- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 30 May 2014 15:47
- Hits: 3049
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ลุ้นสัปดาห์หน้าขึ้นต่อเนื่อง
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละ เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว -1% ในไตรมาสแรก แต่นักลงทุนคาด ฟื้นตัวในไตรมาส 2 และ 3 หลัง ขณะตัวเลขสวัสดิการว่างงานดี
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี : Japan Core CPI เม.ย. +3%y-y (Vs 1.3%) USA: U of Michigan Confidence พ.ค. คาด 82.8 (Vs 81.8) Thailand: ดุลบัญชีเดินสะพัด เม.ย. คาด +110 ล้านดอลล์ (Vs 2.89bn) และจีน วันเสาร์ PMI Mfg พ.ค. คาด 50.7 (Vs 50.4)
-วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายต่อ -2.00 พันลบ. (ขายสะสม 8 วัน รวม -3.09 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อ +1.22 พันลบ. (ซื้อ
สะสม 13 วัน จาก 14 วันทำการ รวม +1.83 หมื่นลบ.)
+/-การเมือง คสช. และหน่วยงานรัฐเดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ชี้แจงต่างประเทศให้เข้าใจเหตุผลการปฏิวัติในครั้งนี้
คาดดัชนีฯ วันนี้ ยังอยู่ในทิศทางขึ้น แนวต้าน 1420/1423 จุด แนวรับ 1400/1396 จุด แรงหนุนยังเป็นการซื้อต่อเนื่องของนักลงทุนในประเทศ หลังความเชื่อมั่นเริ่มฟื้น และความคาดหวังต่อโครงการภาครัฐขนาดใหญ่
กลยุทธ์: แนะนำ Trading Buy กลุ่ม Laggard Play อาทิ รับเหมาฯ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL TK MC AMATA HEMRAJ และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA MAKRO SIM)
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ CCP UNIQ CK STEC NWR ITD SCP PLE CNT THAI SEAFCO หุ้นที่ลงกว่า 2.0% KYE EIC LPN DCC BCP TWS GLOW
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ ADVANC+159 CPALL+137 BBL+124 BH+67 ด้านขาย LPN-133 KBANK-100 LH-93
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ PTT 125 ITD 103 CK 87
Market Outlook
คาดดัชนีฯ อยู่ในทิศทางขาขึ้น แนวต้าน 1420/1423 จุด แนวรับ 1400/1396 จุด สัปดาห์หน้าลุ้นโครงการเมกกะโปรเจ็กเดินหน้า ยกเลิกเคอร์ฟิวเมืองท่องเที่ยว ปัจจัยต่างประเทศเป็นบวก แนะนำ เก็งกำไร กลุ่ม Laggard Plays อาทิ รับเหมาฯ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL TK MC AMATA HEMRAJ และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA MAKRO SIM)
คาดดัชนีฯ ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นไปจนถึงสัปดาห์หน้า แนวต้าน 1420/1423 จุด แนวรับ 1400/1396 จุด จากนักลงทุนในประเทศกลับมาเก็งกำไรหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งสัปดาห์หน้า คาดจะมีความชัดเจนเรื่องโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ว่าจะเดินหน้าโครงการใดบ้าง ด้านการท่องเที่ยวลุ้นผ่านพ้นจุดต่ำสุด หลังคสช. กำลังประเมินสถานการณ์ ยกเลิกเคอร์ฟิวเมืองท่องเที่ยว ด้านปัจจัยต่างประเทศเป็นบวก หลังนักลงทุนคาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวในไตรมาส 2 และ 3
กลยุทธ์: ระยะกลาง เราคงคำแนะนำระยะ 3-6 เดือน เลือกลงทุนกลุ่ม High Dividend Play (BTS INTUCH) และเลือกสะสมกลุ่มส่งออก อาหาร (CPF GFPT TUF) ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์(HANA KCE) กลุ่มพาณิชย์(CPALL) ส่วนรับเหมาฯ (ITD CK TTCL STEC) let profit run
สำหรับเดือน มิ.ย. : แนะนำลงทุน BTS INTUCH (Dividend Play) GFPT TTCL (Global play) SPALI SCC CPALL (การบริโภคการลงทุนในประเทศ) M MEGA OFM (SET50/SET 100 reshuffle)
ส่วนระยะสัปดาห์ แนะนำ เก็งกำไร กลุ่ม Laggard Play อาทิ รับเหมาฯ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL TK MC AMATA HEMRAJ และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA MAKRO SIM)
