- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 14 January 2015 17:57
- Hits: 2531
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“แกว่งไม่หลุด 1510 ยังมีลุ้น 1540,1550”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้แกว่งตัว โดยปรับลงในช่วงต้น นำโดยกลุ่มพลังงานที่ถูกกระทบจากราคาน้ำมันดิบลดลงต่อเนื่อง แต่มีแรงซื้อกลับหุ้นขนาดกลาง-เล็กในช่วงบ่าย ทำให้ดัชนีกลับมาปิดบวกได้ 3.76 จุด ที่ 1534.97 แต่มูลค่าซื้อขายอยู่ในระดับปานกลางที่ 4หมื่นกว่าล้านบาท ต่างชาติยังขายสุทธิต่อ 2.2 พันล้านบาท พอร์ตบล.ขายสุทธิ 500 กว่าล้านบาท ส่วนสถาบันในประเทศและรายย่อยซื้อสุทธิในระยะสั้น การซื้อเก็งกำไรผลประกอบการ 4Q57 และแนวโน้มปี 58 รวมถึงความคาดหวังว่า ECB จะออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมด้วยการเข้าซื้อตราสารหนี้ภาครัฐยังช่วยพยุงตลาดหุ้นในช่วงนี้ไว้ อย่างไรก็ตาม ตลาดมีประเด็นที่ไม่แน่นอนและความเสี่ยงหลายด้าน เช่น ผลเลือกตั้งกรีซในวันที่ 25 ม.ค.นี้ โดยถ้าพรรคไซรีซาชนะการเลือกตั้ง ก็มีความเสี่ยงว่ากรีซอาจต้องออกจากยูโรโซนเพราะพรรคต่อต้านนโยบายรัดเข็มขัด, ผลกระทบจากการดิ่งลงของราคาน้ำมันที่กดดันประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันให้มีกำลังซื้อที่ลดลงไปมาก
และราคาน้ำมันดิบที่อ่อนกดดันหุ้นกลุ่มพลังงานต่อเนื่องใน 1Q58 โดยคาดว่าจะยังมีผลขาดทุนจากสต็อกอีกจำนวนมาก รวมถึงอาจต้องตั้งสำรองด้อยค่าฯ ในเงินลงทุนเพิ่มอีก ซึ่งส่วนนี้กระทบกับ PTTEP ค่อนข้างชัดเจนเราจึงคง Fully Valued สำหรับ PTTEP การลงทุนในช่วงนี้ยังต้องใช้ความระมัดระวัง และเน้นการลงทุนรอบสั้นแบบหวัง Gap กำไรไม่มากไปก่อน ทั้งนี้ภาพตลาดจะยังเป็น Sideways down จนกว่า SET Index จะสามารถขึ้นไปยืนเหนือ 1550 จุดได้อย่างมั่นคง ส่วนหุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น BGH
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นบวก แต่ก็พร้อมเปลี่ยนเป็นลบ โดยการบวกต่อมีแนวต้าน 1540 หรือ 1550 จุด ค่าลบควรลดพอร์ตตาม และตัดขาดทุนเมื่อดัชนีหลุด 1510 จุด การซื้อเก็งกำไรใหม่เน้นตามด้วยค่าบวกของดัชนี & ราคาหุ้นเป็นหลัก
สำหรับการ Scan หาหุ้นที่ราคามีโอกาสทำ New High : จากระดับปิดเมื่อวานนี้ พบว่าหุ้นที่น่าสนใจ คือ ITD, UNIQ, SAMART, TTA ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ CEN, VIBHA, BMCL หุ้นที่หลุด List –ไม่มี- และหุ้นที่ปรับขึ้นและอยู่ในพื้นที่น่า Take Profit คือ TRC, ECL, MTLS, AKR, AJD
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
+ จีน : ส่งออกปี 57 เติบโต 6.1%YoY ส่วนนำเข้าเพิ่มเพียง 0.4%YoYสำหรับมูลค่าส่งออก+นำเข้าโดยรวมเพิ่ม 3.4%YoY โดยในเดือนธ.ค.57มูลค่าส่งออก+นำเข้าเติบโต 4.2%YoY ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้การค้าของจีนกับ EU เพิ่มขึ้น 8.9%YoY ในปี 57 การค้ากับสหรัฐเพิ่มขึ้น5.4%YoY และการค้ากับอาเซียนเพิ่มขึ้น 7.1%YoY
+ สหรัฐ : ความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปีดัชนีความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจขนาดย่อมของ NFIB เพิ่มขึ้น 2.3 จุด สู่ระดับ 100.4 ในเดือนธ.ค.57 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.49 และดัชนีขึ้นมาสูงกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยขณะนี้แตะค่าเฉลี่ยก่อนช่วงเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แรงหนุน คือ การคาดการณ์ยอดขายที่พุ่งขึ้น รวมทั้งการจ้างงาน, การลงทุน และแผนขยายการจ้างงาน
- ตลาดหุ้นสหรัฐ : บวกแรงในวันแต่ปิดลบ ในระหว่างซื้อขายดัชนีDJIA บวกเกือบ 1.6% ในระหว่างซื้อขาย ตอบรับผลประกอบการของอัลโคอิงค์ และตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของจีนที่ดีกว่าคาด แต่แรงขายทำกำไรและความวิตกกับผลกระทบราคาน้ำมันดิ่งฉุดตลาดอ่อนตัวลงในช่วงบ่าย และปิดตลาดในแดนลบ โดยดัชนี DJIA ปิดลบ 27.16 จุด (-0.15%)
