- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 02 June 2014 15:28
- Hits: 3163
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
สรุปภาพตลาด
ขึ้นๆลงๆ
วันนี้คาดดัชนีฯ แกว่งในกรอบ แนวต้าน 1,415 จุด รับ 1,397 จุด (แนวโน้มหลักทางเทคนิคยังถูกกดดันจาก Downtrend ใหญ่ 1,415/1,426 จุด)
เดือน มิย.คาดข่าว ECB อัดฉีดสภาพคล่องในการประชุม 5 มิ.ย. หนุนตลาดหุ้นโลกก่อนถึงวันประชุม แต่หลังจากนั้นคาดมีแรงขาย Sell after fact ก่อนจะรีบาวด์ช่วงกลางเดือน จากคาด 18 มิ.ย. เฟดไม่ส่งสัญญาณลบต่อตลาด และตลาดคาด กนง.ลดดอกเบี้ย และเป็นช่วงที่ คสช.จะกางแผนลงทุนเมกะโปรเจค, รับข่าว ครม.ใหม่ ส่วนปลายเดือนอาจมีพักฐานบ้าง (ขายหุ้นเพื่อเตรียมเงิน รอซื้อหุ้นที่คาดว่ากำไรจะออกมาดี) เพื่อไปรอเล่น Earning 2Q14F / กลุ่มเด่น คาดได้แก่ รับเหมาก่อสร้าง, งานประมูลรัฐฯ, แบงก์, ส่งออก (ลดดอกเบี้ย-บาทอ่อน) / เทคนิคคาดดัชนีฯ เล่นในกรอบสี่เหลี่ยม Rectangle chart pattern 1380-1430 จุด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดฯ
(*) หุ้นมีข่าว +IFEC ประชุม ผถห. 3 มิ.ย.เปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจใหม่ (จะมีกำไรพิเศษจากการขายธุรกิจให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร และหันไปทำโซล่าร์ฟาร์ม),
(+) FITCH rating คงเครดิตแบงก์ไทย โดย Long term IDR (เครดิตสากลสกุลเงิน ตปท.) BBL SCB KBANK คงที่ BBB+ ส่วน KTB คงไว้ที่ BBB
(+) สศค.มั่นใจ GDP ปีนี้โตได้ 2-3% เชื่อดีขึ้นตั้งแต่ปลาย พค.และ เชื่อว่าจะไม่มีการปรับลด GDP ลงอีกในการประชุมเดือน มิย.
(+) คาด ECB ลดดอกเบี้ย 0.1% และให้สถาบันการเงินเข้าถึงสินเชื่อที่มีหลักประกันผ่าน FRFA (fixed-rate, full-allotment procedure) ถึงกลางปี 2016 และพร้อมออก QE บางส่วน ผ่านโปรแกรม Target LTRO (ให้สถาบันการเงินหลักปล่อยสภาพคล่องเพิ่ม)
(-) ส่งออกไทย (เม.ย.) -0.87% (แย่กว่าคาด +0.5%) และนำเข้า -14.54% y-y ขาดดุลฯ US$1.453 ล้าน
(-) วันพฤหัส US GDP (1Q-2nd) -1% แย่กว่าคาดที่ -0.6% จาก +0.1% q-q saar, (-) วันศุกร์ US PCE (เม.ย.) คาด +0.3% จาก +0.2% m-m, Personal spending คาด +0.2% จาก +0.9% m-m
(+) คสช.โชว์แผนลงทุนเมกะโปรเจค ภายใน 2 สัปดาห์
(+) Opportunity day: 2 มิ.ย. ERW CNT PTG STA BTS
Investment theme :
Events play : หุ้นมี Story Turnaround ของปีนี้ EFORL RML PSL (TTA) CFRESH CPF
MSCI ใหม่มีผลสิ้นเดือน หุ้นใหญ่ +BH หุ้นกลาง +BJCHI MEGA NYT TTCL / ถอด GSTEL GRAMMY SITHAI TUF UMI, เพิ่มน้ำหนัก TRUE, ปรับน้ำหนักลง IVL SCC KBANK SCB, มีผล 30 พ.ค.
