- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 07 January 2015 15:38
- Hits: 2169
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET ลงในกรอบจำกัดและยังลุ้นดีดกลับได้...ลบน่าซื้อ!!!
กลยุทธ์ : FSS คาดว่าการปรับตัวลงของ SET ช่วงนี้มีกรอบจำกัด และยังลุ้นแรงซื้อกลับที่จะมีเข้ามาช่วยหนุนให้ดัชนีพลิกกลับไปวิ่งขึ้นอีกครั้งได้ในช่วงถัดไป ดังนั้นเราจึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นเข้าซื้อเพิ่มช่วง SET ปรับตัวลง แล้วเน้นถือเพื่อรอรอบรีบาวด์ของตลาดต่อไปได้
หุ้นเด่นทางเทคนิค : AKR, SAWAD, TPIPL(buy back)
แนวโน้ม : แม้ว่า SET ยังปรับลงต่อ แต่ก็พอจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาช่วยหนุนในจังหวะเป็นลบบ้าง ทำให้ FSS คาดว่ายังลุ้นโอกาสสร้างฐานเพื่อการกลับไปเป็นตลาดขาขึ้นรอบใหม่ได้ตามคาดการณ์เดิม แต่เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศยังกดดัน SET จึงยังอยู่ในช่วงอ่อนตัวให้เห็นได้อยู่ โดยเช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ยังเปิดลบ หลังดัชนีดาวโจนส์และตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลง จากความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์น้ำมันดิบในตลาดโลก รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาอ่อนแอกว่าคาด และตัวเลขภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนเดือน ธ.ค. ก็ชะลอตัวลงจากประมาณการเบื้องต้นด้วย นอกจากนี้ความกังวลเกี่ยวกับแรงขายของ LTF ที่จะครบอายุปีนี้ก็ยังมีอยู่ อย่างไรก็ตามเราคาดว่ากรอบการปรับตัวลงของ SET จะถูกจำกัดอยู่แถว 1400 จุดหรือใกล้เคียง ก่อนที่ราคาหุ้นที่ต่ำลงจะช่วยกระตุ้นแรงซื้อกลับให้มีเข้ามาหนุนตลาดในช่วงถัดไป ดังนั้น SET ปรับลงจึงยังน่าเลือกหุ้นเข้าซื้อ
แนวรับ 1476-1473 , 1467-1460 จุด
แนวต้าน 1482-1485 , 1490-1493 จุด
Fund Flow วานนี้ไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคในปริมาณที่หนาแน่น โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$567.1 ล้าน เกาหลีใต้ US$326.3 ล้าน ไทย US$120 ล้าน อินโดนีเซีย US$34.9 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$25.4 ล้าน แต่ซื้อเวียดนาม US$2.1 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ค่อนข้างนิ่ง Flow น่ายังไหลออกแต่เบาบาง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ความเสี่ยงเรื่อง Credit risk กดดันตลาด ราคาน้ำมันที่ร่วงต่ำกว่า US$50 กระตุกให้ตลาดยิ่งเพิ่มความกังวลเรื่องความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ความเสี่ยงในการล้มเลิกกิจการ และความเสี่ยงจากการถูกลดอันดับเครดิต (Credit risks) ของผู้ประกอบการน้ำมันทั่วโลกมากขึ้นไปอีก ความกังวลนี้ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปที่กลุ่มสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ หุ้นกลุ่มสถาบันการเงินทั่วโลกจึงถูกกดดันในระยะนี้ สะท้อนได้จาก CDS spread ของแทบทุกประเทศทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สำหรับ CDS ของไทยล่าสุดอยู่ที่ 118bps เพิ่มขึ้นถึง 20bps จากต้นปี กระแสเงินลงทุนทั่วโลกยังคงไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย เช่นทองคำ เงินดอลลาร์ และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
