- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 29 December 2014 18:42
- Hits: 1620
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“เน้นซื้อตามด้วยค่าบวก หลุด 1505 Stop Loss”
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวันศุกร์ตลาดผันผวน ต่ำสุด -11.86 จุด แต่สามารถปรับขึ้นปิด +5.52 จุดที่ 1510.44 จุดได้ เพราะแรงซื้อเก็งกำไรของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ส่วนอีก 3 กลุ่มเป็นขายสุทธิแต่ไม่มาก โดยมูลค่าซื้อขายของตลาดต่ำ เนื่องจากเป็นช่วงหยุดยาวในเทศกาลคริสต์มาส & ปีใหม่
สำหรับวันนี้ ตลาดอยู่ใน Sentiment ที่เป็นบวกเล็กๆ โดยตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับขึ้นในการซื้อขายโค้งสุดท้ายของปี 57 และของไทยเองก็มีปัจจัยกระตุ้นจากการซื้อของกองทุน LTF ด้วย ราคาน้ำมันดิบในตลาดฟิวเจอร์สที่ปรับขึ้น 0.8-1.0% ในช่วงเช้าวันนี้ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นในระยะสั้นสำหรับการปรับลดคาดการณ์ GDP Growth ของไทยในปี 57-58 เป็น 0.8% และ 4.0% (จากเดิม 1.5% และ 4.8%) ไม่ได้ Surprise ตลาด เนื่องจากหลายสำนักวิจัย รวมถึง DBSV ได้ปรับคาดการณ์ตัวเลขลดลงกันไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนปัจจัยภายนอกที่ยังต้องติดตาม คือ ตัวเลขเศรษฐกิจประเทศชั้นนำ และสถานการณ์การเงินในรัสเซีย รวมถึงประเด็นการเมืองระหว่างชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก หุ้นพื้นฐานที่แนะนำลงทุนวันนี้เป็นTASCO
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดในระยะสั้นมากพลิกเป็นบวกเล็กๆ โดย SET Index สามารถปิดเหนือ SMA10 วันได้ แต่ภาพระยะกลางยังเป็นลบจากโครงสร้าง Sideway down ที่กดดันต่อเนื่อง ดังนั้นการเข้าซื้อใหม่จึงเน้นตามด้วยค่าบวกเท่านั้น อ่อนตัวต่อมีแนวเด้ง 1480+/- จุด การปรับขึ้นจากระดับปัจจุบันมีแนวต้านที่คาดหวัง 1520-1530 จุด
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
+ สหรัฐ : ตลาดหุ้นและเงินดอลลาร์สหรัฐยังได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยจีดีพีไตรมาส 3/57 ขยายตัวสูงเกินคาดที่ 5.0% (นักวิเคราะห์ประมาณการไว้ 4.3%) และแนวโน้มที่ยังขยายตัวได้ดีจากการฟื้นตัวของภาคแรงงานและการบริโภคค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเมื่อเทียบกับยูโรที่มา : Aspen, DBSV Retail Research
•/+ ตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้นต่อ โดยดัชนี DJIA ปิดที่ 18,053.71 จุดเพิ่มขึ้น 23.50 จุด ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,088.77 จุด เพิ่มขึ้น 6.89 จุด ดัชนีNASDAQ ปิดที่ 4,806.86 จุด เพิ่มขึ้น 33.39 จุด นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ปัจจัยหนุน คือเศรษฐกิจสหรัฐที่เติบโตแข็งแกร่ง
- สัญญาน้ำมันดิบอ่อนลง โดยสัญญา WTI ส่งมอบเดือนก.พ. ปรับตัวลง1.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 54.73 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT ลดลง 79 เซนต์ปิดที่ 59.45 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้อุปทานน้ำมันดิบที่สูงเพราะประเทศผู้ผลิตขนาดใหญ่ยืนยันการผลิตระดับเดิมแม้อุปสงค์เติบโตจำกัดยังกดดัน
+ สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ.ปรับตัวขึ้น 21.8ดอลลาร์ หรือ +1.86% ปิดที่ 1,195.30 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ & ข่าวหลักทรัพย์เด่น