นักวิเคราะห์ : วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด
ทางการจีนประกาศตัวเลข PMI ด้านการผลิตสูงสุดรอบ 5 เดือน
ตัวเลขสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อด้านอุตสาหกรรมเดือนพ.คอยู่ที่ 50.8 จุดเทียบกับคาดการณ์นักวิเคราะห์ที่ 50.7 จุดและเพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ยที่ 50.4 จุด ทางการจีนมีแนวโน้มที่จะประกาศมาตรการผ่อนคลายการเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการบริโภคในประเทศ ขณะที่การส่งออกยังปรับตัวได้ไม่ดีนัก โดยการผ่อนคลายจะอยู่ในรูปแบบที่ลดอัตราดอกเบี้ย ลดการตั้งสำรองฯกลุ่มธนาคาร และลดมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อในรายอุตสาหกรรม (Bloomberg)
ดันลงทุน'รางคู่-ทางด่วนน้ำ' ลุยไฮสปีดอีสานแทนเชียงใหม่
สำนักงบประมาณตั้งแท่นชงงบฯ รายจ่ายปี'58 วงเงิน 2.6 ล้านล้าน คสช.หยิบโปรเจ็กต์ร้อนมาเรียงลำดับความสำคัญใหม่ ทั้งรถไฟทางคู่แสนล้าน นำร่อง 2 สายทาง "ขอนแก่น-แก่งคอย" ผุดทางด่วนน้ำ 200 กม. จากนครสวรรค์ทะลุอ่าวไทย จับตาลัดคิวไฮสปีดเทรนไปหนองคายแทนเชียงใหม่ ตัดด่วน 3 "ดาวคะนอง" ผู้ส่งออกข้าวโผล่แจมขอตรวจสต๊อกข้าว (หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ)
แบงก์รัฐเข็นมาตรการกู้ชีพ SMEs อัดฉีด 4 หมื่นล้าน'พักต้น-ดบ.'
แบงก์รัฐเข็นมาตรการเร่งด่วนกู้ชีพเอสเอ็มอี หวังปลุกเศรษฐกิจครึ่งปีหลังกระเตื้อง"ออมสิน" มาแรงชงแพ็กเกจ "10 : 10 : 10" ปล่อยสินเชื่อ 10 ล้าน/ราย วงเงิน 2 หมื่นล้าน ฟาก "เอสเอ็มอีแบงก์" ให้ลูกค้าพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ขณะที่ บสย.ขน 5 มาตรการต่อลมหายใจ (หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ)
ชี้ดอกเบี้ย'ลด'ได้อีก เคาะงบประมาณ 58 ขาดดุล 2.5 แสนล้าน ดันจีดีพีปีหน้าโต 4%
คสช.เต็มสูบกอบกู้ศก. 4 หน่วยงานชงตั้งงบปี 58 ขาดดุลเพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านบาท กรอบรายจ่าย 2.6 ล้านล้านบาท ด้านปลัดอุตฯล้างท่อโครงการลงทุน-สั่งยุบบอร์ดกลั่นกรอง "รง.4" คาดได้บอร์ดใหม่บีโอไอไม่เกินเดือนหน้า ขณะที่ "ประจิน" ไฟเขียวเดินหน้าแผนปรับราคาพลังงานก๊าซหุงต้มจ่อขึ้นเป็น 23.13 บาท/กก. ดีเดย์ 1 มิ.ย., ส่วนประธานแบงก์เชื่ออานิสงส์โรดแมปศก.ได้ปีหน้าเต็มๆ ปีนี้ดอกเบี้ยยังมีรูมลดได้อีก สำนักงบฯ คาดจีดีพี 58 โต 4% (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ)
'โมเบียส'ยึดลงทุนไทยยาวชี้การเมืองเปลี่ยนไร้ผลกระทบ
แนะช่วงนี้ราคาหุ้นปรับลดลง เป็นโอกาสเลือกซื้อหุ้นดีกลุ่มแบงก์ อสังหาฯ "มาร์ค โมเบียส" ราชากองทุนตลาด เกิดใหม่มั่นใจการเมืองเปลี่ยน ไม่กระทบภาคธุรกิจกับแผนการลงทุนของเขาในตลาดไทย เหตุความสามารถแข่งขันของประเทศกับการลงทุนของญี่ปุ่นยังมีมาก อีกทั้งไทยมีศักยภาพพร้อมนำพาอาเซียนโดยเฉพาะพม่า-ลาว-กัมพูชา เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกได้ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
นักวิเคราะห์ : ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ Tel. (662) 618-1330-1