- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 30 May 2014 16:05
- Hits: 3137
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“จับตาโรดแมบเศรษฐกิจ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
• ภาพตลาดวันก่อน : ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดปรับขึ้น 5.72 จุด ที่ 1408.51 มูลค่าซื้อขาย 4 หมื่นกว่าล้านบาท ดัชนีในวันแกว่งตัวจากการซื้อขายเก็งกำไรแต่ไม่มาก เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่รอดูปัจจัยใหม่ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ & ความเชื่อมั่น เมื่อวานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิต่ออีก 2 พันล้านบาท ส่วนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.2 พันล้านบาท พอร์ตบล. & รายย่อยก็ซื้อสุทธิเช่นกัน แต่มูลค่าซื้อสุทธิของรายย่อยน้อยลง
• ปัจจัยและกลยุทธ์ : มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของคสช.กระตุ้นการลงทุนในตลาดช่วงนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่อิงกับการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์, ค้าปลีก, เช่าซื้อ, สื่อสาร, รับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง, นิคมอุตสาหกรรม, ที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งในสัปดาห์หน้ามีกระแสข่าวว่าทางคสช.จะประกาศโรดแมบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่งเมื่อเห็นแนวทางชัดเจนมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่อาจจะยังฉุดรั้งอยู่บ้าง คือ ความกังวลกับเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านรัฐประหาร
อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นจนทำให้Market Risk เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญก็จะกระทบไม่มาก ประเด็นที่จับตา คือ รายชื่อคณะรัฐบาลแต่งตั้งและแนวทางดำเนินการของสภาปฏิรูปและสภานิติบัญญัติเพื่อ Reform ประเทศ สำหรับปัจจัยภายนอก ในระยะสั้นมากค่อนไปทางบวก โดยตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนเม.ย.-พ.ค.57 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น ส่วนเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวได้ประมาณ 7% กว่าๆ ก็ตาม ในทางปัจจัยพื้นฐาน จึงคงคำแนะนำทยอยซื้อลงทุนหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีแนวโน้มเติบโตได้ดีในระยะยาว สำหรับการลงทุนตามรอบโดยใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคมีกลยุทธ์ คือ โดยหลักเป็นการซื้อตามค่าบวก แนวต้านระยะสั้น 1415-1420, 1440-1450 จุด สำหรับหุ้นพื้นฐานที่น่าสนใจวันนี้ เป็น BIGC
Fundamental Pick
BIGC แนะนำซื้อปิด 189 บาท ราคาพื้นฐาน 215 บาท
• แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาใน 1Q57 เศรษฐกิจจะซบเซาและมีปัญหาการเมืองยืดเยื้อ แต่ BIGCยังคงเดินหน้าขยายสาขาในเชิงรุกต่อไป รวมทั้งมีแผนการตลาดใหม่ๆที่สร้างสรรค์เพื่อเร่งยอดขาย มีแผนส่งเสริมการจำหน่ายในสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยในช่วงนี้ออกเคมเปญด้านการตลาดเพื่อช่วงชิงตลาดหลังการบริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของคสช. และยอดขายที่ดีขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากค่าเสื่อมราคาที่สูง ทั้งใน 1Q57 ผลประกอบการชะลอตัวลง เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและค่าเสื่อมราคาที่สูงขึ้น แต่คาดว่าสถานการณ์นี้จะดีขึ้นตั้งแต่ 2Q57 เป็นต้นไป
• แนะนำซื้อซื้อ โดยฝ่ายวิจัยฯ DBSV ให้สมมติฐานอัตราการเติบโตของยอดขายในสาขาเดิมของบริษัท (SSSG) ปีนี้ 1% สะท้อนกำลังซื้อที่อ่อนในช่วง 1Q57 ประเมินราคาพื้นฐานไว้ที่ 215บาท
ปัจจัยต่างประเทศและโภคภัณฑ์
•/+ สหรัฐ : GDP ประจำ 1Q57 หดตัว 1%(ประมาณการครั้งที่ 2) แต่ตัวเลขในต้น2Q57 ดีขึ้นทั้งภาคแรงงาน & อสังหาฯ
• GDP ประจำไตรมาส 1/57 หดตัว 1% ซึ่งเป็นการหดตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 ปี และเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ 1Q54 เนื่องจากภาคเอกชนปรับลดสต็อกสินค้าคงคลัง
+ กระทรวงแรงงานสหรัฐที่ระบุว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 24 พ.ค.57 ปรับตัวลง 27,000 ราย แตะที่ 300,000 ราย ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะปรับตัวลงสู่ระดับ 318,000 ราย
+ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (NAR) เปิดเผยว่าดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนเม.ย.57 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% แตะที่ 97.8 นับเป็นสัญญาณว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐกำลังกระเตื้องขึ้น หลังจากที่เผชิญกับภาวะซบเซาในช่วงต้นปี
+ ตลาดหุ้นสหรัฐกลับมาบวก ตอบรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่องในเดือนเม.ย.57
+ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,698.74 จุด เพิ่มขึ้น 65.56 จุด หรือ +0.39% ดัชนีNASDAQ ปิดที่ 4,247.95 จุด เพิ่มขึ้น 22.88 จุด หรือ +0.54% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,920.03จุด เพิ่มขึ้น 10.25 จุด หรือ +0.54% ปัจจัยหนุน คือ เศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นใน2Q57 เมื่อพิจารณาจากตัวเลขต่างๆที่ออกมา
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จับตา คือ 1) รายได้-การบริโภคส่วนบุคคลเดือนเม.ย., 2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนพ.ค. และ 3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนพ.ค.ที่ทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน
+ สัญญาน้ำมันดิบปรับขึ้น + สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 86 เซนต์ ปิดที่ 103.58 ดอลลาร์/บาร์เรลสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 16 เซนต์ ปิดที่ 109.97ดอลลาร์/บาร์เรล โดยได้รับแรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่งร่วงลง 1.5 ล้านบาร์เรลแตะที่ 21.7 ล้านบาร์เรลในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 23 พ.ค.57 (ส่วนสต็อกน้ำมันดิบทั่วประเทศในรอบสัปดาห์ดังกล่าวเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล แตะที่ 393 ล้านบาร์เรล) และรายงานข่าวที่ว่ากลุ่มก่อการร้ายได้ใช้อาวุธยิงเฮลิคอปเตอร์ของทหารยูเครน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 14คน รวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ
• สัญญาทองคำ COMEX อ่อนตัวลงต่อเล็กน้อย
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 2.6ดอลลาร์ หรือ 0.21% ปิดที่ 1257.1 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศและหลักทรัพย์
+ BH, BJCHI, MEGA, NYT และ TTCL เริ่มเข้าคำนวณใน MSCI วันนี้ (30 พ.ค.57)
+ วันนี้ได้ฤกษ์ 5 หุ้น "BH-BJCHI-MEGA-NYT-TTCL" เริ่มเข้าคำนวณดัชนี MSCI ฝ่ายวิเคราะห์ MSCI ระบุไม่ใช้ปัจจัยการเมืองวัดน้ำหนักการลงทุน เน้นมาร์เก็ตแคป สภาพคล่องสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติเป็นหลัก (ข่าวหุ้น)
ความเห็น Retail Research : หุ้นที่ถูกนำไปคำนวณใน MSCI จะได้รับความสนใจลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนอิงกับดัชนี MSCI อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมารับข่าวดีเรื่องนี้ไปบ้างแล้ว ดังนั้นจึงต้องระวังความผันผวนในระยะสั้น ส่วนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากทาง DBSV ทำการวิเคราะห์เฉพาะ BH และ TTCL โดยมีคำแนะนำดังนี้
# BH (ราคาปิด 112.50 บาท – แนะนำถือ/ซื้ออ่อนตัว ให้ราคาพื้นฐาน 109 บาท) : กลยุทธ์ยังเน้นไปที่การขยายโครงข่ายโรงพยาบาลให้กว้างมากขึ้น และแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในตลาดระดับภูมิภาค ทั้งในรูปแบบการควบรวมกิจการ หรือการเริ่มโครงการใหม่เลย(Greenfield) ล่าสุดได้มีการเข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลเอกชนที่มองโกเลียคือ UBSD ขนาด 98เตียง และต้องการให้โรงพยาบาลแห่งนี้สามารถส่งต่อคนไข้ที่ต้องการรักษาในระดับที่มีความซับซ้อนสูงมายังโรงพยาบาลในกรุงเทพ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ต่อคนไข้ นอกจากนี้ได้เพิ่มจำนวนเตียงสำหรับ ICU อีก 18 เตียง และ ward อีก 37 เตียงในงวด 1Q57 เพื่อสนับสนุนการเติบโตสำหรับการเริ่มโครงการใหม่มีแผนที่จะสร้างโรงพยาบาลแห่งที่สอง ถนนเพชรบุรี โดยจะเริ่มปีนี้และคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปี 60 ประโยชน์คือ ช่วยลดความหนาแน่นของโรงพยาบาลแห่งแรก และช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงโรงพยาบาลเดียว คาดการณ์กำไรสุทธิปีนี้โต9.3% เป็น 2.8 พันล้านบาท แรงผลักดันมาจากอัตรากำไร EBITDA ที่แข็งแกร่ง อันเป็นผลพวงจากรายได้ในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และการปรับขึ้นด้านราคา แม้ปริมาณคนไข้1Q57 ลดลงตามปัจจัยการเมือง แต่ยอด เม.