+/• อัลโค อิงค์ : ผลประกอบการดีกว่าคาด โดยรายงานรายได้ 4Q57พุ่งขึ้น 14% สู่ระดับ 6.4 พันล้านดอลลาร์ ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จับตาผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ในสหรัฐที่จะรายงานในสัปดาห์นี้ เช่นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, เวลส์ ฟาร์โก และซิตี้กรุ๊ป
- สัญญาน้ำมันดิบอ่อนตัวต่อ โดย WTI ส่งมอบก.พ.ลดลง 18 เซนต์ ปิดที่ 45.89 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ลดลง 84 เซนต์ ปิดที่ 46.59ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐโดยเฉลี่ยในปี 58 จะอยู่ที่ 9.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นราว 10% จากช่วง12 เดือนก่อนหน้า
- แนวโน้มราคาทองคำ : นักวิเคราะห์บางรายประเมินว่าจะอ่อนต่อในปี 58 นักวิเคราะห์จากคูเปอร์ แอนด์ นอร์ริช ออกรายงานคาดการณ์ว่าราคาทองจะยังคงดิ่งลงในปี 58 จากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยมองว่าจะลงไปต่ำกว่า 1,130 ดอลลาร์ในปีนี้ แต่เป็นโอกาสดีสำหรับนักลงทุนระยะยาวในการเข้าตลาด ด้านบาร์เคลย์ส คาดการณ์ว่าราคาทองคำยังคงปรับตัวลงในปี 58 เช่นกัน เพราะถูกกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกลางปีนี้ ทั้งนี้บาร์เคลย์สคาดว่าราคาทองเฉลี่ยจะเป็น 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์ใน1Q58 และอยู่ที่ 1,180 ดอลลาร์ใน 2Q58 และลดลงสู่ 1,130 ใน 3Q58ก่อนที่จะขยับขึ้นสู่ 1,170 ดอลลาร์ใน 4Q58
• สัญญาทองคำตลาด COMEX ขยับขึ้นเล็กน้อย โดยสัญญาส่งมอบก.พ.เพิ่มขึ้น 1.6 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 1,234.4 ดอลลาร์/ออนซ์
• ดอยช์ แบงก์ ประเมินเงินยูโรอ่อนค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐต่อเนื่องใน 3 ปีข้างหน้า ธนาคารดอยช์ แบงก์ (DB) ได้ปรับลดคาดการณ์ค่าเงินยูโรลงสู่ 1.10 ดอลลาร์สหรัฐ, 1.00 ดอลลาร์สหรัฐ และ 0.90 ดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี 58, 59 และ 60 ตามลำดับ...หากเป็นทิศทางนี้ คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจะไหลเข้าไปในตลาดเงินและตลาดทุนสหรัฐได้อีก
ปัจจัยในประเทศ & ข่าวหลักทรัพย์เด่น
• เบื้องต้นจัดทำงบประมาณใช้จ่ายปี 59 เพิ่ม 2.57 แสนล้านบาทจากงบฯปี 58 สำนักงบประมาณเปิดเผยว่าม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 59 โดยได้มีการสรุปตัวเลขงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 2.72 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปี58 กว่า 2.57 แสนล้านบาท เป็นงบลงทุน 20% หรือราว 5.34 แสนล้านบาท ภายใต้ประมาณการความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 4.2%
• อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยน่าจะยังไม่ลดในเร็วๆ นี้ นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ การลดดอกเบี้ยเพื่อลดต้นทุนการเงิน ไม่ได้ช่วยให้ภาคเอกชนอยากลงทุนเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยไม่ได้เป็นอุปสรรคในการลงทุน
• สปช.โหวตคว่ำไม่รับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ตามมติของคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญสายปฎิรูปพลังงาน ด้วยคะแนนเสียง130 ต่อ 79 (งดออกเสียง 21) โดยสปช.หลายท่านเห็นว่ายังไม่ควรเปิดสัมปทานรอบที่ 21 เพราะควรศึกษาในระบบแบ่งปันผลผลิตก่อน แล้วค่อยตัดสินใจ
• กลุ่มพลังงาน : ก.พลังงานระบุว่าไทยมีก๊าซใช้ได้อีก 6-8 ปี นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุว่าไทยเปิดสัมปทานปิโตรเลียมไปแล้ว 20 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2514 โดยเดิมจะเปิดทุกๆ 2-3 ปี แต่ครั้งที่ 21 เปิดล่าช้ามาแล้ว 7 ปี เนื่องจากมีการคัดค้านการเปิดสัมปทานสำหรับสำรองก๊าซในขั้นพิสูจน์แล้วเมื่อสิ้นปี 2556 มีเท่ากับ 8.4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต แต่ความต้องการใช้สูงถึง 1.7 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุตต่อปี หากใช้ก๊าซเฉพาะในประเทศไม่รวมนำเข้าจะเหลือใช้แค่ 4.9 ปี แต่หากรวมนำเข้าจากเมียนมาร์และนำเข้า LNG จะใช้ได้ 6-8 ปี
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]