 3% จากเดิม 3.4% (คาดเมื่อ มิ.ย. 2014) และปรับปี 2016 ลงเป็น 3.3% จาก 3.5% มีเพียงสหรัฐที่ World Bank มองดีขึ้น ปรับ GDP ปีนี้เพิ่มจาก 3% เป็น 3.2% ในโซนเอเชีย มีจีนถูกปรับ GDP ปีนี้ลงเหลือ 7.1% (จาก 7.5%) ต่ำกว่าปีก่อนที่คาดโต 7.4% สำหรับไทย ถูกปรับลงเป็น 3.5% จาก 4.5% ฟื้นจากปีก่อนที่คาดโตเพียง 0.5% และคาดราคาน้ำมันเฉลี่ยในปี 2015 จะลดลงจากปีก่อน 30% (เหลือ US$65-70) มุมมองที่แย่ลงต่อเศรษฐกิจโลกยิ่งเป็นลบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปัจจุบันต่ำสุดในรอบ 12 ปีโดยเฉพาะทองแดง
(-) ต่างประเทศปั่นป่วนหนุนกระแสเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง เงินเฟ้อเดือน ธ.ค. ของฝรั่งเศสลดเหลือ 0.1% ใกล้จุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน ก.ค. 2009 ส่วนของอิตาลีอยู่ที่ 0.0% ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เงินสกุลยูโรอ่อนค่าต่อเนื่อง สะท้อนการคาดการณ์ว่า ECB จะมี QE ชุดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาเงินฝืดแต่ธนาคารกลางเยอรมนีกลับไม่เห็นด้วย ความผันผวนในประเทศต่างๆ หนุนให้เงินยังไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าหา Safe Haven (ทองคำ เงินดอลลาร์ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ)
(+) รฟท.เล็งล้มประมูลรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 มูลค่า 2.79 หมื่นล้านบาท โดยให้เวลากลุ่มมิตซุยซึ่งประมูลได้ ถึง 10 ก.พ.ในการเสนอราคาใหม่ แม้มีโอกาสสูงที่จะยกเลิกและเปิดประมูลใหม่เพราะราคาที่กลุ่มมิตซุยเสนอ 4.9 หมื่นล้านบาท ต่างจากราคากลาง 2.79 หมื่นล้านบาท เกือบเท่าตัว แต่ยังเร็วไปที่จะเก็งกำไรกลุ่มรับเหมาด้วยประเด็นนี้ เพราะต้องรอการตอบรับของกลุ่มมิตซุย และหากเปิดประมูลใหม่ ก็จะมีการปรับปรุงเงื่อนไข TOR ใหม่ด้วย
(0) TISCO การประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ ผู้บริหารมองลบต่อการเติบโตของสินเชื่อในปี 2015 โดยคาดทำได้เพียงทรงตัว เรามีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของสินเชื่อจากเดิม 8% เป็น 0% แต่ยังคงประมาณการกำไรสุทธิโต 6% Y-Y เป็น 4.5 พันล้านบาท เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่ชดเชยได้ (สำรองลดลง ต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ รายได้ค่าธรรมเนียมโตดีขึ้น) จึงยังแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 56 บาท และคาดปันผล 2 บาท/หุ้น
(-) KSL เราปรับลดกำไรปี 2015 เพราะมองลบต่อราคาน้ำตาลมากขึ้น โดยปรับลงถึง 22% เหลือโตเพียง 10% Y-Y จากการปรับสมมติฐานราคาน้ำตาลเฉลี่ยลงเป็น 16-17 เซนต์ต่อปอนด์ จากเดิมที่ 20-21 เซนต์ต่อปอนด์ แม้ในปีนี้ปริมาณน้ำตาลโลกจะเข้าสู่ภาวะสมดุลเป็นปีแรกในรอบ 4 ปี แต่ค่าเงินเรียลของบราซิลที่อ่อนค่าและราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ กลับกดดันราคาน้ำตาลโลก การเติบโตของ KSL จะดีขึ้นในปี 2016-17 จากการขยายกำลังผลิตน้ำตาลและเอธานอล เราปรับลดราคาเป้าหมายปี 2015 เป็น 13 บาท จากเดิม 16.10 บาท ราคาหุ้นใกล้เต็มมูลค่าแล้ว ลดคำแนะนำลงเป็นถือ จากเดิมซื้อเก็งกำไร
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงเป็นวันที่ 4 หลังตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. ออกมาต่ำกว่าคาด รวมถึงความกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปรับตัวร่วงแรงจากการร่วงลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงท่าทีของเยอรมนีที่ไม่เห็นด้วยกับ ECB ในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวค่อนมาในแดนบวกโดยเฉพาะตลาดหุ้นญี่ปุ่นจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่ารวมถึงราคาน้ำมันดิบทืปรับตัวสูงขึ้น
ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเคลื่อนไหวในกรอบ 32.68-32.80 บาท/ดอลลาร์
น้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 48.48 ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 2.59 ดอลลาร์/บาร์เรล จากตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นรวมถึงแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า
ทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 1,234.50 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 0.10 ดอลลาร์/ออนซ์ จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ต่ำกว่าตลาดคาด อย่างไรก็ตามการปรับตัวลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์กดดันการปรับขึ้นของราคาทองคำ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
15-ม.ค. - ไทย: NDR เริ่มเทรด (ราคา IPO 2.70 บาท)
- ฟิลิปปินส์: ตลาดหุ้นปิดทำการ
- เกาหลีใต้: ธนาคารกลางประชุม
16-ม.ค. - สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ธ.ค.)
19-23 ม.ค. - ไทย: กลุ่มธนาคารทยอยประกาศผลประกอบการปี 2014
20 ม.ค. - ไทย: ยอดขายรถ (ธ.ค.)
- จีน: 4Q14 GDP, ยอดค้าปลีก (ธ.ค.) Fixed asset investment (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (ม.ค.)
21 ม.ค. - ญี่ปุ่น: BOJ Monetary Policy Statement
- สหรัฐ: Housing starts, Building permit (ธ.ค.)
22-ม.ค. - ยูโรโซน: ECB ประชุม, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.)
23-ม.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ธ.ค.)
- จีน: HSBC China Manufacturing PMI (ม.ค.)
- เกาหลีใต้: 4Q14 GDP
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ธ.ค.)