ย.และ พ.ค.57 ได้ฟื้นตัวดีขึ้น ในแง่ประเภทคนไข้ชาวไทยฟื้นตัวขึ้นดี ส่วนคนไข้ต่างประเทศทยอยฟื้นตัว (ปริมาณคนไข้ลดลงเล็กน้อย) ในทางกลยุทธ์ ถ้ามีหุ้นต้นทุนต่ำอยู่แล้วแนะนำถือต่อ การเข้าซื้อใหม่เน้นเมื่อราคาอ่อนตัว ให้ราคาพื้นฐาน 109 บาท โดยประเมินด้วยวิธี DCF (WACC 8%, terminal growth 3%)
# TTCL (ราคาปิด 39.50 บาท - แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 47.60 บาท) : กำไรสุทธิ1Q57 เติบโต 14% y-o-y เป็น 211 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ที่สูงขึ้นจากงานก่อสร้าง EPCและมีการนำมาตรฐานบัญชีฉบับ TFRIC12 มาปฏิบัติ จึงมีการรับรู้รายได้งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า772 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัมปทานโรงไฟฟ้าที่พม่า แต่อัตรากำไรขั้นต้นลดลง 1.6% y-o-y เป็น 10%เพราะต้องการได้งานเพิ่ม แต่อัตรากำไรขั้นต้นไม่สูงนัก ภาษีเงินได้ไตรมาสนี้เป็นบวก 10.8 ล้านบาท เพราะมีการปรับเรื่อง deferred tax คาดว่าปีนี้จะลงนามในสัญญาใหม่ไม่มาก เราให้สมมติฐาน 10 พันล้านบาท ดังนั้นกำไรจะมาจากงานก่อสร้างในมือ (Backlog) ที่ 22 พันล้านบาท และกำลังเข้าประมูลงานมูลค่า 140 พันล้านบาท (80% เป็นงานต่างประเทศ) ซึ่งมีงานโรงไฟฟ้าที่พม่า 1,000 MW อยู่ด้วย มีการทำ MOA (Memorandum of Agreement) ไว้ ซึ่งคาดว่าจะจบได้ใน 2H57 แต่ยังไม่รวมไว้ในประมาณการ และยอดขายไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 5เท่าตัวในปีนี้ จากโครงการ Ahlone เพราะมีการดำเนินการเต็มปี และใช้กำลังการผลิตเต็มที่แนะนำ ซื้อ แต่ปรับลดราคาพื้นฐานลงเป็น 47.60 บาทหลังรายงานกำไรสุทธิ 1Q57
+ หน่วยงานเสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 1มิ.ย.นี้ & ประกาศโรดแมพเศรษฐกิจสัปดาห์หน้า
+ สภาพัฒน์ฯ และกระทรวงการคลังกำลังเร่งทำแผนงานกระตุ้นเศรษฐกิจโดยจะเสนอให้คสช.พิจารณาในวันที่ 1 มิ.ย.57 และคาดว่าจะประกาศโรดแมบด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายและการลงทุนได้ในสัปดาห์หน้า โดยในส่วนของภาคส่งออก ทางกระทรวงพาณิชย์ปรับเป้าหมายการเติบโตปี 57 ลงเหลือ 3.5% (เดิม 5%) เนื่องจากการฟื้นตัวของการส่งออกในหลายอุตสาหกรรมยังล่าช้า (กรุงเทพธุรกิจ)
ความเห็น Retail Research : มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของคสช.กระตุ้นการลงทุนในตลาดช่วงนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่อิงกับการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์,ค้าปลีก, เช่าซื้อ, สื่อสาร, รับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง, นิคมอุตสาหกรรม, ที่พักอาศัย เป็นต้น
• สำหรับหุ้นเด่นในแต่ละกลุ่มดังกล่าวข้างต้น เป็นดังนี้
# ธนาคารพาณิชย์ : BBL, KBANK, KTB
# ค้าปลีก : BIGC, ROBINS, GLOBAL
# รับเหมาก่อสร้าง & วัสดุก่อสร้าง : SCC, CK, STEC, SYNTEC, SEAFCO
# สื่อสาร : ADVANC, DTAC, INTUCH
# นิคมอุตสาหกรรม : HEMRAJ, ROJNA
# ที่พักอาศัย : SPALI, QH, AP
+ กระทรวงการคลังคาด GDP ประจำ 2Q57กลับเป็นบวก 1% และทั้งปีมีโอกาสโตได้ถึง3%
+ นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วในเดือนเม.ย.57 โดยตั้งแต่เดือนพ.ค.57 จนถึงสิ้นปี เศรษฐกิจไทยจะเริ่มมีสัญญาณเป็นบวกขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากมาตรการทางเศรษฐกิจที่สามารถออกใช้ได้เร็วกว่ากำหนดเดิม หรือมีผลบังคับใช้ก่อนไตรมาส 3/57 ส่งผลให้ทั้งปีนี้การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะไม่ต่ำกว่า 2% แน่นอน (โดยมีโอกาสเติบโตได้ถึง3%) ทั้งนี้แม้ว่าไตรมาส 1/57 GDP จะติดลบ แต่จะเริ่มกลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาส 2/57ประมาณ 1% และปรับตัวดีขึ้นต่อในครึ่งหลังของปี 57 (ผู้จัดการ & ข่าวสด & คมชัดลึก)
• รัฐวิสาหกิจรายงานตัวคสช.วันที่ 31 พ.ค.นี้
• รัฐวิสาหกิจถึงคิวเข้ารายงานตัว คสช.วันที่ 31 พ.ค.นี้ ด้าน สคร.เตรียมข้อมูลชงที่ประชุม คสช.ผลักดันการลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน โครงการพีพีพีและกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านปลัดคลังรับมีโอกาสเปลี่ยนบอร์ด รสก.สูง (คมชัดลึก)