+ธปท.ประเมินราคาน้ำมันลดลง 10% ส่งผลให้จีดีพีไทยเพิ่มขึ้น0.2% และเงินเฟ้อลดลง 0.4% ทั้งนี้คาดว่าไทยจะได้รับประโยชน์กับน้ำมันดิบลดลงมากที่สุดในกลุ่มประเทศ EMEs เพราะนำเข้าสุทธิสูงกว่าประเทศอื่นๆ โดยในปี 56 ไทยนำเข้าน้ำมันสุทธิ 9.4% ของจีดีพี โดยราคาน้ำมันที่ลดลงส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยดีขึ้น ส่วนผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นประเทศส่งออกน้ำมันมาก (รัสเซีย,ตะวันออกกลาง, มาเลเซีย) ที่ลดลงคาดว่าจะไม่มากในระยะยาว เพราะส่วนหนึ่งได้รับการชดเชยจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนั้นคาดว่าน้ำมันดิบที่ลดจะช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศด้วย เพราะภาคครัวเรือนมีรายได้แท้จริงเพิ่มขึ้น และคาดว่าส่วนใหญ่จะนำค่าน้ำมันยานพาหนะ และค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้มาจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันรวมถึงกระตุ้นให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับภาคธุรกิจก็จะได้ประโยชน์จากต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่ลดลง หุ้นกลุ่มหลักที่ได้รับประโยชน์จากน้ำมันลง คือ สายการบิน (หุ้นเด่น AAV, BA), ค้าปลีก (หุ้นเด่น CPALL, BIGC), ทางด่วน (BECL), ยางมะตอย (หุ้นเด่น TASCO)
+ ธปท.ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 57-58 เป็นเติบโต 0.8%และ 4.0% จากเดิมที่ 1.5% และ 4.8% ปัจจัยที่กดดันเศรษฐกิจ คือเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นช้า รายได้ภาคเกษตรหดตัวส่งผลต่อการบริโภค แต่สิ่งที่ช่วย คือ ราคาพลังงานต่ำลง และการใช้จ่าย & ลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นในปี58 จากการลงทุนที่ล่าช้าไปมากในปี 57 เพราะต้องใช้เวลาในการศึกษาและตรวจสอบความเหมาะสมของโครงการธปท. : ประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจใหม่
- ส่งออกพ.ย.57 หดตัว 1.0%YoY เป็น 18,568 ล้านUS$ ส่วนนำเข้าลดลง 3.46%YoY โดยกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าเป็นผลจากการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ยางพารา ลดลง และมูลค่าส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปหดตัวตามราคาที่ดิ่งลง ทั้งนี้การส่งออกไปตลาดหลักลดลงเกือบทุกตลาดสำหรับ 11M57 มูลค่าส่งออกลดลง 0.42%YoY เป็น 209,188 ล้านUS$เรายังกังวลกับการฟื้นตัวของภาคส่งออก ซึ่งคิดเป็น 60% ของจีดีพีไทยเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเติบโตน้อยกว่าคาด ราคาน้ำมันดิบและโภคภัณฑ์ที่ลดลงกดดันเศรษฐกิจประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ รวมทั้งปัญหาการเงินในรัสเซียยังกดดัน ซึ่งเราคิดว่าการที่ธปท.ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตของส่งออกปี 58 ลงเหลือ 1.0% (จากเดิม 4.0%) ก็มาจากประเด็นเศรษฐกิจโลกขยายตัวอ่อนแอกว่าคาดด้วย
• 4 กลุ่มที่สนใจซื้อหุ้น BCP 27.22% (374.74 ล้านหุ้น) จาก PTT โดยประกอบด้วย 1) กลุ่มนายพิชัย ชุณหวชิร อดีตผู้บริหาร PTT และ BCP, 2)TTA (กลุ่มมหากิจศิริ), 3) SUSCO (กลุ่มสิมะโรจน์) และ 4) PTG (ปักษ์ใต้เชื้อเพลิง กลุ่มรัชกิจประการ) ซึ่งทาง PTT จะเปิดประมูลให้ซื้อหุ้นในเดือนม.ค.58 นี้ ทั้งนี้ PTT มีต้นทุนในหุ้น BCP หุ้นละ 14.90 บาท ถ้าขายได้ในราคาตลาดปัจจุบัน 32.50 บาท จะมีกำไรหลังภาษี 5.3 พันล้านบาท (1.85บาทต่อหุ้น PTT) หรือคิดเป็น 5.9% ของกำไรสุทธิปี 58 ของ PTT ที่ DBSVประมาณการไว้ในปัจจุบันที่ 89,956 ล้านบาท เราแนะนำซื้อ PTT (ราคาพื้นฐาน 380 บาท) ซึ่งได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG & NGVและคาดว่าจะมีกำไรก้อนใหญ่จากการขายหุ้น BCP ในปี 58 ส่วน BCP ในเชิงกลยุทธ์แนะนำถือ โดยฝ่ายวิจัยฯ DBSV ประเมินมูลค่าหุ้นตามพื้นฐานไว้ที่ 35 บาท