ปัจจัยในประเทศ ความเชื่อมั่นเริ่มฟื้น – สศค.เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ใน เดือน เม.ย. และคาดจีดีพีไตราส 2/57 จะกลับมาบวกได้ที่ 1% หลังจากติดลบ -0.6% ในไตรมาสแรก เชื่อทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 2% แต่จะพยายามให้ถึง 3% สำหรับประเด็นระยะสั้นที่คาดส่งผลบวกตลาดหุ้นปรับขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์หน้าเป็นเรื่องนโยบายโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ทำให้มีการเก็งกำไรเข้ามาในหุ้น รับเหมาฯ วัสดุก่อสร้างและธนาคาร เนื่องจาก.ค.าดได้ผลประโยชน์โดยตรง และยังมีลุ้นเรื่องการยกเลิกเคอร์ฟิวในเมืองท่องเที่ยวซึ่งกำลังประเมินสถานการณ์อยู่ ทำให้คาดกลุ่มท่องเที่ยวใกล้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนิคมที่จะได้ผลบวกหากเร่งอนุมัติ BOI ที่ค้างอยู่ถึง 7 แสนล้านบาท ส่วนกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ตามมาหลังประชาชนกลับมาใช้จ่ายได้แก่ ค้าปลีกและอสังหาฯ ที่ราคายังค่อนข้าง laggard มองเป็นโอกาสในการซื้อสะสม
ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่า เช้านี้ค่าเงินบาทอยู่ 32.76 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากวันที่มีปฏิวัติวันแรกที่เคลี่อนตัวในกรอบ 32.50/32.60 บาท/ดอลลาร์ ส่วนหนึ่งมาจากเงินทุนที่ยังไหลออกจากตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หากไม่หลุด 33.00 บาท/ดอลลาร์คาดยังไม่น่าเป็นห่วง และจะช่วยการส่งออกไทยที่ยังติดลบอยู่ในปีนี้
ปัจจัยต่างประเทศ บวกจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ – ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกทำนิวไฮต่อเนื่อง แม้ว่าวานนี้ประกาศจีดีพีไตรมาสแรกออกมา -1.0% เป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งไตรมาส 4/54 จากภัยหนาว แต่นักลงทุนให้น้ำหนักข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วงหลังที่ชี้ถึงการฟื้นตัวต่อเนื่องมากกว่า และคาดว่าจีดีพีจะกลับมาเป็นบวกได้ที่ +3.2% ในไตรมาส 2/57
ทางเทคนิค กลับเป็นขาขึ้น ระยะสั้นทิศทางกลับเป็นขาขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยตลาดมีโอกาสปรับสูงขึ้นทดสอบแนวต้านของ Fibonanci กรอบ 1370-1460 จุด โดยเฉพาะหากสัปดาห์นี้ยืนปิดเหนือ 1400 จุดได้ แนวต้านต่อไปอยู่ที่ 1416 จุด 1426 จุด 1439 จุด และ 1460 จุดตามลำดับ ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1400/1370 จุด
ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจหลังรับโปรดเกล้าฯ
ประเด็นการเมือง (Update):
คสช.กำลังพิจารณาจะยกเลิกเคอร์ฟิวจังหวัดท่องเที่ยวเร็วๆ นี้, ยกเว้นกรุงเทพฯ
คสช. กำลังพิจารณาอาจจะยกเลิก การประกาศห้ามออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว) ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ยกเว้น กรุงเทพมหานคร (กทม.) ในเร็วๆ นี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านการท่องเที่ยว
พาณิชย์เร่งแผนงานส่งคสช. ใน 3 วัน กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้เร่งจัดทำแผนงานเร่งด่วนเพื่อเสนอให้คสช.พิจารณา คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายใน 2-3 วันนี้ โดยกรอบนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย การดูแลค่าครองชีพประชาชน การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การเดินหน้าเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน
2.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ :
ศุกร์ : Japan Core CPI เม.ย. +3%y-y (Vs 1.3%) USA: U of Michigan Confidence พ.ค. คาด 82.8 (Vs 81.8) Thailand: ดุลบัญชีเดินสะพัด เม.ย. คาด +110 ล้านดอลล์ (Vs 2.89bn.) และจีน วันเสาร์ PMI Mfg พ.ค. คาด 50.7 (Vs 50.4)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ฟิลิปปินส์ เผยจีดีพี Q1 โตต่ำกว่าคาดที่ 5.7% รัฐบาลฟิลิปปินส์เปิดเผยในวันนี้ว่า เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัว 5.7% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 6.4% ขณะที่ผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นในปีที่ผ่านมาต่อผลผลิตการเกษตร ได้บดบังความแข็งแกร่งของภาคบริการและอุตสาหกรรม เมื่อเทียบรายไตรมาส ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัว 1.2% ในไตรมาสแรก หลังการปรับค่าตามฤดูกาล
เกาหลีใต้ เผยยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเม.ย.พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เกาหลีใต้ ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 9.81 พันล้านดอลลาร์ในเดือน เม.ย. เมื่อปรับค่าตามฤดูกาล โดยเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับยอดเกินดุลที่ 6.60 พันล้านดอลลาร์ในเดือน มี.ค.
ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นทรุดฮวบใน เม.ย. หนักสุดรอบ 3 ปี หลังขึ้น VAT ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นดิ่งลงในเดือน เม.ย. ในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2011 จากการทรุดตัวลงของยอดขายรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสัญญาณแรกที่บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคพากันลดการซื้อสินค้า หลังการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกร่วงลง 4.4% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี โดยลดลงมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 3.3% และเป็นการทรุดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในเดือน มี.ค. 2011
สหรัฐ เผยยอดทำสัญญาขายบ้านเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือน เม.ย. สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ เปิดเผยดัชนียอดทำสัญญา ขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด 0.4% สู่ระดับ 97.8 ในเดือน เม.ย.
สหรัฐ เผยจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานลดลงเกินคาด กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 24 พ.ค.ลดลงเกินคาด 27,000 ราย สู่ 300,000 ราย นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า จำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานครั้งแรกใน
สัปดาห์ที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 318,000 ราย
สหรัฐ เผยจีดีพี Q1 หดตัวลงเกินคาด 1.0% กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 1/2014 หดตัวลง 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเป็นการหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดย
รอยเตอร์คาดไว้ว่า จีดีพีสหรัฐ จะติดลบ 0.5% ในไตรมาส 1/2014 หลังขยายตัว 0.1% ในการ ประมาณการก่อนหน้านี้
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น
วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี DJIA ปิดบวก 65.56 จุด หรือ 0.39% สู่ระดับ 16,698.74 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่ม 10.25 จุด หรือ 0.54% สู่ระดับ 1,920.03 จุด และ Nasdaq ปิดบวก 22.87 จุด หรือ 0.54% สู่ระดับ 4,247.95 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยดัชนี S&P 500 ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 4 วัน ขณะที่เทรดเดอร์ไม่สนใจข้อมูลบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลง 1% ในไตรมาสแรก และคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสอง
+/-ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกและลบ
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ FTSE ปิดบวก 20.07 จุด หรือ 0.29% สู่ 6,871.29 จุด ดัชนี CAC40 ลดลง 1.12 จุด หรือ 0.02% สู่ 4,530.51 จุด และ DAX ปิดลดลง 0.27 จุด หรือ -0.00% สู่ 9,938.90 จุด โดยตลาดหุ้นลอนดอนมีการคาดการณ์เรื่องการเข้าเทคโอเวอร์กิจการในระยะนี้
+ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นอีก
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบก.ค. ปิดบวก 0.16 ดอลลาร์ สู่ 109.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ค. ปรับขึ้น 0.86 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ระดับ 103.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้วยแรงหนุนจากแนวโน้มอุปสงค์สดใสขึ้น และจากความวิตกเกี่ยวกับผลผลิตระดับต่ำของลิเบียและวิกฤตการณ์ในยูเครน
-ราคาทองคำร่วงลงต่ออีก
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาดร่วงต่ออีก -0.2% สู่ 1,256.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากสหรัฐเผยตัวเลขจีดีพีของสหรัฐปรับลดลง 1.0% ต่อปี ใน 1Q57 ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่ 1Q54
-ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดลดลง
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลง 14 จุด หรือ -1.47% มาที่ระดับ 940 จุด
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270