+ ธปท.เปิดเผยว่าค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยหลักเป็นผลจากปัจจัยภายนอก ด้านเสถียรภาพของเงินบาทดีขึ้น
+ นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพต่อเนื่อง โดยค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ (26-29 พ.ค.57) เคลื่อนไหวในกรอบ 32.56-32.75 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยรวมอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า จากปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ เช่น การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ เช่น ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน ประกอบกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติม ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ดังนั้นค่าเงินในภูมิภาครวมถึงค่าเงินบาทจึงอ่อนค่าลงบ้าง เมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ (มติชน)
+ ธนาคารออมสินเตรียมเสนอมาตรการเสริมสภาพคล่อง SME วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท
+ นายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมเสนอมาตรการสินเชื่อวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เน้นปล่อยกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ SME รายย่อยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน10 ล้านบาท และ SME รายขนาดย่อมที่มีวงเงินกู้ตั้งแต่ 10-50 ล้านบาท เพื่อเสนอในที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 31 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นตามนโยบายที่ธปท. ได้มอบหมายให้ธนาคารออมสินให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย (ข่าวสด)
+ KBANK คาดสินเชื่อ SME ใน 2Q57เติบโตดีขึ้น และเชื่อว่าสินเชื่อรวมปี 57 จะขยายตัวได้ 6-8% ตามเป้าหมาย...แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 210 บาท
+ KBANK เปิดเผยว่าความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีการขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่และได้รับชำระเงินจากคู่ค้า รวมถึงได้รับการพักชำระหนี้ ทำให้เริ่มมีการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น ส่งผลดีต่อความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยใน 1Q57 สินเชื่อ SME ของธนาคารขยายตัว 1% คาดว่าใน 2Q57น่าจะขยายตัวได้ประมาณ 2-3% ส่งผลให้ 1H57 สินเชื่อประเภทนี้เติบโตได้ได้ราว 3-4% และมั่นใจว่าการขยายตัวของสินเชื่อรวมจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 6-8% (มติชน)
ความเห็น Retail Research : การฟื้นตัวของธุรกิจ SME จะเป็นผลดีกับ KBANK ซึ่งมีฐานลูกค้า SME ขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 3/57 เป็นต้นไป เราชอบKBANK และให้เป็นหนึ่งในหุ้น Top Pick ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากมีการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อและแหล่งที่มาของรายได้ที่ดี, NIM อยู่ในระดับสูง (1Q57 อยู่ที่3.6%), รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเติบโตแข็งแกร่ง โดยเฉพาะรายได้ด้านประกันภัย ธนาคารได้ควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงที่ธุรกิจชะลอตัว คาดการณ์กำไรสุทธิปี 57เติบโต 10% โดยมีสมมติฐานการเติบโตของสินเชื่อ 7% เท่ากับเป้าหมายที่ KBANK ตั้งไว้ ด้านROE อยู่ในระดับสูงที่สุดในกลุ่มที่ 20% จากเฉลี่ยของปี 56 ที่ 17.5% แนะนำซื้อ โดยให้ราคาพื้นฐาน 210 บาท เทียบเท่ากับ P/BV ปี 57 ที่ 2.0 เท่า
• ฟิทช์ฯ คงอันดับเครดิต BBL, KBANK,SCB, KTB ไว้เท่าเดิม แนวโน้มมีเสถียรภาพ
• ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทยและบริษัทย่อย ของธนาคาร 3 แห่ง โดยอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว(Long-Term IDR) ของ BBL, KBANK และ SCB ได้รับการคงอันดับไว้ที่ "BBB+" และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ได้รับการคงอันดับที่ "AA(tha)"ส่วน KTB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ "BBB" และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ "AA+(tha)" โดยธนาคารทั้ง 4 แห่งมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ (ผู้จัดการ)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]