(+) LPN ยอด Presales ในปี 2014 ทำได้ 85% ของเป้า เพราะหลายโครงการเลื่อนมาเปิดในปีนี้ ขณะที่รายได้โอนก็พลาดเป้าเช่นกัน เราจึงปรับประมาณการกำไรปกติปี 2014 ลง 17% เหลือ 1.94 พันล้านบาท หดตัว 16% Y-Y แต่คงประมาณการกำไรปี 2015 ที่ 3.05 พันล้านบาท กลายเป็นโตก้าวกระโดด 57% Y-Y สูงสุดในกลุ่ม เราคงราคาเป้าหมาย 25 บาท และคงคำแนะนำซื้อ ราคาหุ้นที่ปรับลงมาตั้งแต่ปลายเดือนก่อนเริ่มยืนได้ เราคิดว่าน่าซื้อเก็งกำไรผลประกอบการ 4Q14 ที่คาดว่าจะดีขึ้นมาก +19% Q-Q, +20% Y-Y
(+) ROJNA เตรียมเปิดพื้นที่นิคมฯใหม่ 2 แห่งในชลบุรี คือ 1) ที่อำเภอบ่อวิน พื้นที่ขาย 1.5 พันไร่ และ 2) ที่ต.ตะเคียนเตี้ย ใกล้ท่าเรือแหลมฉบัง พื้นที่ขาย 750 ไร่ ยื่นขอ BOI แล้วและอยู่ระหว่างทำ EIA ซึ่งคาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 ปี หากมีการขายที่ดินเกิดขึ้นในปี 2015 จะรับรู้เป็นรายได้อย่างเร็วสุดประมาณปี 2016 ส่วนนิคมฯที่ปราจีนบุรี ปัจจุบันเหลือพื้นที่ขาย 1.5 พันไร่ ล่าสุดกำลังเจรจาขายที่ดินประมาณ 500 ไร่ให้ลูกค้ารายใหญ่ คาดทราบผลใน 1Q15 เรายังคงคาดกำไรปกติปี 2015 +51% Y-Y บนสมมติฐานการโอนที่ดิน 800 ไร่ในปีนี้ แต่ปรับ EPS ขึ้นเล็กน้อย 5% เพราะมีผู้ใช้สิทธิเพิ่มทุนน้อยกว่าคาด ราคาเป้าหมายจึงปรับขึ้นเป็น 8.15 บาทจาก 7.90 บาท เพิ่มคำแนะนำเป็นซื้อ จากเดิมถือ
วันนี้มีลูกหุ้นเข้า BAY (1,282 ล้านหุ้น), GIFT (90 ล้านหุ้น), KTECH (20 ล้านหุ้น), UWC (127 ล้านหุ้น) // DCC แตกพาร์จาก 1 บาท เป็น 0.10 บาท
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวร่วงลงอีก 130 จุดโดยหุ้นในกลุ่มพลังงานที่ร่วงลงจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องยังคงกดดันตลาด
ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนลบต่อเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังปรับตัวลงต่อ
ซึ่งจากบรรยากาศการลงทุนที่ยังไม่สดใสส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ยังปรับตัวในแดนลบต่อเนื่อง
ค่าเงินบาทเริ่มมีจังหวะแข็งค่าขึ้น ล่าสุดแกว่งตัวในกรอบ 32.80-32.90 บาท/ดอลลาร์
น้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 47.93 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 2.11 ดอลลาร์/บาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 5 ปีครึ่งจากกระแสเรื่องอุปทานที่ยังคงล้นตลาดที่ยังคงกดดัน
ทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 1,219.40 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 15.40 ดอลลาร์/ออนซ์ จากตลาดหุ้นที่ยังคงร่วงลงต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังดิ่งลงรวมถึงสถานการณ์การเมืองของกรีซ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
7 ม.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (ธ.ค.)
8 ม.ค. - ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ธ.ค.), TPCH เริ่มเทรด (ราคา IPO 12.75 บาท)
- จีน: ดุลการค้า (ธ.ค.)
- สหรัฐ: รายงานการประชุม FOMC ของวันที่ 16-17 ธ.ค.
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ธ.ค.)
9 ม.ค. - จีน: ยอดสินเชื่อ (ธ.ค.), เงินเฟ้อ (ธ.ค.), TREIT เริ่มเทรด (ราคา IPO 10 บาท)
- สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงาน (ธ.ค.)
14 ม.ค. - สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: Industrial Production (พ.ย.)
15 ม.ค. - เกาหลีใต้: ธนาคารกลางประชุม
16 ม.ค. - สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ธ.ค.)
20 ม.ค. - ไทย: ยอดขายรถ (ธ.ค.)
- จีน: 4Q14 GDP, ยอดค้าปลีก (ธ.ค.) Fixed asset investment (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (ม.ค.)
21 ม.ค. - ญี่ปุ่น: BOJ Monetary Policy Statement
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept. Tel: 02-646-9967, 02-646-9852